กลไกสร้างสรรค์พื้นที่ย่านเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาย่านบางกอกน้อย

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 17 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630076
นักวิจัย นายทวีศักดิ์ รูปสิงห์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร

ชื่อโครงการ

กลไกสร้างสรรค์พื้นที่ย่านเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาย่านบางกอกน้อย

คำสำคัญ

กลไกสร้างสรรค์เชิงพื้นที่,แผนแม่บทย่าน,เมืองอัจฉริยะน่าอยู่,การยกระดับเศรษฐกิจและสังคม,กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์ครั้งนี้

1) เพื่อสร้างองค์ความรู้เมืองอัจฉริยะน่าอยู่และเกิดความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกัน
2) เพื่อสร้างกลไกเครือข่ายพัฒนาย่านบางกอกน้อย บนพื้นฐานของข้อมูลประวัติศาสตร์ คุณลักษณะปัจจุบัน โอกาสและแนวโน้มอนาคต โดยสร้างเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงสถิติตามที่มีของย่านบางกอกน้อย
3) เพื่อวางแผนการพัฒนาพื้นที่ในระดับย่านและ การลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองร่วมกันระหว่าง รัฐบาล เอกชน นักวิชาการและประชาชน และ
4) เพื่อนำแผนการพัฒนาไปผลักดันสู่การปฏิบัติให้ตรงตามเป้าหมายของย่านบางกอกน้อย

โดยใช้พื้นที่สำรวจวิจัยประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร ในย่านบางกอกน้อย เป็นพื้นที่นำร่อง ซึ่งเป็นพื้นที่ย่านเมืองเก่า ประกอบด้วย ชุมชนเมืองในแขวงศิริราช แขวงบ้านช่างหล่อ และแขวงอรุณอมรินทร์ รวม 23 ชุมชน ซึ่งพื้นที่โดยรอบเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของฝั่งธนบุรี รูปแบบของการดำเนินโครงการใช้ลักษณะของการสำรวจพื้นที่ สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายชุมชนที่เกี่ยวข้อง บูรณาการความร่วมมือทั้ง 4 ฝ่าย ได้แก่ รัฐ-เอกชน-ประชาชน-วิชาการ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์ นโยบายและสรุปข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนา แล้วนำแผนพัฒนาที่ได้มาสนทนากลุ่มกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันและปรับปรุงแผน

ผลจากการดำเนินโครงการ ทำให้ได้เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาชุมชนบางกอกน้อยเป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ (Smart City) ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานเขตบางกอกน้อย (ผู้รับผิดชอบหลัก) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ด้านวิชาการ) บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (ด้านเครือข่ายเทคโนโลยี) ชุมชนโดยตัวแทนประกอบด้วยประธานชุมชนและกรรมการ สำนักงานประปาสาขาบางกอกน้อย สถานีตำรวจนครบาลบางกอกน้อย ตำรวจรถไฟสถานีบางกอกน้อย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางกอกน้อย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลศิริราช สาธารณสุขชุมชน เป็นต้น โดยเครือข่ายแต่ละหน่วยงานจะเข้ามามีส่วนร่วมตามองค์ประกอบของเมืองอัจฉริยะในแต่ละด้าน โดยผลจากการดำเนินงานของโครงการในครั้งนี้ ทำให้ได้แผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาย่านบางกอกน้อย จำนวน 7 แผนดังนี้

1. ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
2. ด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
3. ด้านพลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)
4. ด้านขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)
5. ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
6. ด้านการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
7. ด้านพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)

Title

Creating Mechanism for Smart-Livable District of Bangkok Noi to enhance Economic and Society of Bangkok

Keywords

Area Creating Mechanism,District Master Plan,Smart Livable City,Economic and Social Enhancement,Bangkok

Abstract

The objectives of this research project are
1) to create a body of knowledge about pleasant smart city and create a sense of mutual ownership of the area;
2) to create a mechanism for the development network of Bangkok Noi on the basis of historical data, current characteristics, opportunities, and future trends; by creating qualitative and statistical data as available in the Bangkok Noi area;
3) to plan the development of the area at district level and the investment in businesses related to urban development jointly conducted between the government, the private sector, the academics and the public; and
4) to drive the development plan towards implementation to meet the goals of Bangkok Noi.

The research uses survey area of ??about 4 square kilometers in Bangkok Noi as a pilot area, which is the old town area, consisting of the total of 20 urban communities in Siriraj sub-district, Ban Chang Lo sub-district, and Arun Amarin sub-district. The surrounding area is an old town conservation area as well as historical and cultural attractions of the Thonburi side of Bangkok. The project is carried out using area survey; interview with involved parties; knowledge exchange with relevant community networks; cooperation with the 4 parties, namely government, private, public, and academic to achieve vision, policy, and summary of information in order to create a development plan; bringing of the created development plan to group discussion with the involved networks for joint learning and plan improvement.
The research project results in the cooperation network for the development of Bangkok Noi community to be a pleasant smart city. The network consists of Bangkok Noi district Office (main responsible person), King Mongkuts University of Technology North Bangkok (academic aspect), National Telecom Public Company Limited (technology network aspect), and community, which is represented by the community chairman and a committee, Bangkok Noi Waterworks Office, Bangkok Noi Police Station, Bangkok Noi Station Railway Police, Bangkok Noi Fire and Rescue Station, Mass Rapid Transit Authority of Thailand, Siriraj Hospital, community-public health, etc. Each of the network participates according to each aspect of the smart city. The implementation of this project results in pleasant smart city development plans to enhance the economy and society of Bangkok: a Bangkok Noi case study, with the total of ??7 plans as follows:
1. Smart Environment
2.Smart Living
3.Smart People
4.Smart Mobility
5. Smart Economy
6.Smart Governance
7.Smart Energy

สำหรับสมาชิกเท่านั้น