ชื่อโครงการ
การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) บนฐานทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรีคำสำคัญ
ไผ่, เสื่อ, เสื่อลำแพน, เส้นตอก, แผ่นจักรสาน, สร้างมูลค่า, คุณค่า, ท้องถิ่น, เชิงพาณิชย์, ตกแต่งภายใน, เฟอร์นิเจอร์, การพัฒนาผลิตภัณฑ์, นวัตกรรม ,การออกแบบ, ปราจีนบุรี, นครราชสีมาบทคัดย่อ
ไผ่จัดเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ดังนั้นเพื่อร่วมกันพัฒนาระบบนิเวศไผ่ให้ยั่งยืน การใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยเข้าไปทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ จะเป็นการช่วยพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprise, LE) ที่เกี่ยวกับระบบนิเวศไผ่ ภายใต้แนวคิด เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy, BCG model) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อต่อยอดศักยภาพของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไผ่ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Network Value Chain) เพื่อให้เกิดการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (2) เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์และการบริการจากไผ่ให้เป็นสินค้า อัตลักษณ์ ได้มาตรฐาน และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และ (3) เพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนด้วยการใช้นวัตกรรมและพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ไผ่ที่เป็นทรัพยากรพื้นถิ่น แผนงานนี้ประกอบด้วยโครงการวิจัยทั้งสิ้น 5 ชุดโครงการ (22 โครงการย่อย) มีการดำเนินงาน 15 เดือน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเวลา 2 เดือนแรก เป็นวิเคราะห์สภาวการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์ สภาวการณ์กลุ่ม LE ภายใต้สภาวการณ์โรคระบาด Covid-19 เพื่อนำมาสู่การคลี่ภาพการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่และเชื่อมโยงการวิจัยด้วยระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยย่อย ระยะเวลา 10 เดือน เป็นการดำเนินงานวิจัยตามกรอบวิจัยหลักของแผนงานระดับมหาวิทยาลัย และ 3 เดือนสุดท้าย เป็นการขับเคลื่อนระบบและกลไกด้วยการสร้างโอกาสทางการตลาดและความสามารถในการแข่งขันตลอดห่วงโซ่คุณค่า ระบบบริหารจัดการโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ขับเคลื่อนแผนงานวิจัยนี้ โดยใช้สถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยจัดการกลางเพื่อเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากภาควิชาการ หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน ท้องถิ่นและภาคธุรกิจ บูรณาการกันเป็นภาคีเครือข่ายตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวม 33 หน่วยงาน ร่วมวิเคราะห์ประเด็นปัญหา เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและสร้างโอกาสในการแข่งขัน โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือ จังหวัดปราจีนบุรี ผลจากการคลี่ภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าจากฐานทรัพยากรไผ่พบว่า กระบวนการสำคัญในการทำงานนี้เกิดขึ้นจากการสร้างระบบและกลไกแบบเสริมพลัง (Synergism platform) ที่ดึงผู้ประกอบการที่เข้มแข็งช่วยกลุ่มที่กำลังพัฒนาในพื้นที่ ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ต้นน้ำ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/เกษตรกรแปลงใหญ่หน่อไม้ต้มและหน่อไม้ดอง วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไผ่ ต.ทุ่งโพธิ์ วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรภาพอาหาร ต.ทุ่งโพธิ์ กลุ่มแปลงใหญ่ไผ่เขียวอีสาน ต.โพธิ์งาม ชุมชนหมู่ที่ 5 ต. เนินหอม วิสาหกิจชุมชนสหแสงชัยเสื่อลำแพนบ้านค้อ วิสาหกิจชุมชนบ้านไทรงาม และวิสาหกิจชุมชนตำบลบ้านดงบังเพื่อสังคม โดยมีบริษัทเอกชนในพื้นที่ ได้แก่ บริษัท พิมธา จำกัด Thailand Bamboo และเอกชนนอกพื้นที่ ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ คือการยกระดับขีดความสามารถ LE ผ่านกลไกการบริหารที่ทำงานร่วมกับนักวิจัย มทร.ธัญบุรี บนฐานทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรี ได้ 4 กลุ่มเป้าหมาย (1) เกษตรกรผู้ปลูกไผ่แปลงไผ่ บริหารจัดการการเพาะปลูกหน่อและแปรภาพ เพิ่มรายได้และยอดขายผลผลิตหน่อไม้นอกฤดูด้วยการดองด้วยน้ำมะพร้าว และพัฒนากระบวนการต้ม นึ่งหน่อไม้สดด้วยการลดระยะเวลา (2) กลุ่มผู้ประกอบการ LE กลางน้ำ สามารถเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันและโอกาสความต้องการของตลาดด้วยมาตรฐานสินค้า และอัตลักษณ์ รายได้กลุ่ม LE เพิ่มขึ้น 20% จากการพัฒนาภาพแบบผลิตภัณฑ์เสื่อลำแพนให้มีความหลากหลายจากเส้นตอกขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรเข้าหนุนเสริม (3) มูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ยกระดับผลิตภัณฑ์เสื่อลำแพน มีการประเมินความคุ้มค่า ROI 40% ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หน่อไม้ตงศรีปราจีนกระจายรายได้สู่กลุ่ม 70% การบริหารจัดการและเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากไผ่ด้วยนวัตกรรม เช่น ถังจากผงไผ่ ผลิตภัณฑ์เทอร์โมพลาสติกสตาร์จรักษ์โลกจากผงไผ่ ทรายแมว เส้นใยจากไผ่และทอเป็นผืนผ้า และ (4) ทักษะแรงงาน ยกระดับฝีมือแรงงานภูมิปัญญาสู่แรงงานรุ่นใหม่ และแรงงานคืนถิ่นผู้ได้รับผลกระทบ Covid-19 วิสาหกิจชุมชนสหแสงชัยเสื่อลำแพนบ้านค้อและหลักสูตรสำหรับธุรกิจบริการสปาเพื่อสุขภาพเพื่อยกระดับรายได้ของวิสาหกิจชุมชนตำบลดงบังเพื่อสังคม
Title
Value Creation and Value Added throughout the Value Chain of OTOP Products based on Bamboo Resource in Prachin Buri.Keywords
Bamboo,Mat,Rampan Mat,Bamboo Shredded,Sheet Weave,Create Value,Valuable,Local,Commercial,Interior Decoration,Furniture,Product Development,Innovation,Designing,Prachin BuriAbstract
Bamboo is an important local economic crop in Prachin Buri. Therefore, the jointly develop a sustainable bamboo in ecosystem. This is the use of knowledge Technology and innovation to enhance competitiveness by working with communities in the local areas that will help to develop a group of local entrepreneurs (Local Enterprise, LE) related to bamboo ecosystems under the concept of bio-economy, circular economy, and green economy (Bio-Circular-Green Economy, BCG model). The purpose of this research project is 1) to further develop the current network value chain of bamboo OTOP products into a new value chain 2) to develop manufacturing processes and services that creates bamboo products with identity and quality standards for sustainable competitive commercialization 3) to enhance the potential of OTOP enterprises and local communities with innovation and development of bamboo products, which are native resources of the community. This research consists of 5 funded project series (22 subprojects). This research project was carried out over a period of 15 months, which is divided into three phases. The first two months was dedicated for analysis of the network value chain and operations of local enterprises under the outbreak of the Coronavirus (COVID-19) disease. The analysis was employed in the management of the new network value chain and in the management of subprojects to operate in alignment under current circumstances. The second phase was a period of ten months that was dedicated to carrying out research activities according to the main research framework of the university program. The last phase was a period of three months of conducting research and steering the new value chain in accordance with market opportunities and competitiveness. Project management system of Rajamangala University of Technology Thanyaburi to drive this research plan under the Institute of Research and Development that is a central management unit connected stakeholders from the academic departments, government sectors, local communities, and business sectors integrated as network partners throughout the value chain, totaling 33 sectors involved in the analysis of issues to create value for local products and create competitive opportunities of the target area is Prachin Buri. Our efforts in steering area-based research into successful commercialization mechanisms progressed effectively and produced maximum benefits for local communities. The network value chain analysis elucidated the relationship of associates within the chain that accommodates establishment of a synergistic platform, which incorporates competitive area-based local enterprises. The network consists of bamboo cultivators, bamboo shoot processing enterprises, Tumbon Tung-Pho community enterprise, Tumbon Tung-Pho food production and processing community enterprise, Tumbon Pho-Ngarm community enterprise, Phimtha Company Limited, Saha-Sangchai community enterprise, Bhan-sai Ngarm community enterprise, and Dong-Bung community enterprise. Local enterprises, target communities, government sectors and stakeholders are associated into the network through Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT) and incorporated into a new value chain. Academic data that is produced from the research product includes 1) the structure of income distribution to upstream manufacturers and bamboo farmers 2) midstream development of products and technical procedures 3) marketing strategies that underlines opportunities and competitiveness of downstream distributors. The outcome from promoting competency of local enterprises through collaboration with researchers from RMUTT are 1) Sri-Prachin Tong bamboo shoot products were redesigned and demonstrated increased income distribution in the community. The new products are bamboo shoots preserved in coconut water that increased the sales value, increased income, developed a technology for steamed bamboo shoot processing, and increased time of fresh steamed bamboo in vacuum processing, 2) local entrepreneurs can increase their competitiveness and market demand opportunities through product standards and identity and demonstrated 20% increased income in the local entrepreneurs due to the product development of Lam-Pan mats by creating new mat patterns, compressing Lam-Pan mat sheets, 3) increasing product value by upgrading products of Lam-Pan mats, evaluation of the return on investment (ROI) showed that the new Ego-system management platform was able to create an ROI of 40%. Sri-Prachin Tong bamboo shoot products were upgraded the quality and demonstrated 70% increased income distribution in the community. Management platform was value-added and upgrading the quality of bamboo waste product innovations such as such as bamboo bins, eco-friendly thermoplastic products from bamboo powder, cat litter, bamboo fibers and woven fabrics, and 4) Labor skills, skill level of intellectual labor to a new generation of workers an the Saha-Sangchai community enterprise, and training courses for health spa services to raise the income of Dong-Bung community enterprise were and creating local jobs in the community that was affected by the COVID-19 pandemic.