การวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียม ในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 23 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630038
นักวิจัย นางอิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ปัตตานี

ชื่อโครงการ

การวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียม ในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ

การลดความยากจน, การพัฒนาความเท่าเทียม, จังหวัดปัตตานี, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

โครงการการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินการจนบรรลุผลลัพธ์เป้าหมายทั้ง 4 ประการ คือ

  1. มีฐานข้อมูลผู้มีรายได้ร้อยละ 40 ล่างตามข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) และข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับครัวเรือน (จปฐ.) ปี 2562 ของจังหวัดปัตตานี
  2. มีฐานข้อมูลระบบการดำรงชีพที่ยั่งยืน 5 มิติของผู้มีรายได้ร้อยละ 40 ล่างของจังหวัดปัตตานี ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในรูปแบบจำลองสามมิติ
  3. มีตัวอย่างนำร่องการแก้ไขปัญหาความยากจน (Good practice) จากกลุ่มตัวอย่างของหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 ตามข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) ของจังหวัดปัตตานี
  4. มีระบบการหนุนเสริมกลไกการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดปัตตานี

ผลการวิจัยสรุปประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ

  1. ผลการสำรวจข้อมูลคนจนจังหวัดปัตตานีเพื่อตอบคำถามว่าคนจนอยู่ที่ไหนและสาเหตุของความยากจนเป็นอย่างไร
  2. การเชื่อมกลไกภาคีและการส่งต่อข้อมูล
  3. โครงการนำร่องการแก้ไขปัญหาความยากจน (โมเดลแก้จน) จังหวัดปัตตานี ดังรายละเอียดต่อไปนี้3.1 ผลการสำรวจ ค้นหาและยืนยันคนจนเป้าหมายในแพลตฟอร์มแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของกระทรวง อว. เป็นการสำรวจทุนดำรงชีพ 5 ด้านของครัวเรือนยากจนทั้ง 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วยครัวเรือนในหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา อันดับ 1 จำนวน 1,227 ครัวเรือน อันดับ 2 จำนวน 18,893 ครัวเรือน และอำเภอไม้แก่น จำนวน 62 ครัวเรือน รวมครัวเรือนตัวอย่างทั้งสิ้น 20,182 ครัวเรือน โดยคณะผู้วิจัยได้สำรวจและนำข้อมูลเข้าระบบจำนวน 17,191 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 85.18 โดยมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนจำนวน 97,852 คน ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยทุนทั้ง 5 มิติของจังหวัดปัตตานี พบว่า มิติที่ 1 ทุนมนุษย์ มีค่าเฉลี่ย 1.81 (อยู่ยาก) มิติที่ 2 ทุนกายภาพ มีค่าเฉลี่ย 3.10 (พออยู่ได้) มิติที่ 3 ทุนการเงิน มีค่าเฉลี่ย 2.13 (อยู่ยาก) มิติที่ 4 ทุนธรรมชาติ มีค่าเฉลี่ย 2.69 (พออยู่ได้) และมิติที่ 5 ทุนทางสังคม มีค่าเฉลี่ย 1.55 (อยู่ลำบาก) ในภาพรวมคนยากจนจังหวัดปัตตานีมีทุนที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ทุนกายภาพ และตามด้วยทุนธรรมชาติ ทุนการเงิน ทุนมนุษย์ และทุนทางสังคม เรียงตามลำดับ และมีความเหลื่อมล้ำของครัวเรือนในทุนทางสังคมและทุนธรรมชาติมากที่สุด ทุนทางสังคมของครัวเรือนยากจนในจังหวัดปัตตานี ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำหรือ อยู่ในระดับอยู่ลำบาก นั่นหมายความว่าเครือข่ายและความสัมพันธ์ ซึ่งช่วยเพิ่มความไว้วางใจและความสามารถในการร่วมมือกัน รวมถึงการเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเป็นทางการ และระบบ กฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน และการควบคุมต่าง ๆ มีน้อย ทุนทางสังคมจะเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทุนมนุษย์ และทุนการเงิน ของครัวเรือนยากจนในจังหวัดปัตตานีในภาพรวมอยู่ในระดับอยู่ยาก ทุนทั้งสองมิตินี้ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนของครัวเรือน จังหวัดปัตตานีมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยครัวเรือนละ 5.60 คน (ในขณะที่ค่าเฉลี่ยครัวเรือนยากจนทั่วไปอยู่ที่ครัวเรือนละ 4.44 คน) สมาชิกในครัวเรือนยากจนส่วนใหญ่จะสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 32.24 และต่ำกว่าระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 16.47 รวมถึงไม่ได้เข้าเรียนคิดเป็นร้อยละ 18.59 เป็นสัดส่วนจำนวนมากเมื่อเทียบกับสมาชิกในครัวเรือนยากจนที่จะได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป ด้านการประกอบอาชีพของคนยากจนจังหวัดปัตตานีส่วนใหญ่ร้อยละ 31 รับจ้างทั่วไปนอกภาคเกษตร รองลงมาร้อยละ 18 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งทั้งสองอาชีพได้รับผลกระทบอย่างมากในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (CIVID-19) เนื่องจากถูกเลิกจ้างงาน และผลผลิตการเกษตรก็พบปัญหาเรื่องตลาดและการกระจายสินค้า คนยากจนที่ประสบปัญหาอยู่แล้วในสภาวะปกติยิ่งถูกซ้ำเติมจากพออยู่ได้กลายเป็นอยู่ลำบาก ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจึงมีทั้งการดำเนินการส่งต่อช่วยเหลือเร่งด่วน การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง การดูแลระยะกลางด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพ และการวางแผนระยะยาวของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง3.2 การเชื่อมกลไกภาคีเพื่อหนุนเสริมการดำเนินงานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี จัดว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง เนื่องจากเกิดกลไกการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ในการเชื่อมกลไกระดับจังหวัดได้เชื่อมประสานกลไกภาคีหลักระดับจังหวัด คือผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานความร่วมมือกับกลไกหลักระดับจังหวัด โดยการชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งวางแผนการบูรณาการงานร่วมกัน ส่วนการเชื่อมประสานกลไกประสานกลไกระดับท้องถิ่นมีการทำงานผ่าน
    (1) การหนุนเสริมของภาครัฐ ได้แก่ท้องที่ ท้องถิ่น รวมถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อสม. (2) ขับเคลื่อนโดยภาคประชาชน/เอกชน ได้แก่ ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชุมชน คนในชุมชน และกลุ่มคนยากจน
    (3) สอดประสานกัน ด้วยภาควิชาการ ได้แก่ กศน.ตำบล/ อำเภอ โรงเรียนในพื้นที่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์3.3โดยใช้หลักการบูรณาการการทำงาน เพื่อร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน จากผลการดำเนินโครงการมีการส่งข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล ประกอบด้วย
  1. การส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจน 220 ครัวเรือน (ครัวเรือนยากจนอันดับ 1 พื้นที่ กาฮง กอแล และบ้านกลาง) ให้พัฒนาชุมชนจังหวัดปัตตานีสนับสนุนความช่วยเหลือด้านประกอบอาชีพ
  2. การส่งข้อมูลครัวเรือนตกสำรวจ จปฐ. ให้ พมจ. จำนวน 17 ครัวเรือนเพื่อรับการช่วยเหลือเร่งด่วน
  3. การส่งข้อมูลครัวเรือนยากจน อันดับ 1 และ อันดับ 2 ให้ อบจ. 1,398 ครัวเรือน เพื่อให้ความช่วยเหลือในเทศกาลสำคัญ (ซะกาต หรือ การบริจาคตามหลักการศาสนาอิสลาม)3.3 โมเดลแก้จนของจังหวัดปัตตานีทั้ง 3 พื้นที่ จึงมีดำเนินงานที่แตกต่างกันตามผลจากการสำรวจข้อมูลทุน 5 มิติ ดังนี้ โซนที่ 1 บ้านกาฮง ตำบลปะกาฮารัง อำเภอเมือง จากผลจากการสำรวจข้อมูลทุน 5 มิติพบว่า ทุนทางกายภาพอยู่ในระดับอยู่ดี และ ทุนธรรมชาติอยู่ในระดับพออยู่ได้ แต่ทุนทางสังคมอยู่ในระดับอยู่ลำบาก เป็นไปในทิศทางเดียวกับภาพรวมของจังหวัด “โมเดลแก้จน” จึงมุ่งใช้การพัฒนาระดับครัวเรือนก่อน โดยให้ครัวเรือนใช้ทุนทางกายภาพที่มีในการสร้างรายได้ ภายใต้การดูแลให้คำแนะนำจากนักวิจัยและหน่วยงานเกี่ยวข้อง เมื่อครัวเรือนดำเนินงานและหารายได้ตามเป้าหมาย ก็สามารถสร้างแรงกระตุ้นขยายผลไปยังครอบครัวอื่น ๆ มีผู้นำชุมชนเข้ามาให้คำแนะนำและสนับสนุน ซึ่งอาจจะส่งผลให้เพิ่มระดับทุนทางสังคมของชุมชนต่อไป โซนที่ 2 บ้านกอแล หมู่ที่ 1 ตำบลลางา อำเภอมายอ จากผลจากการสำรวจข้อมูลทุน 5 มิติพบว่า ทุนทางกายภาพอยู่ในระดับอยู่ดี ทุนธรรมชาติ และทุนทางสังคมอยู่ในระดับพออยู่ได้ จึงสามารถรวมกลุ่มคนยากจนประชุมสะท้อนปัญหาและความต้องการในเวทีประชาคม “โมเดลแก้จน” จึงมาจากการประมวลและจัดลำดับปัญหาที่มีความสำคัญมากที่สุด 3 ลำดับร่วมกัน และนำไปสู่ทางเลือกในการแก้ไขปัญหา โซนที่ 3 บ้านกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จากผลจากการสำรวจข้อมูลทุน 5 มิติพบว่า ทุนทางกายภาพอยู่ในระดับอยู่ดี ทุนทางสังคมอยู่ในระดับพออยู่ได้ แต่ทุนการเงินอยู่ในระดับอยู่ยาก เมื่อทุนทางกายภาพดี ทุนสังคมพออยู่ได้ นักวิจัยที่รับผิดชอบโซนนี้จึงดำเนินโครงการนำร่องโดยใช้รูปแบบการประสานเครือข่าย ทั้งเครือข่ายกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่มใหม่ และเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเข้ามาหนุนเสริมในกระบวนการแก้ไขความยากจน มุ่งเน้นการเพิ่มทุนทางการเงิน แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน สำหรับ 3 พื้นที่นำร่องของจังหวัดปัตตานี มีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ คือ
  1. การเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพของคนจนให้สามารถปรับตัวอย่างมีภูมิคุ้มกันและพึ่งตนเองได้
  2. การหาแนวทางในการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคม เช่น การส่งต่อความช่วยเหลือคนจนกลุ่ม “อยู่ลำบาก” การสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการโดยชุมชนในรูปแบบที่พึ่งตนเองมากขึ้น
  3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้คนจนได้ใช้ประโยชน์ เช่น ที่ดินทำกิน ระบบน้ำเพื่อการเกษตร การใช้ประโยชน์จากนาร้าง เป็นต้น

Title

Area-Based Collaborative Research on Reducing Poverty and Improving Equity in Thailand: A Case Study of Pattani Province

Keywords

Reducing Poverty,Improving Equity,Pattani Province

Abstract

สำหรับสมาชิกเท่านั้น