ชื่อโครงการ
กลไกสร้างสรรค์พื้นที่ย่านเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาย่านบางกะปิและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์คำสำคัญ
กลไกสร้างสรรค์เชิงพื้นที่,แผนแม่บทย่าน,เมืองอัจฉริยะน่าอยู่,การยกระดับเศรษฐกิจและสังคม,กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
โครงการกลไกสร้างสรรค์พื้นที่ย่านเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาย่านบางกะปิและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงออกแบบ (Design-thinking Research) มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ
1) เพื่อสร้างองค์ความรู้ย่านเมืองบางกะปิอัจฉริยะน่าอยู่ จากข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงสถิติ ที่จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของเมืองร่วมกันในหมู่ประชาชนชาวบางกะปิ
2) เพื่อสร้างกลไกเครือข่ายสังคมที่จะร่วมมือร่วมใจพัฒนาย่านบางกะปิ บนพื้นฐานของข้อมูลประวัติศาสตร์ คุณลักษณะปัจจุบัน โอกาส และแนวโน้มอนาคต
3) เพื่อวางแผนการพัฒนาสภาพแวดล้อมและพื้นที่ชุมชนเมืองบางกะปิ แผนการลงทุนของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ผ่านความร่วมมือภาคี 4 ฝ่ายระหว่าง กรุงเทพมหานคร ธุรกิจเอกชน สถาบันวิชาการ และประชาชน (Quadruple Helix)
4) เพื่อวางรากฐานให้สามารถต่อยอดเป็น “เมืองบางกะปิอัจฉริยะน่าอยู่” (Bangkapi Smart-Livable City) ตามนโยบายรัฐบาลและความมุ่งหมายของกรุงเทพมหานครต่อไป
คณะวิจัยได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและปัญหาสําคัญของเมือง ค้นหากลไกสร้างสรรค์พื้นที่ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ศึกษา ขับเคลื่อนความร่วมมือ 4 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและภาควิชาการ จัดทำวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนและการออกแบบโครงการพัฒนาเมืองนําร่อง (Pilot Project) จากผลผลิตงานวิจัยเกิดเป็นผังแม่บทพื้นที่เฉพาะเมืองบางกะปิขนาด 4 ตารางกิโลเมตร ส่งผลให้สถาบันนิด้าฯ และธุรกิจเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันลงทุนออกแบบผังแม่บทภูมิทัศน์และแบบรายละเอียดสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 3.1 ล้านบาท และกรุงเทพมหานครได้ นำแบบดังกล่าวไปลงทุนสร้างพื้นที่ต้นแบบ คือ สกายลิ๊งค์ ประกอบด้วยสวนลอยฟ้าและทางเดินยกระดับท่ามกลางสวนหย่อม ที่แก้ไขปัญหาการขาดพื้นที่เดินเท้า และเชื่อมต่อชุมชนและย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองเข้ากับสถานีขนส่งมวลชนทั้ง 3 ระบบ คือ ระบบรถ ระบบรางและระบบเรือ ด้วยงบประมาณก่อสร้าง ในราว 150 ล้านบาท ภายใต้โครงการสะพานยกระดับบางกะปิ งบประมาณ 996 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2564 – 2566 ในอนาคตอันใกล้นี้ “สกายลิ๊งค์บางกะปิ” จะสร้างสรรค์แบรนด์แลนด์มาร์กของย่าน (District-Branding Landmark) พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางการเดินทาง การสัญจร เศรษฐกิจและวิถีชีวิตเมืองต่อไป คำสำคัญ: กลไกสร้างสรรค์พื้นที่, เมืองอัจฉริยะน่าอยู่, แผนแม่บทย่าน, ภาคี 4 ฝ่าย, สกายลิ๊งค์บางกะปิ
Title
Creating Mechanism for Smart-Livable District of Bangkapi-NIDA to enhance Economic and Society of BangkokKeywords
Area Creating Mechanism,District Master Plan,Smart Livable City,Economic and Social Enhancement,BangkokAbstract
Creating Mechanism for Smart-Livable District of Bangkapi-NIDA to enhance Economic and Society of Bangkok is a qualitative research and design-thinking research with the following objectives
1) To build knowledge of the Bangkapi smart city, based on qualitative and statistical data, and to provide that knowledge to a sense of shared ownership of the city among the people of Bangkapi.
2) To create a network mechanism for the development of Bangkapi area based on historical information, current features, opportunities and future trends.
3) To plan the development of the environment and urban areas of Bangkapi at the neighborhood level and support the investment plan of Quadruple Helix, that is the cooperation between state agencies, public sector, private business sector, and academic sector.
4) To lay the foundation to of “Bangkapi Smart City” in accordance with government and Bangkok policy.
The output of the research is formed as a masterplan of 4 square kilometers of Bangkapi city. As a result, NIDA the university in this area and private businesses surrounded jointly invested in landscape design master plan, architectural detail, and landscape architecture design, total budget amount 3.1 million baht. Finally, design Bangkok Metropolitan Administration has invested based on that landscape design master plan design in the creation of a prototype area, Skylink project consists of three sky gardens and elevated walkways amongst the parks, which solves the problem of lacking of pedestrian space and connects communities and commercial districts to the city center with the three public transport stations: the bus, rail, and boat systems. A construction budget is approximately 150 million baht under Bangkapi elevated bridge project, with budget of 996 million baht display Fiscal Year 2021 – 2023. In the near future “Skylink Bangkapi” will create the district-branding landmark and become a travel hub, commuting economy, and urban lifestyle. Keyword: Area Creating Mechanism, Livable Smart City, District Master Plan, Quadruple Helix, Skylink Bangkapi