การพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตรเมืองเชียงใหม่

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 28 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640032
นักวิจัย นายทัพไท หน่อสุวรรณ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย เชียงใหม่

ชื่อโครงการ

การพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตรเมืองเชียงใหม่

คำสำคัญ

เกษตรในเมือง,ระบบนิเวศเกษตรเมือง

บทคัดย่อ

เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่จะสร้างต้นแบบชุมชนสีเขียว ที่มีแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชน, มีการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน, และการผลิตและการบริโภคพืชอาหารที่ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทางโครงการสามารถจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตรเมืองของเทศเมืองเมืองแม่เหียะและเทศบาลตำบลสุเทพ และผู้ปลูกผักเพื่อนันทนาการและการบริโภคในครัวเรือน โดยดำเนินงานร่วมกับสมาชิกชุมชนมากกว่า 30 ท่าน ผ่านกระบวนการ (1) การสร้างความเข้าใจแนวคิดการในการพัฒนานิเวศเกษตรเมืองกับเทศบาล และชุมชน (2) การจัดการศึกษาดูงานและอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในพื้นที่ (3) การสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหาวัสดุเกษตร (4) การจัดตั้งกลุ่ม LINE เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก และ (5) การพัฒนารูปแบบธุรกิจชุมชน และช่องทางการตลาด และการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP) และการรับรองสารเคมีตกค้างในผลผลิตด้วยกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (AGtrace คณะเกษตรศาสตร์ มช.) จากการดำเนินงานสามารถเพิ่มพื้นปลูกพืชผักของชุมชนได้ ทั้งสิ้น 1,350 ตารางเมตร ในรูปแบบ แปลงปลูก บล็อกปลูก กระถาง ถุงปลูก เปล บนชั้นวาง โต๊ะปลูก ภายใต้โครงหลังคา เป็นต้น โดยเฉลี่ยมีพื้นที่ปลูก 37.91 ตรม./ครัวเรือน พบว่า ผลิตภาพ (มูลค่าผลผลิตต่อตารางเมตร ระหว่าง พ.ย.-มี.ค.) ของสมาชิกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 56.53 บาท/ตรม. เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงสาธิตของสถานีวิจัยระบบทรัพยากรเกษตรอยู่ที่ 100.40 บาท/ตรม. โดยมีสมาชิก 9 รายได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติการเกษตรที่ดี สมาชิกกลุ่มสามารถร่วมกันพัฒนารูปแบบธุรกิจของตนเอง มีการสร้างโล้โก้ของกลุ่ม และประชาสัมพันธ์กลุ่มผ่าน Facebook และทางโครงการยังได้พยายามพัฒนาช่องทางตลาดผ่าน LINE “ขายผักใกล้ฉัน” แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากไม่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของสมาชิกโครงการ เพื่อขยายผลการปฏิบัติ ทางโครงการยังได้จัดงานเสวนา “เหลียวหลัง แลหน้า วิถีเกษตรเมือง” โดยมีตัวแทนของเทศบาล องค์กรพัฒนาเอกชน ตัวแทนสมาชิกโครงการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นผ่านการพัฒนานิเวศเกษตรเมือง โดยสมาชิกได้สะท้อนถึงความต้องการจากเทศบาลในการหนุนเสริมกิจกรรมของชุมชนผ่านการพัฒนาตลาด และการบรรจุการส่งเสริมเกษตรเมืองในแผนพัฒนาท้องถิ่น

Title

Development of Pesticide-free Vegetable Production Systems in Chiang Mai’s Urban Agroecology

Keywords

Urban Agriculture,Urban Agroecology

Abstract

In order to achieve green community models consisting of (1) sources of safe vegetable dietaries, (2) community economic development, and (3) environmental-friendly processes for consumption and production, this project organized 2 pesticide-free producer groups in urban agroecology of Mea Hia and Suthep municipal areas, an grower group for recreation and home consumption by the collective participations of over 30 selected members and municipality offices. This project created a better understanding for urban agroecology development to municipal staffs and community leaders. The community members voluntarily applied to this project through community leaders, municipal staffs and online channel. Under the local situation of COVID-19 dispreads, the members participated in the online excursion and workshops. The selected members were supported the budget to procure the production factors. This project and the member sat up a group LINE to interact and share knowledge. Lastly, the members participate in workshop to develop business model, market channels. The members’ production process was certified by GAP (Good Agricultural Practice) standard and the member vegetable products were certified by AGtrace (Agricultural product traceability, Faculty of Agriculture, CMU). The results of this project process could extend 1,350 m2 of community growing area by several plot models, for instance, soil plot, plot blocks, growing pots, growing bags, growing table, small greenhouse by averaging 37.91 m2 per household. The productivity (by value, Baht) between November, 2021 to March, 2022 was 56.53 Baht/m2 in comparison to 100.40 Baht/m2 at the research station productivity. Nine of community members got the GAP certification. Two pesticide-free producer groups developed LOGO and advertised via Facebook. This project attempted to develop LINE chatbot “Sale vegetable near me” but it was not successful because the developed platform was not corresponded with ways of life. In order to extend the results, this project conducted seminar publicly titled “Look backward, Forward, Way of Urban agriculture”. The representatives from municipality offices, NGOs, and community members shared knowledge and developmental perspectives to audiences. In the seminar, the community members gave opinions and requirement to municipal offices for supporting pesticide-free community market and regulation of urban agriculture in local development plant.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น