การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 11 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630048
นักวิจัย อาจารย์ ดร. มาลี ศรีพรหม
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สกลนคร

ชื่อโครงการ

การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ

การแก้ปัญหาคนจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ,ระบบข้อมูลความยากจน,ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์โดยภาพรวม ได้แก่

1) เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลความยากจนและติดตามการช่วยเหลือของจังหวัดสกลนคร
2) เพื่อติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลคนจนและหนุนเสริมกลไกการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดสกลนคร
3) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ระดับครัวเรือน การทำงานเชิงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดสกลนครเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ.

วิธีการดำเนินงานใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 การจัดทำระบบข้อมูลความยากจนและติดตามความช่วยเหลือ
ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล การคืนข้อมูล
ระยะที่ 3 การทำงานโครงการนำร่องและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย

การรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยทั้งจากแหล่งปฐมภูมิ ได้แก่ การเก็บแบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการจัดเวทีรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย รวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ ได้แก่ แผนชุมชน ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ข้อมูลความต้องการชุมชน ดำเนินการโครงการนำร่องบนพื้นฐานการวิเคราะห์แนวทางความต้องการการพัฒนาจากข้อมูลพื้นที่ ซึ่งผลการวิจัยเกิดระบบและกลไกที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ได้ 2 ระบบ คือ

1) ระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูล
2) ระบบและกลไกเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน

  1. ระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูล
    1) การค้นหาและสอบทานข้อมูลอย่างแม่นยำ
    2) การค้นหาทุนครัวเรือนเพื่อหาแนวทางการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ
    3) การส่งต่อข้อมูลไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการรัฐ
  2. ระบบและกลไกเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน
    1) บทบาทมหาวิทยาลัยต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน
    2) บทบาทระดับหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่เพื่อการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย
    3) บทบาทระดับชุมชนเพื่อการสร้างหน่วยจัดการความยากจน
    4) บทบาทระดับครัวเรือนเพื่อการสร้างศักยภาพหลุดพ้นด้วยทุน 5 ด้าน

1.ระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูล

1.1) การค้นหาและการสอบทานข้อมูลอย่างแม่นยำ การสำรวจเริ่มต้นจากข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ซึ่งเป็น ข้อมูลจากการสำรวจจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตามดัชนี MPI และมีการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ โดยวัดจากดัชนีความยากจน 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการของรัฐ พบว่าจังหวัดสกลนครมีจำนวนคนจนตาม TPMAP เท่ากับ 15,390 คน หรือ 8,449 ครัวเรือน แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลยังมีข้อมูลจากการสำรวจจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่ได้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐอีกจำนวน 2,241 ครัวเรือน ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายคนจนระดับครัวเรือนของโครงการนี้ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ MPI ซึ่งมีทั้งครัวเรือนที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเข้าด้วย รวมครัวเรือนทั้งหมดเท่ากับ 10,690 ครัวเรือน หรือจะเรียกว่าเป็นคนจน จปฐ. ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตามดัชนี MPI การสอบทานข้อมูลกลุ่มคนจนเป้าหมายตาม TPMAP ในแต่ะอำเภอจำนวน 10,690 ครัวเรือน โดยอาสาสมัครทั้งหมด 770 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2563 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามทุน 5 ด้าน พบว่าสามารถสำรวจข้อมูลได้ 9,882 ครัวเรือน คิดเป็น 92.44 % มีสมาชิกในครัวเรือนทั้งหมดที่สำรวจได้เท่ากับ 37,689 คน พบปัญหาจากการสำรวจข้อมูล อาทิ ครัวเรือนคนจนเป้าหมายไม่ให้ข้อมูลเนื่องจากมีฐานะดีอยู่แล้ว บางครัวเรือนเป็นข้าราชการ บางครัวเรือนย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น ครัวเรือนไปทำงานไม่อยู่บ้านช่วงที่ไปสำรวจ และครัวเรือนไม่ให้ข้อมูลด้านรายได้และเงินออม เป็นต้น จึงทำให้สำรวจข้อมูลได้ไม่ครบตามเป้าหมายและข้อมูลในแบบสอบถามไม่สมบูรณ์ หากพิจารณาเป็นรายอำเภอจำแนกตามทุนแต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด พบว่า อำเภอวานรนิวาสมีทุนมนุษย์และทุนการเงิน อำเภอคำตากล้ามีทุนกายภาพและทุนสังคม อำเภอโคกศรีสุพรรณมีทุนธรรมชาติ หากพิจารณาตามลักษณะภูมินิเวศพื้นที่จังหวัดสกลนคร ได้แก่ อำเภอกุดบากพื้นที่นำร่อง (ภูมินิเวศหุบเขา) จะมีทุนกายภาพมากสุดและทุนทางสังคมน้อยสุด, อำเภอส่องดาว (ภูเขา) จะมีทุนกายภาพมากสุดและทุนมนุษย์น้อยสุด,อำเภออากาศอำนวย (ลุ่มน้ำ) จะมีทุนกายภาพมากสุดและทุนสังคมน้อยสุด, อำเภอโพนนาแก้ว (ลุ่มน้ำหนองหาร) จะมีทุนกายภาพมากสุดและทุนสังคมน้อยสุด, อำเภอเมือง (เขตเมือง) จะมีทุนกายภาพมากสุดและทุนสังคมน้อยสุด และอำเภอเต่างอย (พื้นที่หมู่บ้านราชภัฏ) จะมีทุนกายภาพมากสุดและทุนสังคมน้อยสุด รายละเอียดดังภาพที่ 4.9 ส่วนใหญ่จะมีทุนทางสังคมน้อยสุด เนื่องมาจากไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กรในชุมชน ทำนองเดียวกับทุนมนุษย์ สาเหตุอาจมาจากสมาชิกในครัวเรือนมีการศึกษาในชั้นประถมและต่ำกว่าประถม ในทำนองกลับกันส่วนใหญ่จะมีทุนกายภาพมากสุด เพราะครัวเรือนส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มีระบบสาธารณูปโภคและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

1.2) การค้นหาทุนเพื่อหาแนวทางการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ การวิเคราะห์ข้อมูลทุนของคนจนเป้าหมาย พิจารณาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของทุนดำรงชีวิตที่ได้มาจากระบบการสนับสนุนการการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน พบว่า ทุนกายภาพมีมากที่สุด 3.รองลงมาคือทุนมนุษย์ ทุนธรรมชาติ ทุนสังคม และทุนการเงิน ตามลำดับ โดยภาพรวมครัวเรือนเป้าหมายมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพค่อนข้างดี เช่น ที่อยู่อาศัย การคมนาคมขนส่ง ไฟฟ้า ประปา และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น แต่ยังคงมีหนี้ แม้ว่าจะเป็นสมาชิกการออมขององค์กรการเงิน หากวิเคราะห์ทุนชุมชนจากข้อมูลทุติยภูมิร่วมด้วย จะทำให้เห็นทุนชุมชนที่เอื้อต่อการบรรเทาความยากจนและการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี นอกจากนั้นระบบฯ ยังจำแนกลักษณะครัวเรือน 4 ลักษณะบนฐานทุน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ตรงจุดตามความยากจน แต่ยังต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพร่วมด้วย เพื่อระบุอย่างแม่นตรงถึงความขาดแคลน ความต้องการ และศักยภาพทุนเป็นรายครัวเรือน

1.3) การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการสอบทานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย พบข้อมูลครัวเรือนที่อยู่นอกเป้าหมาย TPMAP จาก อาสาสมัครและผู้นำชุมชน จำนวน 418 ครัวเรือน ดำเนินการส่งต่อครัวเรือนที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งที่อยู่ในเป้าหมายและนอกเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางและกลุ่มพึ่งพิง เช่น ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ไม่มีที่อยู่อาศัย ตามรายละเอียดครัวเรือนและต้องการความช่วยเหลือ จำนวนทั้งสิ้น 260 ครัวเรือน ไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัดสกลนคร ซึ่งหน่วยงานทำการตรวจสอบข้อมูลและเยี่ยมบ้านโดยอาสาสมัครพัฒนาชุมชน (อพช.) พร้อมให้การช่วยเหลือตามแผน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะยาว (ที่ทำกิน/แผนท้องถิ่น) ระยะกลาง (อาชีพ/ที่อยู่อาศัย) และระยะเร่งด่วน (สงเคราะห์/อุดหนุน/ฟื้นฟู/ส่งต่อ) ระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูล หากดำเนินการได้อย่างแม่นยำและเบ็ดเสร็จ จะสามารถวิเคราะห์ปัจจัยและความเหนี่ยวรั้งให้ติดกับดักความยากจน ทำให้ครัวเรือนถูกนิยามตามปัญหาการดำรงชีพ แม้ว่าจะมีทุนชุมชนหรือทุนครัวเรือนที่เกื้อกูลและเป็นประโยชน์ แต่หากปัจจัยนั้นมาจากการขาดโอกาสและความเหลื่อมล้ำก็อาจจะทำให้ครัวเรือนติดกับดักความจนดังนั้นทางเลือกการปฏิบัติการ“โมเดลแก้จน” จึงควรดำเนินการบนพื้นฐานทุนและลักษณะการดำรงชีพ ต้องใช้ระยะเวลาการปรับ mindset ครัวเรือน เพื่อสร้างการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยระบบและกลไกของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ที่อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน และต้องเกิดจากเห็นปัญหาร่วมจึงจะนำไปสู่การร่วมกันแก้ปัญหาที่ยุ่งยากแบบนี้ได้ คณะผู้วิจัยจึงได้เสนอ โมเดลแก้จนสกลนคร ที่ต้องบูรณาการการทำงานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำเป็นฐานข้อมูลครัวเรือนในท้องถิ่น ปฏิบัติการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

2. ระบบและกลไกเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของประเทศไทย เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ จึงต้องบูรณาการความร่วมมือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับจังหวัดสกลนคร มีหน่วยงานหลัก 5 หน่วยงานรับผิดชอบตามมิติคนตกเกณฑ์ จปฐ. เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนรับผิดชอบมิติรายได้ เรื่อง การพัฒนาอาชีพให้เกิดรายได้ สำนักงานสาธารณสุขรับผิดชอบมิติด้านสุขภาพ เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพชุมชน ลดโรคไม่ติดต่ออายุรกรรม เป็นต้น แต่หน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด จะรับผิดชอบการขุดบ่อบาดาลให้ชุมชน สำนักงานเกษตรจังหวัด จะรับผิดชอบส่งเสริมการเกษตร แม้แต่มหาวิทยาลัยก็มีองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้กับท้องถิ่น หากหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้รับรู้ข้อมูลปัญหา ความต้องการของครัวเรือนคนจน อาจทำให้เกิดกระบวนการการแก้ไขความยากจนแบบองค์รวมโดยใช้ฐานข้อมูลชุดเดียวกัน One Data, One Plan

2.1) บทบาทมหาวิทยาลัยต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน การดำเนินงานโครงการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ มหาวิทยาลัยราชภัฏมีบทบาทเป็นทุนปัญญาในพื้นที่ ทำหน้าที่เป็น“กลไกสำคัญ” ในการสนับสนุน เชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มแก้จนชุดเดียวกันในการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่าย ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนซึ่งมีหลายมิติ รวมทั้งประสานความร่วมมือการช่วยเหลือตั้งแต่ระดับครัวเรือน จังหวัดและประเทศ ตามปณิธานการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างแท้จริง โดยมีทีมกลาง บพท. เป็นที่ปรึกษาและหนุนเสริมการทำงานของมหาวิทยาลัย ทำให้สามารถดำเนินงานตามกระบวนการได้ตรงวัตถุประสงค์โครงการ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

2.2) บทบาทระดับหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ เพื่อการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย การแก้ไขปัญหาความยากจนถือเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กรอบการดำเนินโครงการนี้จึงต้องชัดเจนและมาจากการมีส่วนร่วมของพื้นที่ทุกภาคส่วน รวมทั้งรายงานผลได้เชิงประจักษ์ และเป็นภาคีที่สำคัญต่อการผลักดันให้เกิดนโยบายเอื้อคนจนแบบตรงจุด บทบาทของหน่วยงานจึงแบ่งได้ 2 ระดับ คือ
1) ระดับนโยบาย โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ เห็นชอบและมอบ นโยบายการขับเคลื่อนโครงการผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนฯ จังหวัด ภายใต้ข้อมูลชุดเดียวกันกับมหาวิทยาลัย ความแม่นยำจึงเริ่มเกิดขึ้น และแนะนำว่าต้องคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่พร้อมจะแก้ไขปัญหาด้วยกัน จึงทำให้การขับเคลื่อนโครงการนำร่อง “กุดบากโมเดล” ที่อำเภอกุดบาก ร่วมกับนายปรีชา มณีสร้อย นายอำเภอกุดบากที่ขานรับนโยบายสู่การพัฒนาร่วมกับผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ สร้างการรับรู้การจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ ให้ความร่วมมือการให้ข้อมูล และผลักดันการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ จึงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นตัวอย่างการพัฒนาแก่พื้นที่อำเภออื่น ๆ ในอนาคตต่อไป
2) ระดับปฏิบัติการ จะเป็นบทบาทการดำเนินงานของผู้นำชุมชน ครัวเรือน ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่

2.3) บทบาทระดับชุมชนเพื่อสร้างหน่วยจัดการความยากจน ผู้นำทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ปฏิบัติงานระดับตำบล อำเภอ หรือผู้นำไม่ทางการ เช่น อสม. ปราชญ์ชุมชน อาสาสมัครของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นผู้ใกล้ชิดกับครัวเรือนมากที่สุด บทบาทระดับชุมชน ทำหน้าที่ค้นหาสอบทานข้อมูล รวมทั้งค้นหาข้อมูลครัวเรือนคนจนเชิงลึกที่ไม่ปรากฏในฐานข้อมูล เพื่อให้ได้รับสวัสดิการของรัฐอย่างทั่วถึง ผู้นำชุมชนยังเป็นผู้คัดเลือกครัวเรือนให้ได้ร่วมโครงการแก้ไขความยากจน โครงการอบรมส่งเสริมทักษะอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ดังเช่นโครงการนำร่องบ้านกุดไหตำบลกุดไห ครัวเรือนเป้าหมายที่ร่วมโครงการพัฒนาก็ได้รับคัดเลือกจากผู้นำชุมชนและผู้ปฏิบัติการพัฒนาเกษตรกรในท้องถิ่น บทบาทระดับชุมชนเป็นกลไกสำคัญของการรับรู้ข้อมูลที่มีความใกล้ชิดกับครัวเรือนยากจน ดังนั้นหน่วยงานระดับท้องถิ่นจึงควรกำหนดหน้าที่การจัดการข้อมูลให้กับผู้ปฏิบัติงานหรืออาสาสมัคร แต่ในปีที่ 1 นี้ผลงานวิจัยยังไม่สามารถดำเนินการผลักดันให้เกิดหน่วยจัดการข้อมูลในชุมชน เพียงแต่แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ให้ผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นความสำคัญของแพลตฟอร์มแก้ไขความยากจน ด้วยการค้นหา สอบทานข้อมูลครัวเรือน และให้ความช่วยเหลือตามความขาดแคลน และเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปจัดทำข้อเสนอโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อพัฒนาอาชีพครัวเรือนยากจน หรือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอื้อคนจนได้ การดำเนินงานสร้างระบบการจัดการข้อมูลชุมชนหรือการผลักดันให้เกิดอาสาสมัครนักจัดการข้อมูลจะเริ่มดำเนินการในโครงการปีที่ 2 ต่อไป

2.4 บทบาทระดับครัวเรือนเพื่อการสร้างศักยภาพหลุดพ้นด้วยทุน 5 ด้าน การดำเนินโครงการนำร่องเป็นโครงการตัวอย่างการพัฒนาจากทุนศักยภาพและความเข้มแข็งของครัวเรือนเป้าหมาย แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนเป้าหมายต้องการหลุดพ้นจากกับดักความยากจน และเชื่อมั่นใน ศักยภาพตนเองเพื่อนำทุนที่มีอยู่เป็นหนทางสู่ความหลุดพ้นความจน และไม่ต้องการให้คนรุ่นถัดไปต้องจนอีก จะเห็นได้จากปลูกผักที่ทำเป็นอาชีพเสริมหลังการทำนา ที่ถูกพัฒนาเป็นการปลูกผักปลอดภัย ตลอดจนการพร้อมเรียนรู้องค์ความรู้เทคโนโลยีและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้แก่ การเรียนรู้นวัตกรรมเครื่องสูบน้ำและแนวคิดการรวมกลุ่มวิสาหกิจผักปลอดภัย “ผักแซ่บบึงอาคะ” ทำให้ลดเวลาการรดน้ำผัก เกิดการรวมกลุ่ม สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ รวมทั้งการได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานภาครัฐ พร้อมเรียนรู้ความรู้ใหม่และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการจัดตั้งกลุ่ม เป็นต้น นอกจากนั้นได้มีส่วนการเสนอแนวทางพัฒนากลุ่มครัวเรือนยากจนตามคุณลักษณะครัวเรือน 4 ประเภท ได้แก่ อยู่ลำบาก อยู่ยาก อยู่พอได้ อยู่ดี เพื่อชี้นำความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นให้ตรงจุด เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มคนยากจน เช่น การจัดตั้งกองทุนเพื่อคนยากจน เป็นต้น ครัวเรือนมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน เพราะเป็นหน่วยแรกที่ถูกชี้ว่า “จน” จากการสำรวจข้อมูลภาครัฐ จึงเป็นโอกาสและภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในชีวิต โอกาสที่ได้รับจากการเป็นคนที่ถูกชี้ว่าจน อาจมาจากการได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้รับความรู้เพิ่มทักษะอาชีพ ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สมาชิกได้รับโอกาสการดูแลความจน 5 มิติ บุตรหลานได้รับการศึกษาภาคบังคับ ได้รับทุนสนับสนุนการสร้างอาชีพ เป็นต้น แต่บางครั้งอาจก่อให้เกิดภาระต่อการพัฒนาศักยภาพตนเอง เช่น จาการเก็บข้อมูลครัวเรือน ได้สะท้อนว่าไม่อยากอยู่ในกลุ่มคนจน เพราะไม่มีเวลาไปอบรมอาชีพ เนื่องจากต้องไปกรีดยาง เป็นต้น ดังนั้นผลการวิจัยจึงนำคืนข้อมูลให้ครัวเรือนเป้าหมายได้รับทราบทุนครัวเรือนตนเอง และปรับ mindset ด้วยการแสดงข้อมูลรายได้ ผลผลิตที่เกิดรายได้ และทักษะความสามารถของตนเองเพื่อสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ จะเห็นได้จากครัวเรือนที่ร่วมโครงการปลูกผักรอบบึงอาคะ เมื่อเห็นรายได้จากผลผลิตการปลูกผักระยะเวลา 5 เดือน ประมาณ 210,000 บาท หรือรายได้ของนักการขยายประมาณ 5,000 บาทต่อเดือน ทำให้เริ่มมีความคิดจะปลูกผักเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันผู้บริโภคนิยมทานผักปลอดภัยมากขึ้น และอยากเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานเป็นอาชีพเสริมหลังการทำนาอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนมีทัศนคติที่ดีต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยทุนครัวเรือน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ไม่ก่อให้เกิดภาระและหนี้สินในอนาคตต เป็นต้น ระบบและกลไกการบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำระดับครัวเรือน จะต้องมาจากการสำรวจข้อมูล การสอบทาน การลงระบบข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อการประมวลผลที่แม่นยำ นำสู่ระบบการแก้ไขปัญหาความยากจน เชิงพื้นที่ตามบทบาทและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบดูแลนโยบายความช่วยเหลือ สนับสนุน และบริการ ขึ้นอยู่กับบริบทความแตกต่างของพื้นที่ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ทุนอาชีพ ทุนครัวเรือน แต่ท้ายที่สุดก็เพื่อแสวงหาปฏิบัติการโมเดลแก้จน ให้คนจนหลุดพ้นจากกับดักความยากจน มีรายได้เกินเส้นความยากจน มีคุณภาพชีวิตตามพื้นฐานการดำรงชีพ และเพื่อขจัดความยากจนจากประเทศไทย

Title

Precision Poverty Alleviation in Sakon Nakhon Province

Keywords

Precision poverty alleviation,Poverty information system,Policy recommendations

Abstract

The objectives of this research are as follows

1) to develop a poverty information system and monitor assistance of Sakon Nakhon
2) to monitor and analyze data on the poor and support the mechanism of spatial development to solve of poverty in Sakon Nakhon.
3) to synthesize data on the area at the household level. Area Based Development on poverty alleviation of Sakon Nakhon is to make policy recommendations.

The target groups are households who are out of the Basic Minimum Needs Household Necessities Information. The methodology used a participatory process into three phases. Phase I, Implementation of a poverty information system and assistance monitoring. Phase II, data analysis, data return.
Phase III, Implementing a pilot program and establishing policy proposal. Research data was gathered from both primary and secondary sources.

Primary sources include questionnaire collection, interviews, and a forum to collect opinions from the target group. Secondary sources comprise community plans, basic needs information, and community needs information. The pilot project is implemented based on an analysis of development needs guidance from area data. According to the research findings, there are two systems and mechanisms that are consistent with objectives

1) information management systems and mechanisms
2) spatial systems and mechanisms for poverty alleviation.

  1. Information management systems and mechanisms
    1) Finding and reviewing accurate information
    2) Searching for household capital for holistic development approach
    3) Forwarding information to relevant agencies for accessing state welfare
  2. Spatial systems and mechanisms for poverty alleviation
    1) The university role in solving poverty problems
    2) The local and district agencies roles in advancing policy proposals
    3) The community role to create a poverty management unit
    4) The household role for building breakthrough potential through capital in five areas

1. Information management systems and mechanisms
1.1) Finding and reviewing accurate information The survey started with Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) data, which is a survey based on the Basic Household Necessities Information that did not qualify the MPI criteria and was enrolled in the state welfare. It is measured on the Poverty Index in five dimensions: health, well-being, education, income, and access to government services. It was found that Sakon Nakhon had 15,390 poor people according to TPMAP, or 8,449 households. However, there were also 2,241 households from a survey of the Basic Household Necessities Information who did not qualify the criteria and were not enrolled in the state welfare. Therefore, the researchers targeted the poor households of the project using survey data from the Basic Household Necessities Information that unqualified. This includes both households with and without the state welfare cards, totaling 10,690 households, or are referred to as poor people who do not meet the MPI criteria. A review of the target poor population based on TPMAP in each district of 10,690 households with a total of 770 volunteers was conducted between July and September 2020. The tool was a five-sided capital questionnaire. It was found that 9,882 households were surveyed, representing 92.44% of the total surveyed household members 37,689 people. Problems found in the data survey, for example, the target poor households did not provide information because they were already wealthy, some households were civil servants, some households migrated to other places, households did not work at home during the survey, and households did not provide information on income and savings, etc. Thus, the data in the questionnaire is incomplete, resulting in incomplete surveys to meet the goals. Considering by districts classified by capital in each aspect with the highest average, it was found that Wanon Niwat District had human and financial capitals, Kham Ta Kla District has physical and social capitals, Khok Si Suphan District has natural capital. But if considering the landscape characteristics of Sakon Nakhon i.e., Kut Bak District is the pilot area (valley landscape) with the most physical capital and the least social capital, Song Dao District (mountain) has the most physical capital and the least human capital, Akat Amnuai District (river basin) has the most physical capital and the least social capital, Phon Na Kaeo District (Nong Han river basin) has the most physical capital and the least social capital, Mueang District (urban area) has the most physical capital and the least social capital, and Tao Ngoi district (Rajabhat village area) has the most physical capital and the least social capital. As revealed in Figure 4.9, most districts have the least social capital due to lack of participation in the management of community organizations similar to human capital. The reason may be that the household members are educated in primary and lower grades. On the other hand, most districts have the most physical capital because most households have their own housing, utilities and information technology, etc.
1.2) Searching for household capital for holistic development approach The target poor peoples capital data was analyzed from considering the relationship of living capital derived from the spatial support system for poverty alleviation. It was found that physical capital was the most followed by human capital, natural capital, social capital and financial capital, respectively. Overall, the target households have relatively good infrastructure necessary for their livelihood, such as residence, transportation, electricity, water supply and information technology equipment, etc., but still have debts even if they are savings members of financial organization. If community capital from secondary data is analyzed together, it can be seen that community capitals are very conducive to poverty alleviation and livelihoods of the target groups. In addition, the system also categorizes households into four traits on capital base lead to development that meets the point of poverty. But, it also requires qualitative data analysis to accurately identify the scarcity, needs, and capital potential of each household.
1.3) Forwarding information to relevant agencies for accessing state welfare A review of target households revealed 418 households outside the target TPMAP from volunteers and community leaders. Households who needed help both in and out of the target group, especially vulnerable and dependent groups, such as handicapped, bedridden patients, homeless, etc., according to the details of households and in need of assistance, a total of 260 households were referred to Sakon Nakhon Social Development and Human Security. The agency then examined the information and made a home visit by Community Development Volunteers, and was ready to provide assistance according to the plan in three phases: long-term (agricultural area/local plans), medium-term (occupation/housing) and urgent-term (helping/subsidizing/re- habilitating/forwarding) If information management systems and mechanisms are implemented accurately and comprehensively, factors and retarding that lead to poverty traps can be analyzed resulting in households being defined as problems of living. Even though there is supportive and beneficial community or household capital, a household may be trapped in poverty if it is driven by lack of opportunity and inequality. Hence, the alternative operating “Poverty Alleviation Model” should be based on capital and livelihoods and require a period of time to adjust the household mindset to create learning and change. This requires the use of systems and mechanisms of relevant agencies, including the government, the private sector, and the social sector, who live together in the same society and must arise from common problems, in order to lead together to solve this difficult problem. The research team, therefore, proposed a model to solve Sakon Nakhon that must integrate the work to analyze the data and create a database of local households operating by relevant agencies in a concrete and continuous manner.

2. Spatial systems and mechanisms for poverty alleviation Holistic and accurate poverty alleviation of Thailand is a national strategy, so it must integrate cooperation with all relevant agencies. Sakon Nakhon provides five main agencies to look after according to the dimension of people who are out of the Basic household Necessities Information Criteria. For example, the Community Development Office is responsible for the income dimension regarding occupational development to generate income. The Public Health Office is responsible for the health dimension of community health promotion to reduce non-communicable diseases. Sakon Nakhon Provincial Office for Natural Resources and Environment is responsible for drilling artesian wells for the community. Sakon Nakhon Provincial Agricultural Extension Office is responsible for agricultural extension. Even Sakon Nakhon Rajabhat University gain knowledge from research studies to solve local problems. If these agencies that involve in the development and upgrading of peoples quality of life are aware of the problem of poor households problems and needs, it can lead to a holistic poverty alleviation process using the same database i.e. One Data and One Plan.

2.1) The university role in solving poverty problems The university plays a role as a local intellectual capital in implementing the holistic and accurate poverty alleviation project that acts as an important mechanism to support and link data from a single poverty-saving platform to work with various departments within the university and its network partners. It is made for a driving force to solve poverty in many dimensions and coordinating assistance from the household level, province, and country according to the aspiration of being a university for area development. A team from Development Capital Service and Management Unit for Area Level acts as a consultant and supports the universitys work so that it can carry out the process in accordance with the project objectives. The university has worked with partners both inside and outside.

2.2) The local and district agencies roles in advancing policy proposals Tackling poverty is the implementation of the 20-year national strategy. The framework for this project must be clear and come from the participation of all sectors in the area. It also reports empirical results and is an important partner to advocating for the policy to support the poor on the spot. The roles of these agencies can be divided into two levels.

1) Policy level, Mr. Monsit Paisanthanawat, the governor of Sakon Nakhon agreed and delivered the policy to drive the project through the Center for Poverty Eradication and Sustainable Development of All Ages according to the Philosophy of Sufficiency Economy of Sakon Nakhon under the same data set as the university, making it more accurate. The governor also suggested that it must be selected the target households who are ready to solve the problems. As a result, the pilot project “Kut Bak Model” at Kut Bak District is driven together with Mr. Preecha Maneesoi, the sheriff of Kut Bak District. The sheriff responded to the policy towards development with the local and district leaders. They create awareness of local storage, cooperate in providing information, and pushing for poverty alleviation in the area. Therefore, it can be effectively implemented as an example of development for other districts in the future.

2) Operational level is the operational role of community leaders, households, and local operators.

2.3 The community role to create a poverty management unit Official leaders, such as sub-district headmen, village headmen, sub-district practitioners, district practitioners or informal leaders, such as VHVs, community sages, volunteers from various agencies, are the closest to the household. The community performs a search, review, and in-depth searching of poor households that do not appear in the database. It is useful for them to get the state welfare which is to help low-income people across the country comprehensively. Community leaders also select households to participate in poverty alleviation project and training programs to promote vocational skills for improving quality of life, such as Kut Hai Village pilot project, Kut Hai Sub-district. The target households participating in the development project were selected by community leaders and local farmer development practitioners. Community role is an important mechanism for acknowledging information that is closely related to poor households. Thus, local agencies should assign information management duties to practitioners or volunteers. For the first year, the research results have not been able to push for the creation of information management units in the community, but only show empirical evidence to community leaders and local administrators in recognizing the importance of poverty alleviation platforms by finding, reviewing household data, and providing assistance based on poverty. It is the basis for creating project proposals in the annual action plan for occupational development of poor households or to develop infrastructure for the poor as well. For the second year, the project will focus on building a community information management system or encouraging data manager volunteers.

2.4 The household role for building breakthrough potential through capital in five areas Implementation of the pilot project is an example project of development from the potential capital and strength of the target households. It shows that the target households want to break out of the poverty trap, believe in their own potential in order to use as a way to get out of poverty, and do not want the next generation to be poor. After farming, they grow vegetables as a supplementary occupation. It has been developed into safe vegetable growing. They are as well as ready to learn about technology and ready for social changes, such as learning about innovations in water pumps and the idea of safe vegetable community enterprise named “Saab Vegetables Bueng Aka”. It is resulted in reducing time for watering vegetables, accessing to funding sources, and receiving production factors from government agencies. Households are ready to learn new knowledge and be ready to accept the changes that might occur after the formation of the enterprise. In addition, it has contributed to the proposal of poor household development based upon four types of characteristics, namely, more difficult living, difficult living, adequate living, and good living. It is to direct help from other agencies to the point which appropriate with the context of the area and the needs of the poor, such as the establishment of the Fund for the Poor, etc. Households play a crucial role in tackling poverty as it is the first unit of a government survey to be labeled as “poor”. It is an opportunity and a threat that arises in their life. They might get production factors, gain knowledge to enhance professional skills, improve quality of life, take care of the five dimensions of poverty for family members, receive compulsory education for their children, and receive scholarships to support career building, etc. On the other hand, it may cause a burden on their own potential development. They express that they do not want to be among the poor group because they do not have time to go to vocational training. They have to cut rubber tree plants. Hence, the research results provide information for target households to know their own household capital, help adjust their mindset by displaying income and productivity data, and show their skills and abilities to build a career, jobs, and income. It can be seen from the households participating in the Vegetable Planting Project around Akha Swamp. The income from the vegetable cultivation in the period of five months has made about 210,000 baht. The income of the expander is about 5,000 baht per month. Furthermore, they have an idea to grow more vegetables because nowadays consumers prefer to eat safe vegetables more. They also want to have Nangfa Bhutan mushrooms cultivation as a supplementary occupation after farming. It shows that households have a positive attitude towards solving poverty through the household capital for living with human dignity in accordance with the basic necessities that do not create future burdens and debts in the future. Accurate data management systems and mechanisms at the household level must come from data surveys, reviews, and correct data systems. Accurate processing leads to a system of addressing spatial poverty based on the roles and duties of those responsible for overseeing aid policies, support, and service. This depends on the different contexts of the area, culture, traditions, career capital, and household capital. But in the end, it was to pursue a model of poverty alleviation to lift the poor out of the poverty trap. Their income exceeds the poverty line, and their quality of life depending on living is better. It brings to eradicate poverty from Thailand.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น