การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจ/OTOP โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 19 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630069
นักวิจัย นายอนิวรรต หาสุข
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ขอนแก่น, นครราชสีมา, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, สกลนคร, สุรินทร์

ชื่อโครงการ

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจ/OTOP โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ

การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน,การจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่,กลไกเพื่อดูดซับเศรษฐกิจภายในพื้นที่,เศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจ / OTOP โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน” มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์และขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ข้าว คราม ไหม ที่ได้รับ (OTOP) ในพื้นที่แบบมีสวนร่วม ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผ่านนวัตกรรมการเรียนรู้ในชุมชน รวมทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการวิจัยในของ Return on Investment (ROI) และ Social Return Investment (SROI)

โดยออกแบบการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรมหลักได้แก่
1) กิจกรรมต้นน้ำ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อสังเคราะห์ปัญหา ตลอดจนหาแนวทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มโดยการแปรรูปวัตถุดิบข้าวครามไหมที่มีราคาต่ำ
2) กิจกรรมกลางน้ำ เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว คราม ไหม โดยรวบรวมข้อมูลกระบวนการผลิตเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตในแต่ละกระบวนการตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบจนถึงการบรรจุ
3) กิจกรรมปลายน้ำ เป็นกิจกรรมการตลาดโดยการนำผลิตภัณฑ์แปรรูปไปทำการทดสอบตลาดโดยการทดลองชิมและออกบูธจำหน่ายสินค้า ตลอดจนการพยากรณ์ยอดขายและการวางแผนการตลาด และ
4) กิจกรรมวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า โดยการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ทางเลือกในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมได้ จะนำมาวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการในด้านต่าง ๆ

กิจกรรมการยกระดับและขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า มีกลไกขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าให้กับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ดาวเด่น ข้าว คราม ไหม ผ่านกระบวนการคีย์แมนแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์และโครงการย่อยทั้งสิ้นกว่า 40 หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) รวมถึงให้ได้ผลของการสร้างมูลค่าเพิ่มลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ในการดำเนินการของกลุ่มเป้าหมายตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจและนักวิจัย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม ชุมชนได้อย่างชัดเจน ซึ่งจากผลิตภัณฑ์ข้าว คราม ไหม จะมีผลิตภัณฑ์ดาวเด่น และมูลค่าเพิ่มจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สูงขึ้น นอกจากนี้ ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างสมดุลในวิถีชีวิต และวิถีธุรกิจของผู้ประกอบการฯ ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิดก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว ลดภาระของรัฐบาลในการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากเพื่อเยียวยาให้แก่ประชาชนเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินการทางธุรกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม การพิจารณาการเติบโตของวิถีธุรกิจจากการวัดจากค่ารายได้แต่เพียงอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยาว ดัชนีเศรษฐกิจสมดุลพลวัตจึงถูกนำเสนอขึ้นเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงใน การสร้างสมดุลในวิถีชีวิต และวิถีธุรกิจควบคู่กันไปผ่านดัชนีความพอเพียงใน 3 มิติ ซึ่งประกอบไปด้วย ความพอกิน ความพอใช้ และความพอใจ ดุลยภาพใหม่บนฐานศักยภาพที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ตาม หลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้เกิดการสร้างยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งเน้นความสมดุลและยั่งยืนภายใต้หลักการของความพอประมาณและการมีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การยกระดับห่วงโซ่อุปทานของ 3 ผลิตภัณฑ์ข้าว คราม และไหมในมิติตามองค์ประกอบของ Dynamic Balance Economy จากผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลง พบว่า ผลิตภัณฑ์ไหมทำได้ดีที่สุด มีระดับผลรวมของการเปลี่ยนแปลงค่าระดับคะแนนเพิ่มขึ้น 2.80 ผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีค่าระดับคะแนนเพิ่มขึ้น 2.62 และผลิตภัณฑ์ครามค่าระดับคะแนนเพิ่มขึ้น 1.18 ตามลำดับ และจากการผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของผลิตภัณฑ์ข้าว คราม และไหม มาทำการเปรียบเทียบกัน พบว่า อันดับ 1 คือ ผลิตภัณฑ์ข้าวมีค่าระดับคะแนนสูงมากที่สุด 78.01 เนื่องจากผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นสินค้าอุปโภคที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ส่วนผลิตภัณฑ์ไหม ค่าระดับคะแนน 24.57 และผลิตภัณฑ์คราม ได้ค่าระดับ 18.86 ตามลำดับ ผลจาการวิจัย พบว่า หากเปรียบเทียบในด้านการยกระดับห่วงโซ่อุปทานตามองค์ประกอบของ Dynamic Balance Economy “ผลิตภัณฑ์ไหม” ทำได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แต่ถ้าหากพิจารณาใน ด้านผลตอบแทนทางสังคม (SROI) พบว่า “ผลิตภัณฑ์ข้าว” มีผลกระทบในเชิงบวกมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ทั้งนี้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ข้าวที่จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และในการยกระดับห่วงโซ่อุปทานจากโครงการชุดนี้ ผลิตภัณฑ์ข้าวเกิดระดับคะแนนการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นค่าระดับคะแนน 2.62 ดังนั้นจากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าการประเมินผลการยกระดับห่วงโซ่อุปทานและผลตอบแทนทางสังคมทั้ง 2 ประเด็นเป็นการวัดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ และกิจกรรมที่ยกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของ ผลิตภัณฑ์ข้าว คราม และไหม การวัดในสองมุมมองนี้มีมติในการให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความยั่งยืน โดยมุ่งเข้าไปช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนที่เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ ในการประเมินผลความสำเร็จจึงควรใช้มิติการประเมินความสำเร็จของโครงการในการพิจารณามากกว่าหนึ่งมุมมอง

Title

Research and development of innovation to increase the value of community products of enterprises / OTOP by Rajamangala University of Technology Isan

Keywords

Development of the community’s economy,New value chain management,Mechanism of local economic absorption,BCG economy

Abstract

The research project “Research and innovation development to add value to community products of enterprises / OTOP by the Rajamangala University of Technology Isan” aims to upgrade products and drive the value chain of OTOP including rice, indigo, silk products in collaborative areas for building economic values through learning innovations in the community, and an analysis of the impact of research projects in Return on Investment (ROI) and Social Return on Investment (SROI).

The research design divided the content into 4 main activities:
1) upstream activities; the data collection used in-depth interview methods, focus group discussion, and participatory observation with community enterprise groups. These activities synthesized the problems and found ways to add value to their products by processing low-priced raw materials comprising rice, indigo, and silk,
2) midstream activities are the processing of products from rice, indigo, silk by collecting data from the production process and analyzing the production cost in each process from raw materials preparation to packing procedure,
3) Downstream activities are marketing activities by bringing processed products to marketing testing by trying their tastes and selling them at booths, sales forecasting, and marketing planning, and
4) Value chain analysis activities by comparing and analyzing the operational alternatives of community enterprises to make the best practice guidelines.

The information gathered was used to analyze the impact of the project in various fields. Activities for raising and driving the value chain have a mechanism to drive value-added to community enterprise groups and entrepreneurs of rice, indigo, and silk products with the keyman process.It examined each product group, and sub-projects totaling more than 40 OTOP(One Tambon One Product) as well as the operating income of the target group throughout the value chain from upstream, midstream, and downstream processes with the collaboration of enterprises and researchers. This process potentially created economic, social, and community values from rice, indigo, and silk. It generated the qualified products adding values from their higher sales volumes. In addition, this process helped construct a change in the balance of lifestyles and business ways of entrepreneurs. All three products contributed to the development of the country towards sustainability in the long run. They can reduce the governments burden on spending money on healing the people in case of a situation severely affecting business operations by balancing economic, social, environmental, and cultural growth. Solely considering business growth as a measure of income alone is not the answer to long-term sustainable development. Thus, a dynamic equilibrium economic index simultaneously measured the changes in lifestyle balance and business operations through the 3 dimensions of Sufficiency Index comprising sufficiency, Necessity, and Satisfaction. A new equilibrium based on self-reliant potential according to the Sufficiency Economy Philosophy will create a crucial strategy for driving the country towards stability, prosperity, and sustainability, which emphasizes the stability and sustainability under the principles of moderation and immunity to the effects of sudden change. For upgrading the supply chain of 3 products comprising rice, indigo, and silk according to the Dynamic Balance Economy components, the study results found that silk products perform the best, with an increase in the change in score level of 2.80, followed by rice products with an increasing score of 2.62, and indigo products with an increasing score of 1.18, respectively. From their Social Return on Investment (SROI) compared to each other, rice products ranked first with the highest score of 78.01, as they are consumer products essential to life, followed by silk products with a score level of 24.57, and indigo products with a value of 18.86, respectively. When comparing the upgradation of the supply chain based on the dynamic balance economy components, “silk products” performed better than other products, while “rice products” had a more positive impact than other products in terms of social returns (SROI), as rice products are consistently classified as the important economic crops of Thailand. In addition, to upgrade the supply chain from this series of projects, rice products resulted in an increase in change score level of 2.62. According to the research results evaluated by both supply chain upgrades and social rewards, it can be concluded that the changes have arisen from the project implementation and activities raised throughout the value chain at the upstream, mainstream, and downstream levels of rice, indigo, and silk products. These two measurements have produced different results. Therefore, to develop the countrys sustainable economy while focusing on helping community enterprises that are the foundation of the country, the projects success should be considered more than one aspect of the assessment dimension.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น