การพัฒนาระบบบริหารจัดการการเดินรถไฟฟ้ารางเบาและรางเดี่ยวบูรณาการร่วมกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง และพื้นที่ใกล้เคียง

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 6 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630072
นักวิจัย นายศักรธร บุญทวียุวัฒน์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (Re-Submit)
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี

ชื่อโครงการ

การพัฒนาระบบบริหารจัดการการเดินรถไฟฟ้ารางเบาและรางเดี่ยวบูรณาการร่วมกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง และพื้นที่ใกล้เคียง

คำสำคัญ

รถไฟฟ้ารางเบา,รถไฟฟ้ารางเดี่ยว,การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน,แบบจำลองการจราจรและขนส่ง,แบบจำลองสภาพการจราจร,การวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ งานศึกษานี้มีเป้าหมายสำคัญ คือ การยกระดับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับประชาชนชาวจังหวัดชลบุรี โดยการเน้น 5 พื้นที่สำคัญ ได้แก่ เทศบาลเมืองชลบุรี แสนสุข ศรีราชา เทศบาลนครแหลมฉบัง และเมืองพัทยา โดยมุ่งเน้นที่การเลือกตำแหน่งสถานีขนส่งมวลชน รูปแบบของระบบขนส่งมวลชน ระบบบริหารการจัดการการเดินรถไฟฟ้ารางเบา และรางเดี่ยว การออกแบบสัญญาณไฟอัตโนมัติที่ทางแยกตัดเสมอระดับ และการประเมินโครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน เพื่อเป้าหมายในการเป็นต้นแบบเมืองศูนย์กลางความเจริญที่เป็นเมืองน่าอยู่และเป็นเมืองอัจฉริยะที่เน้นการลงทุนในระบบขนส่งมวลชนและเทคโนโลยี และเป็นหัวรถจักรให้เมืองอื่นๆ ในภูมิภาค โครงข่ายเส้นทางขนส่งมวลชนได้ถูกออกแบบขึ้นโดยอาศัยหลักการสำคัญโดยใช้หลักการที่สำคัญ 2 ข้อ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านการจราจรและขนส่ง และปัจจัยทางด้านการพัฒนาเมืองและสังคม โดยผลการออกแบบมีดังนี้ ยาว 67 กิโลเมตรครอบคลุม อ.เมืองชลบุรี อ.ศรีราชา และ อ.บางละมุง ประกอบด้วยทั้งสิ้น 39 สถานี แบ่งเป็น 3 ช่วง เพื่อไม่ให้โครงข่ายเส้นทางนั้นยาวเกินไป และให้ง่ายต่อการบริหารจัดการการเดินรถไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ในส่วนของการคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลจราจรและขนส่งก่อนเพื่อการพัฒนาแบบจำลองการจราจรและขนส่ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ Trip Generation, Trip Distribution, Mode Split และ Trip Assignment โดยแบบจำลองฯ คาดการณ์ว่าเมื่อมีการนำระบบขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่จะส่งผลให้ประชาชนกันมาใช้ระบบใหม่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณการเดินทางทั้งหมด และคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการในปี 2025 เท่ากับ 19,645 คนต่อวัน เมื่อได้จำนวนผู้โดยสารในอนาคต คณะผู้วิจัยได้ออกแบบระบบปฏิบัติการการเดินรถรถรางไฟฟ้าและรถบัสไฟฟ้าให้เหมาะสมเพื่อสามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้อย่างพอเพียงและประสิทธิภาพ ในส่วนของผลการวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์ มีแค่ในกรณีของรถบัสไฟฟ้า หรือ BRT ที่ผ่านเกณฑ์การลงทุน แต่ในส่วนของทางด้านการเงินแล้วไม่มีกรณีไหนที่คุ้มค่าการลงทุนเลย อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวในกรณีที่ดีที่สุด กรณีของรถไฟฟ้ารางเบาสามารถคุ้มค่าการลงทุนได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ และรถบัสไฟฟ้าสามารถคุ้มค่าการลงทุนได้ในเชิงการเงิน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องมีการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบของ PPP Net Cost และเสนอรายได้อื่นๆให้แก่เอกชนเช่น การหารายได้จากสิทธิ์ในการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาที่ดินรอบสถานี โดยใช้แนวทาง Transit Oriented Development : TOD) โดยนำที่ดินมาใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน (Mixed Use Development) โดยในพื้นที่ใกล้สถานีหนึ่งแปลงนำมาพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งพาณิชยกรรมและพื้นที่สันทนาการหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในงานศึกษานี้ได้นำเสนอ TOD 4 ด้าน ได้แก่ ผังเสนอแนะการพัฒนาย่าน ผังพื้นที่โล่งและพื้นที่สีเขียว ผังเสนอแนะโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ผังเสนอแนะระบบสัญจร และผังเสนอแนะระบบสัญจรทางน้ำ ในสถานีเกาะลอยเป็นพื้นที่นำร่อง ซึ่งจะสามารถรองรับประชากรได้เพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ภายในรัศมี 1 กิโลเมตร ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้ใช้บริการของระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนมีความคุ้มค่ามากขึ้น

Title

Development of Administration System in Operating Light Rail Transit and Monorail integrated with Transit-Oriented Development in Laem Chabang Municipality and the Vicinity Area

Keywords

Light Rail Transit,Monorail,Transit-Oriented Development,Transport and Traffic Model,Traffic Simulation Model,Economic and Financial Analysis

Abstract

This study aims to develop the public transit system to be the most efficient system for people in Chonburi by focusing on 5 important local areas as follows: Chonburi Town Municipality, Saen Suk Town Municipality, Sriracha Town Municipality, Laem Chabang City Municipality and Pattaya City. It focuses on the route design, the station location selection, the suitable public transit system form, the suitable administrations of light rail transit, monorail and BRT operations, traffic light design at the intersection and the project evaluation of economic and financial aspects. This study targets to raise the main five cities in Chonburi becoming the models of liveable, flourish and smart cities which focus on public transit system and technology investments and being the locomotive of other cities in Thailand. The route network in this study was designed by two important criteria which are traffic & transport and city and society development factors. The result is the route network is 67 kilometres covering three districts: Chonburi city, Sriracha and Banglamung. The route consists 39 stations divided into 3 parts to limit the too long distance and ease to manage the good level of service. The number of passengers was forecasted by the four-step transport and traffic models which are trip generation, trip distribution, modal split and trip assignment. It indicated that the private car and motorcycle uses would change to use the public transit system around 10 percent and the number of passengers in 2025 is 19,645 ridership per day. The operating systems of public transit system were designed into two cases : rail and bus systems to handle the passengers properly. The appropriate speed, headway and number of cars were designed. In the part of economic evaluation was assessed in three modes: LRT, Monorail and BRT. It indicated that only BRT was worth investment. Whilst the financial evaluation, none of them was worth to invest. Nonetheless, the sensitivity analysis indicated that LRT could be worth investment for economic purpose in the best case and BRT also could be worth investment for financial investment in the best case too. Thereby, it is necessary for the government to find the potential private agencies to be partnerships in the form of PPP net cost and offering other revenues such as the rights of commercial areas nearby the stations by the concept of TOD for the mixed – use development. The transit-oriented development in this study was designed into 4 parts: the district development suggestion plan, open space and green belt plans, transport network suggestion plan, traffic system suggestion plan and water transport suggestion plan. In summary, the conceptual plan of this station can handle populations more 50 percent in the radius of 1 kilometre. The conceptual plan of TOD was developed in this study can promote the number populations to use the public transit system more and help the public transit system investment to be more worth.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น