การสร้างอาชีพทางเลือกบนทรัพยากรฐานรากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับรายได้เกษตรกรรองรับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (กาฬสินธุ์โมเดล)

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 23 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A17F640014
นักวิจัย ผศ.ดร. กีรวิชญ์ เพชรจุล
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การสร้างแผนธุรกิจเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจน
แพลตฟอร์ม อื่นๆ (ในกรณีที่แผนไม่สอดคล้องกับ Platform 1-4)
โปรแกรม P17 การแก้ปัญหาเร่งด่วนของประเทศ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 เมษายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 มีนาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กาฬสินธุ์

ชื่อโครงการ

การสร้างอาชีพทางเลือกบนทรัพยากรฐานรากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับรายได้เกษตรกรรองรับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (กาฬสินธุ์โมเดล)

คำสำคัญ

อาชีพทางเลือก, ทรัพยากรฐานราก, ฟื้นฟูเศรษฐกิจ, ยกระดับรายได้เกษตรกร, รองรับวิกฤตการณ์โควิด-19, จังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

โครงการสร้างอาชีพทางเลือกบนทรัพยากรฐานรากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับรายได้เกษตรกรรองรับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (กาฬสินธุ์โมเดล) ตั้งเป้าหมายรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 30 เปอร์เซ็นต์ หรือ 10,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (คิด 2 แรงต่อครัวเรือน) และสร้างอาชีพทางเลือกให้กับกลุ่มเกษตรกรฐานรากที่มีผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยจะช่วยเหลือเกษตรกรฐานรากตั้งแต่ต้นน้ำ (การผลิต) กลางน้ำ (การแปรรูป) และปลายน้ำ (การตลาดและการจำหน่าย) จัดทำต้นแบบโมเดลธุรกิจ (Business Model) สามารถนำไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ได้ย่างยั่งยืนในอนาคต โดยได้ดำเนินการในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนจาน อำเภอนามน อำเภอสมเด็จ อำเภอสามชัยและอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 200 ราย จากการสำรวจข้อมูลบริบทพื้นฐานของเกษตรทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 193 ราย พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76 มีอาชีพหลักทำนา ทำไร่ เป็นหลัก และมีรายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือน 1,001-3,000 บาท ซึ่งเกษตรกรฐานรากส่วนใหญ่ก่อนเข้าร่วมโครงการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 เมื่อประเมินจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าได้รับผลกระทบอยู่ในระดับกระทบมากต่อการประกอบอาชีพและเศรษฐกิจครัวเรือน ร้อยละ 32.77 กระทบทางสังคมและการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 27.17 แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีความสุขกับการประกอบอาชีพมากขึ้น ร้อยละ 58.55 และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 300-2,640 บาท ร้อยละ 53.57 โดยถือว่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ แต่เนื่องจากเป็นปีแรกการเริ่มดำเนินโครงการจะมีเกษตรกรฐานรากบางรายที่ยังไม่สามารถบรรลุผลในเรื่องรายได้ แต่สามารถสร้างอาชีพในชุมชนได้ โดยเมื่อวัดระดับความคิดเห็นต่อโครงการ พบว่าเกษตรกรเห็นด้วยกับรูปแบบการดำเนินโครงการ ร้อยละ 53.37 ในด้านกลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าการผลิตในพื้นที่และโครงสร้างการกระจายรายได้สู่เกษตรกรฐานรากหรือผู้ผลิตต้นน้ำ ผ่านบทบาทของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ สามารถช่วยเกษตรกรที่ถูกเลิกจ้างหรือตกงานในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 สร้างอาชีพและมีรายได้ จำนวน 6 ราย นอกจากนี้ได้สร้างนวัตกรต้นแบบเกิดขึ้น จำนวน 49 ราย ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ได้ สามารถสร้างโมเดลธุรกิจได้ จำนวน 5 โมเดล ได้แก่

1) การสร้างอาชีพจากการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรม
2) การสร้างอาชีพจากการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
3) การสร้างอาชีพการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์
4) การสร้างอาชีพผ้าทอพื้นเมือง และ
5) การสร้างอาชีพจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

จากการดำเนินโครงการมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมลงไปพัฒนาพื้นที่และยกระดับการผลิตของกลุ่มเกษตรกรฐานรากด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ ชุดความรู้การผลิตมันสำปะหลัง ชุดความรู้การผลิตข้าว ชุดความรู้การเลี้ยงไก่พื้นเมือง ชุดความรู้การแปรรูปสัตว์น้ำ ชุดความรู้ผ้าทอพื้นเมือง การผลิตเส้นไหมคุณภาพ และชุดความรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (มะม่วงอบแห้งและกุ้งก้ามกรามหยอง) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ต้องการส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การแปรรูป อาหารปลอดภัยและพืชเศรษฐกิจหลักแบบครบวงจร โดยการดำเนินงานได้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว )BCG Model) ด้านการเกษตร (Value Proposition) พิจารณาการดำเนินการในลักษณะส่งเสริมเพิ่มเติมและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยบรรจุเข้าแผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ ในปีงบประมาณ 2565 และ 2566 ร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดโดยใช้โครงการกาฬสินธุ์โมเดลเป็นต้นแบบในการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ และจากประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment (SROI)) โดยประเมินจากความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น ความสุขในการประกอบอาชีพ ความสุขจากการได้มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมเครือข่าย และสามารถช่วยเหลือเกษตรกรท่านอื่นที่ประสบปัญหา พบว่ามีค่า SROI เท่ากับ 0.53 หมายถึงลงทุน 1 บาท ได้ผลตอบแทน 0.53 บาท

Title

Creating alternative careers on foundational resources to restore the economy and raise farmers' income in response to the COVID-19 crisis Kalasin province (Kalasin model)

Keywords

alternative careers,founddational resources,restore the economy,raise farmer income,the COVID-19 crisis,Kalasin province

Abstract

The Project to create alternative occupations on foundational resources to restore the economy and raise farmers incomes in response to the COVID-19 crisis Kalasin Province (Kalasin Model) set a target of income increasing from the original 30 percent or 10,000 baht per household per month (think 2 powers per household). Creating alternative careers for foundation farmers who are affected by the Covid-19 situation It assists farmers in the upstream (production), midstream (processing), and downstream (marketing and distribution). Create a business model that can be applied to other areas have a sustainable future. It operates in 5 districts, namely Don Chan District, Namon District, Somdet District, Sam Chai District and Yang Talat District, Kalasin Province. There were 200 participants in the project. From the survey of basic agricultural context information before and after participating in the project, 193 respondents were surveyed. It was found that most of the participants in the project were female, 76 percent of whom had a main occupation of farming. They had an average income before joining the project, per household per month, 1,001-3,000 baht, which most of the basic farmers before joining the project were affected by the COVID-19 epidemic situation. When assessed by farmers participating in the project It was found that the impact was at the level that affected the occupation and the household economy at 32.77%, and the impact on the society and lifestyle was at the highest level, 27.17 percent. But after participating in the project, it was found that most farmers were happy with their occupation, 58.55 percent, and their income increased from 300-2,640 baht by 53.57 percent, which is an increase of more than 30 percent. Initiating the project, there will be some foundation farmers who have not yet achieved their income. But can create a career in the community when measuring the level of opinion towards the project. It was found that 53.37% of farmers agreed with the project implementation model. In terms of the mechanism driving the local production value chain and the income distribution structure to the foundation farmers or upstream producers; through the role of the university located in the area. It can help farmers who have been laid off or lost their jobs during the COVID-19 epidemic situation. Build a career and earn 6 people. In addition, 49 prototype innovators have been created, which can be role models for other areas. Able to create 5 business models, namely

1) creating a career from industrial agronomy
2) creating a career from raising native chickens
3) creating a career in animal products processing
4) creating a career in native textiles and
5) creating a career from processing agricultural products.

As a result of the project implementation, technology and innovation have been applied to develop the area and upgrade the production of the basic farmers group with science, technology, research and innovation, such as the cassava production knowledge set, rice production knowledge set, knowledge of raising native chickens, aquaculture processing knowledge set, knowledge of local woven fabrics, quality silk production and agricultural product processing knowledge set (dried mango and shredded lobster). This is in line with the first strategic issue of Kalasin Province, which wants to promote and develop a comprehensive range of production, processing, food safety and key economic crops. The operation is in line with the guidelines for the development of bio-economy. Circular Economy and Green Economy (BCG Model) Agriculture (Value Proposition). Considering further promotion and integration with agencies in Kalasin Province by being included in the Kalasin Provincial Development Plan in fiscal year 2022 and 2023, together with government agencies and private agencies in Kalasin Province. Join to integrate the provincial development plan by using the Kalasin Model project as a model for development in other areas. From assessing social return on investment (SROI) based on the increase in farmers knowledge and understanding, career happiness, the joy of having a good relationship between network mates, and able to help other farmers who have problems, found that the SROI value is 0.53, meaning invest 1 baht, get a return of 0.53 baht.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น