เครือข่ายคุณค่าและความเป็นท้องถิ่นสู่การสร้างระบบนิเวศอาหารปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 19 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630014
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2020
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย อุบลราชธานี

ชื่อโครงการ

เครือข่ายคุณค่าและความเป็นท้องถิ่นสู่การสร้างระบบนิเวศอาหารปลอดภัยในจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ

เครือข่ายคุณค่า,ท้องถิ่น,ระบบนิเวศน์,อาหารปลอดภัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของแผนงานวิจัย คือ

1. เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน ให้เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนระบบนิเวศอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี
2. เพื่อสร้างระบบนิเวศอาหารปลอดภัยเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
3. เพื่อพัฒนากรอบการประเมินระบบนิเวศอาหารปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี
4. เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรจากฐานข้อมูลและองค์ความรู้ เครื่องมือสำหรับออกแบบงานวิจัย ประกอบด้วย ระบบเชิงพลวัตและวงรอบเหตุและผลเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบ

การออกแบบภาพอนาคตเพื่อกำหนดอนาคตที่พึงประสงค์ และการเรียงลำดับเหตุกาณ์แบบย้อนกลับเพื่อเชื่อมโยงอนาคตที่พึงประสงค์กับสถานการณ์ปัจจุบัน ภายใต้วิธีการออกแบบเกิด 8 โครงการวิจัยกระจายอยู่ในตามองค์ประกอบของห่วงโซ่คุณค่าของระบบนิเวศอาหารปลอดภัย แต่ละโครงการวิจัยมีการดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีการดำเนินอยู่และพัฒนาผู้ประกอบใหม่ ผลการวิจัยเสนอการจัดการด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของระบบนิเวศอาหารปลอดภัย ด้วยการเพิ่มกิจกรรมกลางน้ำประกอบด้วย การรวบรวมและขนส่ง การแปรรูปการบ่มเพาะผู้ประกอบการผู้ประกอบการใหม่เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม และปลายน้ำด้วยเพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงที่ตลาดสดและแบบออนไลน์ ทำให้การกระจายรายได้ภายในระบบมากขึ้น กรอบการประเมินระบบนิเวศอาหารปลอดภัย 3 ระยะ รวมทั้งสิ้น 49 ตัวชี้วัด และระบบบูรณาการข้อมูลด้วยการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการการปรับโครงสร้างการผลิตและการบริหารจัดการระบบอาหารปลอดภัยแบบทันเวลา แผนงานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดและหลักการสำหรับ “การออกแบบระบบนิเวศอาหารของพื้นที่” ที่มุ่งเน้นการกระจายรายได้ การสร้างงานและการเข้าถึงอาหารปลอดภัย ซึ่งสร้างจากการทบทวนวรรณกรรมและการทดลองปฎิบัติการ ดังนั้น แนวคิด กระบวนการที่ออกแบบสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการวางแผนกลยุทธ์และการประเมินการลงทุนเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่

Title

Value Network and Local Embeddedness to Rebranding of Food Safety Ecosystem in Ubon Ratchathani

Keywords

Value Network,Local,Ecosystem,Food Safety

Abstract

This research plan aims to
1. develop entrepreneurs, including community enterprises.
2. form a food safety ecosystem.
3. develop an assessment framework.
4. redesign an agricultural production structure based on a databases system as the driving mechanism of the economy in Ubon Ratchathani Province.

The research plan uses the system dynamics and causal loop diagram (CLD) to capture stakeholder relationships, future design (FD), and Backcasting planning approach to design projects in the research plan. The community, existing, new enterprises, and government agencies are embedded in the eight projects of the food safety ecosystem. The new value chain management of the food safety ecosystem is proposed. The logistic and transportation, food processing, and entrepreneur incubating are added in the middle stream while online marketing and fresh market onsite marketing to the downstream of the value chain to increase access channels and smooth or equality with which income among members of a system. A total of 49 indicators of three phases are designed as a tool of the assessment framework of the food safety ecosystem. In addition, the integrating databases system is presented as a decision-supporting tool for restructuring the production system. Thus, ideas and concepts suggest some potential benefits for strategy making and innovation investment in the food safety ecosystem.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น