การสร้างแนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมสร้างสรรค์ย่านเก่าเพชรบุรี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 21 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640083
นักวิจัย ร.อ. ชูวิทย์ สุจฉายา
หน่วยงาน สถาบันอาศรมศิลป์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, เพชรบุรี

ชื่อโครงการ

การสร้างแนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมสร้างสรรค์ย่านเก่าเพชรบุรี

คำสำคัญ

การจัดการมรดกวัฒนธรรม,กลไกการจัดการย่านเก่า,แผนที่มรดกวัฒนธรรม,การปรับปรุงเชิงกายภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ โครงการวิจัยการสร้างแนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมสร้างสรรค์ย่านเก่าเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือ (Engage) ต่อยอดคุณค่า (Enrich) และ เสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ (Enhance) เพื่อให้ได้แนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมที่สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพัฒนาย่านเก่าเมืองเพชรบุรี และสามารถสรุปเป็นเครื่องมือและขั้นตอนในการได้แนวทางดังกล่าว งานวิจัยเริ่มด้วยคณะผู้วิจัยที่มีทั้งนักวิจัยที่มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่มานานและนักวิจัยในพื้นที่ ตั้งคำถามว่าเมืองเพชรบุรีมีมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าอย่างมากมายและยังมีการอนุรักษ์ สืบสาน มีผู้ประกอบการทุนทางวัฒนธรรมทั้งในด้านผลิตภัณฑ์และบริการ แต่เหตุใดทุนทางวัฒนธรรมดังกล่าวยังไม่สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาแบบก้าวหน้า (Advance) เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเมืองเพชรบุรีได้ ทั้งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ทันกับการพัฒนาเมืองที่จะเกิดขึ้นทั้งในระดับภาคและจังหวัด รวมทั้งด้านสภาพแวดล้อมของเมืองที่เริ่มมีความเสื่อมถอยทั้งอัตลักษณ์ความเป็นเมืองภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์และการจัดการที่ไม่สอดคล้องกับการใช้งาน จากคำถามดังกล่าว จึงดำเนินการโดยใช้กระบวนการเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR : Participatory Action Research) นำกรอบแนวคิด 3E: เสริมสร้างความร่วมมือ (Engage) ต่อยอดคุณค่า (Enrich) และเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ (Enhance) ในการกำหนดเป้าหมายแต่ละกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลผลิตตามวัตถุประสงค์ กรอบทฤษฎีที่นำมาใช้ในกระบวนการวิจัยคือภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ (HUL) ที่มีกระบวนการตั้งแต่ศึกษาบริบทของเมือง ศึกษาสถานการณ์ของพื้นที่ ถอดอัตลักษณ์และคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมย่านเก่าเมืองเพชรบุรี วิเคราะห์จุดอ่อน (Pain point) จนได้รูปแบบการจัดการมรดกวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว คณะผู้วิจัยใช้แผนที่มรดกวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิงปฏิบัติการแต่ละครั้ง เพื่อคลี่ภาพให้เห็นเป็นรูปธรรมร่วมกัน และเป็นเครื่องมือในการประเมินมรดกวัฒนธรรมที่จะนำมาต่อยอด กิจกรรมเชิงปฏิบัติการสุดท้ายคือกิจกรรมการทดลองการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อร้อยเรียงผู้ประกอบการทุนทางวัฒนธรรม 10 รายที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมในกระบวนการวิจัยร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่สนับสนุน ผลผลิตของงานวิจัยคือได้แนวทางการจัดการมรดกวัฒนธรรมเป็น 2 แนวทางคือ การอนุรักษ์ปกป้องคุณค่ามรดกวัฒนธรรม และการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานได้ในปัจจุบันอันเป็นการต่อยอดจากฐานคุณค่าสู่มูลค่า นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้สามารถตอบคำถามเรื่องข้อจำกัดในการจัดการมรดกวัฒนธรรมในปัจจุบัน อันสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสู่การสร้างกลไกในการพัฒนามรดกวัฒนธรรมย่านเก่าเมืองเพชรบุรีได้ต่อไป คำสำคัญ การจัดการมรดกวัฒนธรรม, แผนที่มรดกวัฒนธรรม, ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์, กลไกการจัดการมรดกวัฒนะรรม, ย่านเก่าเมืองเพชรบุรี

Title

Establishing management approaches in the creative cultural heritage of the old Phetchaburi district

Keywords

Cultural heritage management,Old district management-driven mechanism,Cultural heritage map,Physical improvement

Abstract

Abstract The objectives of research project on creating guidelines for creative cultural heritage management in Old Petchaburi District are to create cooperation (Engage) to enhance the value (Enrich) and to enhance skills and knowledge (Enhance) in order to obtain a cultural heritage management. The approach that can be used as part of driving the development of the old Petchaburi district. The method and machanism can be summarized such as the guidelines The research began with a team of researchers who had long experience working in the field and researchers in the field. Questioning whether Phetchaburi has a rich cultural heritage and also preserves and inherits cultural capital entrepreneurs in terms of products and services. But why the aforementioned cultural capital cannot be further developed (Advance) to drive Phetchaburi City, especially to keep up with the upcoming urban development at both the regional and provincial levels. Moreover, the urban environment has begun to decline, including urban identity, historical landscape, and management that is inconsistent with usage. From such questions: therefore; it is carried out by using participatory action process (PAR: Participatory Action Research) with adopting the 3E framework: Engage, Enriching and Enhancing in Set goals for each operational activity to achieve objective productivity. The theoretical framework used in the research process is the Historical Landscape (HUL), which has a process ranging from studying the urban context. analyze the situation of the area, decoding the identity and value of cultural heritage in the old area of Phetchaburi, analyze the weaknesses (Pain point) until the model of cultural heritage management that already exists is obtained. The researchers used cultural mapping as an important tool for generating participation in each action activity and to unfold the picture to be seen as concrete together and as a tool for evaluating cultural heritage that will be further developed. The final workshop was a cultural tourism experiment to weave 10 cultural capital entrepreneurs who were selected to participate in the research process with supporting local agencies. The result of this research is to have two cultural heritage management approaches: conservation and protection of cultural heritage values. and promoting usability in the present, which is an extension from the value base to the value. In addition, the results can address the current limitations in cultural heritage management. which can be used as a guideline to create a mechanism for the development of cultural heritage in the old area of Phetchaburi in the future Keywords: cultural heritage management, cultural mapping, historical landscape, HUL, cultural heritage management mechanism, old city of Phetchaburi

สำหรับสมาชิกเท่านั้น