กลไกการพัฒนา “ลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์”

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 70 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630027
นักวิจัย ดร. กรวรรณ สังขกร
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ลำปาง

ชื่อโครงการ

กลไกการพัฒนา "ลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์"

คำสำคัญ

กลไกการพัฒนา,เมืองน่าอยู่สร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ ชุดโครงการวิจัย เรื่อง กลไกการพัฒนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 โครงการวิจัยย่อย
มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อตั้งโครงการนำร่อง Lampang Creative Lab เพื่อพัฒนาศักยภาพและบทบาทการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปาง พัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่ พัฒนาแผนการจัดการเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ และพัฒนาต้นแบบพื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์

การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เขตเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร แผนดำเนินงานของชุดโครงการวิจัย ประสานงาน รวบรวมผลการศึกษาของแต่ละโครงการ จัดกิจกรรมที่สนับสนุนงานวิจัยให้บรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ โดยมีเครื่องมือสำคัญคือ ห้องปฏิบัติการลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ (Lampang Creative & Livable City Lab)

หลังจากเสร็จสิ้นโครงการ เกิดกลไกการพัฒนาระดับพื้นที่ 2 ระดับ คือ กลไกระดับย่านน่าอยู่สร้างสรรค์ และกลไกระดับเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ ได้องค์ความรู้เรื่อง ‘แนวทางการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์’ โดยใช้ศักยภาพและต้นทุนด้านวัฒนธรรม ทรัพยากรบุคคล และความคิดสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนความเป็นย่านสร้างสรรค์ได้องค์ความรู้เรื่อง ‘การมีส่วนร่วมในการสร้างเมืองสร้างสรรค์’ ได้ชุดองค์ความรู้ตัวชี้วัดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ เกิดจากการรวบรวมตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเมืองน่าอยู่ และเมืองสร้างสรรค์ในระดับนานาชาติ และระดับประเทศ และชุดองค์ความรู้ว่าด้วย “แผนการจัดการเมืองและกลไกการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์” มีที่มาจากกระบวนการที่ได้นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันวิเคราะห์แผนปฏิบัติการ เป้าหมายการขับเคลื่อน และกลไกหรือแนวทางการขับเคลื่อนเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์

ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัย ควรมีการบูรณาการข้อมูลด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมของจังหวัดเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะสามารถพัฒนาโครงการของเมืองลำปางในลักษณะของการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนส่งเสริมการพัฒนาคน สร้างกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติ การพัฒนาเมืองให้คนในพื้นที่รับรู้เข้าใจและเข้ามาร่วมพัฒนาเมือง ผลักดันให้เกิดการ จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ สนับสนุนให้มีกิจกรรมที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่

สรุปผลการดำเนินงาน ชื่อโครงการ : “กลไกการพัฒนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์” วัตถุประสงค์ของการวิจัย :
1) เพื่อก่อตั้งโครงการนำร่อง Lampang Creative Lab
2) เพื่อพัฒนาศักยภาพและบทบาทการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปาง
3) เพื่อพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่
4) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์
5) เพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์

ที่มาของการวิจัย : จังหวัดลำปางมีอัตลักษณ์โดดเด่นในด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเมืองที่ยังมีรถม้าเหลืออยู่มากที่สุดในประเทศไทย มีเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา ถ่านหิน มีศูนย์ฝีกช้างที่มีชื่อเสียงดังคำขวัญของลำปางที่ว่า “ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก” จากศักยภาพและความโดดเด่นนี้ ทำให้จังหวัดลำปางเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน และนักท่องเที่ยว จากปัญหาความต้องการของประชาชนในจังหวัดลำปาง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของลำปางที่ว่า “ลำปางเมืองน่าอยู่ และนครแห่งความสุข” ทำให้ลำปางเป็นเมืองที่น่าอยู่ให้เกิดความผาสุก และเกิดสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ประชาชน (License to Operate towards livable city) ในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศโดยรวม

ซึ่งการดำเนินการนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในโครงการย่อยทั้ง 4 โครงการ คือ
โครงการย่อยที่ 1 : ศักยภาพและบทบาทการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปาง
โครงการย่อยที่ 2 : การพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่
โครงการย่อยที่ 3 : การพัฒนาแผนการจัดการเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์
โครงการย่อยที่ 4 : การพัฒนาต้นแบบพื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์

ซึ่งการแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ชุมชน และท้องถิ่น เป็นประเด็นสำคัญที่ระบุในยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐบาล ในการนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการนำองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และความสามารถแก่ชุมชนและท้องถิ่น รวมถึงการนำกระบวนการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ชุมชนและท้องถิ่น ในแต่ละถิ่นในแต่ละพื้นที่ให้พึ่งพาตนเองได้ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา ระเบียบวิธีวิจัย : ชุดโครงการวิจัย กลไกการพัฒนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เขตเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง มีการดำเนินงานในแต่ละโครงการย่อย ที่มีกระบวนการในการวิจัยเป็นลำดับขั้นตอนที่นำไปสู่เป้าหมายของชุดโครงการวิจัย

โดยในส่วนของแผนเป็นการวางแผนดำเนินงาน รวบรวมผลการศึกษาของแต่ละโครงการ จัดกิจกรรมที่สนับสนุนงานวิจัยให้บรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ มีเครื่องมือสำคัญคือ Lampang Creative & Livable City Lab ซึ่งมีบทบาทสำคัญ คือ
1) จัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์
2) การประสานงานโครงการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder)
3) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์

โดยมีแผนการดำเนินการวิจัย คือ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน และชุมชนในพื้นที่ จัดตั้งห้องปฏิบัติการออกแบบลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ Lampang Creative & Livable City Lab จัดประชุมคณะทำงาน และติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการ จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการกลไกการพัฒนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ จัดนิทรรศการและเสวนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ จัดนิทรรศการและกิจกรรม สรุปโครงการลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ เพื่อส่งมอบงานให้แก่พื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำ Website, New Media, Clip VDO via Social Media สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์

ผลการวิจัย : จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงปี 2563 ทำให้การดำเนินการของชุดโครงการ ไม่สามารถดำเนินงานได้เต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการลงพื้นที่เพื่อพบปะประสานงานเพื่อรวบรวมข้อมูลและความร่วมมือจากหน่วยงาน และชุมชนในพื้นที่เมืองลำปาง อย่างไรก็ดีคณะทำงานชุดโครงการและโครงการย่อยได้มีการจัดประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และติดตามความก้าวหน้าในภาพรวมผ่านประชุมออนไลน์ ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2563 เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโดยรวมดีขึ้น คณะดำเนินงานโครงการจึงเริ่มลงพื้นที่เพื่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับงานพัฒนาเมือง และงานพัฒนากรท่องเที่ยว พร้อมทั้งดำเนินการจัดประชุมเปิดตัวโครงการ เพื่อสื่อสารแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน ตัวแทนชุมชนได้รับทราบ และจัดตั้งห้องปฏิบัติการออกแบบลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ Lampang Creative & Livable City Lab (ห้องปฏิบัติการลำปางเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ : Lampang Creative lab) ในพื้นที่กาดกองต้า ถนนตลาดเก่า อ.เมืองลำปาง ซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง ภาพรวมในการดำเนินงาน หน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคธุรกิจ และกลุ่มประชาสังคมในเมืองลำปาง ได้ให้ความสนใจ และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการจัดตั้ง “ห้องปฏิบัติการลำปางเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ : Lampang Creative lab” ซึ่งได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากคณะกรรมการกาดกองต้า ผู้ประกอบการในกาด ตัวแทนชุมชน และคณะสงฆ์จากวัดเกาะเวฬุการามในการคัดเลือกสถานที่จัดตั้งห้องปฏิบัติการ การตระเตรียมงานเปิดตัวห้องปฏิบัติการฯ รวมไปถึงตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตัวแทนจากเทศบาลนครลำปาง เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ตัวแทนจาก ททท.สำนักงานลำปาง ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการร่วมงาน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายของโครงการ และเป้าหมายร่วมของชาวลำปางที่อยากเห็นการพัฒนาเมืองลำปางสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ และสร้างสรรค์ โดยกิจกรรมการดำเนินงานที่สำคัญ มีดังนี้ – จัดตั้งห้องปฏิบัติการออกแบบลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ Lampang Creative & Livable City Lab ณ กาดกองต้า – จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการกลไกการพัฒนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ – จัดนิทรรศการและเสวนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ และกิจกรรมการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “ห้องปฏิบัติการลำปางเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ (Lampang Creative Lab)” ที่ได้ส่งมอบความสุข จุดประกายแรงบันดาลใจ ไอเดียสร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนลำปาง สู่เมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ของคนลำปาง

  • จัดกิจกรรม Talk online สรุปโครงการลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ เพื่อส่งมอบงานให้แก่พื้นที่ โดยมีประเด็นการนำเสนอ ดังนี้
    หัวข้อ 1 : โอกาสและความพร้อมเมืองลำปางสู่เมืองน่าอยู่ วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564
    หัวข้อ 2 : อนาคตเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์
    หัวข้อ 3 : Road Map การพัฒนาลำปางสร้างสรรค์
    หัวข้อ 4 : ลำปางสร้างสรรค์ เติบโตด้วยอัตลักษณ์ แข็งแกร่งด้วยบริการคุณภาพ
  • จัดทำ Website และสื่อสมัยใหม่ (Clip VDO สั้นๆ) ผ่าน Social Media สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์
    1) Website เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยบนสื่อออนไลน์ในชื่อโดเมน lampangcreativelivablecity.com นำเสนอข้อมูล เพื่อพัฒนาศักยภาพและบทบาทการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปาง และการนำเสนอข้อมูลเมืองทั้งในลักษณะข้อมูลพื้นฐานUrban Data Platform และข้อมูลเชิงวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการออกแบบและวางแผนเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์
    2) วิดีโอเปิดตัว Lampang Creative Lab เผยแพร่บนเฟสบุ๊คเพจ https://www.facebook.com/Lampang.CreativeLivableCity/videos/393464314980509
    3) Facebook Page ลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ Lampang Creative & Livable City เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานวิจัย ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการพัฒนาพื้นที่นำร่อง และ กิจกรรม Workshop ฯลฯ

ส่วนการดำเนินงานที่สำคัญของชุดโครงการตามวัตถุประสงค์ มีดังนี้

  1. จัดตั้งห้องปฏิบัติการออกแบบลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ Lampang Creative & Livable City Lab ดำเนินการจัดตั้งห้องปฏิบัติการออกแบบลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ Lampang Creative & Livable City Lab เพื่อจัดตั้งพื้นที่กลางในการขับเคลื่อนกิจกรรมในทุกโครงการย่อย ภายใต้ชุดโครงการกลไกการพัฒนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ และเป็นพื้นที่กลางในการรวบรวมข้อมูลศักยภาพเมืองลำปางเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการพัฒนาเมือง แหล่งเรียนรู้ แหล่งดูงาน workshop กิจกรรมสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะ Upskill-Reskill สำหรับผู้ประกอบการ และชาวชุมชนเมืองลำปาง เป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลท่องเที่ยวเมืองลำปาง และนิทรรศการเมืองลำปาง ในมุมมองความน่าอยู่ สร้างสรรค์
  2. พัฒนาศักยภาพและบทบาทการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปาง การดำเนินงานของโครงการย่อยที่ 1 : ศักยภาพและบทบาทการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปาง เป็นการตอบคำถามงานวิจัย ที่ว่าเมืองน่าอยู่และเมืองสร้างสรรค์ มีนิยามความหมายและเกณฑ์การชี้วัดความเป็นเมืองน่าอยู่และเมืองสร้างสรรค์อย่างไร ทัศนคติของประชาชนชาวลำปางต่อลักษณะของเมืองน่าอยู่และเมืองสร้างสรรค์เป็นอย่างไร และตัวชี้วัดความเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับเมืองลำปางเป็นอย่างไร เมืองลำปางมีศักยภาพและบทบาทอย่างไร และการนำเสนอข้อมูลเมืองลำปางในการประเด็นการพัฒนาเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ (Urban data Platform) ซึ่งสามารถสรุปภาพรวมของผลการศึกษาได้ดังนี้ วิเคราะห์ตัวชี้วัดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างรรค์ ที่ได้จากการรวบรวมแนวคิด นิยามความหมายและเกณฑ์การชี้วัด โดยแบ่งออกเป็น ความเป็นความเมืองน่าอยู่ และเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งนิยามของเมืองน่าอยู่มีแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นฐานและความต้องการของคนในชุมชนนั้น ๆ ซึ่งจุดเริ่มต้นของแนวคิดเริ่มต้นจากองค์การอนามัยโลกใช้คำว่า “Healthy Cities” ซึ่งแปลว่า เมืองสุขภาพ หรือเมืองสุขภาพดี โดยความหมายนั้นครอบคลุมถึงสุขภาวะของคน ครอบคลุมถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมไปถึงจิตวิญญาณที่ยึดโยงสิ่งต่าง ๆ ในบริบทของสถานที่ ซึ่งองค์ประกอบของเมืองน่าอยู่ซึ่งมีการอ้างอิงถึงมากที่สุดมี 11 ประการสำคัญ คือ
    (1) มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ดีที่อยู่อาศัยสะอาดปลอดภัย
    (2) ระบบนิเวศมีเสถียรภาพ
    (3) มีชุมชนเข้มแข็ง
    (4) ประชาชนมีส่วนร่วม
    (5) ประชาชนได้รับปัจจัยความจำเป็นพื้นฐาน
    (6) ประชาชนมีสิทธิและโอกาสรับรู้ข่าวสาร
    (7) มีระบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย
    (8) กลุ่มชนในแต่ละชุมชนมีการเชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์
    (9) ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    (10) มีบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมทั่วถึง
    (11) ประชาชนมีสุขภาพดี

ส่วนของคำนิยามของเมืองสร้างสรรค์ UNESCO กล่าวถึง เมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ว่าเป็นการร่วมมือระหว่างชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐในการสร้างสรรค์เมืองผ่านการพัฒนาสภาพแวดล้อม โครงสร้างทางสังคม ระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการนำสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ตลอดจนจารีตประเพณีของท้องถิ่นมาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองที่มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Industry) โดยองค์ประกอบสำคัญของเมืองสร้างสรรค์ ได้แก่
(1) การสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้แก่เมือง (Cultural Identity)
(2) การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้มีความเปิดกว้าง (Diversity & Open Society) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่
(3) การรวบรวมนักคิดและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (Talent/Creative Entrepreneur) เพื่อรวบรวมผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการผสมผสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับเทคโนโลยี วัฒนธรรม และการจัดการด้านธุรกิจที่ก่อให้เกิดการจ้างงานและกำลังซื้อสินค้าหมุนเวียนเป็นกลไกให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ
(4) การสร้างพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก (Space & Facility) โดยจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอและมีคุณภาพช่วยก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลิตนักคิด และธุรกิจสร้างสรรค์
(5) การบริหารจัดการเมือง (Management) องค์กรของภาครัฐและเอกชนจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองโดยเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น และทำงานประสานกันเพื่อนำไปสู่เป้าหมายได้อย่างสร้างสรรค์ โดยมีแนวทางในการปรับปรุงเมืองเพื่อให้เป็น Creative City โดยการผสมผสานประวัติศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ให้เมืองมีความผสมผสานกัน การพัฒนา Urban Data Platform สำหรับเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ เป็นการการรวบรวมความต้องการ ด้วยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยด้านเทคโนโลยี การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้บริหาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้เกี่ยวข้อง การปรับปรุงฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อทำการการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านสารสนเทศ และโครงสร้างคลังข้อมูล โดยแสดงผลการประเมินผ่านระบบออนไลน์ เฟชบุ๊ค “ลำปางเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์” และในระบบเว็ปไซด์ โดยเนื้อหาภายในคู่มือจะประกอบด้วยเนื้อหาในการดำเนินงานโครงการวิจัย ได้แก่ แนวคิดเมืองน่าอยู่ และเมืองสร้างสรรค์ ตัวชี้วัดเมืองลำปางน่าอยู่ สร้างสรรค์ การประเมินศักยภาพและบทบาทความเป็นเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ผ่านช่องทางออนไลน์ข้างต้น

3. พัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่ ความเป็นพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ในบริบทของเมืองน่าอยู่หมายถึงความเป็นพลเมืองในมิติของการรวมตัวกันเป็นกลุ่มชุมชนหรือสังคม โดยพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ถูกคาดหวังให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่เมืองต้องการเพื่อส่งเสริมให้ก้าวไปข้างหน้าในแบบที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของเมืองโดยทั่วไปนั่นคือมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติ องค์ความรู้ และทักษะของพลเมืองที่สามารถเสริมสร้างและทำให้เมืองมีความน่าอยู่มากขึ้น และส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ในอนาคตได้อย่างยั่งยืนด้วยโดยทัศนคติ หมายถึงความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจ ฯลฯ ของบุคคล หรือสมาชิกกลุ่มที่มีต่อกลุ่มและเมืองลำปางในด้านต่าง ๆ องค์ความรู้ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน และสังคม และทักษะ หมายถึงความถนัด ความเชี่ยวชาญ ในการทำสิ่งต่าง ๆ ของบุคคล หรือสมาชิกกลุ่มในการอยู่อาศัยในกลุ่มและเมืองลำปางในด้านต่าง ๆ และสิ่งที่จำเป็นอีกประการสำหรับพลเมืองลำปางสร้างสรรค์คือความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการสมัยใหม่ เช่น ทักษะการใช้อุปกรณ์สื่อโซเชียลมีเดีย กระบวนการคิดแบบ systems thinking กระบวนการคิดแบบการฉายภาพอนาคต ทักษะการติดต่อสื่อสารและโน้มน้าวใจ ทักษะการบริการที่เป็นเลิศ เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้นำเสนอคุณลักษณะที่ดีของความเป็นพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ในบริบทของเมืองน่าอยู่ประกอบด้วยคุณลักษณะหลัก 4 ด้าน ได้แก่
(1) คุณลักษณะด้านทัศนคติพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 4 ประการ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเองและการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน จิตสาธารณะ จิตสำนึกเมืองลำปาง และจิตวิทยาการอยู่ร่วมกัน
(2) คุณลักษณะด้านองค์ความรู้ของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 4 ประการ ได้แก่ องค์ความรู้เกี่ยวกับเมืองน่าอยู่และเมืองสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือกระบวนการใหม่ ลำปางเมื่อวันวาน..เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่อนาคต และการประกอบสัมมาชีพ
(3) คุณลักษณะด้านทักษะของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ ประกอบด้วยคุณลักษณะย่อย 4 ประการ ได้แก่ ทักษะด้านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การคิดเชิงระบบ การทำงานเป็นทีม และทักษะความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
(4) คุณลักษณะด้านการสร้างสรรค์เฉพาะกลุ่มของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ การกระทำที่แตกต่างไปจากเดิมแต่ไม่ขัดแย้งกับแนวคิดเดิมเพื่อส่งเสริม ต่อยอด และขยายขอบเขตของคุณค่าให้กว้างไปมากกว่าเดิม เช่น การพัฒนาการบริการของคนขับถม้าด้วยการรกระทำที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม เพื่อทำให้เกิดความประทับใจเพิ่มมากขึ้น การพัฒนารูปแบบการจำหน่ายและรรูปแบบผลิตภัณฑ์ของสินค้าเซรามิก เป็นต้น

ซึ่งหากนำคุณลักษณะที่ดีของพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้านนี้ไปขยายและพัฒนากลุ่มพลเมืองกลุ่มอื่น ๆ เพิ่มเติม ก็จะได้พลเมืองสร้างสรรค์ที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันในคุณลักษณะด้านการสร้างสรรค์เฉพาะกลุ่มเท่านั้นซึ่งถือเป็นวิชาชีพเฉพาะที่สามารถพัฒนาได้ ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย หากต้องการพัฒนาพลเมืองของตนเองให้มีความสร้างสรรค์แปลกใหม่ดังเช่นเมืองลำปาง ก็สามารถนำรูปแบบการพัฒนานี้ไปประยุกต์ใช้ได้ เนื่องจากมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถนำไปต่อยอดลงมือปฏิบัติได้ทันที ประเด็นสำคัญของการพัฒนาพลเมืองสร้างสรรค์ได้แก่ความร่วมมือร่วมใจและความต้องการที่ระเบิดจากภายใน คณะผู้วิจัยไม่สามารถดำเนินการเพียงแค่ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาเอกสาร แล้วชี้นำทางความคิดแก่สมาชิกของเมืองสร้างสรรค์ให้พัฒนาในจุดที่คณะผู้วิจัยต้องการได้ เนื่องจากจะเป็นการมองจากภายนอกและเป็นการพัฒนาที่คนในพื้นที่ไม่ได้ต้องการ การดำเนินงานจะสำเร็จได้ผลดีมากยิ่งขึ้นหากมีการระดมความคิด การวิเคราะห์ความต้องการร่วมกัน การฉายภาพอนาคตให้เห็นร่วมกัน และการสรุปความต้องการเป็นของเมืองที่ไม่ใช่เป็นความต้องการของคนภายนอก และการร่วมมือกันขับเคลื่อนอย่างช้า ๆ แต่มั่นคง

4. พัฒนาแผนการจัดการเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ การดำเนินงานของโครงการย่อยที่ 3 : การพัฒนาแผนการจัดการเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์เป็นการตอบคำถามงานวิจัยในวัตถุประสงค์ที่ว่าปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ รวมทั้งปัญหา โอกาสและแนวโน้มในการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์มีอะไรบ้าง และแนวโน้มการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร และความสามารถในการรองรับการการพัฒนาดังกล่าวในพื้นที่เป็นอย่างไร พร้อมทั้งควรมีกรอบหรือเป้าหมายในการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์อย่างไร รวมถึงการหาคำตอบว่ากลไกในการขับเคลื่อนลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ในอนาคต ควรมีแผนปฏิบัติการในการขับเคลื่อนอย่างไรที่เป็นรูปธรรม การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 จะเป็นการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของเมืองลำปาง ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายในที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหา โอกาสและแนวโน้มในการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ เพื่อนำมาสู่การสรุปความสามารถในการรองรับการการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์นั้นประกอบไปด้วยปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน โดยจะเห็นได้ว่าจากนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่นเอื้อต่อการพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านโครงการพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาเมือง การพัฒนาเมืองให้น่าอยู่น่าอาศัย รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่โดยการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และในส่วนปัจจัยใน จะเห็นได้ว่าทั้งปัจจัยทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ของพื้นที่ศึกษานั้นมีศักยภาพและความพร้อมสู่การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน และยังมีหลักในการพัฒนาพื้นที่และอนุรักษ์อัตลักษณ์ตัวตนคนลำปางไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งยังมีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่เข้าถึงพื้นที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่รอบข้างได้อีกด้วย ประกอบกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจก็จะเริ่มเห็นการพัฒนาสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งธุรกิจสร้างสรรค์ใหม่ ๆ พื้นที่สร้างสรรค์ และกิจกรรมสร้างสรรค์ ประกอบกับต้นทุนเดิมในด้านการท่องเที่ยวของลำปางที่มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ซึ่งสามารถเชื่อมโยงสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ และในด้านสังคม จะเห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่ศึกษามีความเข้มแข็ง และสามารถเข้ามามีบทบาทในการร่วมพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ เช่น การจัดตั้งบริษัท ลำปางพัฒนาเมือง จำกัด เป็นต้น รวมทั้งในผลการศึกษาวิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญในพื้นที่ จะเห็นได้ว่าในพื้นที่ศึกษานั้นมีพื้นที่มีคุณค่าและความสำคัญของย่านที่สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาให้เป็นสร้างสรรค์ในอนาคตได้ ซึ่งประกอบด้วย ชุมชนปงสนุก ชุมชนกาดกองต้า ชุมชนท่ามะโอ ชุมชนกาดเก๊าจาว ชุมชนสบตุ๋ย เป็นต้น ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัจจัยมีผลต่อการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ ปัญหา โอกาสและแนวโน้มในการพัฒนาเมืองลำปาง ให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ จึงสามารถอนุมานได้ว่าในพื้นที่ศึกษามีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อรองรับการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ในอนาคต การตอบคำถามในวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เป็นการตอบหาคำถามว่า จากปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ รวมทั้งปัญหา โอกาสและแนวโน้มในการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ และแนวโน้มการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ในอนาคตนั้น และผลการวิเคราะห์ความสามารถในการรองรับการการพัฒนา จะนำมาสู่การกำหนดกรอบหรือเป้าหมายในการพัฒนาเมืองลำปางให้เป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ได้อย่างไร ซึ่งผลการศึกษาพบว่า เป้าหมายและกรอบที่คนลำปาสงให้ความสำคัญสำหรับการพัฒนาพื้นที่ให้น่าอยู่สร้างสรรค์ต้องมีความสอดคล้องภายใต้บริบทการพัฒนาเชิงพื้นที่ ดังนี้
(1) การให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เมืองลำปาง เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่และสร้างสรรค์ รวมทั้งก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ท้องถิ่นทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
(2) การพัฒนาเมืองต้องพัฒนาภายใต้อัตลักษณ์และคุณค่าประวัติศาสตร์ของเมืองลำปาง โดยมุ่งไปที่การพัฒนาเมืองที่ยังคงบทบาทของเมืองลำปางที่ทิ้งไม่อัตลักษณ์ ที่โดดเด่นสำคัญทั้ง 2 ประการ คือ การพัฒนาเมืองเพื่อส่งเสริมการเป็นเมืองรถม้า และเมืองเก่ามีชีวิต (เมืองเก่า เมืองวัฒนธรรม)
(3) การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ เป็นการมุ่งสู่การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ที่อ้างอิงตามองค์ประกอบของเมืองสร้างสรรค์ ได้แก่ การพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ พื้นที่สร้างสรรค์ และการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ของเมืองที่บ่งบอกรูปแบบ อัตลักษณ์ ความหลากหลาย ที่มีการจัดแบบต่อเนื่องและมาจากการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ หลังจากนั้นจึงนำมาสู่การจัดทำแนวคิดการพัฒนาลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ในกระบวนการจัดทำแนวคิดการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ได้นำผู้มีส่วนได้ส่วยเสียมาร่วมในขั้นตอนของวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวคิดการพัฒนาที่มาจากคนลำปางอย่างแท้จริง ซึ่งจากกระบวนการดำเนินการวิจัย พบว่า แนวคิดในการพัฒนาเมืองลำปางให้น่าอยู่สร้างสรรค์ภายใต้เป้าหมายและกรอบการพัฒนาที่ได้วิเคราะห์ร่วมกัน มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์อย่างยั่งยืนภายใต้ 2 แนวคิดหลัก คือ

      1. (1) การพัฒนาเมืองที่สร้างความเป็นมิตรกับประชาชน คือ การสร้างสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนลำปางให้ดี มีสังคมที่เอื้ออาทรมีชุมชนที่เข้มแข็ง มีความสะดวกสบายปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      1. (2) การส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรม ที่หลากหลาย คือ มีการส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจดีมั่นคง มีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองและชุมชนมีการรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นของคนทำงานสร้างสรรค์และมีสภาพแวดล้อม เหมาะสมในการเกิดแรงบันดาลใจและการเรียนรู้ จากแนวคิดทั้ง 2 แนวคิดนี้ทำให้เห็นว่าความพยายามของทุกภาคส่วนที่จะเตรียมพื้นที่เข้าสู่การเป็นลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์นั้น นั่นคือ การสร้างให้เกิดระบบนิเวศของ “เมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์” โดยประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ
      1. 1. ต้นทุนทางวัฒนธรรม
      1. 2. ผู้คน/ผู้ขับเคลื่อน
      1. 3. การตลาด

5. พัฒนาต้นแบบพื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์ การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ต้นแบบเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ การดำเนินการของโครงการที่ผ่านมา ได้นำข้อมูลจากโครงการ “ศักยภาพและบทบาทการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปาง” มาต่อยอดในส่วนของทัศนคติของคนในเมืองลำปางมีความเห็นว่าพื้นที่ในเมืองลำปางที่ควรมีการพัฒนาให้เป็นต้นแบบย่านน่าอยู่สร้างสรรค์มากที่สุด ได้แก่ กองต้า (ร้อยละ 40.5) ท่ามะโอ (ร้อยละ 19.0) เก๊าจาว (ร้อยละ 11.3) พระบาท (ร้อยละ 10.8) และสบตุ๋ย (ร้อยละ 5.5) ส่วนปัจจัยที่แสดงถึงความเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปาง ชาวลำปางกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สาธารณสุข รวมถึงความปลอดภัย เป็นปัจจัยที่แสดงถึงความเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปางมากที่สุด นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญรองลงมา ได้แก่ การอนุรักษ์ ฟื้นฟูโบราณสถาน และอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแก่ เมืองส่งเสริมสนับสนุนให้ดำรงรักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองได้รับการสืบสานและต่อยอดสร้างมูลค่า เมืองให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ และมีการจัดการดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อม และจากข้อมูลดังกล่าว ได้มีการนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมในส่วนของ การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ต้นแบบตามตัวชี้วัดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ในพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนกองต้า ชุมชนท่ามะโอ ชุมชนก๊าวจาว และชุมชนสบตุ๋ย จากการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ต้นแบบตามตัวชี้วัดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ พบว่าชาวลำปาง ให้ความสำคัญกับเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สาธารณสุข รวมถึงความปลอดภัย โดยการพัฒนาเมืองสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ ชาวลำปางมีทัศนคติเกี่ยวกับการต่อยอดจากต้นทุนสร้างสรรค์ของเมือง ในเรื่องของวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม เมืองเก่า ประวัติศาสตร์ รถม้า เซรามิก เป็นปัจจัยที่แสดงถึงความเป็นเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ของลำปางมากที่สุด ซึ่งการพัฒนาเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ จะต้องมีการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความน่าอยู่ และสร้างสรรค์ เช่น การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว การส่งเสริมคนรุ่นใหม่ การเปิดพื้นที่ในการแสดงออก เป็นต้น ซึ่งผลการประเมินศักยภาพและบทบาทการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปางจากตัวชี้วัด พบว่าเมืองลำปางเป็นเมืองที่มีความพร้อมในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ในระดับสูง ด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ต้นทุนทางวัฒนธรรม ทรัพยากรต่างๆ ภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง และการสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น การพัฒนาต้นแบบพื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์ ได้นำข้อมูลการวิเคราะห์ศักยภาพและบทบาทของการเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ของลำปางตามตัวชี้วัดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ ด้านต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการถ่ายทอด โดยเมืองลำปางเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างเมืองและตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องมานับพันปี เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงการเดินทางในทุกยุคสมัย จึงเป็นเมืองที่มีความหลากหลายและมีต้นทุนวัฒนธรรมมากมาย ได้แก่ งานงานฝีมือ แกะสลัก ตํารับอาหารพื้นถิ่น และทุนทางธรรมชาติ เช่น ดินขาว ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของเซรามิก รวมถึงมีองค์ความรู้ในการจัดการกระบวนเรียนรู้ในท้องถิ่น ทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้จำนวนมาก อย่างไรก็ตามในความพร้อมของพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ เมืองลำปางกลับขาดการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถที่จะสื่อสารต่อยอดวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ ต้นทุนที่มีอยู่ทำได้เพียงการอนุรักษ์สืบสานในกลุ่มผู้สนใจ ในพื้นที่ซึ่งนับวันจะมีบุคคลที่สนใจน้อยลง การสืบสานวัฒนธรรมที่ดี คือการนำวัฒนธรรมเหล่านั้นสื่อสารสืบทอดให้กับผู้คน ทำให้อยู่ในวิถีผู้คนและสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับชุมชน พื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์ คือพื้นที่ที่มีองค์ประกอบหลักสำคัญ 4 ประการ คือ

การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 จากผลงานวิจัยในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 ที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะนำไปสู่จัดทำแผนการจัดการเมืองและกลไกการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ ในกระบวนการได้นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันวิเคราะห์แผนแผนปฎิบัติการ เป้าหมายการขับเคลื่อน และกลไกหรือแนวทางการขับเคลื่อนเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ ซึ่งการวิเคราะห์ยังได้นำข้อมูลที่ทางโครงการได้วิเคราะห์ช่องว่างของนโยบายหรือแผนต่างๆในการพัฒนาเมืองลำปางสู่การขับเคลื่อนให้เมืองกลายเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ ซึ่งทำให้ได้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนที่หนุนเสริมให้เกิดระบบนิเวศลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรมได้ 4 แผนปฏิบัติการ
1. ทุนทางวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีความหลากหลาย สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
2.ผู้คน กลุ่มคน นักคิด ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์
3.กิจกรรมที่มีความหลากหลายทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
4.สภาพแวดล้อม ที่เอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป้าหมายที่ได้หลังจากการดำเนินโครงการวิจัยแล้วเสร็จ ดังนี้

  • เกิดกลไกการพัฒนาระดับพื้นที่ 2 ระดับ คือ
      1. กลไกระดับย่านน่าอยู่สร้างสรรค์ – ชาวย่านและผู้ประกอบการย่านท่ามะโอ ย่านกาดกองต้า สมาคมรถม้า และกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ รวมจำนวน 40 คน

 

    2. กลไกระดับเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ – หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นและท้องที่ เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมือเขลางค์ ท่องเที่ยว และกีฬาจังหวัด สำนักท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย สาขาลำปาง

  •  องค์ความรู้ข้อมูลเพื่อพัฒนากลไกตรวจสอบเชิงพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนเมือง ได้แก่
      1. องค์ความรู้เรื่อง ‘แนวทางการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์’ โดยใช้ศักยภาพและต้นทุน ด้านวัฒนธรรม ทรัพยากรบุคคล และความคิดสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนความเป็นย่านสร้างสรรค์ แนวทางการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ เกิดจากการจัดทำโครงการนำร่อง และกิจกรรมพัฒนา Upskill และ Reskill ของโครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาพลเมืองลำปางสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเมืองน่าอยู่ และโครงการย่อยที่ 4 การพัฒนาต้นแบบพื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์ การดำเนินโครงการย่อยที่ 2 ในเรื่องการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะใหม่ (Upskill) และพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) ของกลุ่มคนขับรถม้า กลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ กลุ่มบุคลากรภาครัฐ กลุ่มชุมชนวัฒนธรรม และกลุ่มกาดกองต้า ช่วยทำให้เกิดการเสริมสร้างศักยภาพและองค์ความรู้ในกลุ่มคนพลเมืองลำปาง รวมไปถึงความเข้าใจร่วมกันถึงแนวทางการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ การดำเนินการโครงการย่อยที่ 4 การทำกิจกรรมพัฒนาต้นแบบพื้นที่น่าอยู่สร้างสรรค์นำร่อง ทั้ง 3 กิจกรรม คือ เรื่องเล่าบะเก่าชาวกองต้า ย่านเก่าลำปางคัดสรร และ รถม้าลำปาง Spirit of Lampang เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมกับพลเมืองลำปาง ในการพัฒนาโจทย์กิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเมือง กิจกรรมนำร่องจึงเป็นชุดประสบการณ์และความรู้ใหม่สำหรับกลุ่มพลเมืองลำปาง ทำให้ทราบและเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมการลงมือปฏิบัติการจริงในพื้นที่ โดยมีโครงการวิจัยและ Lampang Creative Lab เป็นพื้นที่กลาง (Platform) ในการเรียนรู้ และทดลองปฏิบัติการตามแนวทางการพัฒนาดังกล่าว
      2. องค์ความรู้เรื่อง ‘การมีส่วนร่วมในการสร้างเมืองสร้างสรรค์’ การสำรวจพื้นที่ การประชุมกลุ่มย่อย Focus Group การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์นำร่อง ณ Lampang Creative Lab และการเสวนาออนไลน์ คือกระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ทุกภาคส่วน โดยผนวกเอาแนวคิดเรื่องกิจกรรมการสร้างเมืองน่าอยู่ และเมืองสร้างสรรค์เข้าไปสอดแทรกในทุกกระบวนการและกิจกรรม ทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับประสบการณ์ และการเรียนรู้คุณค่าของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองตามแนวทาง ‘แนวทางการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์’ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ ตามแผนงานพัฒนาที่ออกแบบไว้
  • ชุดความรู้ด้านการพัฒนาเมือง ‘กลไกการพัฒนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์’ เพื่อขยายผลเชิงพื้นที่และนำเสนอนโยบายเชิงพื้นที่
      1. ชุดองค์ความรู้ตัวชี้วัดเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ เกิดจากการรวบรวมตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเมืองน่าอยู่ และเมืองสร้างสรรค์ในระดับนานาชาติ และระดับประเทศ ผนวกเข้ากับผลการวิเคราะห์ศักยภาพเมืองลำปาง และความคิดเห็นของชาวลำปางเพื่อกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับการใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ศักยภาพและความพร้อมของเมืองลำปาง เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่ทำตัวชี้วัด และหมุดหมายการพัฒนาเมืองลำปาง รวมถึงต่อยอดสู่การทำแผนพัฒนาลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ในระดับนโยบาย ตัวชี้วัดความเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับเมืองลำปาง เกิดจากกระบวนการร่วมกันพิจารณาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองลำปาง โดยการจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วไป ด้วยแบบสอบถามและการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ
    2. ชุดองค์ความรู้ว่าด้วย “แผนการจัดการเมืองและกลไกการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์” มีที่มาจากกระบวนการที่ได้นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันวิเคราะห์แผนปฎิบัติการ เป้าหมายการขับเคลื่อน และกลไกหรือแนวทางการขับเคลื่อนเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ การวิเคราะห์ศักยภาพของเมืองลำปางการสังเคราะห์นโยบายและงบประมาณของภาครัฐระดับท้องถิ่น และนโยบายระดับจังหวัด และประเทศ ในการวิเคราะห์ยังได้นำข้อมูลช่องว่างของนโยบายหรือแผนต่างๆ ในการพัฒนาเมืองลำปางสู่การขับเคลื่อนให้เมืองกลายเป็นเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ ทำให้ได้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนที่หนุนเสริมให้เกิดระบบนิเวศลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับนำผลจากตัวชี้วัดเมืองลำปาง นำมาจัดประชุมเวทีสาธารณะกับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมร่างแผนพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้าง รวมไปถึงการจัดเวทีเสวนาออนไลน์ในช่วงท้ายโครงการ
    องค์ความรู้เรื่องแผนการพัฒนาลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ได้ถูกส่งต่อให้หน่วยงานในท้องถิ่น และหน่วยวิจัยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาแผนระดับจังหวัด และแผนระดับท้องถิ่นต่อไป ซึ่ง 4 แผนปฏิบัติการ มีดังรายละเอียดดังนี้
    1) การพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนดังนี้
    เป้าหมาย
    1. สร้างเครือข่ายลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการพัฒนาพื้นที่โดยใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์มาเป็นตัวขับเคลื่อน รวมทั้งต้องนำทุกภาคส่วนมาวางเป้าหมายการขับเคลื่อนร่วมกันว่าจะไปในทิศทางไหน ภายใต้อำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
    2. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ให้เป็นที่รู้จักในระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับประเทศ
    • แนวทางการขับเคลื่อน
    1) จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
    2) ส่งเสริมเครือข่ายให้จัดตั้งกองทุนการพัฒนาเมืองลำปางสร้างสรรค์ และสนับสนุนทุนด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการเริ่มต้นธุรกิจสร้างสรรค์ใหม่ๆในพื้นที่และต่อยอดธุรกิจ
    3) พัฒนารูปแบบเครือข่ายการลงทุนที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์
    4) จัดตั้งกองทุนการพัฒนาเมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์
    5) สร้างการรับรู้และยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศในการเมืองเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์
    6) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ “ลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำปาง ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ และสื่ออื่น ๆ เช่น Facebook, Line ฯลฯ เสริมสร้างให้มีการสร้างเครือข่ายภายในปะเทศระหว่างจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการยอมรับให้เป็น Creative City ในด้านต่าง ๆ
    การสร้างสภาพแวดล้อมที่หนุนเสริมให้เมืองเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และบุคลากรสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนดังนี้
    • เป้าหมาย
    1) ยกระดับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาบนฐานอัตลักษณ์ของลำปางสู่การเป็นพื้นที่สร้างสรรค์
    2) สร้างระบบนิเวศของพื้นที่ลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรม
    3) จัดหาและพัฒนาให้เกิดพื้นที่และกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้พื้นที่นี้เป็นแหล่งสร้างรายได้ของชุมชนในพื้นที่
    4) ส่งเสริมให้เกิดผู้สร้างสรรค์ต้นแบบในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์
    • แนวทางการขับเคลื่อน
    1) พัฒนาอัตลักษณ์และสร้างมูลค่าการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “เมืองลำปางน่าอยู่สร้างสรรค์”
    2) พัฒนาสิ่งแวดล้อมย่านเก่า ย่านอนุรักษ์ เมืองประวัติศาสตร์ให้น่าอยู่น่าเที่ยว
    3) สร้างกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของเมือง ผ่านเส้นทางท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์ของลำปาง ซึ่งอาจเที่ยวชมด้วยรถม้า

Title

A Development Mechanism for Lampang Creative Livable City

Keywords

A Development Mechanism,Creative Livable City

Abstract

Abstract The research project series on “A Development Mechanism for Lampang Creative Livable City” consists of 4 sub-research projects. The objectives are to establish the Lampang Creative & Livable City Lab pilot project, to develop the potential and role of Lampangs creative city, to develop creative Lampang citizens with the concept of a livable city, to develop a creative livable Lampang city management plan, and to develop a prototype of a creative livable space. This research conducts in Lampang Municipality and Khelang Nakhon Municipality. The action plan of the research project series is coordinate and collect the study results of each project, organize activities that support research to achieve the objectives of developing Lampang Creative Livable City. The important tools which use for running the project are Lampang Creative & Livable City Lab Finally, there are two levels of development mechanisms, the creative livable district level and creative livable cities. There are the body of knowledge of Creative Activity Development Guidelines using cultural potential and human resources costs and creativity to support a creative district, and the body of knowledge of Participation in the creation of a creative city and a set of body of knowledge indicators for creative livable city from international creative cities and national level, and a body of knowledge about “Creative City Management Plan and Mechanism for Lampang Creative Livable City management” originated from the process that brought stakeholders together to analyze the action plan.

Driving goals and mechanisms or approaches to drive the city of Lampang to be livable and creative. Recommendations from research found that there should be the physical, economic, and social information of the province integrated which to be able to develop the Lampang project in the manner of working together with all sectors, promote human development to create a learning, participation, action process, to urban development for people in the area to understand and join in the city development. Supporting for establishment of a working group to drive the city of Lampang to be livable and creative, and support activities that emphasize the participation process of local people. Executive Summary Project Title: A Development Mechanism for Lampang Creative Livable City Research Objectives 1. To establish the Lampang Creative Lab pilot project 2. To develop the potential and role of Lampang as a creative livable city 3. To develop creative Lampang citizens according to the concept of a livable city 4. To develop a management plan for Lampang as a creative livable city 5. To develop a prototype for a creative livable space Research Background Lampang Province has a distinctive identity in terms of culture, way of life and natural resources. It is the city with the most horse-drawn carriages still in use in Thailand, it is a hub for ceramics, pottery and coal, and there is a famous elephant training center. As the Lampang motto states, it is a city of “Widely known coal, renowned horse-drawn carriages, famous ceramics, the distinguished Pra That and the well-known Elephant Conservation Center” (http://lampang.go.th/images/Eng/eng_v.html).

This investigation was created following assessment of the problems and local needs in Lampang Province and was designed as a means of achieving the Lampang vision for a ‘pleasant city and a city of happiness’. The project was created to help develop a good environment for the people of Lampang and generate a license to operate as a livable city in the region and stimulate growth in the country as a whole. This operation requires cooperation with all relevant sectors, including the government, the private sector, the education sector, and the local community in four sub-projects, namely:
Sub-project 1: Lampangs Potential and Role of Being a Livable and Creative City
Sub-project 2: Lampang Creative Citizen Development with a Livable City Concept
Sub-project 3: A Development of Lampang Livable Creative City Management Planning
Sub-project 4: A Prototype Development of a Creative Living Space It is hoped that these four sub-projects will solve problems associated with poverty, reduce inequalities, and improve the quality of life and livelihoods in agricultural communities. These were key issues identified in the twenty-year strategy (2018-2037), which outlines the governments key policies for leading the country out of the middle-income trap. This investigation is therefore a contribution towards the national aim of making Thailand a developed country in the 21st century by using knowledge, science, technology and innovation to further develop and strengthen local communities.

The research will be applied to improve the lives and well-being of community members in each locality to be self-reliant, which is the key to solving problems. Research Methodology This research project series, entitled “A Development Mechanism for Lampang Creative Livable City”, was conducted in the area of Lampang Municipality and Khelang Nakhon Municipality, Lampang Province. Operations in each sub-project were carried out as a sequential research process that led to the fulfilment of overall project goals. Each part of the project was an operational element to organize activities that support research in achieving the objectives of developing a creative livable city in Lampang.

The important tool of the investigation was the Lampang Creative & Livable City Lab, which played three important roles:
1. Organizing activities to support Lampang as a creative livable city
2. Coordinating the project with all relevant stakeholders
3. Publicizing Lampang as a creative livable city The research plan was to coordinate with agencies and local communities to establish Lampang Creative & Livable City Lab for organizing working group meetings and following up on the performance of each project.

The lab was also used to organize events, to launch the development mechanism project, to organize exhibitions, discussions and events in Lampang, to summarize the results of the project to people in the area and to prepare a website, new media, social media video clips and publications that promote Lampang as a livable creative city. Results Due to the spread of the COVID-19 virus in 2020, the implementation stage of the project was unable to operate fully. The researchers were unable to physically visit the area to collect data, meet local people and coordinate with local agencies and communities in the Lampang area. However, the working group of the overall project and the sub-projects held meetings to plan the implementation of the investigation and tracked overall progress through online meetings. In the third and fourth quarters of 2020, when the overall epidemic situation improved, the project implementation group therefore began to visit the area to coordinate with government agencies related to urban development and tourism development. The researchers also organized a meeting to launch the project and communicate the guidelines and operational goals to the public sector, private sector and community representatives so that they were fully informed. The Lampang Creative & Livable City Lab was also established at this time in Kad Kong Ta, Talat Kao Road, Mueang Lampang District. This is the city center. An Overview of Operations Government agencies, business representatives and civil groups in Lampang engaged with and cooperated in the operation, especially driving the establishment of the Lampang Creative Lab. This was supported by the Kad Kong Ta Committee. entrepreneurs in Kad, community representatives, and monks from Wat Koh Welukaram. Key local stakeholders were also involved in preparations for the launch of the laboratory, including representatives from government agencies, the provincial governor, representatives from Lampang Municipality and Khelang Nakhon Municipality, and representatives from the Lampang Office of the Tourism Authority of Thailand. This should be considered a good start for the initiative and showed the willingness of all parties to participate and drive the goals of the project. It is thus a common goal of Lampang people to develop the area into a creative livable city.

The key operational activities were as follows:
1. Establishment of Lampang Creative & Livable City Lab at Kad Kong Ta
2. Organization of an event to launch the development mechanism for Lampang Creative Livable City
3. Organization of exhibitions and discussions in Lampang Creative Livable City and the official launch event of the Lampang Creative Lab. This installation delivered happiness and inspired creative ideas among local people to drive Lampang as a creative livable city
4. Organization of an online talk summarizing the ability of the Lampang Creative Livable City project to generate work in the area.

The issues presented were:
1) Opportunities and readiness of Lampang to become a liveable city by Friday, July 30, 2021
2) The future of Lampang Creative Livable City
3) Roadmap for the creative development of Lampang
4) Creative Lampang: Growth through identity, strength through quality service.
5) Preparation of a website, social media video clip and publications to promote Lampang as a livable and creative city a. A website to disseminate information related to the research projects under the domain name ‘lampangcreativelivablecity.com’.

This contained information to develop the potential and role of Lampang as a creative livable city and presented city data as an urban data platform, as well as analytical data to support the design and planning of a creative livable city. b. A video of the Lampang Creative Lab launch was published on its Facebook page: https://www.facebook.com/Lampang.CreativeLivableCity/videos/393464314980509 c. The Lampang Creative & Livable City Facebook page publishes research, data and public relations announcements for the pilot area, including development activities and workshop activities. The key operations of the project series in achieving the research objectives were as follows: 1. Establishment of Lampang Creative & Livable City Lab The Lampang Creative & Livable City Lab was established as a central area to drive activities in all sub-projects. This was established under the development mechanism project for Lampang Creative Livable City and became a central area for collecting information on the potential of Lampang City as a place to exchange ideas on urban development, as well as learning resources, workshops, creative activities, and upskill and re-skill development for entrepreneurs and residents of Lampang. It was also a source for disseminating news and information about tourism in Lampang and for hosting exhibitions on the topics of livability and creativity. 2. To develop the potential and role of Lampang as a creative livable city Potential and Role of livable and creative city of Lampang is about responses to research questions that what definitions and criteria of a livable and creative city are, what the attitude of Lampang people towards the characteristics of a livable and creative city is, how the indicators of being a liveable and creative city suitable for Lampang are and what the potential and role of Lampang is. The presentation of Lampang city information on the issue of livable and creative city development (Urban data Platform) can summarize the overview of the study results as follows: This is to analyze the indicators of the livable and creative city of Lampang. They are obtained from the collection of concepts, definition and criteria divided into livable city and creative city. The definition of a livable city varies according to the basic conditions and needs of the people in that community. The origin of the concept from the World Health Organization uses the word “Healthy Cities” which means good health city. The definition covers well-being of people, physical environment, socio-economic environment as well as the spirituality that binds things in the context of the place.

There are 11 elements of a livable city that are most referred to:
1. Good physical environment, clean and safe housing
2. Stable ecosystem
3. Strong community
4. Peoples participation
5. People receive basic necessities
6. People have rights and opportunities to receive information
7. Diversified economic systems
8. People in each community have unique cultural heritage links
9. Make the most of the available natural resources
10. Provides adequate public health services.
11.People are healthy.

In term of the definition of creative city, UNESCO describes creative city as a collaboration between local communities and the government in building a city through environmental development, social structure, economic structure and implementation of cultural assets, history, customs, and local customs blended with modern technology. They lead to be a city that has a conductive atmosphere to building a business or a creative industry.

The key elements of a creative city are
1) Building a cultural identity for the city
2) Creating an open social environment (Diversity & Open Society) to create cultural exchanges and creativity
3) Gathering creative thinkers and entrepreneurs (Talent/Creative Entrepreneur) to gather creative people to mix cultures and local wisdom, together with technology, culture and business management that creates employment and purchasing power in circulation as a mechanism for economic growth.
4) The creation of space and facilities must create sufficient infrastructure and quality creating an conductive environment to motivate thinkers and creative business
5) City management: Government and private organizations must have a vision of urban development by being a flexible organization and work together to achieve goals creatively.

There is a way to improve the city to be a creative City by combining history and creativity for the city to blend together. There are development of the Urban Data Platform for a livable and creative city of Lampang. It is a collection of needs with a semi-structured interview. The data are gathered from technology research, attendance of the workshop of executives and stakeholders. The Geographic Information Database (GIS) is improved to design information architectures and data warehouse structure by showing the results of the assessment via the online system, Facebook “Lampang is a livable and creative city”. The contents of the manual will consist content on conducting research projects such as the concept of a liveable and creative city and the indicators of liveable and creative city. The assessment of the potential and role of a liveable and creative city can download through the above online channels. 3. To develop creative Lampang citizens according to the concept of a livable city Creative Lampang citizenship in the context of a livable city meant citizenship in dimensions of the incorporation into a community or society. Creative Lampang citizens were expected to have characteristics. The city requires attributes or qualities that demonstrated attitudes in order to encourage it to move forward in a way that was appropriate and acceptable to its members in general. Citizens knowledge and skills could help to strengthen and improve the citys livability, promoting a more sustainable and livable city in the future. Attitude refers to a persons or group members thoughts, feelings, understandings, and so on toward the group and the city of Lampang in various aspects. Knowledge refers to the ability to understand and apply knowledge for the benefit of oneself, ones community, and society, whereas skill refers to a persons or a group members aptitude and expertise in carrying out the work. Another requirement for creative Lampang citizens living in various areas and cities is knowledge and expertise in modern skills and processes, such as the ability to use social media devices, systems thinking, and the process of imagining the future through the use of systems, communication and persuasive skills, excellent customer service abilities, etc. In this research project, the research team presented the positive characteristics of creative Lampang citizenship in the context of a livable city.

There were four main characteristics:
1. Attitude characteristics of creative Lampang citizens consists of four sub-features, namely self-responsibility and participation in community development, public consciousness, Lampang city consciousness, and coexistence psychology.
2. Knowledge characteristics of creative Lampang citizens consist of four sub-features: knowledge of livable cities and creative cities, creativity, innovation or new process, and Lampang history in order to transit to the future and occupation.
3. Skill characteristics of creative Lampang citizens consist of four sub-features: creative communication skills, systematic thinking, teamwork and skills in analyzing and solving problems.
4. Specific characteristics of Lampang citizens. Creativity refers to new ideas and actions that differ from but do not contradict the original ideas while promoting, building on, and broadening the scope of values. To be more broad than before, for example, the development of the carriage drivers service with a different action could make more impression, the development of sales patterns and product forms of ceramic products, etc. If Lampang citizens good qualities were creative in these four areas to expand and develop more groups of citizens, then creative citizens with similar forms would be obtained. However, they only differ in terms of a specific groups creative abilities, which were considered specific professions that could be developed in other areas of Thailand. If you want to develop your own citizens to be creative, as in Lampang, the same development mode could be taken as the process is not complicated and could be implemented right away. The focus of creative citizenship development was collaboration and explosive needs, which means that researchers could not simply review the literature, study the papers, and direct their ideas to members of the creative city to develop where they need, because this will be seen from the outside and it was a development that the local people do not want. Operations will be more effective with brainstorming, joint needs analysis, projecting the future together and summarizing the needs of the city, rather than the needs of outsiders. And the cooperation was moving slowly but steadily.

4. To develop a management plan for Lampang as a creative livable city Developing the management plans of Lampang Creative Livable City is to answer the research questions in the objectives of what factors affected the development of Lampang Creative Livable City, including problems, opportunities and trends in developing Lampang to be a creative livable city and what the future trends of Lampang Creative Livable City will be, and how the capacity is to support such development in the area, and also should have a frame or what the goals of developing Lampang to be a creative livable city are, including finding answers to the mechanisms in driving Lampang Creative Livable City in the future should have an action plan in driving concretely. Its will be an analysis of the capability of being Lampang Creative Livable City, which has been analyzed the external and internal factors affected the development of Lampang City to be a creative livable city, including analyzing problems, opportunities and trends in developing Lampang to be a creative livable city to bring to a conclusion of the ability to support the development of Lampang Creative Livable City physically, economically and socially, which the study results revealed that the factors affected the development of Lampang to be a creative livable city consist of both external and internal factors. This can be seen from the policy, development strategy from national to local level contributing to the development of Lampang city to a creative city whether it will be the development of basic projects to support the development of the city, the development of a livable city, including economic development in the area by pushing in driving towards a creative economy, and for internal factors, it can be seen that the physical, economic and social factors of the study area have potential and readiness for development whether it will be the characteristic of a mixed land use, and it also has principles in developing the area, and preserving the identity of Lampang people at the same time as well as having transportation routes that can easily reach the areas, and can connect to the surrounding areas as well consisting of economic development, we will begin to see creative developments occurred in the areas, in new creative businesses, creative spaces and creative activities, consisting of the original cost of tourism in Lampang with various forms of tourism, which can be linked to driving the creative economy and in terms of social can be seen that the people in the study area are strong, and can play a role in co-developing Lampang city into a creative livable city for instance establishing LAMPANG DEVELOPMENT CITY CO., LTD., etc., including in the study results analyzed the values and importance of the areas will be seen that in the study areas that have values and importance of the areas that can be further developed to be a creative in the future, which consists of Pong Sanuk Community, Kad Kong Ta Community, Tha Ma-O Community, Kad Kao Chao Community, Sop Tui Community, etc., which analysis of the factors affected the development of Lampang to be a creative livable city, problems, opportunities and trends in developing Lampang to be a creative livable city. Therefore, it can be inferred that the study areas have potential for development to support the creation of a livable city in the future. From the factors affected the development of Lampang to be a creative livable city, including problems, opportunities and trends in developing Lampang to be a creative livable city, and the trend to develop Lampang Creative Livable City in the future, and how the capability analysis results in supporting the development will lead to the determination of the frameworks or goals in developing Lampang city to be a creative livable city,

which the study results revealed that the goals and frameworks that Lampang people focus on for the development of creative livable areas have to be consistent under the contexts of spatial development as follows:
1) Focusing on the areas that have the values of resources and the environment by focusing on conservation and restoration of resources and environment in the areas of Lampang to facilitate the development of being a creative livable city, including causing benefits to the local areas in terms of economy and environment.
2) City development must be developed under the identity and historical value of Lampang by focusing on the development of the city that continues the role of Lampang that does not leave two important distinctive identities, namely the development of the city to promote the city of horse-drawn carriages, and the living old city (old town, cultural city)
3) The development for creative space aims towards development of a creative city based on elements of creative city, namely creative business development, creative space, and the promotion of creative activities of the city that indicates forms, identity, and diversity that are organized continuously, and come from the participation of local people. Afterwards, it led to the creation of the development concept of Lampang Creative Livable City in the process of creating the development concepts of Lampang Creative Livable City that brought the stakeholders to participate in the analysis process to get the development concepts that comes from Lampang people, which from the research process found that the ideas in developing Lampang to be creative and livable under the goals and development frameworks that have been co-analyzed by focusing on the development of Lampang Creative Livable City sustainably under 2 main concepts, namely
1) The development of a city that makes friend with people is to create a good environment and quality of life for Lampang people, having a caring society with a strong community, having the convenience and safety in life and property
2) Promotion of various cultural activities is having a promotion of various cultural activities to create a stable economic system, having a unique culture and spirit of the city and community, and having a dense gathering of creative workers, and having the environment suitable for getting inspiration and learning.

From these two concepts, it can be seen that the efforts of every sectors that will prepare the areas to become Lampang Creative Livable City that is creating an ecosystem of Lampang Creative Livable City by consisting of 3 main components, namely
1) Cultural costs
2) people/a driven person
3) marketing In the process, the stakeholders were brought to co-analyze the action plans, driving goals and mechanisms or the ways to drive Lampang Creative Livable City, which the analysis has also been used data that the project was analyzed a gap of policy or plans in developing Lampang city towards driving the city into a creative livable city, which this created a driving action plan that supports the creation of ecosystems.

5. To develop a prototype for a creative livable space The potential for a creative livable city prototype in areas of Lampang according to the creative livable city indicators, it was found that Lampang residents focused on accessing basic services at all levels (education, public health and safety). To develop the city into a creative livable space, Lampang residents felt that initiatives should build on the creative capital of the city. In terms of culture, the architecture, the old town, the history, the horse-drawn carriages and the ceramics were the factors deemed to represent a creative livable city in Lampang. In order for the objectives to be realised, residents felt that developers must foster an environment that promotes creativity and livability through the conservation of green areas, supporting the new generation, and opening spaces for cultural expression. The results of the assessment of Lampangs potential and role as a creative livable city found that Lampang is a city that is ready to be developed as a livable space with a high level of creativity. There is an existing infrastructure, cultural capital, resources, strong civil society and support from local authorities that are conducive to such development. In order to develop a prototype for a creative livable space, data was analyzed for the potential and role of the creative livable city in Lampang according to the identified indicators. Analysis found that cultural capital must be inherited. Lampang is a city with a thousand-year history of city building and settlement. It has been a center of travel in every major Thai era. Therefore, it is a diverse city with a huge cultural capital, such as handicrafts, carvings and local recipes. This complements the natural capital, such as kaolin, which is the main raw material of ceramics, and includes knowledge of local learning and processes. There are also many museums and learning resources. However, despite the availability of existing cultural learning areas, Lampang lacks systematic knowledge management. This makes it impossible to communicate and disseminate the local culture and add economic value. Existing capital can only be preserved in those groups with a vested interest. In an area where people are becoming less and less interested in the preservation of culture, that culture must be communicated to the people and made relevant to their everyday lives. This will make them interested in its inheritance, create added value and generate income for the community.

A creative living space is an area with four main components:
1) outstanding cultural capital that is unique, diverse and can add value to the economy, society, culture and environment
2) people or groups of people considered thinkers or creative entrepreneurs. This is an important mechanism for driving creative livable areas
3) Activities that are economically, socially and culturally diversified
4) an environment that encourages creativity and promotes economic, social and cultural activities.

The goals achieved after the completion of the research project were as follows:
1. There were two levels of development mechanism at the area level, namely: a. Creative Livable Neighborhood Mechanism – this included district residents and entrepreneurs in Ta Maoh and Kad Kong, as well as representatives of the Horse-Drawn Carriage Association and Creative Business Group, totaling 40 people. b. Creative Livable Cities Mechanism – this included local government agencies in Lampang Municipality and Khelang Municipality, as well as representatives from the Lampang Provincial Tourism and Sports Office and the Lampang branch of the Tourism Authority of Thailand.
2. The body of knowledge and information to develop a geospatial inspection mechanism for urban mobility, which were: a. Knowledge of Creative Activity Development Guidelines by using potential, cultural capital, human resources and creativity to support creative districts Guidelines for developing creative activities resulting from the preparation of a pilot project and upskill and re-skill development activities of Sub-Project 2: Lampang Creative Citizen Development with a Livable City Concept and Sub-Project 4: Prototype Development of a Creative Living Space. Implementation of the second sub-project on the development and enhancement of new skills (upskilling) and the development of existing skills (re-skilling) of the horse-drawn carriage drivers, creative entrepreneurs, government personnel group, cultural community group and the Kad Kong Ta group. Helping to build capacity and knowledge among Lampang citizens as well as a common understanding of the guidelines for the development of creative activities to support the development of Lampang as a creative livable city. Implementation of the fourth sub-project to develop prototypes for livable areas through creative pilots named ‘Lampang Old Town’ and the ‘Lampang Horse-Drawn Carriage: Spirit of Lampang’, respectively. These originated from participation with Lampang citizens to develop creative activities. These people were directly involved in urban development. The pilot activities were therefore a new set of experiences and knowledge for Lampang citizens that raised awareness and helped them to understand the approach to developing creative livable cities through real-world, hands-on activities. These were achieved through the research project, using Lampang Creative Lab as a central learning platform and conducting experiments in accordance with the development guidelines. b. Knowledge of Participation in Building a Creative City by surveying the area, holding meetings with focus groups, creating pilot activities at the Lampang Creative Lab and through online forums. This was the process of developing the participation of people in all areas by combining the concepts of creative livable cities in every process and activity. This allowed those involved to gain experience and learn the value of participating in urban development according to the guidelines for developing creative activities. It also encouraged them to support the development of a creative livable city in Lampang according to the designed development plan. 3. Urban development knowledge as a Mechanism for the Development of Lampang Creative Livable City, which was used to expand spatial results and propose a spatial policy. a. Indicators for Lampang Creative Livable City were formulated based on related issues in other domestic and international creative livable cities, combined with results from the analysis of the potential of Lampang and opinions of Lampang residents. These were collectively used to determine suitable criteria for indicators that could be used to analyze the potential and readiness of Lampang City. The researchers obtained important information to formulate indicators and identify milestones for the development of Lampang that could inform future planning and policy-making for the development of Lampang as a creative livable city. The indicators emerged from the process of joint consideration by those involved in the development of Lampang. This was achieved by organizing a forum to brain

สำหรับสมาชิกเท่านั้น