ชื่อโครงการ
การยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนเกษตรกรรมในจังหวัดนครราชสีมาคำสำคัญ
ชุมชนเกษตรกรรม,นวัตกรรม,สายธารคุณค่าบทคัดย่อ
การเพาะปลูกข้าวเป็นแหล่งรายได้หลักของครัวเรือนเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา ในอดีตที่ผ่านมา เกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมาประสบปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือต้นทุนการผลิตข้าวสูง และรายได้ต่ำ ชุดโครงการวิจัยนี้นำเสนอนวัตกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาของเกษตรกรจำนวน 11 รายการ (11 โครงการย่อย) โดยแบ่งเป็น
กลุ่มที่ 1 นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านต้นทุนการผลิตข้าวที่เพิ่มสูงขึ้น มีจำนวน 4 รายการคือ นวัตกรรมด้านการลดต้นทุนห่วงโซ่อุปทานการปลูกข้าว ระบบการวางแผนการผลิตข้าว การเพาะปลูกข้าวด้วยระบบการเกษตรอัจฉริยะเชิงบูรณาการ และการจัดการขนส่งข้าวระดับชุมชน
กลุ่มที่ 2 นวัตกรรมที่ใช้ในการเพิ่มรายได้ทดแทนราคาข้าวที่ตกต่ำมีจำนวน 7 รายการคือ นวัตกรรมกระบวนการผลิตขนมจากข้าวเหนียว เครื่องบดข้าว เครื่องอัดขึ้นรูปขนมไทย เครื่องอัดขึ้นรูปธัญพืชอัดแท่งจากข้าว ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอัดแท่งจากข้าวหอมมะลิเพื่อสุขภาพ เครื่องแพ็คข้าวสุญญากาศราคาประหยัด และนวัตกรรมกระบวนการผลิตเส้นหมี่โคราช ซึ่งนวัตกรรมในชุดโครงการวิจัยนี้มีทั้งนวัตกรรม
กระบวนการและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ วัตถุประสงค์ของชุดโครงการวิจัยมีดังนี้
1) เพื่อสร้างต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนและสร้างรายได้ในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตข้าวสำหรับเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา
2) เพื่อสร้างนวัตกรชาวบ้านด้านการลดต้นทุนและสร้างรายได้ในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตข้าวในจังหวัดนครราชสีมา
3)เพื่อถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมด้านการลดต้นทุนและสร้างรายได้ในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตข้าวให้แก่ชุมชนเกษตรกร
4) เพื่อนำนวัตกรรมด้านการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตข้าวเข้าสู่แผนพัฒนาตำบลและเชื่อมต่อแผนพัฒนาอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา คำถามของชุดโครงการวิจัยคือ แนวทางการลดต้นทุนการผลิตข้าวและการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนเป็นอย่างไร
วิธีการดำเนินงานวิจัยมีดังนี้คือ
1) การประชุมของคณะนักวิจัยเพื่อรับทราบวิธีการดำเนินงานและการติดต่อประสานงานกับชุมชนเป้าหมาย
2) การลงพื้นที่ชุมชนเพื่อประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ชุมชนที่มีส่วนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเกษตรกร เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ
3) การลงพื้นที่ชุมชนเป้าหมายเพื่อประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนในเรื่องวิธีการดำเนินงานวิจัยและผลที่ชุมชนได้รับเมื่อจบโครงการวิจัย จากนั้นให้ชุมชนเสนอชื่อผู้ที่เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อเป็นนวัตกรชุมชน
4) การเตรียมการสร้างต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนและสร้างรายได้ในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตข้าวสำหรับเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา โดยแต่ละโครงการย่อยดำเนินการออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนที่เลือก
5) การจัดเตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมในการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างและปรับแปลงนวัตกรรม
6) การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรม การอบรมและถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรม ซึ่งการเรียนรู้อยู่ในรูปแบบของการอบรม การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และการทดลอง
7) การประเมินระดับของนวัตกร โดยแบ่งเป็นนวัตกรและผู้เข้าร่วมการอบรม โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนด
8) การติดตามผลการนำนวัตกรรมไปใช้และนำนวัตกรรมเข้าสู่กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตำบล
ชุดโครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ชุมชนระดับตำบลจำนวน 49 ตำบลในจำนวน 11 อำเภอผลการดำเนินโครงการเป็นดังนี้ การสร้างต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนและสร้างรายได้ในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตข้าวสำหรับเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมาประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆดังนี้
การออกแบบหลักสูตร การจัดเตรียมพื้นที่การเรียนรู้ที่เหมาะสม การอบรมและสาธิต การประยุกต์ใช้หรือการฝึกปฏิบัติ การทดลอง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการสร้างนวัตกรชุมชนพบว่าจากนวัตกรจำนวน 172 คน แบ่งเป็นนวัตกรระดับ A จำนวน 57 คน แบ่งเป็นนวัตกรระดับ B จำนวน 115 คน ส่วนผู้เข้ารับการอบรมมีจำนวน 1104 คน เมื่อคิดเป็นจำนวนร้อยละ นวัตกรระดับ A มีจำนวนร้อยละ 4.47 นวัตกรระดับฺ B มีจำนวนร้อยละ 9.01 และผู้เข้ารับการอบรมจำนวนร้อยละ 86.52 ในชุดโครงการวิจัยนี้มีชุมชนระดับตำบลจำนวน 12 ตำบลจากทั้งหมด 49 ตำบลที่สามารถทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคิดเป็นร้อยละ 24.48 ในการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมในการแก้ปัญหาการผลิตข้าวมีต้นทุนสูงในขณะที่ผลผลิตต่ำ ผลการวิจัยของโครงการย่อยพบว่าการใช้นวัตกรรมทำให้ต้นทุนลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 34.58 ในการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมในการสร้างรายได้จากการแปรรูปหรือการลดการสูญเสีย ผลการวิจัยของโครงการย่อยพบว่าการใช้นวัตกรรมทำให้สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 36.54 ในการนำนวัตกรรมเข้าสู่แผนพัฒนาตำบลมีขั้นตอน 4 ขั้นตอนดังนี้คือ การหารือร่วมกับชุมชน การเชิญองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบลประชุม การจัดทำโครงการนำเสนอชุมชน และการจัดทำโครงการเสนอองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลตำบล คำถามการวิจัยของชุดโครงการวิจัยนี้คือ “แนวทางการลดต้นทุนการผลิตข้าวและการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนเป็นอย่างไร”
ผลการดำเนินชุดโครงการวิจัยได้คำตอบว่า มี 5 แนวทางดังนี้
1) การใช้นวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวเพื่อลดต้นทุนและใช้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม
2) การส่งเสริมกลุ่มคนแห่งการเรียนรู้ให้มีความรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหา
3) การออกแบบวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมให้เหมาะสมกับบริบทชุมชน เน้นการลงมือปฏิบัติ
4) การสร้างผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง และ
5) การถ่ายทอดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Title
Economic Enhancement of Agricultural Communities in Nakhon Ratchasima ProvinceKeywords
Agricultural Communities,Innovation,Value ChainAbstract
Planting rice is a major source of revenue of farmers in Nakhon Ratchasima province. In the past, farmers in Nakhon Ratchasima faced 2 problems, which were high cost of rice production and low revenue. This research proposed 11 innovations for solving those problems.
of farmers which were divided into 2 groups.
The first group was 4 innovations used to solve the problems of rice production cost. They were the application of LEAN for reducing cost in supply chain of rice planting, rice planting planning system, the application of smart integrated agricultural system, and rice transportation system for communities.
The second group were 11 innovations used to solve problem of revenue. They were sticky rice product, rice milling machine, extruding machine for Thai dessert, extruding machine for rice cereal bar, healthy rice cereal bar, low cost vacuum machine for rice packing, and cost reduction of rice noodle production.
The objectives of this research were:
1) to create learning and innovation platform related to cost reduction and increasing revenue in rice supply chain for farmers in Nakhon Ratchasima.
2) to develop community innovators in a field of cost reduction and increasing revenue in rice supply chain.
3) to transfer knowledge and innovation of cost reduction and increasing revenue in rice supply chain to farmers.
4) to bring innovation and product development to subdistrict development plan and link to province development plan.
The research question was what were guidelines to reducing cost and increasing revenue in rice supply chain which led to developing sustain quality of life.
Methods used in this research were as follows.
1) Meeting among researchers were conducted to prepare methods used and communicate to target communities.
2) Visiting selected communities was made to communicate with people and local organizations such as Sub-District Administrative Organizations, Sub-District Municipality, including District Community Development Office and District Agriculture Office.
3) Meeting the communities and the leaders were made to explain the research methods and the outcomes of the research. Then, communities proposed persons who were planned to be innovators.
4) Learning and innovation platform related to cost reduction and increasing revenue in rice supply chain for farmers was prepared.
5) Suitable learning area was prepared.
6) Learning of communities were in the form of training and demonstration, practice, and experimentation.
7) Participants of learning were classified by predetermined criteria as A level innovator, B level innovator, and participants of training.
8) Follow-up of using innovation was made.
This research was carried out in 49 sub-district level communities in 11 district areas. The results were as follows. Learning and innovation platform included variety of activities including course design, suitable learning area preparation, training and demonstration, practice, experimentation, and knowledge sharing. The results showed that after evaluation, there were 172 innovators with 57 A level innovators, 115 B level innovators, and 1104 training participants. Making as percentage of total participants in the project, A level innovator was 4.47 %, B level innovator was 9.01 %, whereas training participant was 86.52 %. Furthermore, there were 12 communities out of 49 communities (24.48 %) were able to be mentor for other communities. After knowledge and innovation transferring for solving cost problem, in general, it was found that Average cost was decreased 34.58 %. The result of each innovation was as follows. For helping increasing revenue, revenue was increased by 36.54 % as a whole picture. To bring innovations to sub-district development plan, there were 4 steps: meeting communities regarding innovation use, conducting meeting with sub-district administration organizations and district municipalities regarding innovation use, submitting project proposal of innovation use to communities for public hearing, and submitting project proposal of innovation use to sub-district administration organizations and district municipalities.
As an answer for research question, the five guidelines to reducing cost and increasing revenue in rice supply chain which led to developing sustain quality of life were:
1) using innovation for improving rice production for cost reduction and increasing revenue.
2) enhancing problem solving capability of people group of learning.
3) design learning and innovation platform suited to community context, especially focusing of practice or doing by themselves.
4) strengthening the leader of communities.
5) sharing knowledge among communities for continuing development.