ชื่อโครงการ
โครงการพัฒนาพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างเครือข่ายช่างทอให้เกิดเป็นชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคามคำสำคัญ
ผ้าทอท้องถิ่น,ความคิดสร้างสรรค์,เศรษฐกิจหมุนเวียนบทคัดย่อ
โครงการพัฒนาพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างเครือข่ายช่างทอให้เกิดเป็นชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัย และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอันเชื่อมโยงสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อสืบค้นและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านมูลค่าและคุณค่าของ “วัฒนธรรมผ้าทอ” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาอันโดดเด่นของจังหวัดมหาสารคามที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ และชาวมหาสารคามยังคงสืบสานอย่างแพร่หลายในทุกอำเภอ จนได้เป็นส่วนหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดมหาสารคาม คือ “พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร” การสร้างความโดดเด่นของวัฒนธรรมผ้าทอของจังหวัดมหาสารคามให้มีความแตกต่างจากวัฒนธรรมผ้าทอของชาวอีสานโดยทั่วไป เริ่มต้นในปี พ.ศ.2540 เมื่อมีการจัดประกวดลายผ้าประจำจังหวัด ลายผ้าที่ชนะเลิศเป็นลายผ้าที่สร้างสรรค์จากลายดั้งเดิม คือ นำโครงสร้างของลายโคมห้ามามัดย้อมซ้อนกับลายโคมเก้าแล้วโอบหมี่แลเงา ให้มีลายแน่นขึ้นมีความละเอียดมากขึ้น และเพิ่มเติมสีสันให้สวยงามหลากหลาย จนเกิดเป็นลายผ้าขนาดเล็กและประณีต เรียกลายผ้านี้ว่า “ลายสร้อยดอกหมาก” (ลักษณะคล้ายดอกต้นหมาก) เป็นลายผ้าประจำจังหวัดมหาสารคาม ต่อมาลายสร้อยดอกหมากได้รับความนิยมมากขึ้นจนมียอดขายถึง 260 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2559-2560 จังหวัดมหาสารคามจึงได้มีนโยบายในการส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มอาชีพ ทั้งจังหวัดผลิตผ้าไหมลายสร้อยดอกหมากเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดมหาสารคาม ทำให้ในระยะต่อมาผลผลิตมีจำนวนมากเกินความต้องการ เนื่องจากตลาดยังคงจำกัดอยู่ภายในจังหวัดมหาสารคาม ไม่สามารถ ขยายตลาดไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่ ผู้บริโภคภายในจังหวัดจึงเริ่มชะลอการซื้อ ส่งผลให้ปัจจุบันถึงแม้ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก จะยังคงได้รับความนิยมในด้านคุณค่า แต่ยังประสบปัญหาในการสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจ ให้แก่ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดังนั้น โครงการพัฒนาพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างเครือข่ายช่างทอให้เกิดเป็นชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดมหาสารคาม จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาและสร้างสรรค์วัฒนธรรมผ้าทอให้เกิดประโยชน์ต่อชาวจังหวัดมหาสารคาม ทั้งด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม และด้าน มูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งในส่วนการพัฒนาสร้างสรรค์ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก และการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การผลิตเส้นใยไหมและฝ้าย การย้อมสีธรรมชาติ การสรรสร้างลวดลาย เทคนิคและวิธีการทอผ้า การออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าและกลุ่มทอผ้ากว่า 300 กลุ่มในจังหวัดมหาสารคาม ในขณะเดียวกันยังเป็นโอกาสในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ในการต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 อีกด้วย
Title
Research on Sustainable Museum Administration and the Development of Artwork ManagementKeywords
Local Textile,Creativity,Circular EconomyAbstract
Cultural capital area development project to create a network of weavers to create a creative economy community and develop products to be unique to Maha Sarakham Province. It is a research and development of the foundation economy that is linked in line with the way of life of the people in the community. The goal is to explore and create benefits in terms of value and value of “Woven Fabric Culture”, which is the outstanding wisdom of Maha Sarakham Province that has been inherited from the ancestors. and the people of Maha Sarakham continue to carry on widely in every district Until becoming a part of the Maha Sarakham provincial slogan, “Phutthamonthon Isan civilization settlement Precious Silk, Taksila Nakorn” The prominence of the weaving culture of Maha Sarakham Province to be different from the weaving culture of Isan people in general started in 1997 when there was a provincial fabric design contest. The winning fabric pattern is a fabric design created from the traditional pattern, i.e. the structure of the Khom Ha pattern is tied and dyed overlapping with the Khom Kao pattern and then wrapped around Mee Lae Ngao. to have tighter patterns with more detail and add a variety of beautiful colors Until resulting in a small and intricate pattern This pattern is called “Soi dok mak pattern” (looks like ton mak flower) is a pattern of Maha Sarakham province. Later, the Dok Mak pattern became more popular until the sales volume reached 260 million baht in the year B.E. 2016-2017 Maha Sarakham Province has a policy to promote community enterprise groups and professional groups. The entire province produces silk with a pattern of Soi Dok Mak, which is a cultural product of Maha Sarakham Province. Causing in the later stages that the output is greater than the demand Since the market is still limited within Maha Sarakham Province, the market cannot be fully expanded to other areas. Consumers in the province began to delay their purchases. As a result, even nowadays, silk with a pattern of dok mak patterns will continue to be popular in terms of value But still faces the problem of creating economic value for the people of Maha Sarakham Province. Therefore, the cultural capital area development project To create a network of weavers to create a community of creative economy and develop unique products of Maha Sarakham Province It is therefore an opportunity to develop and create a woven fabric culture for the benefit of the people of Maha Sarakham Province. both in terms of cultural value and economic value Both in the development and creation of silk with a pattern of dok mak patterns. and further development of weaving wisdom in other forms such as silk and cotton production natural dyeing creation of patterns Techniques and methods of weaving Product design and fabrication of community weaving enterprises and more than 300 weaving groups in Maha Sarakham Province At the same time, it is also an opportunity to promote job creation and income generation in the fight against economic recession during the outbreak of the coronavirus disease 2019.