ชื่อโครงการ
การพัฒนาต้นแบบเชิงธุรกิจการเกษตรน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมพรีเมียม จังหวัดสระบุรีคำสำคัญ
จังหวัดสระบุรี,โคนม,ผลิตภัณฑ์พรีเมียม,ต้นแบบเชิงธุรกิจเกษตรบทคัดย่อ
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2564 ได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ อุปสงค์อุปทานของอุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย ทำให้เสียสมดุลย์โซ่อุปสงค์อุปทาน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมประสบปัญหาการขายน้ำนมดิบเนื่องจากการหดตัวของการบริโภคเพราะการปิดเมืองและโรงเรียนคณะผู้วิจัยพบว่าจังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่การเลี้ยงโคนมหนาแน่นมากกว่าสี่พันครัวเรือน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่ประกอบอาชีพมายาวนานและมีประสบการณ์การสำรวจพบว่าส่วนหนึ่งมีความสามารถผลิตน้ำนมดิบคุณภาพสูง การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของน้ำนมคุณภาพพรีเมียมจึงเป็นโอกาสในการพัฒนาต้นแบบธุรกิจการเกษตรน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมพรีเมียมจังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์นมพรีเมียมในตลาดใหม่ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้สามารถทดลองผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง โครงการได้คัดเลือกองค์การเกษตรกรที่มีสมาชิกเกษตรกรซึ่งสามารถผลิตน้ำนมคุณภาพสูงและมีความสนใจในการเข้าร่วมเรียนรู้และพัฒนาการผลิตควบคุมคุณภาพและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์นมพรีเมียมเพื่อสร้างต้นแบบธุรกิจนมพรีเมียมสระบุรี โครงการได้พัฒนาเกิดกลุ่มเครือข่ายการเรียนรู้ได้อย่างน้อยสามกลุ่ม ที่สามารถเป็นต้นแบบธุรกิจฟาร์มโคนมที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์นมคุณภาพสูง เช่น นมสดพลาสเจอร์ไรซ์ นมเปรี้ยว กรีกโยเกิร์ต โดยเกษตรกรที่ผลิตน้ำนมคุณภาพพรีเมียม จะมีรายได้ส่วนเพิ่ม 33 เปอร์เซ็นต์ จากราคาฐานเดิมเมื่อขายวัตถุดิบอย่างเดียว แต่เมื่อเกษตรกรนำวัตถุดิบมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมสดพาสเจอร์ไรส์ขายตรงต่อผู้บริโภค ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 455 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับรายได้จากการขายวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว การสำรวจความต้องการของผู้บริโภคและการทดสอบตลาดพบว่าผู้บริโภคให้ความสนใจผลิตภัณฑ์นมพรีเมียมในเชิงคุณค่าอาหาร เช่น โปรตีนสูง ไขมันสูงและน้ำตาลต่ำ ผลสำรวจพบว่าผู้บริโภคร้อยละ 75 ยินดีจ่ายราคาเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์นมพรีเมียม ส่วนการพัฒนาตลาดออนไลน์ผ่านเพลทฟอร์มกลุ่มไลน์สมาชิกผู้บริโภคนมจุฬาพรีเมียมมิลค์เป็นช่องทางการตลาดที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดีแต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องจัดจุดจำหน่าย รวมถึงนิทรรศการเพื่อการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด งานวิจัยได้นำเสนอความเป็นไปได้ของธุรกิจทั้งสองรูปแบบ คือรูปแบบสหกรณ์และรูปแบบฟาร์มเกษตรกร การศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีความหลากหลายและแตกต่างในพื้นฐานกรอบแนวคิดมีความกังวลในการดำเนินธุรกิจใหม่โดยเฉพาะในด้านการตลาดและการลงทุน องค์กรเกษตรกรแต่ละแห่งมีนโยบาย และความเข้าใจพื้นฐานธุรกิจที่แตกต่างกัน ดังนั้นการสื่อสารกับสหกรณ์ผ่านผู้บริหารขององค์กรอาจไม่สามารถคัดเลือกฟาร์มเกษตรกรที่มีศักยภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามจุดมุ่งหวังของโครงการฯ อย่างไรก็ตามโครงการได้รับความเห็นชอบและมีข้อเสนอแนะในเชิงบวกจากองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวของกับการเลี้ยงโคนมในพื้นที่จังหวัด พบว่าหลายหน่วยงานในจังหวัดมีความเห็นร่วมกันว่าต้องอาศัยกลไกการขับเคลื่อนธุรกิจผลิตภัณฑ์นมพรีเมียมสระบุรีให้เป็นรูปธรรมได้โดยผ่านการบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดสระบุรี
Title
Agri-business model development for Saraburi premium dairy productsKeywords
Saraburi province,Dairy cow,Premium products,Agri-business modelAbstract
Abstract The COVID-19 pandemic situation has affected the demand-supply chain of the dairy farming industry in Thailand since the beginning of 2021, causing this chain imbalance. Dairy farmers have struggled with raw milk sales due to shrinking consumption because of city and school closures. Our study indicated that Saraburi province is an intensive dairy farming area of more than four thousand dairy holders. Dairy farmers in the area have a long and experienced career. Surveys have shown that some are capable of producing high-quality raw milk. The development of a new value chain of premium quality milk is therefore an opportunity to develop a model of agribusiness in Saraburi province and nearby. We expect the new channel to increase income for farmers and encourage entrepreneurs to have the opportunity to develop premium milk products in new markets as well as give consumers the opportunity to try the high-quality products. The project has selected dairy cooperatives with members of farmers who can produce high-quality milk and are interested in participating in learning the processes of production, quality control, and development of Saraburi premium dairy products. The project has developed at least three educational network groups that can be models for dairy farming businesses that are able to produce high-quality products including pasteurized fresh milk, fermented milk, and Greek yogurt, which can increase their incomes by 455% compared to raw milk sales revenue alone. Consumer surveys and market testing reveal that consumers are interested in our premium dairy products in terms of nutritional value such as high protein, high fat, and low sugar. A survey finds that 75% of consumers are willing to pay more for premium dairy products. An online marketplace through a Facebook platform or the Chula Premium Milk Consumers Line group is a good starting marketing channel. However, there is a need to organize sales points and exhibitions for knowledge and public relations in terms of marketing promotion. The research presents the feasibility of both types of businesses, both cooperative and farmer models. The study found that dairy farmers are diverse and different in fundamentals, conceptual frameworks, and readiness to add new businesses with concerns about marketing and investment. The policy and administrative cooperatives are a crucial influence on farmer participation in this program. The communication with cooperatives through corporate executives may not be able to properly select potential farmers according to the researchers aims. However, the project has been approved and has positive recommendations from organizations and agencies related to dairy farming in the provincial area. Many departments in the province agree that they need to drive premium Saraburi milk products to be concrete through the provincial strategic plan.