การวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 18 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640099
นักวิจัย นางอิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ปัตตานี

ชื่อโครงการ

การวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2

คำสำคัญ

การลดความยากจน,การพัฒนาความเท่าเทียม,จังหวัดปัตตานี,ประเทศไทย

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2 นี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ

1) เพื่อค้นหา สอบทานข้อมูล และสำรวจทุนคนจนและครัวเรือนระดับพื้นที่จังหวัดปัตตานีและเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพครบทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ของระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform-TPMAP)
2) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนพื้นที่ ส่วนจังหวัด และส่วนกลางอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้ 100%
3) เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลแก้จนที่จะแก้ปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและยั่งยืน
4) เพื่อร่วมพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย หนุนเสริม หรือเชื่อมโยงให้เกิดแผนพัฒนาเพื่อการแก้ไข ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจน ตัวชี้วัด และแนวทางการวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

โครงการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2 ครอบคลุมการดำเนินการหลัก 5 ประเด็น คือ

1) การพัฒนาระบบข้อมูลคนจนและครัวเรือนในระดับพื้นที่จังหวัดปัตตานีโดยการค้นหาและสอบทานข้อมูล
2) การพัฒนาระบบและกลไกติดตามผลและส่งต่อความช่วยเหลือเพื่อส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ปัญหาความยากจนจังหวัด
3) ปฏิบัติการแก้จน Operating Model จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อออกแบบและปฏิบัติการแก้จน
4) ระบบหนุนเสริมการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
5) การพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจน

โดยมีผลการวิจัยดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การพัฒนาระบบข้อมูลคนจนและครัวเรือนในระดับพื้นที่จังหวัดปัตตานีโดยการค้นหาและสอบทานข้อมูล โครงการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ระยะที่ 2 นี้ เลือกพื้นที่ปฏิบัติการวิจัย คือ อำเภอยะหริ่ง เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีการกระจุกตัวของครัวเรือนยากจนสูงที่สุดในจังหวัดปัตตานี อำเภอยะหริ่งมีศักยภาพของพื้นที่และมีหน่วยงานที่พร้อมจะบูรณาการในการแก้ปัญหาและพัฒนา อีกทั้งยังมีกลไกภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และภาควิชาการที่พร้อมจะขับเคลื่อนร่วมงานกันได้ คณะนักวิจัยให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดเก็บและตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้ข้อมูลมีความแม่นยำสูงสุด
โดยมีขั้นตอนในการตรวจสอบ 5 กระบวนการ คือ
1) กระบวนการจัดเก็บข้อมูลโดยอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหมู่บ้าน
2) กระบวนการการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยนักวิจัยและผู้ช่วยวิจัย
3) กระบวนการแก้ไขข้อมูลกรณีที่พบข้อมูลที่ผิดพลาด
4) กระบวนการบันทึกข้อมูลลงระบบ และ
5) กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องหลังจากบันทึกข้อมูลลงระบบ ในการดำเนินงานวิจัยระยะที่ 2 นี้ คณะนักวิจัยค้นหาและสอบทานข้อมูลครัวเรือนคนจนในอำเภอ ยะหริ่งครบตามฐานข้อมูล TPMAP ร้อยละ 100 โดยมีการค้นหาและสอบทานครัวเรือนยากจน อ.ยะหริ่ง จำนวน 1,933 ครัวเรือน ใน 18 ตำบล 81 หมู่บ้าน รวมครัวเรือนที่สามารถข้อมูลเก็บได้ทั้งสิ้น จำนวน 1,672 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่ไม่สามารถเก็บได้ จำนวน 261 ครัวเรือน สาเหตุเนื่องจากการย้ายไปอยู่ที่อื่น ไม่พบผู้ให้ข้อมูลหรือไม่อยู่ที่บ้านพักอาศัยในขณะลงพื้นที่ และ ไม่ประสงค์ให้ข้อมูล ทั้งนี้คณะนักวิจัยได้ดำเนินการค้นหาครัวเรือนตกสำรวจ (Add-on) เพิ่มเติมในแต่ละตำบล จำนวน 142 ครัวเรือน ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบการค้นหาและสอบทานข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรติดตามและปรับปรุงข้อมูลคนจนกลุ่มเป้าหมายและคนจนตกหล่นทุกปี เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันที่นำไปสู่การปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ควรมีการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลใน TPMAP เนื่องจากข้อมูลบางส่วนมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการค้นหาคนจนกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำ
2. การพัฒนาระบบและกลไกติดตามผลและส่งต่อความช่วยเหลือเพื่อส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ปัญหาความยากจนจังหวัด
การพัฒนาระบบและกลไกติดตามผลและส่งต่อความช่วยเหลือ มี 2 ลักษณะ คือ
2.1 การส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ปัญหาความยากจนระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนทันทีหรือกำลังอยู่ในภาวะฉุกเฉินทางด้านความเป็นอยู่และการดำรงชีพ จากการศึกษาพบว่าจังหวัดปัตตานียังไม่ได้กำหนดระบบหรือแนวทางในการส่งต่อความช่วยเหลือคนหรือครัวเรือนยากจนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนทันทีในเชิงระบบที่มีโครงสร้างและมีผู้รับผิดชอบ ระบบดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาทั้งกรณีจำเป็นเร่งด่วนและกรณีที่ต้องแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยหลายฝ่าย
2.2 การส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในประเด็นปัญหานั้น ๆ โดยตรง การติดตามผลการส่งต่อข้อมูลคนและครัวเรือนยากจนจังหวัดปัตตานีตามวงจรการป้อนกลับ (Feedback Loops) มีหน่วยงานรับการส่งต่อข้อมูล รวม 6 หน่วยงาน คือ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปัตตานี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี วิทยาลัยชุมชนปัตตานี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองปัตตานี สำนักงานคลังจังหวัดปัตตานี ข้อมูลส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 21,253 ครัวเรือน และ ข้อมูลผู้ได้รับและไม่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) จังหวัดปัตตานี จำนวน 47,642 คน อย่างไรก็ตาม การติดตามผลลัพธ์การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่ร้องขอข้อมูลและหน่วยงานที่โครงการวิจัยส่งต่อ เนื่องจากหน่วยงานยังไม่สามารถส่งผลให้กับโครงการได้ทันที จึงควรมีการติดตามเป็นระยะเพื่อให้ได้ผลการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย
3. ปฏิบัติการแก้จน Operating Model จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อออกแบบและปฏิบัติการแก้จน คณะนักวิจัยคัดเลือกพื้นที่ปฏิบัติการแก้จนจากข้อมูลครัวเรือนเป้าหมายยากจนในอำเภอยะหริ่ง คณะนักวิจัยศึกษาข้อมูลและคัดเลือก “ตำบลตาลีอายร์” เป็นพื้นที่ปฏิบัติการพัฒนาโมเดลแก้จนร่วมกับนายอำเภอยะหริ่งและหัวหน้าส่วนราชการอำเภอยะหริ่ง จากการสำรวจข้อมูลในระบบ PPP CONNEXT พบว่า ทุนดำรงชีพ 5 มิติของตำบลตาลีอายร์ มีทุนกายภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (2.93 พออยู่ได้) รองลงมาคือ ทุนธรรมชาติ (2.62 พออยู่ได้) ทุนเศรษฐกิจ (2.23 อยู่ยาก) ทุนมนุษย์ (2.03 อยู่ยาก) และทุนทางสังคม (1.58 อยู่ลำบาก) ตามลำดับ ทุนทั้ง 5 มิติของตำบลตาลีอายร์นี้สอดคล้องกับผลการสำรวจของอำเภอยะหริ่งในภาพรวม จากนั้น คณะนักวิจัยนำผลการวิเคราะห์ทุนดำรงชีพทั้ง 5 มิติ กรอบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) และ ใช้ข้อมูลจากการจัดเวทีชุมชนเพื่อสำรวจศักยภาพและความพร้อมของครัวเรือนเป้าหมายไปสู่การออกแบบปฏิบัติการแก้จน (OM) ที่สอดคล้องกับทุนครัวเรือน ทุนชุมชน และตอบสนองความต้องการของครัวเรือนยากจนตำบลตาลีอายร์ นั่นคือ โมเดลแก้จน “ตาลีอายร์ยั่งยืน (Eco-Tali-Ai): ระบบเศรษฐกิจเชิงนิเวศทางสังคมตำบลตาลีอายร์ (Ecology creates economy in Tali-Ai)” ซึ่งประกอบด้วย 4 OM คือ 1) Tali-Ai Care 2) Tali-Ai Creative 3) Tali-Ai Agronomy และ 4) Tali-Ai Biz ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังนี้
3.1 Tali-Ai Care 3.1.1 มิติสุขภาพ (Tali-Ai Health) พื้นที่ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีมีจำนวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี โดยผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ มีฐานะยากจน จึงขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความเป็นอยู่ การดูแลสุขภาพที่ดีส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิต

ดังนั้น ปฏิบัติการแก้จนและการขับเคลื่อนการปฏิบัติการด้านสุขภาวะในพื้นที่ตำบลตาลีอายร์จึงดำเนินการใน 3 ด้าน คือ
1) การส่งเสริมสุขภาวะชุมชนของตำบลตาลีอายร์
2) การประเมินความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพในชุมชนของอสม. และพัฒนาด้านความรู้และทักษะของผู้ดูแลสุขภาพชุมชน และ
3) การติดตามคุณค่าและประเมินผลของการปฏิบัติการแก้จนร่วมกับหน่วยงานหลักในพื้นที่ ผลการดำเนินงานปฏิบัติการแก้จนพบว่า ครัวเรือนที่อยู่ในเกณฑ์ยากจนด้านสุขภาพของตำบลตาลีอายร์ที่เข้าร่วมโครงการยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาวะได้น้อย จึงจำเป็นต้องกำหนดกิจกรรมเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นอาหารสำหรับผู้เป็นโรค NCDs อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่มีกลุ่มอสม. และกลุ่มบัณฑิตประจำตำบลที่มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาวะชุมชน สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ เข้าใจกระบวนการชุมชนที่ส่งผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะ แต่ก็ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบกิจกรรมสำหรับดูแลสุขภาวะชุมชนที่เกิดจากความต้องการในชุมชนเอง จึงจำเป็นต้องกำหนดกิจกรรมเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็น “การเขียนโครงการด้านสุขภาวะชุมชน” สำหรับการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุน สปสช. ซึ่งเป็นระบบและกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนงานสุขภาวะชุมชนเพื่อให้ชุมชนดูแลกันเองเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน 3.1.2 มิติการศึกษา (Tali-Ai Education) การขับเคลื่อนปฏิบัติการด้านการศึกษาดำเนินการโดยการสำรวจข้อมูลของเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากการศึกษาในระบบ และสืบค้นข้อมูลของเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากการศึกษาในระบบ รวมถึงหาแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนทางเลือกให้แก่เด็กและเยาวชนที่หลุดออกการศึกษาในระบบ ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนที่ตกอยู่ในกลุ่มเปราะบางทางการศึกษา มีจำนวนทั้งหมด 78 ครัวเรือน มีจำนวนคน 138 คน คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่พบปะและพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนเพียง 18 คน เนื่องจากปัญหาทุนเศรษฐกิจ ผู้ปกครองส่วนหนึ่งไม่ได้สนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องการศึกษาของบุตรหลาน นอกจากนี้บางครอบครัวไม่ได้สนับสนุนให้เด็กได้รับการศึกษาในระดับสูงไปกว่าการศึกษาภาคบังคับ เนื่องจากความเชื่อว่า “เรียนไปก็ตกงาน” ดังนั้น ควรทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเพื่อชี้แนะให้เห็นว่าการศึกษาเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวดีขึ้น 3.1.3 มิติการเสริมศักยภาพ (Tali-Ai Empowerment) มิติการเสริมศักยภาพ คือการให้ความสำคัญกับการปรับวิธีคิดของสมาชิกในครัวเรือนยากจนให้มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน โดยคณะนักวิจัยจะทำหน้าที่ empower หรือ เสริมศักยภาพ ด้วยการจัดการฝึกอบรมพัฒนาทักษะอาชีพที่ต่อยอดจากอาชีพเดิมหรือศักยภาพที่สมาชิกในครัวเรือนยากจนมีอยู่ รวมทั้งการเสริมพลังใจ โดยการกระตุ้น ติดตามใกล้ชิด ชื่นชม ให้กำลังใจ และตักเตือนตามความเหมาะสม ดังนั้น OM Empowerment หรือการเสริมศักยภาพจะแทรกอยู่ในทุก OM ย่อย 3.1.4 ตาลีอายร์สร้างสรรค์ (Tali-Ai Creative) ผลการวิเคราะห์ทุนฐานดำรงชีพ 5 มิติและผลการจัดเวทีประชาคมนำสู่การสรุปประเด็นเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของครัวเรือนยากจนเป้าหมายโดยใช้แนวคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” มาเสริมสร้างเอกลักษณ์และความแปลกใหม่ให้กับงานศิลปหัตถกรรม ยกระดับด้านทักษะฝีมือของกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และแนวทางสร้างความยั่งยืนของ OM ตาลีอายร์สร้างสรรค์ จำแนกตาม 3 ปฏิบัติการย่อย คือ
1) TALI-AI Crafts งานหัตถกรรม หัตถศิลป์ ผลการดำเนินงานพบว่า
1) ผู้เข้าร่วมโครงการที่ยังไม่มีทักษะ เกิดความชำนาญ ฝีมือประณีตขึ้น
2) เกิดระบบการบริหารจัดการกลุ่มและผลประโยชน์
3) เกิดการทำงานข้ามพื้นที่และเรียนรู้ทักษะใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการมีรายได้ระหว่าง 1,500-7,725 บาทต่อเดือนต่อคน

อย่างไรก็ตาม สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมีทักษะพื้นฐานงานฝีมือไม่เท่ากัน จำเป็นต้องเพิ่มการฝึกทักษะ บางคนมีภารกิจหลายอย่างจึงทำให้ขาดความต่อเนื่องในการฝึกทักษะ ควรต้องมีผู้ดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด 2) TALI-AI Remake งานสร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้/ผ้าเก่าผลการดำเนินงานพบว่า
1) ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจแนวคิดเรื่อง BCG
2) ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจเรื่องการออกแบบที่คำนึงถึงความต้องการของผู้ซื้อมากขึ้น
3) เกิดทักษะใหม่ในการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการมีรายได้ระหว่าง 150-1,500บาทต่อเดือนต่อคน สำหรับแนวทางสร้างความยั่งยืน คือ การพัฒนาฝีมือให้ประณีตและชำนาญยิ่งขึ้น และการขยายกลุ่มเพื่อผลิตให้ได้จำนวนที่เหมาะสมกับการทำตลาด และควรหาแนวทางในการลดหรือควบคุมต้นทุนในการผลิต รวมทั้งการหาช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น เพื่อขยายการผลิตและเพิ่มรายได้ของครัวเรือน ทั้งนี้ ในการดำเนินการมีพัฒนานวัตกรรมสารกั้นสีจากกาวยางพาราและแป้งข้าวพื้นเมืองเพื่อการพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้ของชุมชนในการทำผ้าบาติกอีกด้วย 3) TALI-AI Tour งานท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ได้รับความร่วมมือจากฟาร์มตัวอย่าง ฯ ในการใช้พื้นที่และการดำเนินงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ 3.1.5 เกษตรและปศุสัตว์ (Tali-Ai Agro) ปฏิบัติการแก้จนด้านเกษตรและปศุสัตว์มีจำนวนคนจน/ครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่เข้าร่วม จำนวน 59 คน ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มอาชีพ คือ 1) อาชีพเกษตร (ปลูกผัก) มีจำนวนคนยากจนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 15 คน 2) อาชีพทำนา มีจำนวนคนยากจนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 13 คน และ 3) อาชีพ ปศุสัตว์ มีจำนวนคนยากจนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน คณะนักวิจัยได้วัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน โดยการวัดความรู้เฉพาะ วัดทักษะอาชีพ (ก่อน – หลัง) การให้ความรู้ของทั้ง 3 อาชีพ สรุปได้ดังนี้ 3.1.5.1) กลุ่มอาชีพด้านเกษตร (ปลูกผัก สมุนไพร) พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เฉพาะอาชีพเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้ในการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และการจัดการระบบการเงินมีค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ส่วนความรู้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเตรียมการเพาะปลูก มีค่าเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ด้านการวัดทักษะอาชีพการพัฒนาทักษะอาชีพการปลูกผัก พบว่า ผู้เข้าร่วมมีทักษะการจัดการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากการเพาะปลูก-มีผลผลิตจากการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในขณะที่ทักษะด้านการเตรียมการในการเพาะปลูก (เตรียมพื้นที่ ดิน ศึกษาหาความรู้วิธีการเพาะปลูก) มีน้อยที่สุด 3.1.5.2) กลุ่มอาชีพด้านปศุสัตว์ (เลี้ยงแพะ แกะ) ผลการวัดความรู้เฉพาะการพัฒนาทักษะอาชีพด้านปศุสัตว์ (เลี้ยงแพะ แกะ) พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เฉพาะอาชีพเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้เฉพาะที่มีค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ความรู้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาปัญหาโรคและพยาธิที่สำคัญในแพะ และด้านที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ ความรู้ในระบบการเลี้ยงแพะ ส่วนการวัดทักษะอาชีพ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรู้ทักษะอาชีพที่มีค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ทักษะปฏิบัติงานตามวิธีการในการจัดการเลี้ยงแพะ และด้านที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือทักษะการปฏิบัติงานประจำวันในโรงเรือนแพะ 3.1.5.3) กลุ่มอาชีพด้านการเกษตร (ทำนา) คณะนักวิจัย พบว่า กลุ่มคนจนเป้าหมายของหมู่ที่ 1 บ้านตาลีอายร์ และหมู่ที่ 2 บ้านบากง ในพื้นที่ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยำหริ่ง จังหวัดปัตตานี ที่มีความสนใจในการทำนา ได้มีการรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ (แปลงใหญ่ข้าวตำบลตาลีอายร์) ทางคณะนักวิจัยได้ประสานงานกลุ่มวิจัยข้าว สำนักงานพัฒนาที่ดิน เกษตรอำเภอ เพื่อเตรียมพร้อมในการทำนาประณีตและพร้อมขับเคลื่อนงานต่อไป บทเรียนจากปฏิบัติการแก้จนด้านเกษตรและปศุสัตว์ พบว่า กลุ่มคนจนเป้าหมายส่วนหนึ่งเป็นคนทำงานนอกพื้นที่ ควรให้บัณฑิตอาสาและบัณฑิตแรงงานในพื้นที่ทำหน้าที่ประสานงาน นัดประชุมกับคณะนักวิจัยในวันเวลาที่เหมาะสม อีกทั้งควรมีการประสานหน่วยงาน เครือข่ายในพื้นที่ และมหาวิทยาลัย ในการอบรมให้ความรู้และการพัฒนาทักษะอาชีพ และทักษะการออมเงินในครัวเรือน การวางแผนใช้เงินในการจัดซื้อและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ ตลอดจนการวางแผนการผลิตประจำฤดูกาล 3.1.6 รสชาติแห่งตาลีอายร์ (Tali-Ai Tastes) ปฏิบัติการแก้จนและการขับเคลื่อนการปฏิบัติการด้านการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นในพื้นที่ตำบลตาลีอายร์ และ การแปรรูปอาหาร คือ แกงโบราณ อาหารพื้นถิ่นอัตลักษณ์ชุมชน อาหารพื้นถิ่นรายการแรกที่ได้รับการพัฒนาได้แก่ แกงเนื้อสูตรโบราณ หรือที่ภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่า “แกงกูตุ๊” แกงเนื้อสูตรโบราณที่ชาวมลายูในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะหารับประทานได้ในช่วงเทศกาลพิเศษ เช่น วันตรุษอิดิ้ลฟิตรี และ วันตรุษอิดิ้ลอัฎฮา หรือที่ภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่า วันรายอเท่านั้น แกงกูตุ๊มีส่วนผสมของสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ ลูกผักชี พริก ฯลฯ ครัวเรือนยากจนเป้าหมายมีโอกาสเข้าร่วมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ คือ การปลูกพืชสมุนไพร กลางน้ำคือการปรุงแกงกุตุ๊ ปัจจุบัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์แกงกูตุ๊พร้อมรับประทานอยู่ในขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อ.ย.) และมาตรฐานฮาลาล นอกจากนี้ กลุ่มยังจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนในนาม“ต็อยญิบตาลีอายร์ : กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตำบลตาลีอายร์” เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้เพิ่มให้ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กลุ่มเกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มความสามารถ ควรเพิ่มองค์ความรู้และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการและการตลาด และจัดให้มีการวางแผนการสร้างโรงเรือนในชุมชนเพื่อรองรับการผลิตให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานในการผลิต 3.1.7 ผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Tali-Ai Herbs) OM Tali-Ai-Herbs มุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพกลุ่มคนจนเป้าหมายโดยเชื่อมโยงกับโครงการย่อยการเพาะปลูก (Tali-Ai Agro) และโครงการย่อยด้านอาหาร (Tali-Ai Tastes) โดยมุ่งเน้นการเพาะปลูกพืชสมุนไพร การส่งต่อผลผลิตสู่การแปรรูปเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบจากพืชสมุนไพร และการแปรรูปสมุนไพรเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดต่าง ๆ การดำเนินงานปฏิบัติการแก้จนด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีและกระบวนการการเพาะปลูกพืชสมุนไพรและสมุนไพรที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้และกระบวนการพัฒนาและการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและพืชสมุนไพร 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดความรู้และกระบวนการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อการบริโภค 4) การทดสอบคุณภาพผลผลิตและผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ 5) การอบรมเชิงปฏิบัติการคำนวณต้นทุน การบริหารจัดการ สำรวจตลาด แผนการตลาดและการสร้างโอกาสทางธุรกิจ จากการดำเนินงานพบว่า การปฏิบัติการ OM ผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะสำเร็จได้ ควรบูรณาการการทำงานและกำหนดเป้าหมายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรองคุณภาพ รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดในระดับประเทศต่อไป 3.1.8 ธุรกิจและการตลาด (Tali-Ai Biz) คณะนักวิจัยพัฒนาเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ทางสังคมให้กลุ่มคนยากจน โดยสร้างเครือข่ายการตลาดแบบครบวงจรที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มคนจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ในเครือข่ายการตลาดซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนหลัก คือ 1) ศูนย์รวบรวมสินค้า (Warehouse) เป็นจุดรวบรวมสินค้าจากชุมชนทั้งจากกลุ่มคนยากจนและเครือข่ายเพื่อรอการกระจายสินค้า 2) ศูนย์แนะนำและบริการสินค้าออนไลน์ (Marketing & Service) ซึ่งในขณะนี้ทางคณะนักวิจัยได้ดำเนินการสร้างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ต้นแบบ ชื่อว่า ร้าน มอ.มาร์ท (MoreMart-SHOP) 3) ศูนย์ขนส่ง (Logistics) เป็นศูนย์รับส่งสินค้าจากผู้ผลิตเข้าสู่คลังสินค้าและส่งสินค้าจากคลังสู่ผู้บริโภค โดยจะใช้บริการของแฟรนไชส์ของบริษัทขนส่งที่เหมาะสม เช่น Kerry Flash EMS express เป็นต้น 4) ศูนย์พัฒนากองทัพนักขายออนไลน์ 5) ตลาดสดชุมชนและร้านค้าเครือข่ายออฟไลน์ คณะนักวิจัยร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่เตรียมดำเนินการสร้างตลาดนัดในพื้นที่บริเวณฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านสีปาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากศักยภาพการผลิต และผลิตภัณฑ์จากตำบลตาลีอายร์มีจำนวนไม่เพียงพอ การขับเคลื่อนสู่ตลาดทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ ยังไม่สามารถดำเนินงานให้ครบถ้วนตามระบบทั้ง 5 ระบบที่ออกแบบไว้ ในเบื้องต้นคณะนักวิจัยวางแผนทดลองรวบรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์ในพื้นที่อำเภอ ยะหริ่งทั้ง 17 ตำบล และสินค้าอื่น ๆ ของจังหวัดปัตตานีเข้าสู่ระบบธุรกิจและการตลาดที่วางไว้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบและการเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 4. ระบบหนุนเสริมการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การหนุนเสริมการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแผนพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน คณะนักวิจัยได้พัฒนาและส่งข้อเสนอเชิงนโยบายการลดความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำ ภายใต้บริบทสังคมพหุวัฒนธรรมเข้มแข็ง บรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ.2566-2570 โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาโครงการวิจัยในระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 รวมทั้งได้ร่วมเป็นหน่วยปฏิบัติงานขับเคลื่อนการดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) และอำเภอ (ศจพ.อ.) 5. การพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจน คณะนักวิจัยได้ออกแบบระบบการติดตามโดยใช้ Microsoft access ที่ตอบสนองความต้องการในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลบนเครือข่ายซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลอื่นได้ง่าย ระบบฐานข้อมูล access เป็นระบบที่ใช้ข้อมูลแบบสัมพันธ์ (Relational Database) โดยที่จะมองรูปแบบเป็นตารางข้อมูล (Table) ตารางข้อมูลคือกลุ่มข้อมูลที่นำมาเก็บรวมกันต้องมีความเกี่ยวข้องกัน โดยที่จะระบุความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์นั้น ผู้ใช้สามารถใช้ access ในการจัดการกับฐานข้อมูล เพิ่ม ลบ แก้ไขและค้นหาข้อมูลจึงมีความเหมาะสมที่จะใช้ในการติดตาม กลุ่มเป้าหมายรายบุคคลในตำบลตาลีอายร์ จำนวน 190 ครัวเรือนเพื่อทราบถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังนี้ในการพัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลการแก้ไขปัญหาความยากจน ตัวชี้วัด และแนวทางการวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

Title

Area-Based Collaborative Research on Reducing Poverty and Improving Equity in Thailand: A Case Study of Pattani Province Phase 2

Keywords

Improving Equity,Pattani Province,Poverty Eradication

Abstract

The area-based collaboration research on reducing poverty and improving equality in Thailand: A case study of Pattani province, phase 2, has five main objectives:

1) To search, review, and survey the poverty of peoples capital and households in Pattani Province with 100% quality data from the Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) data management system.
2) To develop a system and mechanism for referral of assistance with relevant agencies in the area, province, and central area to achieve 100% efficiency
3) To design and develop poverty alleviation models that will solve poverty problems completely and sustainably
4) To jointly develop policy proposals, support, or link to a development plan for remedial action for the problem of local poverty in Pattani province with relevant agencies
5) To develop systems and mechanisms for monitoring and evaluating poverty alleviation, with indications, and guidelines for measuring project achievement in the short and long term.

The research results are as follows:
1. Development of information systems for the poverty-stricken people and households at the local level in Pattani province by searching and reviewing data. This research area was chosen as Yaring District because it is the district with the highest concentration of poverty-stricken households in Pattani province. Yaring district has potential in the area and has agencies that are ready to integrate with solving problems and developing. There is also a mechanism for civil society, business, and academic sectors that are ready to operate together.

Researchers focused on the process of collecting and validating data to ensure the highest accuracy. There are five audit procedures, which are:
1) Volunteers began the data collecting process by collecting data in each village
2) Data validation process from questionnaires was done by researchers and research assistants
3) The process of correcting data in the event that wrong data is found
4) The process of recording the data into the system, and
5) The process of validation after the data is recorded into the system.

In conducting phase 2 of this research, the researchers searched and reviewed the data of the poverty-stricken households in the district. Yaring was 100% complete according to the TPMAP database, with a search and review of 1,933 poverty-stricken households in Yaring district in 18 sub-districts, and 81 villages. During this research 1,672 households were able to be collected, and 261 households were unable to collect data. The reason being: for moving to another place, the informant was not found or was not at home while visiting the area and did not wish to provide information. In this regard, the researchers conducted a search for additional households in the survey (add-on) in each sub-district, totaling 142 households. To ensure the most efficient system for research and review of information, the information of the poverty-stricken, the target group, and the poor people should be monitored and updated every year. To keep the information up-to-date leading to effective operations, the data in TPMAP should be reviewed and corrected due to some inaccuracies. This may affect the search for the precise target audience of the impoverished.

2. Development of systems and mechanisms for monitoring and referral of assistance for transferring information of impoverished households from the database system to the provincial poverty alleviation cooperation mechanism There are two types of development of systems and mechanisms for follow-up and referral of assistance: 2.1 Forwarding information on impoverished households from the database system to the provincial poverty alleviation cooperation mechanism, especially those who need urgent help immediately or are in a state of emergency and livelihood. The study found that Pattani Province has not yet established a system or guidelines for referrals to help people or impoverished households who need immediate assistance in a structured and responsible procedure. Such a system will be beneficial in solving problems both in urgent cases and in cases where issues need to be resolved together by many parties. 2.2 Direct transmission of impoverished household information from the database system to the responsible agency for the issue To follow up on the information transmission of people and impoverished households in Pattani Province according to the Feedback Loops, 6 agencies receive this information, namely the Pattani Community Development Office, Office of Social Development and Human Security Pattani Province, Pattani Provincial Administrative Organization, Pattani Community College Center for Non-formal and Informal Education, Mueang Pattani District Pattani Provincial Treasury Office. The total number of referrals was 21,253 households and 47,642 people received and did not receive social welfare cards in Pattani Province. To follow-up the agency can not immediately affect the project. Therefore, there should be periodic follow-up to get the results of using the information for the benefit of the target group. 3. Operating Model from data analysis to design and implement solutions for poverty alleviation The research team selected the poverty alleviation area from the data of targeted poor households in the Yaring District. The research team studied the data and selected “Tali-Ai Sub-district” which is an operational area for developing a model to solve poverty together with Yaring Sheriff and Yaring District Government Heads. From a survey of data in the PPP CONNEXT system, it was found that the five dimensions of living capital of Tali- Ai sub-district had physical capital with the highest average (2.93 sufficiency), followed by natural capital (2.62 sufficiency), economic capital (2.23 in hardship), human capital (2.03 hard to live), and social capital (1.58 in hardship), respectively. The five dimensions of living capital analysis according to the Sustainable Livelihood Framework (SLF); used data from community forums to explore the potential and readiness of target households to design a poverty alleviation (OM) action aligned with household capital, community and meet the needs of poor households in Tali-Ai Sub-District, that is, a model for poverty alleviation “Sustainable Tali-Ai (Eco-Tali-Ai): Ecology creates economy in Tali-Ai” consisting of 4 OMs: 1) Tali-Ai Care 2) Tali-Ai Creative 3) Tali- Ai Agronomy and 4) Tali-Ai Biz, whose operating results are as follows: 3.1 Tali-Ai Care 3.1.1 Health dimension (Tali-Ai Health) The research project was carried out in 3 areas: 1) promoting community health in Tali-Ai Sub-district 2) Assessment of knowledge of the ability to take care of health care in the community of VHVs (Village Health Volunteers), developing knowledge and skills of community health care workers and 3) value monitoring and evaluation of action against poverty with key agencies in the area. The results of the operation found that The health-poor households in Tali-Ai sub-district that participated in the project also had little change in behaviors that contributed to their well-being. Therefore, additional activities need to be established. Especially food issues for people with NCDs. 3.1.2 Education dimension (Tali-Ai Education) This was done by searching for information on children and youth who dropped out of formal education. Including finding ways to promote and support alternatives for children and youth who have dropped out of formal education. It was found that households that fell into educational vulnerabilities consisted of a total of 78 households with a total of 138 people. The target group is only 18 people participating in the project due to economic capital problems. Some parents do not support and encourage their childrens education. In addition, some families do not encourage children to receive higher education than compulsory education. Because of this belief, it is important to suggest that education is a factor that improves the quality of life, for children and families. 3.1.3 People empowerment dimension (Tali-Ai Empowerment) The empowerment dimension is to focus on adjusting the way of thinking of the members of the impoverished household to have the intention to change themselves from within. The ปรับเป็นresearchers will empower them by organizing vocational skills development training that extends from the previous occupation or the potential that members of impoverished households have. Including empowerment by stimulation, following closely, appreciating, encouraging, and admonishing appropriately, so OM Empowerment is included in every sub-OM. 3.1.4 Handicraft products and creative tourism (Tali-Ai Creative) The results of the analysis of five dimensions of living capital and the results of the community forum led to the conclusion of the issues for participative development of the target impoverished households, using the concept of “Creative Economy” to enhance the identity and novelty of arts and crafts. Upgrading the skills and craftsmanship of the target group. The results of the analysis of efficiency, effectiveness, and sustainability guidelines of OM Tali-Ai Creative are classified into 3 sub-operations as follows: 1) Tali-Ai Crafts, handicrafts, the results showed that 1) the project participants who did not have skills became proficient over time 2) A benefits management system was created 3) Working across different areas and attaining new skills. The target groups participating in the project earned between 1,400-7,725 baht per month per person. However, the target group members have different skills in basic craftsmanship, this resulted in a lack of continuity in skill training. They should have a caretaker to give advice closely. 2) Tali-Ai Remake, value creation from waste material/old fabric, the results showed that 1) the project participants understood the concept of BCG and 2) the project participants understood the design that took into account the buyers needs very much. 3) New skills in production and product development are born. Target groups participating in the project have income between 150-1,500 baht per month per person. As for the way to create sustainability, it is to develop craftsmanship to be more refined and skillful. Expanding the group to produce the right amount for the market and should find ways to reduce or control production costs including finding more marketing channels to expand production and increase household income. In this process, innovations of color barriers from para rubber glue and native rice flour have been developed for career development and uplifting the communitys income in batik making. 3) Tali-Ai Tour, a creative tourism event received cooperation from the sample farm in using the area and operations which is currently in the process. 3.1.5 Agriculture and Livestock (Tali-Ai Agronomy) The agricultural and livestock poverty alleviation operation had several poverty-stricken people/targeted impoverished households participating in 59 people, consisting of 3 occupation groups: 1) agricultural occupation (vegetable cultivation), 15 of the target poor people participating in the activity; 2) working occupations. In the fields, 13 target impoverished people were participating in the activity, and 3) Livestock occupation. 10 target impoverished people were participating in the activity. The researchers measured the efficiency of the operation by measuring specific knowledge of occupational skills measurement (before – after) knowledge of all 3 occupations can be summarized as follows. 3.1.5.1) Agricultural occupation group (planting vegetables, and herbs) found that the target group had increased knowledge of specific occupations. When considering each aspect, it was found that the knowledge of income-expense accounting and financial system management increased the most. Knowledge of managing and solving problems that arise during cultivation preparation has the least increase In terms of vocational skills assessment, vegetable cultivation occupational skills development, it was found that the participants had the skills to manage and solve problems arising after planting – the productivity of cultivation increased the most. While cultivation preparation skills (preparing the area, and soil, and studying for knowledge of cultivation methods) were the least. 3.1.5.2) Livestock occupation group (goat-raising, sheep) The results of the measurement of specific knowledge development skills in livestock (goat-raising, sheep) found that the target group had increased professional knowledge. When considering each aspect, it was found that the specific knowledge that increased the most was knowledge on the management and problem-solving of important diseases and parasites in goats. And the least increasing aspect was knowledge of the goat farming system. As for the measurement of vocational skills, it was found that the target group had increased knowledge of vocational skills. Considering each aspect, it was found that the knowledge of occupational skills that had the greatest value was the skills for working according to the methods of goat rearing. The side that increases the least is a skill for daily operations in a goat house. 3.1.5.3) Agricultural (farming) occupation group, the researchers found that the target impoverished group of Village No. 1, Ban Tali-Ai, and Village No. 2 Ban Bagong in Tali-Ai Sub-district, Ya Ring District, Pattani Province interested in farming have come together set up as a large plot (Large plot of rice, Tali-Ai sub-district) Lessons learned from the action to combat poverty in agriculture and livestock found that there should be coordination of agencies. Local network and university in training, educating and developing professional skills and household saving skills 3.1.6 Local food products (Tali-Ai Tastes) Actions to reduce poverty and drive operations to promote local food in Tali-Ai sub-district and food processing, namely traditional curry, and local food with community identity. The first local food to be developed was Traditional Beef Curry Or in the local Malay language called “Kaeng Kutu”. An ancient recipe of beef curry that Malays in the three southern border provinces can eat during special festivals such as Eid al-Fitr and Eid al-Adha Day or as the local Malay language is called Raya day only Kaeng Ku Tu is a blend of local herbs and spices, including ginger, galangal, lemongrass, coriander, chili, etc. The target impoverished households have the opportunity to participate in the upstream process, which is the cultivation of medicinal plants. In the middle of the water is cooking curry. At present, the development of ready-to-eat curry products is in the process of requesting certification for food and drug standards (FDA) and Halal standards. Toyib Tali-Ai: Food Product Development Group in Tali-Ai Subdistrict” to jointly develop products and generate additional income for households. Should increase knowledge and develop management and marketing skills and arrange for a plan to build greenhouses in the community to support production according to production standards. 3.1.7 Herbal products (Tali-Ai Herbs) OM Tali-Ai-Herbs Focus on promoting and developing the potential of the target poor by linking with the Tali-Ai Agro sub-project and the Tali-Ai Tastes sub-project, focusing on the cultivation of medicinal plants. Forwarding of produce to the processing of food containing medicinal plants and processing herbs to develop into different types of herbal products. Operations for the treatment of poor medicinal products consist of 1) Workshops on technology transfer and the process of cultivation of medicinal plants and herbs with economic value; 2) Workshops on transfer knowledge and process of product development and processing to create value-added products for agricultural products and medicinal plants. 3) Workshop on knowledge transfer and process of development and processing of herbal products for consumption. 4) Product and product quality testing 5) Cost calculation workshop management, market survey, marketing plan, and business opportunity creation. From the operation, it was found that the operation of OM herbal products will be successful. Integration of work and set goals between local agencies, both public and private sectors should be set to contribute to the development of product standards to be certified for quality. This includes bringing the product to the national market. 3.1.8 Business and Marketing (Tali-Ai Biz) Researchers have developed a network of social benefits for the impoverished. Creating a comprehensive marketing network that benefits the impoverished to become part of the chain in the marketing network, which has five main components: 1) Warehouse is a point of collecting products from the community, both from the impoverished and the network to wait for distribution. 2) Marketing & Service Center, which at the moment, the research team has created a prototype online selling website called MoreMart-SHOP. 3) Transportation Center (Logistics) is a center for sending products from manufacturers to warehouses and delivering products from warehouses to consumers. It will use the services of franchisees of suitable transport companies such as Kerry Flash EMS express, etc. 4) Online Sales Force Development Center 5) Community bazaar and offline network shop. The research team collaborated with local authorities and local people to prepare to build a flea market in the area around the model farm in Queen Sirikit. However, the production potential and products from the Tali-Ai district are insufficient. Driving to the market both online and offline; still unable to complete the work according to the 5 systems designed. 4. Support system for the development of policy recommendations and development plans to address poverty Supporting the development of policy recommendations and development plans to address poverty. Researchers have developed and submitted policy proposals to reduce cross-generational poverty and inequality. Under the context of a strong multicultural society Contained in the Pattani Provincial Development Plan 2023-2027 Using data from research projects in Phase 1 and Phase 2, as well as participating as a unit of action to drive the implementation of poverty eradication and development of people of all ages according to the philosophy of the provincial sufficiency economy. 5. Development of systems and mechanisms for monitoring and evaluating poverty alleviation Researchers have designed a tracking system using Microsoft access that meets high-level requirements. In particular, creating networked database programs that can easily connect to other databases. The access database system is a system that uses relational data which will look at the format as a table of data. It identifies relationships between data groups to take advantage of those relationships. Users can use access to manage databases, add, delete, edit and search data, so they are suitable for tracking. Individual target groups in Tali-Ai Subdistrict, amounting to 190 households, to know the changes. This will be in line with the following objectives: to develop a system and mechanism for monitoring and evaluating poverty alleviation, indicators, and guidelines for measuring project achievement both in the short and long term.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น