ชื่อโครงการ
การพัฒนาระบบการผสมเทียมโคเนื้อสำหรับเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดน่านคำสำคัญ
การเหนี่ยวนำการเป็นสัด การกำหนดเวลาผสมเทียม เทคโนโลยีชีวภาพ การสืบพันธุ์,การเหนี่ยวนำการเป็นสัด,การผสมเทียม,เทคโนโลยีชีวภาพ,การสืบพันธุ์,โคเนื้อ,ระบบบทคัดย่อ
โคเนื้อเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย การผลิตโคเนื้อของประเทศไทยต้องการเพิ่ม ปริมาณอีกเป็นจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออก การเลี้ยงโคเนื้อส่วนใหญ่ดำเนินการเกษตรกรรายย่อยกระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาค จังหวัดน่าน มีประชากรที่เลี้ยงโคเนื้อ 7,597 ครอบครัว มีจำนวนประชากรโค 47,024 ตัว ปัญหาที่สำคัญประกอบด้วย การเลี้ยงแม่โคของเกษตรกรมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำมีระยะเวลาวันท้องว่างนาน ทำให้ขาดโอกาสในการ ที่จะได้ลูกโคมาเพื่อจำหน่าย นอกจากนี้การพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพจำเป็นต้องมีการผสมเทียมโดยใช้พ่อโคพันธุ์ดี การผสมเทียมจึงเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยในการที่จะกระจายน้ำเชื้อพ่อโคพันธุ์ดี เพื่อนำไปผสมกับแม่โคของเกษตรกร แต่จากข้อมูลทางจังหวัดน่านพบว่า มีจำนวนนักผสมเทียมไม่เพียงพอต่อการให้บริการ การผสมเทียมแก่โคเนื้อของเกษตรกร จึงนับว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ โครงการการพัฒนาระบบผสมเทียมโคเนื้อสำหรับเกษตรกรรายย่อยจังหวัดน่านดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการผสมเทียมโคเนื้อโดยกระบวนการมีส่วนร่วม รวมไปถึงการพัฒนายกระดับความรู้ และทักษะด้านการผสมเทียมของนักผสมเทียม (นวัตกรชุมชนนักผสมเทียม) นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการที่แม่โคมีระยะวันท้องว่างนาน และพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลเพื่อการจัดการโคเนื้อในจังหวัดน่านและการพัฒนานวัตกรชุมชนที่เป็นเกษตรกรแกนนำในการเลี้ยงโคเนื้อ ที่จะเป็นตัวอย่างและเป็นกลไกที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อคุณภาพของจังหวัดน่าน ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยความร่วมมือกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่านและสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ต่าง ๆ ในพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 15 ตำบล ใน 9 อำเภอประกอบด้วย อำเภอนาหมื่น เวียงสา เมือง ภูเพียง บ้านหลวง ท่าวังผา เชียงกลาง แม่จริม สันติสุข ดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดโครงการตามแนวคิดของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นและงานวิจัยเชิงพื้นที่
การดำเนินการประกอบด้วยกระบวนการทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การร่วมกันวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบผสมเทียมและพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของแต่ละกลุ่มเกษตรกร การดำเนินงานตามแผนงานและการติดตามถ่ายทอดความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและนวัตกรชุมชน ผลจากการดำเนินการสามารถพัฒนานวัตกรชุมชนที่มีคุณสมบัติในการกำหนดโจทย์ เลือกใช้ความรู้มาสร้างพัฒนาหรือแก้ปัญหาการเลี้ยงโคเนื้อได้ โดยมีเกษตรกรที่เป็นแกนนำเกษตรกรจำนวน 24 คน มีนวัตกรชุมชนนักผสมเทียมจำนวน 12 คน รวม 36 ราย กลุ่มเกษตรกรมีพื้นที่การเรียนรู้ในการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อมีเป้าหมายหลักเพื่อยกระดับพันธุกรรมของแม่พันธุ์โคเนื้อจากลูกผสมพื้นเมืองเป็นลูกผสมพันธุ์บราห์มันสำหรับใช้เป็นแม่พันธุ์ในการผลิตโคเนื้อคุณภาพ โดยใช้การผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อจากพ่อโคพันธุ์ดี บุคลากรจากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการในการสร้างกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ในลักษณะของการสร้างความรู้ร่วมกัน ใช้องค์ความรู้ด้านการผสมเทียม การจัดการฟาร์มการจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการด้านอาหารสัตว์ เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและสร้างองค์ความรู้ ในการผสมเทียมมีการสร้างเครือข่ายนักผสมเทียมโคเนื้อและระบบผสมเทียมโคเนื้อ ที่ดำเนินการและบริหารงานโดยผู้แทนเกษตรกรที่สามารถให้บริการการผสมเทียมโคเนื้อได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวัดน่านสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนักผสมเทียมขึ้นในพื้นที่ได้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ถึง เดือนสิงหาคม 2564 นักผสมเทียมได้ทำการผสมเทียมโคเนื้อจำนวน 518 ตัว เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อที่ประกอบด้วยสถาบันการศึกษาในจังหวัดคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา น่าน หน่วยงานราชการประกอบด้วยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่าน สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน และกลุ่มเกษตรกร ที่ร่วมกันดำเนินการและสนับสนุนซึ่งกันและกันในการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดน่าน
มีการพัฒนาฐานข้อมูลการเลี้ยงโคเนื้อและการผสมเทียมในรูปแบบของแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลกลางที่จะสามารถนำมาบริหารจัดการร่วมกันในเครือข่ายความร่วมมือทำให้มีความชัดเจนในการขับเคลื่อนการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ ผลสำเร็จของโครงการนี้ในภาพรวมได้สร้างกลไกการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยของจังหวัดน่าน พัฒนาระบบผสมเทียมโคเนื้อ พัฒนากลุ่มเกษตรกร และอยู่ระหว่างการดำเนินการนำไปสู่แผนงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและอยู่ระหว่างการพัฒนาแผนงานด้านการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อในระดับจังหวัด นำไปสู่การพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อที่สามารถยกระดับการพัฒนาและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไปในอนาคต
Title
The improvement of artificial insemination system for smallholder beef cattle production in Nan ProvinceKeywords
Synchronization,Artificial Insemination,Biotechnology,Reproduction,Beef Cattle,systemAbstract
Beef cattle is one of the important economic animals of Thailand. The beef farms in Thailand have been developing in order to support continually increasing demands for meat consumption and exportation. However, most of them particularly in the rural and border area were small scale. Currently, beef cattle number in Nan province is 47,024 with 7,597 beef farmers. The major concern of beef cattle farming in Nan is low productivity and delayed days open, resulting in decreasing numbers of calved born in farm. In addition, to improve the high quality of meat production, the service of an artificial insemination (AI) with frozen semen derived from the high genetic merit bulls is needed. However, an insufficient number of inseminators and AI services has been a bottleneck problem to the improvement scheme of beef cattle production. The project entitled “The improvement of artificial insemination system for smallholder beef cattle production in Nan Province” aimed to
1) develop an AI service system for beef cattle of livestock AI volunteers through process of people participation in Nan province
2) develop and enhance knowledge and skills of livestock AI volunteers in Nan province in order to
3) solve the infertility and prolonged days open in beef cattle
4) establish database management of beef cattle in Nan province
5) to develop the farmers’ leaders in the beef cattle farming system and capable of transferring knowledge to other farmers as well as initiating learning centers for beef cattle production.
This project has been carried out in cooperation with the government sectors including Nan Provincial Livestock Office and District Livestock Office from May 2020 to Aug 2021 in target area including 15 subdistricts of 9 districts as follows: Na Muen, Mueang Nan, Mae Charim, Ban Luang, Tha Wang Pha, Wiang Sa, Chiang Klang, Santi Suk and Phu Phiang.
This project was carried out using the Community-Based Research approach starting from organizing a forum to exchange ideas from all stakekholders including the research-driven network, educators and the private sectors related to the beef cattle farming in Nan province; clarifying the roles of livestock AI volunteers; designing beef cattle AI services management and scheme; empowering knowledge and skills for livestock AI volunteers development; initiating and monitoring the development of beef cattle farming; and development of the AI services and the livestock AI volunteers. As the results of these processes, thirty-six innovators who capable of defining and solving the problems systematically including 24 farmers’ leaders and 12 artificial inseminators were engaged and functioned in the target area. Farmers groups established learning areas to improve beef cattle farming in order to upgrading genetic merit of beef cows from local mixed breed to the crossbred Brahman for producing quality meat using AI technology with frozen semen derived from the high genetic merit bulls. Several training workshops organized by School of Agriculture Resources, Chulalongkorn University (CUSAR) to transfer the knowledge, i.e. AI management, reproductive management, herd-health management, and feeding management. The specific management in this area were also developed by farmers’ insights. Regarding the beef cattle AI services management and scheme, the network of artificial inseminator and AI services management operated by the farmer’s leaders are able to cover AI services area in Nan province, resulting in 518 inseminations in the duration of December 2020 to August 2021. The Nan beef cattle production development group comprising educational institutions (Chulalongkorn University and Rajamangala University of Technology Lanna Nan), government agencies (Nan Provincial Livestock Office, the District Livestock and other governor officials, Provincial Agricultural Extension Office, Agricultural Land Reform Office, Office of Nan Provincial Farmers, Subdistrict Administrative Organization, Provincial Administrative Organization), and farmer group was established.
In addition, a mobile application as a tool for generate database systems and supporting the workflow of livestock AI volunteers was developed to drive the improvement of beef cattle farming. The overall success of this project has created a mechanism for developing beef cattle farming for smallholder beef cattle production in Nan Province, developing a AI networking system and, developing a group of farmers’ leader. The result in this project is in the process to transfer as the function plan of local government organization as well as development plan for beef cattle farming at the provincial level. This leads to the sustainable development of beef cattle farming that can enhance production improvement and generate income for farmers in the future.