ยุทธศาสตร์

“ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ”

แผนงาน “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ”

แผนงาน “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ” โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างระบบและโครงสร้างการแก้ขปัญหาคนจนด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยมีการวางระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่เพื่อประเมินปัญหาและติดตามคนจนอย่างเป็นระบบและสร้างระบบช่วยเหลือที่เชื่อมโยงกับระบบช่วยเหลือภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม และระบบการสร้างการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีพให้เกิดรายได้ต่อตัวเองและครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนเนื่องจากปัญหาความยากจนเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ โดยในปี 2558 องค์การสหประชาชาติได้กำหนด “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals : SDGs) ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี (2558 – 2573) มิ่เป้าหมาย 2 ประการแรกที่สำคัญ คือ “การขจัดความยากจน” และ “กำจัดความหิวโหย” อีกทั้งความยากจนยังเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ รวมถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ตามเป้าประสงค์ว่าด้วยการขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แผนงาน “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ” เพื่อสร้างระบบและโครงสร้างการแก้ไขปัญหาคนจนด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีการวางระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่เพื่อประเมินปัญหาและติดตามคนจนอย่างเป็นระบบ และสร้างระบบช่วยเหลือที่เชื่อมโยงกับระบบช่วยเหลือภาครัฐเอกชนและประชาสังคม และระบบการสร้างการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีพให้เกิดรายได้ต่อตัวเองและครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนโดยดำเนินการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2563-2564 ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ภาคครัวเรือนต่ำที่สุดจากข้อมูลดัชนีความก้าวหน้าของคนปี 2562 และนโยบายการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันของรัฐบาลได้แก่ ปัตตานี อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน ชัยนาท สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นราธิวาส อุบลราชรานี ลำปาง พัทลุง นครราชสีมา ร้อยเอ็ด พิษณุโลก เลย และยะลา ซึ่งมีแนวทางการดำเนิน 3 ข้อสำคัญ คือ 1) การค้นหา (Targeting) สอบทาน (Verify) ข้อมูล สำรวจทุนคนจนและครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ 2) การพัฒนาระบบส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงาน ภาต่างๆ และ 3) การออกแบบโครงการช่วยเหลือคนจนอย่างตรงเป้า (Operating Model) ที่สอดคล้องกับบริบทแลคนจนเป้าหมายสร้างการเรียนรู้ พัฒนาทักษะในการดำรงชีพนำไปสู่การเสริมสร้างอาชีพและสร้างรายได้ที่ดีขึ้นของคนจน

การดำเนินงานของโครงการในปีงบประมาณ 2565 เกิดข้อค้นพบสำคัญจากแพลตฟอร์มแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Operating System : PPAOS) ดังนี้

การส่งต่อที่ได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในระดับพื้นที่

ระบบค้นหาและสอบถามข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่

Provincial Poverty
Alleviation Operating
System : PPAOS

ขจัดความยากจน
แบบเบ็ดเสร็จ
และแม่นยำระดับจังหวัด


.

การสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนระดับจังหวัดทั้งส่วนกลางและพื้นที่
ระบบค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนระดับพื้นที่
ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่
ระบบส่งต่อความช่วยเหลือคนจนและครัวเรือนยากจนทั้งระดับส่วนกลางและพื้นที่
พัฒนาและสร้าง “โมเดลแก้จน ระดับพื้นที่ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”
ระบบการติดตามและบูรณาการความช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่
จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสู่แผนพัฒนาจังหวัด

แผนงานวิจัย

“การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหา”

การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพn.) มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างระบบและโครงสร้างการแก้ไขปัญหาคนจนด้วยการใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม (Skill, Technology & Investment: STI) ประสานพลังความร่วมมือของพหภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน (Multi-S takeholder Approach) ทั้งการวางระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ เพื่อประเมินปัญหาและติดตามคนจนอย่างเป็นระบบ วางระบบการคัดกรองและช่วยเหลือคนจนอย่างเบ๊ดเสร็จและแม่นยำ (Personalize Poverty Alleviation) ที่เชื่อมโยงกับระบบช่วยเหลือภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม และระบบการสร้างการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีพให้เกิดรายได้และดูแลตัวเองและครอบครัวได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ซึ่งความรู้และเทคโนโลยีจากงานวิจัยและนวัตกรรมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างตรงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่นำร่อง 20 จังหวัดที่มีรายได้ภาคครัวเรือนต่ำที่สุดจากข้อมูลดัชนีความก้าวหน้าของคนปี 2562 และนโยบายการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันของรัฐบาล ได้แก่ ปัตตานี อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน ชัยนาท สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นราธิวาส อุบลราชธานี ลำปาง พัทลุง นครราชสีมา ร้อยเอ็ด พิษณุโลก เลย และยะลา

โจทย์และเป้าหมาย

  1. สร้างระบบค้นหาสอบทาน ติดตามและช่วยเหลือคนจนและกลไกการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
    • กรณี 10 จังหวัดที่ดำเนินการในปี 2563 คงคุณภาพระบบค้นหาและสอบทานที่ดีอยู่แล้ว และสร้างระบบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop)
    • กรณี 10 จังหวัดดำเนินการในปี 2564 ขยายผลการค้นหาและสอบทานคนจนให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด
  2. พัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจน เป้าหมาย และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ที่ทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจนตามกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework: SLF) โดยระบุนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้คนจน 40% ล่าง
  3. จัดทำยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น ตำบล อำเภอหรือแผนจังหวัด
  4. จัดทำ Poverty Forum เพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานส่งต่อความช่วยเหลือและแก้ปัญหาความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม
  1. จำนวนคนจนที่ได้รับความช่วยเหลือผ่านกระบวนการเชิงนวัตกรรมหรือได้รับการถ่ายทอดและสามารถใช้องค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพและยก ระดับรายได้
  2. จำนวนระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายคนจนที่ความแม่นยำของประเทศ เพื่อให้การจัดสรรสวัสดิการรัฐมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นและมีการทดลองใช้
  3. พัฒนากาลังคนของหน่วยงาน Function ภาครัฐท่ีมีบทบาท แก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ 100 หน่วยงาน (ตั้งแต่ระดับ ตำบลเป็นต้นไป)
  4. ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาความยากจน ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายหลุดพ้น ความยากจนทั้งอำเภอ

แผนงานการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

แพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (ProvInclal Poverty Allevlatlon Operating System : PPAOS)

ผลการดำเนินแผนงานที่เกิดขึ้นจริง

ภายใต้แผนงานวิจัย “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ” ภาพรวมในปีงบประมาณ 2565 แผนงานนี้ได้สนับสนุนทุนวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 26 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 220,000,000 บาท ซึ่งแผนงานดังกล่าวได้สร้างความสำเร็จเห็นผลเป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์ม ขจัดความยากจนแบบเน็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (ProvincialPoverty Alleviation Operating System : PPAOS) ขึ้น โดยมีข้อค้นพบดังนี้

ผลลัพธ์และผลกระทบของแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเป็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด

ด้วยการบูรณาการความร่วมมือของพหุภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (Multi-Stakeholder Approach) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมภาคประชาชน และสถาบันวิชาการในพื้นที่ ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ดังนี้ 1) ระดับส่วนกลาง หน่วย บพท. ร่วมกับกระทรวงและองค์กร ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย 3 กรม (กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 5 กรม 2 องค์กร(กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การเคหะแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (สศป.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) 2) ระดับพื้นที่ สถาบันวิชาการในพื้นที่จังหวัดนำร่อง ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนภาคประชาสังคม องค์กรในพื้นที่ทั้ง 20 จังหวัด กว่า 300 หน่วยงาน/องค์กร

การสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งระดับส่วนกลางและระดับฟื้นที่

เป็นระบบและกลไกความร่วมมือในการค้นหา สอบทานคนจนจากฐานข้อมูล TPMAP จัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ กระทรวง อว. (Big Data) แสดงข้อมูลเป็น Dashboard แบบ Real Time ที่สามารถชี้เป้าคนจนในพื้นที่รายครัวเรือน ปัจจุบันค้นหาและสอบทานคนจนและครัวเรือนยากจนรวมทั้งสิ้น 214.864 ครัวเรือน หรือ 957,764 คน เพิ่มเติม (Add on) จากตัวเลขเป้าหมาย 20 จังหวัดนำร่องในฐานข้อมูล TPMAP ที่ระบุไว้คือ 336,239 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565)

ภาพผลการดำเนินงานค้นหา สอบทานครัวเรือนยากจน และส่งต่อข้อมูลความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบใน 20 จังหวัดนำร่องปี 2565

ด้วยการนำกรอบวิเคราะห์การดำรงชีพอย่างยั่งยืน(Sustainable Livelihoods Framework: SLF) มาประเมินระดับความยากจนของครัวเรือนด้วยฐานทุนทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทรัพยากร ทุนการเงิน ทุนกายภาพและทุนสังคม รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาทั้ง 5 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ ประมวลผลออกมาเป็นทรัพยากรการดำรงชีพ (Livelihood Profile) จำแนกคนจนออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย 20% ล่างเป็นคนจนยากไร้ และกลุ่มเป้าหมาย 20% บน เป็นคนจนเข้าไม่ถึงโอกาส/คนจนหนี้สิน

ในกลุ่มเป้าหมาย 20% ล่างสุด เป็นคนจนยากไร้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ได้มีการส่งต่อความช่วยเหลือระบบสงเคราะห์ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่ายครอบคลุมปัญหาทุกมิติ อาทิ ในระดับส่วนกลาง มิติด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ ได้ส่งต่อไปยังกระทรวงการคลังเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดสรรและเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนทั้งสิ้น 97,042 ครัวเรือน 451,444 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) มิติด้านความเป็นอยู่ ส่งต่อไปยังโครงการบ้านพอเพียงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) จำนวน 10,093 ครัวเรือน ซึ่งพบว่ามีข้อมูลเพิ่มเติม (Add on) จากข้อมูล พอช. จำนวน 9,877 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) มิติทางด้านการศึกษา ส่งต่อข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ทั้งภายในและภายนอก ระบบการศึกษาให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 97,745 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) มิติทางด้านสุขภาพ อยู่ระหว่างประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือกับมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง จำนวน 1,327 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) ในระดับพื้นที่ ส่งต่อไปยัง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) พอช. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) สภาองค์กรชุมชน รวมจำนวน 15,696 ครัวเรือน หรือ 46, 190 คน มีคนจนได้รับความช่วยเหลือแล้ว 5,454 ครัวเรือน คิดเป็นงบประมาณที่ช่วยเหลือไปแล้วรวมทั้งที่บรรจุอยู่ในแผนงานทั้งสิ้นกว่า 200 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)

ในกลุ่มเป้าหมาย 20% บน เป็นคนจนเข้าไม่ถึงโอกาส คนจนหนี้สิน คนจนเปราะบาง ที่พร้อมจะจนเมื่อมีภาวะวิกฤต เช่น โรคระบาด Covid 19 รวมทั้งภัยพิบัติต่าง ๆ หรือพร้อมจะหลุดพันความยากจนหากได้รับโอกาส เนื่องจากเป็นคนที่มีศักยภาพ สามารถฒนาตนเองได้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนจนที่มีปัญหาด้านรายได้ โดยได้นำกรอบวิเคราะห์การดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods  Framework : SLF)มาเป็นหลักคิดในการออกแบบนวัตกรรมโมเดลแก้จนที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทคนจนรายครัวเรือน ผ่านการขับเคลื่อนด้วยระบบและกลไกความร่วมมือภาคีเครือข่าย เกิดนวัตกรรมโมเดลแก้จน ที่เป็นการนำคนจนเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิต (Pro-Poor Value Chain) ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ อาทิเช่น โครงการลดความยากจนข้ามรุ่นและความเหสื่อมล้ำภายใต้ปริบทพหุวัฒนธรรมเข้มแข็งนวัตกรรมแก้จน “แพะเงินล้าน” จังหวัดชัยนาท โครงการธนาคารข้าว “กองบุญข้าวปันสุข” เพื่อความมั่นคงทางอาหาร โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนการเงินชุมชนเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ โมเดลการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าบุกจังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการกุดบากโมเดลจังหวัดสกลนคร โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพทำปุ๋ยมูลไส้เตือน จังหวัดปัตตานี โครงการต้นกล้าท้าจน จังหวัดกาฬสินธุ์ โครงการส่งเสริมกระจุดเพื่อเพิ่มรายได้คนจนทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง โครงการหม่อนแก้จนจังหวัดมุกดาหาร โมเดลแก้จนด้วยต้นกล้า อำเภอพนมดงรัก โมเดลผักอินทรีย์แก้จนชุมชนยะวึก ตำบลยะวึก อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น

มีการพัฒนาเครื่องมือ (Sustainable Livelihoods Return on Investment: SLROl) การประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวทางการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF)  โดยพิจารณาจากความสำเร็จในการช่วยเหลือคนจนเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุนในการดำรงชีพ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำรงชีพและบริบทของแต่ละพื้นที่พร้อมระบบป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loop) เพื่อนำคนจนที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วออกจากระบบ ยกตัวอย่างเช่น ระบบบริหารครัวเรือนยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ Monitoring KHM V.2 จังหวัดกาฬสินธุ์ ระบบ SRRU เพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และระบu Big Data Srisaket แก้ปัญหาความยากจนของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น

มีการผลักดันแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนสู่แผนพัฒนาจังหวัด เช่น โครงการลดความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำภายใต้บริบทพหวัฒนธรรมเข้มแข็งบรรจุเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี ปี 2566 – 2570 โครงการนำร่อง “กุดบากโมเดล” จังหวัดสกลนคร มาขยายผลการแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดสกลนคร นำนวัตกรรมแก้จน “แพะเงินล้าน” เป็นตัวแบบสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน สู่แผนพัฒนาจังหวัดชัยนาทระยะ 5 ปี (2566 – 2570) โครงการมันแก้จนเข้าสู่แผนจังหวัดมุกดาหาร ปี 2565 การเสนอโครงการส่งเสริมแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดพิษณุโลก เพื่อบรรจุในร่างแผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2566 – 2570 ฉบับทบทวน การพิจารณาโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรณีพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เข้าสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดศรีสะเกษ

ในการออกแบบจัดทำแผนแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำแบบเบ็ดเสร็จและ แม่นยำ โดยกระทรวง พม. นำมาจัดทำแผนช่วยเหลือคนเปราะบาง พอช. นำผู้ที่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยเข้าสู่โครงการบ้านพอเพียง จำนวน 10,093 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) ศอ.บต. นำมาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการพื้นที่สันติสุข ติดตามและประเมินผล

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนวัตกรรมแก้จนไทย-จีน ระหว่างหน่วย บพท. และมหาวิทยาลัยกว่างสี

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนวัตกรรมแก้จนไทย-จีน ระหว่างหน่วย บพท. และมหาวิทยาลัยกว่างสี

ภายใต้โครงการ “การแก้ปัญหาความยากจนเชิงพื้นที่แบบร่วมมือด้วยนวัตกรรมและการขับเคลื่อนระบบข้อมูลในจังหวัดกาฬสินธุ์” โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้ดำเนินการค้นหาสอบทานข้อมูล พิจารณาจำแนกให้ความช่วยเหลือได้อย่างตรงจุดทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการของรัฐ รวมถึงการนำออกของข้อมูล เพื่อเป็นกลไกในการหนุนเสริมระบบการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการดำเนินการดังกล่าวสามารถหนุนเสริมภารกิจการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถสรูปผลดำเนินงานได้ดังนี้

การค้นหาการสอบทานข้อมูลคนจนจากฐานข้อมูล TPMAPฐานข้อมูลของจังหวัดในโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และคนจนร้อยละ 20 ล่าง ด้วยการสำรวจทุนครัวเรือนเพิ่มเติมอย่างครอบคลุมทั้งจังหวัดพบว่าสามารถสอบทานข้อมูลครัวเรือนคนยากจนทั้งสิ้น 9,39 4 ครัวเรือนและสามารถนำเข้าคนจนที่ตกหล่นเพิ่มเติมจากฐานข้อมูล TPMAP 2,360 คน
จัดทำระบบสารสนเทศ
KHM V.2: คนกาฬสินธุ์
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ซึ่งสามารถวิเคราะห์ระบบสารสนเทศเพื่อนำข้อมูลมาสู่การพัฒนาครัวเรือนคนจนได้ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และท้องถิ่นที่มี
ความแม่นยำ รวมถึงมีการส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน
ร้อยละ 100 โดยมีครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 4,751 ครัวเรือน รวมมูลค่ากว่า 6,855,443 บาท
มีโมเดลแก้จน
ที่ได้มีการออกแบบพัฒนา
ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่
ได้แก่ (1) เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ โดยใช้นวัตกรรมเชิงกระบวนการมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนเมืองภายใต้ “Local Data Ownership Model” คนจนตามมาตรฐานและข้อมูลของตนเอง (2) ตำบลนามน อำเภอนามน มีการขับเคลื่อน ภายใต้แนวคิด “ธุรกิจชุมชน” และนวัตกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตผ่านรูปแบบ “ผักปลอดภัยไร้จนตำบลนามน” ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนเที่ยง และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการรายย่อย และ (3) ตำบลสหัสขันธ์ อำเภอสหัสขันธ์ ใช้แผนพัฒนาครัวเรือนตามความต้องการ และทักษะความสามารถของคนจนเป้าหมาย โดยขับเคลื่อนผ่านโมเดล “เห็ดฟางสร้างสุข” เชื่อมต่อกับการพัฒนานวัตกรรมกองทุนบุญชุมชนให้เข้ามาต่อยอด
เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาอาชีพ และใช้ KHM V.2 เพื่อบริหารข้อมูลความยากจนแบบร่วมมืออย่างครบวงจร

ภายใต้โครงการวิจัย “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดพัทลุง โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้มีการปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่และการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เหมาะสม ด้วยรูปแบบการพัฒนา “พัทลุงโมเดล” ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดพัทลุง (ศจพ. จ.พัทลุง) ครอบคลุมหน่วยงาน 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคประชาชน โดยมีเป้าหมายให้คนจนในจังหวัดพัทลุงหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืนและสามารถเข้าถึงทรัพยากร การศึกษา สวัสดิการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียม โดยมีผลลัพธ์ ดังนี้

เกิดโมเดล
กระจูดแก้จน
ในพื้นที่อำเภอควนขนุน
จังหวัดพัทลุง
ด้วยการสร้างความร่วมมือและยกระดับคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น โดยใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เข้ากับระบบภูมินิเวศและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มคนจนเป้าหมายมีโอกาส
ในการเข้าถึงความรู้
และทักษะ
รวมถึงได้ร่วมออกแบบหรือวางแผน จัดทำกิจกรรมสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือยกระดับคุณภาพชีวิต
คนในพื้นที่ให้พึ่งพาตนเองได้และช่วยเหลือกันเองได้ในกลุ่ม
กลุ่มคนจนเป้าหมายเกิด
Reskill
และ Upskill
เพื่อเสริมทักษะด้านการออกแบบลวดลายใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด อาทิ การนำท่าร่ายรำมโนราห์และจดทะเบียน
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาแล้วไปใส่ในลวดลายของงานผลิตภัณฑ์กระจูด รวมถึงมีการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เข้าไปเติมเต็ม
เช่น การใช้สีจากธรรมชาติ เข้าไปช่วยในการย้อมสีแล้วไม่หลุดลอก ไม่ซีดจางเมื่อถูกแสง ทำให้ชาวบ้านกลุ่มที่เข้าไปส่งเสริมจะมีรายได้ใน
ระดับครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 เท่าตัว (เดิม 4.500 บาท/เดือนเพิ่มเป็นหมื่นบาท) โดยพวกเขาตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มเลน้อยคราฟ”
มีการทำเพจขายของในออนไลน์
เกิดกลไกการ
เชื่อมชุมชนกับภาคีต่างๆทั้งภาคเอกชน และหน่วยราชการ
ในพื้นที่
เป็นห่วงโซ่ความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำเรื่องของการปลูกกระจูดในพื้นที่ที่ถูกปล่อยรกร้างว่างเปล่า
หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นแนวทางการเพิ่มกระจูดในพื้นที่ โดยการหาหน่วยงานพันธมิตร
และชุมชนพันธมิตร ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง ได้ทำแปลงกระจูดต้นแบบ จำนวน 2 ไร่ และร่วมดำเนินการนำร่องปลูก
กระจูด จำนวน 6 สายพันธุ์ เนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ ในพื้นที่ของศูนย์ศิลปาชีพร่วมกับชุมชนพันธมิตร กลุ่มวิสาหกิจบ้านหัวป่าเขียว (หมู่ 7)
จากนั้นนำมาสู่กลางน้ำ คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน และปลายน้ำ คือเรื่องการตลาด ทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจนสามารถกระจายรายได้ไปสู่คนกลุ่มต่างๆ ในชุมชนอย่างทั่วถึงมากขึ้น
เกิดโมเดลแก้จน
“ศรีนาคาโมเดล”
ซึ่งเป็นโมเดลแก้จนสวัสดิการชุมชนเกื้อกูล: คนเมืองลุงไม่ทอดทิ้งกัน ที่มุ่งเน้นการทำงานแบบ Joint Venture ระดับจังหวัดและพื้นที่
ให้ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะและสร้างกระบวนการเรียนด้านการทำผ้ามัดย้อมและผ้าพิมพ์ลายด้วยสีจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อเพิ่มทุนทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (ภาพที่ 14) ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานเข้าร่วมและมอบเงินสนับสนุนทุน ประกอบไปด้วยกองทุนสวัสดิการเทศบาลตำบลบ้านนา สำนักงานปลัดทศบาลตำบลบ้านนา และกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัดพัทลุง

การขับเคลื่อนโมเดลแก้จน “กระจูดแก้จน” ในจังหวัดพัทลุง

โมเดลแก้จนสวัสดิการชุมชนเกื้อกูล : คนเมืองลุงไม่ทอดทิ้งกัน

ภายใต้โครงการวิจัย การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร โดยทีมวิจัยจากวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้ดำเนินการค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนวิเคราะห์ปัญหาและฐานทุนครัวเรือนยากจน (PPPConnext) ด้วยการนำกรอบวิเคราะห์การดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework: SLF) มาประเมินระดับความยากจนของครัวเรือนด้วยฐานทุนทั้ง 5 ด้าน และวิเคราะห์ปัญหาทั้ง 5 มิติ สู่การพัฒนาและสร้างโมเดลแก้จนคนหลุดพ้นอย่างยั่งยืน ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้ต้นหม่อนทั้งต้น โดยบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วนกำหนด Value Chain ตั้งแต่ด้านการปลูกที่มีคุณภาพ (พันธุ์หม่อน) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์หม่อนไหมจังหวัดมุกดาหาร (หม่อนบุรีรัมย์ 60 ชนิด หม่อนใบและหม่อนผล) การดูแลรักษา นำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น น้ำลูกหม่อน ชาใบหม่อน ผงหม่อนแซ่บ หม่อนแคปซูล อาหารโคขุน อาหารปลา เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้รับองค์ความรู้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ พัฒนาชุมชน และเชื่อมโยงการตลาด ทั้งภายในประเทศ เช่น วิสาหกิจหม่อนไหมกกแดง และภายนอกประเทศ เช่น บริษัทไทย-เจแปน ฟาร์ม จำกัด ซึ่งกิจกรรมนี้เกิดขึ้นได้จากการวิเคราะห์พื้นที่โดยใช้ที่ดินจากนิคมสร้างตนเองคำสร้อย จำนวน 83 ไร่ โดยผลจากการเพิ่มมูลค่าของต้นหม่อน ส่งผลให้ชาวบ้านนิคมคำสร้อยมีรายได้มากขึ้น รวมถึงได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาาความยากจนในจังหวัดมุกดาหาร

การแก้ไขปัญหาความยากจน “หม่อนแก้จน” จังหวัดมุกดาหาร

ภายใต้โครงการวิจัย “การบูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์” โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลครัวเรือนยากจนในพื้นที่ตำบลสะแกโพรง พบว่ามีครัวเรือนยากจน จำนวน 773 ครัวเรือน และในพื้นที่มีกลุ่มผู้ประกอบการรถพุ่มพวงจำนวนมากแต่การค้าขายจะเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ทีมวิจัยจึงสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หาจุดเชื่อมต่อระหว่างคนจนกับรถพุ่มพวง สร้าง “ศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์” ขึ้นมาส่งเสริมครัวเรือนยากจนในการใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูกพืชผัก แล้วนำส่งศูนย์ฯ ซึ่งศูนย์ฯ จะทำหน้าที่ส่งต่อสินค้าให้กับรถพุ่มพวง ปัจจุบันศูนย์ฯ มีสมาชิกรถพุ่มพวงประมาณ 30 คัน สามารถกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นๆ ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นและเป็นกลไกรองรับการสร้างรายได้หมุนเวียนในระดับตำบลและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเป็นรูปธรรม

“รถพุ่มพวงแก้จน” ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์