ชื่อโครงการ
การสร้างกลไกการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพในภาคเหนือให้มีขีดความสามารถในการปรับตัวสู่ความยั่งยืน และยกระดับสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนระดับโลกหลังวิกฤติสถานการณ์ COVID - 19คำสำคัญ
ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ,ห่วงโซ่คุณค่าสุขภาพ,เศรษฐศาสตร์สุขภาพ,เชียงใหม่ การยกระดับอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ,การพัฒนาเมืองสุขภาพ,การแพทย์และสุขภาพ,แผนและแนวทางการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม,อุตสาหกรรมทางการแพทย์,อุตสาหกรรม อาหารเพื่อสุขภาพ,อุตสาหกรรมเกษตร,อุตสาหกรรมสมุนไพร,อุตสาหกรรมท่องเที่ยว,การให้คำปรึกษา,เมืองสุขภาพ,ศักยภาพ,มาตรฐาน,สร้างความเชื่อมั่นบทคัดย่อ
โครงการ “การสร้างกลไกการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพในภาคเหนือให้มีขีดความสามารถในการปรับตัวสู่ความยั่งยืน และยกระดับสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนระดับโลกหลังวิกฤติสถานการณ์ COVID – 19”ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีวัตถุประสงค์หลัก 7 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและวิเคราะห์ศักยภาพความพร้อมของการพัฒนาศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติของเชียงใหม่ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า 2) เพื่อประเมินความเสี่ยงและพยากรณ์แนวโน้มในอนาคตของการพัฒนาศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติของเชียงใหม่ และนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะนโยบาย 3) เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของแผนและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับสถานการณ์การฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4) เพื่อจัดทำภาพรวมแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการลงทุนให้เหมาะสมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 3 อุตสาหกรรม และเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมายและขับเคลื่อนสู่เชียงใหม่เมืองสุขภาพ 5) เพื่อจัดทำมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Medical & Wellness Tourism Standard) และจัดทำหลักสูตร และจัดอบรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Medical & Wellness Tourism) ให้มีขีดความสามารถในการปรับตัว หลังวิกฤตการณ์ COVID-19 เพื่อรองรับการเป็น Medical & Wellness City ของเชียงใหม่ 6) เพื่อสร้างตราสินค้า (Branding) และส่งเสริมการตลาด (Marketing) ของธุรกิจที่พัก Chiang Mai Medical & Wellness City และ 7) เพื่อจัดตั้งหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือและเครือข่ายกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านสุขภาพและสุขภาวะ รวมทั้งด้านการแพทย์ของเมือง ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพและความพร้อมของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรครบทั้งหมด 4 ด้าน แต่เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโรคระบาดโควิด -19 ที่แพร่ระบาดตั้งแต่ปีค.ศ. 2019 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบให้จำนวนนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติและในประเทศไทยที่เดินทางเข้ามาจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติจำเป็นต้องมีการกระตุ้นและผลักดันเมือง Wellness City จึงจะสามารถผลักดันให้จำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาสู่สภาวะปกติได้ภายในปี ค.ศ. 2024 ผลการศึกษาการยกระดับอุตสาหกรรมด้านสุขภาพเพื่อการขับเคลื่อนสู่เชียงใหม่เมืองสุขภาพ พบว่า คณะวิจัยได้ยกระดับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 30 ราย และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ยกระดับแนวคิด เครื่องมือและแนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 15 กิจการ และเกิดภาพรวมแผนและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการเพื่อตอบสนองกับสถานการณ์การฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จำนวน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม และยังก่อให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสุขภาพเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน 1 เครือข่าย สำหรับผลการศึกษาChiang Mai City of Wellness : การพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวหลังวิกฤตการณ์ COVID-19 พบว่า คณะวิจัยได้จัดทำคู่มือมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยวของธุรกิจที่พัก (Hotel + Hospital) เพื่อให้ธุรกิจที่พักมีขีดความสามารถในการปรับตัวหลังจากวิกฤตการณ์ COVID-19 ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และยังได้เครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจที่พักในจังหวัดเชียงใหม่ ได้หลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรด้านที่พัก รวมถึงการสร้าง Brand DNA ของ Chiang Mai City of Wellness นั่นคือคำว่า “Recreation” และได้ออกแบบโลโก้ที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ รวมถึงจัดทำคู่มือการใช้แบรนด์ Chiang Mai City of Wellness พร้อมทั้งจัดทำแนวทางดำเนินการส่งเสริมการตลาดผ่านช่องทางสื่อสาร Social Media รวมทั้งการจัดทำแอปพลิเคชันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวในอนาคต ผลการศึกษาที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพในภาคเหนือให้มีขีดความสามารถในการปรับตัวสู่ความยั่งยืน และยกระดับสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนระดับโลก โดยการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะขึ้นเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือและเครือข่ายกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรทั้งในเชียงใหม่และจังหวัดอื่น เช่น โรงพยาบาล โรงแรม สปา ร้านอาหาร และผู้ประกอบการอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อโครงการวิจัยเสร็จสิ้น ผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยหรือต้องการติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บ่มเพาะ
Title
Creating an Medical and Wellness Industrial Development Mechanism in the North of Thailand to have the Capacity to Adapt to Sustainability and Upgrade to Building a Sustainable Global Competitiveness after the COVID -19 CrisisKeywords
Medical Hub,Medical Value Chain,Health Economics,Chiang Mai Development of health industry,Health and wellness city development,Medical and Wellness,Technology & innovation plan,Medical industry,Tourism Industry,Food for health industry,Agriculture industry,Herb industry,Mentoring,Chiang Mai City of Wellness,Potential,Standard,ConfidenceAbstract
The project “Creating an Medical and Wellness Industrial Development Mechanism in the North of Thailand to have the Capacity to Adapt to Sustainability and Upgrade to Building a Sustainable Global Competitiveness after the COVID -19 Crisis” under research funding from Thailand Science Research and Innovation (TSRI) and Program Management Unit on Area Based Development (PMU A) has 7 main objectives as follows: 1) to study the structure and analyze the readiness potential of developing the Chiang Mai Medical Health Hub as well as the value chain 2) to assess risks and forecast future trends of the development of the Chiang Mai Medical Health Hub and lead to the preparation of policy recommendations 3) to raise awareness of the importance of plans and guidelines to promote the use of technology and innovations of entrepreneurs that suit to the urgent rehabilitation situation after the pandemic of Coronavirus Disease 2019 4) to create an overview of guidelines for promoting the use of technology and innovation and investment that suit to 3 targeted industry groups and entrepreneurs networking in the target industries and drive to Chiang Mai Medical Health Hub 5) to set the Medical & Wellness Tourism standard and to develop a training course to promote and develop the potential of Medical & Wellness Tourism entrepreneurs to have a better capacity to adapt after the COVID-19 crisis to support to be Medical & Wellness City of Chiang Mai 6) to create a branding and promote marketing of accommodation business for the Chiang Mai Medical & Wellness City and 7) to establish a central unit for the collaboration network with stakeholders in health and wellness including citys medicine. The results revealed that Chiang Mai Province has the potential and readiness of the comprehensive medical industry in all 4 Hub. But due to the situation of the Covid-19 epidemic virus that had spread since the year Since 2019, the number of international and Thai Wellness tourists arriving in Chiang Mai had significantly decreased. Therefore, to develop Chiang Mai into the Chiang Mai Medical Health Hub, it is necessary to stimulate and push the city into a Wellness City so that the number of tourists can return to normal by 2024. The results of the study on upgrading the wellness industry to drive towards Chiang Mai Wellness City found that the research team had upgraded 30 entrepreneurs in the targeted industries. And entrepreneurs in the targeted industries had upgraded concepts, tools and business development guidelines with technology and innovations 15 businesses. And formed an overview of plans and guidelines to promote the use of technology and innovations suitable for entrepreneurs to respond to the urgent rehabilitation situation after the epidemic of COVID-19 for 5 industrial groups. It also creates a network of tourism and wellness industry entrepreneurs to drive the economy with sustainable innovation 1 network. The study of Chiang Mai City of Wellness: developing potential and Health Safety Standards to build tourist confidence after the COVID-19 crisis was found that the research team had created a guide to health safety standards for tourists of accommodation businesses (Hotel + Hospital) to provide accommodation businesses with the capacity to adapt after the COVID-19 crisis both online and offline. And the results also had a network of accommodation business entrepreneurs in Chiang Mai, set a courses to promote and develop the potential of entrepreneurs and staff in accommodation sector. Moreover, the research team created of the brand DNA of Chiang Mai City of Wellness that is “Recreation” and designed a logo that represents the brand, including created a brand manual for Chiang Mai City of Wellness, preparing guidelines for marketing promotion through social media, as well as creating an application to build trust among tourists in the future. The results obtained from this research can be used as a guideline for the development of the medical and wellness industries in the northern region to have the ability to adapt to sustainability and elevate them to create globally sustainable competitiveness by establishing an incubator as a central unit to coordinate cooperation and network with stakeholders, including government agencies, private sectors, Chiang Mai University and entrepreneurs in the integrated medical industry in Chiang Mai and other provinces such as hospitals, hotels, spas, restaurants and other entrepreneurs, etc. Once the research project is completed, entrepreneurs or individuals who wish to take advantage of the research or would like more information can contact the incubator.