ชื่อโครงการ
การศึกษาทบทวนนโยบายเศรษฐกิจเมืองของไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและเกื้อกูลคำสำคัญ
เศรษฐกิจเมือง,เศรษฐกิจเพื่อสังคม,เมือง,ท้องถิ่นบทคัดย่อ
เมืองและภูมิภาคเป็นสิ่งที่มีพลังอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจเมืองของไทยทั้งอดีตและปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างและโอกาสในการส่งเสริมเศรษฐกิจเมืองของไทย และนำเสนอแผนวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจเมืองและภูมิภาคเพื่อส่งเสริมเมืองและภูมิภาคให้เติบโตอย่างเกื้อกูลและยั่งยืน ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนานโยบายเศรษฐกิจภูมิภาคและเมืองที่ผ่านมาของไทย เริ่มต้นตั้งแต่การพัฒนาแบบเน้นขั้วการเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว จากนั้นปรับตัวมาสู่การใช้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคในหลากหลายรูปแบบ เช่น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาแบบคลัสเตอร์จังหวัด การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเมือง ฯลฯ ถึงแม้การพัฒนาเมืองและภูมิภาคของไทยที่ผ่านมาทำให้เมืองหลายแห่งเกิดการเจริญเติบโต แต่การพัฒนาดังกล่าวยังคงส่งผลให้เกิดเมืองโตเดี่ยว ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมือง และช่องว่างมากมาย เช่น ขาดการพัฒนาความเข้มแข็งของกลไกระดับภูมิภาค การกำหนดนโยบายที่ขาดมุมมองต่อเป้าหมายการเติบโตของเมืองที่เกื้อกูลและยั่งยืน การละเลยประเด็นสิ่งแวดล้อมและชุมชนเมืองเนื่องจากเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมมากเกินไป การบริการสาธารณะยังขาดประสิทธิภาพที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น อีกทั้งยังขาดระบบและกลไกที่เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนเมืองต่อการเข้ามากำหนดอนาคตทางเศรษฐกิจและสังคมของเมือง เมื่อวิเคราะห์ถึงจุดแข็งของการพัฒนาเมืองและภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งอันเกิดจากทุนและทรัพยากรที่มีความโดดเด่นภายในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทรัพยากรธรรมชาติของเมืองสามารถเป็นปัจจัยการผลิตที่จะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อีกมาก ในขณะที่โอกาสจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจของโลกที่ก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล กระแสการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ที่เน้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสีเขียว เป็นปัจจัยที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มของการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น อีกปัจจัยสำคัญก็คือ กำลังซื้อจากจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นสองประเทศขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและตั้งอยู่ไม่ไกลจากไทย รวมไปถึงกำลังซื้อจากเพื่อนบ้านของไทยที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจ จะกลายเป็นโอกาสของการเติบโตทางเศรษฐกิจเมืองและภูมิภาคของไทย จากการสืบค้น วิเคราะห์ และสังเคราะห์โดยถี่ถ้วน นำมาสู่การกำหนดโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาเมืองและภูมิภาคของไทย เพื่อให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืนและเกื้อกูล ปิดช่องว่างของปัญหา และเตรียมรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่กำลังเผชิญ จึงได้เสนอแผนงานวิจัยที่นำแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองบนกระบวนทัศน์ใหม่ มาเป็นกรอบในการจัดทำแผนวิจัยที่สำคัญจำนวน 3 แผนวิจัย ดังนี้ แผนวิจัยที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจภาคสังคม (Social Economy) สู่การเติบโตของเมืองอย่างยั่งยืนและเกื้อกูล แผนวิจัยที่ 2 ความเสมอภาคและเป็นธรรมในเมือง : นวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) แผนวิจัยที่ 3 การพัฒนากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคแบบเกื้อกูลและยั่งยืน คำสำคัญ เศรษฐกิจเมืองและภูมิภาค, เมืองยั่งยืนและเกื้อกูล
Title
Urban Economy in Thailand towards Sustainable and Inclusive GrowthKeywords
Urban Economy,Social Economy,City,LocalAbstract
A countrys economy is significantly influenced and driven by its urban and regional cities. This research has carefully examined the five-year plan for the National Economic and Social Development, particularly on urban and regional economies in order to identify gaps and opportunities to support Thailands urban and regional economies and to propose a research plan in promoting inclusive growth and sustainable development. The findings revealed that Thailands urban and regional economic policies in the earlier stage had applied the concept of growth poles, later, it was applied by various regional economic development concepts, such as, development of special economic zones, provincial cluster development, urban economic corridor development, etc. Although the previous development has led to the growth of many cities, it still creates primate cities as Bangkok, disparity among cities, and increasing gaps in many aspects, such as, the deficiency of regional development mechanisms, the absence of perspective on continual growth as a goals for sustainable and inclusive city, ignoring environmental issues in urban communities in favor of focusing on the industrial sector, inadequacy of public services in improving peoples quality of life, and the lack of systems or mechanisms that facilitate urbanites public participation in assisting and shaping the future urban economy and society. In terms of urban and regional development, Thailand possesses remarkable capital and resources, such as, social capital, cultural capital and natural resources, which can be a significant factor which is conducive to the inclusive economic growth. Meanwhile, the digitalization of global economy, the new economic development trend which focused on economic circulation and green development have become opportunities that indicate the trend of sustainability. Another significant factor for Thailand’s opportunity in urban and regional economic growth may come from the purchasing power of China and India, the two large economies, and Thailand’s neighboring economies. Finally, in order to promote the sustainable and inclusive urban and regional cities, three essential research topics are specified in the near term as follows: (1) Enhancing social economy for local economic development. (2) Promoting equality and fairness of the urbanites with digital economy innovation. (3) Strengthening of the regional development mechanism for creating sustainable development and inclusive growth. Keywords: Urban & Regional Economy, Sustainable and Inclusive City