ธัญบุรีชุมชนน่าอยู่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สุขภาวะรื่นรมย์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 33 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630053
นักวิจัย ผศ ดร วารุณี อริยวิริยะนันท์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

ธัญบุรีชุมชนน่าอยู่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สุขภาวะรื่นรมย์

คำสำคัญ

ชุมชนเมืองธัญบุรี,ที่ว่างสาธารณะริมคลอง,ส่งเสริมสุขภาวะ,การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม,เศรษฐกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากลไกที่เหมาะสมในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพในการพัฒนาพื้นที่คลองอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นเมืองน่าอยู่ และหาแนวทาง การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนชานเมือง และการมีงานทำในพื้นที่ โดยอาศัยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรองรับการพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางในอนาคต ประกอบด้วย 3 โครงการที่มีมิติในการพัฒนาด้านกายภาพ สังคมและเศรษฐกิจของเมืองธัญบุรี

1) การออกแบบและพัฒนาพื้นที่คลองและพื้นที่ว่างเพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชน
2) การออกแบบและพัฒนาที่พักอาศัยจากรูปแบบบ้านพักที่มีผู้สูงอายุพักอยู่จริง
3) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนเคหะ (รังสิต) คลองหก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ด้วย แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์

โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษา สำรวจ และการสืบค้นข้อมูล นำมาวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือด้านสถิติ ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า ลักษณะการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่ชุมชนต้องการ คือมีตัวหนังสือที่สามารถอ่านง่ายทุกช่วงวัย สิ่งอำนวยความสะดวกประเภทราวกันตกหรือราวจับในพื้นที่เปลี่ยนระดับและทางลาด และต้นไม้เพื่อพัฒนาทัศนียภาพ ควบคู่กับการนำชีวเทคโนโลยีนวัตกรรมชีวภาพในการบำบัดมลภาวะสิ่งแวดล้อมฝุ่นละอองในอากาศในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง โดยชุมชนควรมีสวนครัวผักสำหรับปลูกผัก สมุนไพรและไม้ประดับ โดยปลูกร่วมกับดินสำเร็จรูปและปุ๋ยชีวเทคโนโลยีนาโนด้วยกระถางสมาร์ท เพื่อช่วยดูดซับก๊าซมลพิษสิ่งแวดล้อมและเพิ่มการคายน้ำ เพิ่มความสามารถในการดักจับปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 สิ่งที่น่าสนใจคือ ชุมชนให้ความสำคัญกับปริมาณแสงสว่างเป็นอย่างมาก รูปแบบบ้านเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ 2 รูปแบบ คือแบบบ้านชั้นเดียว และแบบบ้าน 2 ชั้น โดยรูปแบบเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาดังนี้ หน้าบ้านจัดอุปกรณ์บริหารร่างกายกับตาราง 9 ช่อง ไว้สำหรับเล่นระหว่างวันหรือตอนเย็น ห้องรับแขกมีพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์การทดสอบสติปัญญาตามอายุ และ ในห้องนอนมีหัวเตียงควรมีโต๊ะข้างหัวเตียงจัดอุปกรณ์การกรอกตาตามแนวนอน ส่วนในมิติของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น มีแนวทางในการพัฒนาโดยต้องเริ่มจากการพัฒนาคน จากนั้นเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วยความเข้าใจ โดยผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนาคนสู่ภาวะสร้างสรรค์ตัวอย่างพื้นที่ทดลอง 4 รูปแบบ ได้แก่ ย่านสร้างสรรค์เคหะคลองหก การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ การพัฒนาร้านแผงลอยสร้างสรรค์ให้สวยงามมีเอกลักษณ์ที่น่าจดจำ และการพัฒนาร้านขายสินค้าสร้างสรรค์

Title

Thanyaburi Liveable Creative Economy And Wellbeing Community

Keywords

Thanyaburi City,Canals & Public space,Promoting well-being,Participation Communication,Economic Community

Abstract

The purposes of this study were to

(1) find out an appropriate mechanism for the development of physical characteristics in the development of the canal area of Thanyaburi District, Pathum Thani Province, which has developed a high quality of life as a livable city.
(2) find out guidelines for the economic development of suburban communities and having a job in the area. This research uses the mechanism of community participation to support the development of a central city in the future.

It consists of 3 projects with different dimensions of physical development, society and the economy of Thanyaburi. Firstly, the design and development of canals and vacant areas to promote community health. Secondly, To design new model of inside and outside the house for the elderly and develop house designs to enhance intellectual well-being in the elderly. Thirdly, to study the creative economic development guidelines in the housing community (Rangsit), Khlong Hok, Thanyaburi District, Pathum Thani Province. The research instruments used were questionnaires and interviews. Data was collected and analyzed by using percentage, mean, and standard deviation statistics. The results of this study found that

(1) public spaces were designed for community needs by using letters that can be easily read by all ages, handrails or handrails are available in transition areas and ramps, as well as green trees. Bio-innovative biotechnology was applied to treat environmental pollution, dust in the air, and increase green spaces in urban areas. The study suggests that the community should have a vegetable garden for growing vegetables, herbs, and ornamental plants by planting them with ready-made soil and bio-fertilizer nanotechnology in smart pots. The vegetable garden will help absorb pollution gases, increasing dehydration, and increasing the ability to trap the amount of PM2.5 dust. The community attaches great importance to the amount of light.
(2) There are 2 types of house design development to enhance intellectual well-being in the elderly, namely single houses and houses double, with the following forms for enhancing cognitive health: In front of the house, the exercise equipment is organized with nine tables for playing during the day or evening. The living room is equipped with age-based intelligence testing equipment, and in the bedroom with a headboard, there should be a bedside table and a horizontal eye-filling device.
(3) The development of the creative economy has improved the lives of people and increased the opportunity and potential for increased income with understanding. The researchers have proposed guidelines for developing people to be creative in 4 types of experimental areas, namely Yan-Sang-Sun Ke-Ha Klong Hok, creative packaging, developing creative stalls to be unique and memorable, and the development of creative shops.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น