ชื่อโครงการ
การพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานคำสำคัญ
ต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรม,การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก,นวัตกรชาวบ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งหวัง สร้างต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างนวัตกรชาวบ้านเพื่อเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาชุมชน เสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้และปรับใช้นวัตกรรมเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาในชุมชน สร้างแผนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่สามารถเชื่อมต่อกับแผนพัฒนาจังหวัด ได้ต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและข้อสังเคราะห์ในการขยายผลระดับพื้นที่และนโยบาย เพิ่มขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาโครงการวิจัยที่สร้างผลกระทบสูงเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ พื้นที่เป้าหมาย 39 ตำบล 28 อำเภอ 6 จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัย การสร้างต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถสร้างได้ 40 ชุมชน แบ่งเป็นต้นแบบการเรียนรู้ของการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาต้นน้ำ เรียกว่า “ชุมชนนวัตกรรมบนฐานการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อผลผลิตของชุมชนบนฐานทรัพยากร” การนำนวัตกรรมเข้าไปเป็นการแก้ปัญหาผลผลิตตกต่ำ การแก้ปัญหาโรคพืช โรคสัตว์ การปรับปรุงดิน การปรับปรุงพันธ์ข้าว พบว่าเป็นชุมชนที่มีวัตถุดิบพื้นที่เป็น ข้าว พริก กรุงเขมา ( หมาน้อย) สมุนไพร และโค และต้นแบบการเรียนรู้ของการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหากลางน้ำ ปลายน้ำ เรียกว่า “ชุมชนนวัตกรรมบนฐานการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากร” การนำนวัตกรรมเข้าไปเป็นการแก้ปัญหาสินค้าราคาตกต่ำ ของเสียในกระบวนการผลิต การลดระยะเวลาในการทำงาน การควบคุมมาตรฐาน การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า การเปลี่ยนตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ให้สินค้าดูทันสมัย ขนส่งง่าย สินค้าไม่เสียหาย รวมทั้งการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ การสร้าง เพจ การสร้างเรื่องราวให้สินค้าดูน่าสนใจ และเป็นการขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น พบว่าเป็นชุมชนที่มีวัตถุดิบพื้นที่ เป็น หมากเม่า พริก เห็ดชนิดต่าง ๆ สมุนไพร กรุงเขมา(หมาน้อย) ผัก ข้าว มะม่วง เครื่องปั้นดินเผา เครื่องนอน เฟอร์นิเจอร์หวาย ไวนิลเก่า และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การสร้างนวัตกร สามารถสร้างนวัตกรชาวบ้าน ได้จำนวน 130 คน จาก 39 ตำบล มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การถ่ายทอดเทคโนโลยี เกิดนวัตกรรมจำนวน 95 นวัตกรรม แบ่งเป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 37 นวัตกรรม นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ จำนวน 38 นวัตกรรม และนวัตกรรมกระบวนการ จำนวน 20 นวัตกรรม มีแผนพัฒนาชุมชน 40 แผน ดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด สู่การพัฒนาต่อไป เกิดแผนต้นแบบพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจำนวน 1 แผน สามารถยกระดับรายได้เศรษฐกิจของชุมชนมากกว่า 15% ผลตอบแทนจากการลงทุน ( ROI ) มีค่าเท่ากับ 34.89% หมายความว่าชุดโครงการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนกลับ 34.89% ซึ่งถือว่าผลตอบแทนที่ดีด้วยระยะเวลาการประเมินตามเวลาสัญญาให้ทุน และอยู่ในสภาวะโรคระบาดที่ยอดจำหน่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแต่ละโครงการ เช่น โครงการการท่องเที่ยว ก็ไม่สามารถมีรายได้จากการท่องเที่ยวได้เนื่องจาก มาตรการการป้องกันโรคระบาด ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ท่องเที่ยวได้ แต่ก็สร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยว ได้ด้วยแอพพิเคชั่นที่นำมาใช้ได้ รอสถานการณ์ดีขึ้นคาดว่าน่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน SROI ที่ได้จากชุดโครงการวิจัย ได้ค่า 0.64 แสดงว่าการลงทุนในเงิน 1 บาทของเงินทุนจะได้รับผลตอบแทนทางสังคม 0.64 บาท ถึงแม้ผลตอบแทนที่ได้มาน้อยกว่าเงินลงทุนไป แต่ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของโครงการในอนาคตเนื่องจากการเก็บข้อมูลเก็บเพียงระยะเวลาตามสัญญา ดังนั้นในอนาคต อีก 3 ปี 5 ปีผลตอบแทนทางสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการวิจัยนี้คาดว่าจะมีผลตอบแทนที่มากขึ้นกว่ามูลค่าเงินที่ลงทุนไป ฉะนั้นจึงต้องมีการเก็บรวมรวบเพื่อการวิเคราะห์ในระยะ 3 ปี 5 ปี อีกครั้ง ถึงจะเป็นผลที่ชัดเจนว่าเงินลงทุน ที่ลงทุนภายใต้ชุดโครงการ ก่อให้เกิดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเท่ากับเท่าไร
Title
Development of learning and innovation platform for sustainable local economic development by Rajamangala University of Technology IsanKeywords
Learning and innovation platform,Local economic development,Local innovatorAbstract
This research aims Build a learning and innovation model developed from local wisdom. Create village innovators to be the center of community development Strengthen the capacity of communities to learn and apply innovations to apply knowledge to change and address problems in the community. Create a local community development plan that can be connected to the provincial development plan. have a model of economic development, foundations, and synthetic clauses for area-level and policy expansion Increase the capacity of universities to develop high-impact research projects to support the development of the area. Target areas 39 sub-districts, 28 districts, 6 provinces of the northeastern region. The results of the research, the creation of learning and innovation models developed from local wisdom. 40 communities can be created, divided into learning models of using innovation to solve upstream problems, called “innovative communities based on the use of innovation and technology for resource-based community productivity”. problem solving of plant and animal diseases; soil improvement; improvement of rice varieties It was found that it was a community with raw materials in the area, such as rice, chili, Krung Khama , herbs, and cattle, and a learning model of using innovation to solve midstream and downstream problems, called “an innovative community based on using innovation and technology to raise the economy Resource-Based Community” Bringing innovation into the solution to the problem of low-priced products. waste in the production process shortening of working time standard control Processing to add value Changing the brand and packaging Make the product look modern, easy to transport, the product is not damaged. Including selling products through online systems, creating pages, creating stories to make the products look interesting. and to expand more customer base Found that it is a community with local raw materials such as betel nut, chili, various kinds of mushrooms, herbs, Krung Khama, vegetables, rice, mangos, pottery, bedding, rattan furniture, old vinyl, and ecotourism. innovator able to create 130 village innovators from 39 sub-districts, serving as the center of community development. be a change leader technology transfer. There were 95 innovations, comprising 37 inventions, 38 product innovations, and 20 process innovations. There are 40 community development plans to operate in accordance with the provincial development plan. to further development A master plan for economic development of the foundations of Rajamangala University of Technology Isan was created, numbering one plan, capable of raising the economic income of the community by more than 15%. The return on investment (ROI) was 34.89%, meaning that the project package received a return on investment. back 34. 89%, which is considered a good return with an appraisal period based on the grant contract time. and is in an epidemic condition where sales do not meet the goals set in each project, such as tourism projects not earn from tourism because epidemic prevention measures making tourists unable to travel to tourist areas but it also creates awareness among tourists. with available applications Waiting for the situation to improve, expecting to have more income in the future. The social return on investment SROI obtained from the research project is 0.64, indicating that an investment of 1 baht of capital will receive a social return of 0.64 baht, even if the return is less than the investment. However, it is considered a good sign for future projects as the data is kept only for the contract period. Therefore, in the future, in the next 3 years and 5 years, the social returns resulting from the implementation of this research project are expected to be greater than the value of the money invested. Therefore, it has be collected for analysis in the period of 3 years and 5 years again in order to be clear that the investment. that invested under a series of projects What is the social return on investment.