การยกระดับการศึกษาด้วยนวัตกรรมท้องถิ่นเพื่อคุณภาพการศึกษาของเด็ก เยาวชนและ คนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 35 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F630044
นักวิจัย รศ.ดร. วรรณวีร์ บุญคุ้ม
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship FS 22: Education Sandbox (พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กาญจนบุรี

ชื่อโครงการ

การยกระดับการศึกษาด้วยนวัตกรรมท้องถิ่นเพื่อคุณภาพการศึกษาของเด็ก เยาวชนและ คนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ

นวัตกรรมท้องถิ่น,การยกระดับการศึกษา

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัยเรื่อง “การยกระดับการศึกษาด้วยนวัตกรรมท้องถิ่นเพื่อคุณภาพการศึกษาของเด็ก เยาวชนและคนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี” กำหนดวัตถุประสงค์ของชุดโครงการไว้คือ

1) เพื่อออกแบบให้ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทั้งผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยเพื่อยกระดับการศึกษาด้วยนวัตกรรมท้องถิ่น
2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติที่ดีและถอดบทเรียน
3) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากการดำเนินงานชุดโครงการวิจัย
4) เพื่อจัดทำคู่มือเผยแพร่นวัตกรรมจากการวิจัยในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาแบบออนไลน์

ในชุดโครงการประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 6 โครงการ ซึ่งอาศัยเหตุผลเชิงทฤษฎีในการยกระดับการศึกษาที่ต้องครอบคลุมถึงองค์ประกอบสำคัญของการจัดการศึกษาคือ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครู การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน สื่อเทคโนโลยี และการพัฒนาผู้เรียน โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนให้สูงขึ้น เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรีที่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ชุดโครงการวิจัยยังมุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการแสวงหาความรู้และการทำงานอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสในการเรียนรู้และโอกาสในงานอาชีพเพิ่มมากขึ้น อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต พัฒนาครูให้กล้าคิดและสามารถออกแบบหลักสูตรรวมถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ โดยการนำของผู้บริหารที่พร้อมนำการเปลี่ยนแปลงและความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เสี้ยงในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน เป็นความพยายามในการยกระดับการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีทั้งระบบ สำหรับโครงการวิจัยย่อยทั้ง 6 โครงการประกอบด้วย

1) การศึกษาการสร้างระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
2) การพัฒนาหลักสูตร พหุวิทยาการและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพเชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและการเรียนรู้เชิงผลิตภาพของผู้เรียนในจังหวัดกาญจนบุรี
3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของครูโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี
4) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี
5) การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและการจัดการความรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และทักษะเชิงวิชาชีพของผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
6) การพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมนักเล่าเรื่องสื่อความหมาย และนันทนาการชุมชนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนในจังหวัดกาญจนบุรี

ในการดำเนินการวิจัยของโครงการวิจัยย่อยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบ การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธีวิจัย (Mixed Methods) เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากโรงเรียนนำร่อง 41 โรงเรียน และโรงเรียนนอกรายชื่อโรงเรียนนำร่องในจังหวัดกาญจนบุรีอีก 13 โรงเรียน รวม 54 โรงเรียน เพื่อให้ได้ผลผลิต (Output) สำคัญคือนวัตกรรมทางการศึกษา 6 นวัตกรรมที่ผ่านการรับรองและทดลองใช้ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีและสามารถนำไปต่อยอด ขยายผลได้ เกิดผลลัพธ์คือ สถานศึกษาไม่น้อยกว่า 50 แห่งในจังหวัดกาญจนบุรีมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนสูงขึ้น และเด็ก เยาวชน คนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีมีโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น สรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาของชุดโครงการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ผลการพัฒนานวัตกรรม 6 โครงการ ผลการศึกษาการปฏิบัติที่ดี ผลการถอดบทเรียน ที่รวบรวมข้อมูลจากการจัดประชุมร่วมกับ Core Team ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ จากการจัดเวทีนำเสนอนวัตกรรมร่วมกับพื้นที่และเสวนาแบบออนไลน์ และจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการวิจัย และการจัดทำคู่มือเผยแพร่นวัตกรรมจากการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลการออกแบบพัฒนานวัตกรรม ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 เพื่อออกแบบให้ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้แก่ ผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยเพื่อยกระดับการศึกษาด้วยนวัตกรรมท้องถิ่น เกิดผลผลิตจากการวิจัยที่ผ่านการรับรองและพร้อมขยายผลคือ นวัตกรรมทางการศึกษา 6 นวัตกรรม ประกอบไปด้วย นวัตกรรมที่

1) ระบบกลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี นวัตกรรมที่
2) รูปแบบหลักสูตรพหุวิทยาการและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและการเรียนรู้เชิงผลิตภาพของผู้เรียนในจังหวัดกาญจนบุรี นวัตกรรมที่
3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของครูโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี นวัตกรรมที่
4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้นวัตกรรมของผู้เรียนในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี นวัตกรรมที่
5) รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและการจัดการความรู้เพื่อ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และทักษะเชิงวิชาชีพของผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และนวัตกรรมที่
6) รูปแบบการสร้างนวัตกรรมนักเล่าเรื่อง สื่อความหมาย และนันทนาการชุมชนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนในจังหวัดกาญจนบุรี

ผลการพัฒนานวัตกรรมของโครงการวิจัยย่อยทั้ง 6 โครงการ มีข้อค้นพบที่สำคัญดังนี้ 1. พบองค์ประกอบของระบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่
1) ระบบการบริหารจัดการเครือข่าย
2) ข้อตกลงหรือพันธสัญญาในเครือข่าย

รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ในด้าน เกณฑ์และตัวชี้วัดระบบ กลไก รูปเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา ได้แก่

1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ นโยบาย แผนกลยุทธ์ สมรรถนะผู้บริหาร บทบาทของครู บทบาทของกรรมการสถานศึกษา ภาคีเครือข่าย และโครงสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี ได้แก่ การมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมประจำปีร่วมกับภาคีเครือข่าย มีการดำเนินการตามแผน มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และมีการรายงานความสำเร็จให้ภาคีเครือข่าย
3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย นวัตกรรมการบริหาร นวัตกรรมการจัดการเรียนการรู้ของครู นวัตกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

2. ทักษะสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครูควรได้รับการพัฒนาปรับปรุงทักษะเดิม (Upskill) ได้แก่ การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรเชิงระบบ (Curricula Development) และการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (Curriculum Implementation) ทักษะด้านการพัฒนาหลักสูตรที่ครูควรได้รับการเพิ่มทักษะใหม่ (Reskill) ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมด้านหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ และการประเมินหลักสูตร โดยทักษะด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ครูควรได้รับการปรับปรุงทักษะเดิม (Upskill) ได้แก่ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การประเมินการเรียนรู้เชิงรุก ทักษะด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ครูควรได้รับการเพิ่มทักษะใหม่ (Reskill) ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบ (Instructional System Design) และการพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการสอน (Teaching Model) ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้ครูสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของครูโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ สาระและกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่

1) ร่วมเรียนรู้
2) นำสู่การปฏิบัติ
3) ติดตาม หนุนเสริม
4) สะท้อนผล

ผลการศึกษาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัย พบว่า สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมของครูรวมทั้งสมรรถนะด้านการวิจัยอยู่ในระดับดี โดยนวัตกรรมการศึกษาของครูส่วนใหญ่เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์นวัตกรรมที่สะท้อนความรู้ และทักษะของผู้เรียน 4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล มี 4 องค์ประกอบ คือ

1) บุคคลที่เกี่ยวข้อง
2) เป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3) เนื้อหาภูมิปัญญาท้องถิ่น
4) แอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล

กระบวนการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล มี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย

ขั้นตอนที่ 1 แนะนำชี้แจง สร้างสังคมเครือข่าย
ขั้นตอนที่ 2 อบรมเรียนรู้ มุ่งสู่นวัตกรรม
ขั้นตอนที่ 3 สำรวจภูมิปัญญา วิธีการดำเนินชีวิต
ขั้นตอนที่ 4 สร้างสรรค์ผลงาน ถ่ายทอดเรื่องราวท้องถิ่น
ขั้นตอนที่ 5 เผยแพร่ความรู้ มุ่งสู่อาชีพ

5. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและการจัดการความรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และทักษะเชิงวิชาชีพของผู้เรียนเป็นการบูรณาการกระบวนการของชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) และการจัดการความรู้ (KM) เข้าด้วยกัน มี 6 ขั้นตอนที่ครูเป็นผู้ดำเนินการคือ

1) รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน
2) ร่วมคิดออกแบบพัฒนา
3) นำไปทดลองใช้
4) วิเคราะห์ผล สะท้อนกลับ
5) ทดลองใหม่ หาแนวทางพัฒนา
6) จัดระบบความรู้ในสิ่งใหม่

โดยในขั้นตอนที่ 3 ของ PLC ได้ประยุกต์ใช้กระบวนการ KM 6 ขั้นตอนที่นักเรียนต้องปฏิบัติคือ

1) การกำหนดเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการรู้
2) การแสวงหาความรู้
3) การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ
4) การวิเคราะห์และกลั่นกรองความรู้
5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6) การประยุกต์ใช้ความรู้

โดยรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและการจัดการความรู้ที่พัฒนาขึ้นนี้ผ่านความเห็นชอบของผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก และผลจากการทดลองใช้พบว่าสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

6. ผลการค้นหา คัดเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อมในการพัฒนานักเล่าเรื่องจากการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีในชุมชนรอบโรงเรียน ได้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 15 แหล่ง ได้หลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมนักเล่าเรื่อง เป็นหลักสูตรฝึกอบรม 2 วัน ประกอบด้วยภาคทฤษฎี 6 ชั่วโมงและภาคปฏิบัติ 6 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง โดยผลการพัฒนารูปแบบการสร้างนักเล่าเรื่อง สื่อความหมาย และกิจกรรมนันทนาการชุมชนได้รูปแบบ “EDU-KANS Model” ประกอบองค์ประกอบสำคัญคือ

1) Effort – E (ความอุตสาหะ)
2) Driving Forces – D (แรงขับ/พลังภายใน)
3) Universal – U (ความเป็นสากล)
4) Knowledge Inquiry for Experience – K (การแสวงหาความรู้จากประสบการณ์)
5) Attraction -A (แหล่งท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์)
6) Networking – N (เครือข่ายวิชาการ)
7) Self – developing -S (การพัฒนาตนเอง)

ที่ผ่านการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับกิจกรรมนันทนาการชุมชนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์บอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ใช้วิธีการประเมินผลจากการสร้างชิ้นงานที่ของผู้เรียนแต่ละกลุ่มภายหลังการอบรม 4 ครั้ง พบว่า ผู้เรียนสามารถสร้างบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของจังหวัดกาญจนบุรีได้สำเร็จกลุ่มละ 1 เกม สามารถคิดเรื่องราวทั้งทางประวัติศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดกาญจนบุรีได้ในระดับดีมาก สรุปความเชื่อมโยงของนวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็นผลผลิตของชุดโครงการวิจัย รวมทั้งผลลัพธ์ที่ได้จากชุดโครงการวิจัย ดังแสดงในแผนภาพ ก แผนภาพ ก ความเชื่อมโยงของผลผลิตและผลลัพธ์จากชุดโครงการวิจัย จากแผนภาพ ก นวัตกรรมที่เป็นผลผลิตจากชุดโครงการวิจัย 6 นวัตกรรม ได้แก่

1) ระบบกลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษา
2) รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรพหุวิทยาการ
3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู
4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยแอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล
5) รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและการจัดการความรู้
6) รูปแบบการสร้างนักเล่าเรื่อง สื่อความหมาย และนันทนาการชุมชน

ซึ่งได้พัฒนาและทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีผู้บริหารโรงเรียนและครูเป็นหลักในการนำนวัตกรรมไปใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนให้สูงขึ้น ให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ผ่านกระบวนการจัดการศึกษาและกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งทั้ง 6 นวัตกรรมนี้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างประสบผลสำเร็จได้เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนสำคัญซึ่งเป็นศักยภาพของพื้นที่ที่เห็นผลชัดเจนขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากการรว่มมอกันในการดำเนินงานชุดโครงการวิจัย ได้แก่ การมีแกนนำหลัก (Core Team) มีผู้นำต้นแบบ (Leadership) ซึ่งสมรรถนะสำคัญของผู้บริหาร อาทิ การเป็นผู้นำที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) มีวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership) รู้จักเสริมพลัง (Empowering) ให้กับผู้ปฏิบัติงาน มีการบริหารองค์กรแนวราบ (Horizontal administration) มีการสร้างเครือข่าย (Networking) การมีระบบพี่เลี้ยง (Coaching System) ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยหนุนเสริมและผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมการศึกษาในพื้นที่ให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะในโรงเรียนต้นแบบที่เป็นแกนนำ (Leading School) ที่ร่วมพัฒนานวัตกรรมการศึกษาครั้งนี้ สำหรับผลลัพธ์ของชุดโครงการ คือนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนำร่อง 41 โรงเรียน และโรงเรียนนอกรายชื่อโรงเรียนนำร่อง 13 โรงเรียน รวม 54 โรงเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนที่รวมถึงความรู้ สมรรถนะ ทักษะ เจตคติ ให้สูงขึ้น เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็ก เยาวชน และคนในพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งสามารถนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้ โดยในขั้นตอนของการทดลองใช้นวัตกรรมได้ทดลองใช้ในโรงเรียนรวม 27 โรงเรียน ในจำนวนนี้เปีนโรงเรียนนำร่อง 25 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 60.98 ของจำนวนโรงเรียนนำร่องทั้งหมดจาก 41 โรงเรียน และในระยะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อต่อยอดและขยายผลนวัตกรรม มีโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวม 54 แห่ง ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่และนักวิจัยรวม 100 รายชื่อ

2. ผลการปฏิบัติที่ดีและถอดบทเรียน

2.1 ผลการปฏิบัติที่ดีจากชุดโครงการวิจัย ผลจากการศึกษาการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในภาพรวมของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี พบประเด็นสำคัญ ดังนี้
2.1.1 การเติบโตของความคิด (Growth Mindsets) ของผู้บริหารโรงเรียน ของผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา ผู้บริหารเป็นต้นแบบของการปรับเปลี่ยน Mindsets และมี Growth Mindsets
2.1.2 Core Team การมี Core Team (ทีมงานหลัก) หรือผู้นำที่เป็นแกนหลักนับเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ผู้นำทีมจะเป็นผู้ประสานงานหลัก ร่วมวางแผน คอยแนะนำให้คำปรึกษา ร่วมดำเนินการและขับเคลื่อน และติดตามงานให้เป็นตามเป้าหมายของทีมที่กำหนดไว้ Core Team ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนเป็นแกนนำ เกิดเปีน Core Team อย่างไม่เป็นทางการ
2.1.3 การเป็นนวัตกร (Innovator) การพัฒนานัวตกรรมการศึกษาร่วมกันในพื้นที่ทำให้ผู้บริหารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และครู มีนวัตกรรมการศึกษาของตนเองและสามารถผลิตนวัตกรรมได้เอง เป็นการสร้างนวัตกรขึ้นในพื้นที่ ทั้งยังสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เช่นกัน
2.1.4 ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) และผู้นำแห่งการเรียนรู้ (Transformation learning) เป็นสมรรถนะผู้นำของโรงเรียนนำร่องที่กล้าคิดนอกกรอบของการจัดการศึกษาแบบเดิม กล้าคิดใหม่ ลองทำใหม่เพื่อนำไปขับเคลื่อนและปฏิบัติร่วมกับครู ผู้นำจึงนับว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
2.1.5 การจัดการให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกัน (Commitment Management) เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารโรงเรียนของนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่เป็นแกนนำใช้ในการบริหารจัดการให้การพัฒนางานเป็นไปตามนโยบาย เป้าหมาย และพันธกิจขององค์กร โดยคำนึงถึงความต้องการของบุคลากรในองค์กรและภายนอกองค์กร รวมถึงการทำงานของผู้บริหารระดับเขตพื้นที่ในการมุ่งมั่นการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ โดยมีข้อตกลงร่วมกันหรือมี Commitment ร่วมกัน
2.1.6 หุ้นส่วน (Partnership) การเป็นหุ้นส่วนทางวิชาการ (Academic Partnership) ในความร่วมมือทางวิชาการผ่าน MOU (Memorandum of Understanding) และ MOA (Memorandum of Association) ระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่ และระดับโรงเรียน กับมหาวิทยาลัยศิลปากรผ่านการทำงานร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย เปีนศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย และมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติที่ดี นอกจากการเป็นหุ้นส่วนทางวิชาการกับหน่วยงานภายนอกแล้ว การปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรึอีกประการหนึ่งคือ การเป็นหุ้นส่วนร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างโรงเรียนำร่องกับโรงเรียนนำร่อง และระหว่างโรงเรียนนำร่องกับโรงเรียนอื่น ๆ ในพื้นที่ เป็นความช่วยเหลือในลักษณะพี่ช่วยน้อง โดยโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพมากกว่าได้ช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กที่ยังขาดแคลนงบประมาณและบุคลากรเฉพาะด้าน เช่น ขาดครูสอนภาษาชาวต่างชาติ โรงเรียนที่มีความพร้อมได้ให้การช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กโดยการส่งครูชาวต่างชาติไปสอนให้ รวมทั้งสนับสนุนพาหนะในการเดินทางโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ตัวอย่างเช่น โรงเรียน กาญจนานุเคราะห์ที่ให้ความช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ หรือมีความร่วมมือกันในกลุ่มโรงเรียนนำร่องที่รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีความสามารถเฉพาะด้าน เช่น ด้านกีฬามาเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการรับตรงไม่ต้องผ่านกระบวนการสอบคัดเลือก
2.1.7 วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร (Visionary Leadership) ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับโรงเรียนในบางโรงเรียน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการขับเคลื่อนและพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี แม้ว่าจะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ในระยะเริ่มแรก มีการรวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการแต่ก็นำไปสู่แนวคิดใหม่ ๆ ในการจัดการศึกษา เช่น การเปิดหลักสูตรใหม่ มีแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบพรีดีกรี (Pre degree) ร่วมกับมหาวิทยาลัย มีการเปิดโปรแกรมการเรียนที่ตอบสนองความต้องการในการประกอบอาชีพของผู้เรียนมากขึ้น ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่ของพื้นที่ 2.1.8 การให้โอกาสทางการศึกษา การปฏิบัติที่ดีที่นับจุดเด่นที่สำคัญและน่าชื่นชมอีกประการหนึ่งของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีคือ การให้โอกาสทางการศึกษา โดยผู้บริหารโรงเรียนมีนโยบายในการรับนักเรียนที่ออกกลางคันกลับเข้ามาเรียน โดยโรงเรียนรับเด็กกลุ่มนี้เข้ามาเรียนโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน นับเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งในการให้โอกาสทางการศึกษากับผู้ที่ขาดโอกาส ตัวอย่างเช่น โรงเรียน เทพมงคลรังษี ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

2.2 ผลการถอดบทเรียนและการปฏิบิที่ดีจากโครงการวิจัยย่อย สรุปได้ดังนี้
2.2.1 ระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี มีกลไกเชื่อมโยงการทำงานในระดับเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและชุมชนที่เป็นตัวอย่างที่ดี โดยมี Core Team ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารสำงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนงานประสบผลสำเร็จ เกิดการรวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการ และมีทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยสนับสนุน อย่างไรก็ตาม ระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการทำงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีในระยะต่อ ๆ ไป (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาให้มีการขับเคลื่อนอย่างเต็มศักยภาพ โดยมีปัจจัยและเงื่อนไขสำคัญ 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ได้แก่

1) ผู้บริหารสถานศึกษา ที่ต้องเป็นผู้นำที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน สร้างแรงบันดาลใจให้กับครู สร้างเจตคติที่ดีและคิดในเชิงบวก กระตุ้นจิตวิญญาณของครูเพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความต้องการและศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน และแสวงหาภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประสานกับภาคีเครือข่าย เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ กล้าคิด กล้าทำ กล้าปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนจากเดิมเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน สามารถนำปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริง รวมทั้งสามารถประกอบอาชีพได้ตามที่ต้องการ

2) ครู มีส่วนสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นผู้ที่นำแผนปฏิบัติไปสู่การปฏิบัติงานตามภารกิจ รวมทั้งเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ

3) กรรมการสถานศึกษา มีส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากเป็นผู้กำหนดทิศทาง เป้าหมายของสถานศึกษาในระดับนโยบาย รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ บทบาทที่สำคัญอีกประการคือการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง in cash และ in kind เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญมากในการดำเนินงานต่อไป จึงควรมีการทำงานเชิงรุกเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนางานด้านการศึกษาของจังหวัดให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดควรมีการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้รับผิดชอบการขับเคลื่อนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอย่างชัดเจน สร้างเครือข่ายของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เพื่อเชื่อมประสานระหว่างสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา เน้นโครงสร้างการทำงานที่เป็นแนวราบ ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน ลดการรายงานที่ซ้ำซ้อนเนื่องจากเป็นการสร้างภาระงานให้โรงเรียน แต่ขาดการวิเคราะห์หรือนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดการใช้ระเบียบ ข้อบังคับของระบบราชการ เน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว ควรมีการตั้งเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับการศึกษาในภาพรวมของจังหวัด กำหนดคุณลักษณะหรือสมรรถนะของเยาวชน/ผู้เรียนของจังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้ เพื่อให้สถานศึกษาได้วางแผนการดำเนินงานที่มุ่งไปสู่เป้าหมายปลายทางเดียวกัน สำหรับปัจจัยภายนอก ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีประสบผลสำเร็จ ได้แก่ 1) ชุมชน/ผู้ปกครอง 2) หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน สถานประกอบการที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียน ให้การสนับสนุนลักษณะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน สถานฝึกปฏิบัติการ การให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้ คำแนะนำ และฝึกอบรมให้แก่ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ 2) สถาบันการศึกษา/สถาบันอุดมศึกษา มีส่วนสำคัญอย่างมากในบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงหรือโค้ชให้กับสถานศึกษาทั้งในด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning รูปแบบต่าง ๆ 3) ปัจจัยที่สำคัญที่สุดและสถานศึกษามีความต้องการมากที่สุด คือ การกระจายอำนาจให้กับสถานศึกษาเพื่อให้มีอิสระในการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ในด้านการบริหารงานบุคคลโดยเฉพาะการสรรหา และการธำรงรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ การบริหารการเงินและงบประมาณที่คล่องตัวและสามารถตรวจสอบได้ การได้รับความเห็นชอบหลักสูตรสถานศึกษาในมาตรา 25 ตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 จะทำให้สถานศึกษาสามารถปลดล็อคเรื่องการบริหารจัดการหลักสูตร การจัดเวลาเรียน วิธีการวัดและประเมินผล การจัดหาสื่อ อุปกรณ์และตำราเรียนได้ ซึ่งจะทำให้การบริหารวิชาการเป็นไปได้อย่างคล่องตัวและสามารถนำมาปรับใช้ในสถานการณ์วิกฤตโรคระบาด Covid-19 หรือในสภาวการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบในวงกว้างได้อย่างเหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ดังแสดงในแผนภาพ ข แผนภาพ ข ระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

2.2.2 กลไกความสำเร็จในการพัฒนาครูให้มีความสามารถพัฒนาหลักสูตรพหุวิทยาการและการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพ สามารถสังเคราะห์เป็นรูปแบบกระบวนการที่เรียกว่า 4 ส ประกอบด้วยการดำเนินการ 4 ระยะ ได้แก่

1) การสร้างเสริมสัมพันธภาพ
2) การสนับสนุนเติมเต็ม
3) การสร้างสรรค์หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการออกแบบนวัตกรรมผ่านกระบวนการออกแบบ 4 ขั้นตอนย่อย คือ การวิเคราะห์ การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม การนำนวัตกรรมไปใช้ และการประเมินและปรับปรุง
4) การสะท้อนความสำเร็จ โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือ การสร้างความไว้วางใจ การมีส่วนร่วม การสืบสอบและสะท้อนคิดเชิงวิชาชีพ การเสริมพลัง และการให้คำแนะนำ (โค้ช)

2.2.3 ผลการปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนที่เข้าร่วมการวิจัยพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัย พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูและการพัฒนาผู้เรียน และหนุนเสริมโดยให้ความสำคัญและร่วมขับเคลื่อนงานวิชาการ อันเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับการศึกษา โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก มีการขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งโรงเรียน นอกจากนั้น ผู้บริหารโรงเรียนยังได้สะท้อนมุมมองการศึกษาไทยว่า ยุคศตวรรษที่ 21 การศึกษาจะเป็นไปเพื่อมุ่งพัฒนาความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จะใช้ชีวิตประจำวัน Design Thinking เป็นการตอบโจทย์การพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 คือ เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ได้คิดค้น ได้แก้ปัญหา ได้เรียนในสิ่งที่เด็กสนใจ ที่สำคัญที่สุด Design Thinking เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กได้คิดค้น ได้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา ผู้เรียนและคุณครูมีความสุขสนุกสนานกับการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมนี้ จึงน่าจะมีการเผยแพร่สู่โรงเรียน สถานศึกษาต่าง ๆ ให้เกิดกระบวนการเรียนสอนที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กในการที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ นอกจากนั้นยังพบว่า วัฒนธรรมองค์กรที่มีการร่วมมือร่วมพลัง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาวิชาชีพของครูและพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริมให้การนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัย เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของครูโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีไปใช้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และมีข้อสังเกตว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่ครูและผู้บริหารมีการทำงานแบบร่วมมือรวมพลัง การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียน ผ่านกลไกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ทำให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาครูและผู้เรียนที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน

2.2.4 ผลการปฏิบัติที่ดีของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย แอปพลิเคชันแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน พบว่า เป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนในการพัฒนาทักษะความเข้าใจ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) โดยการเข้าถึง (Access) ใช้งาน (Use) เข้าใจ (Understand) และสร้าง (Create) ผลงานออกมา ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ และเกิดทักษะการใช้งานนวัตกรรมสูงขึ้น จากการออกแบบ Infographic ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้เรียนอย่างไร้พรมแดน ไร้ข้อจำกัดในเรื่องเวลา และสถานที่ การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้สอดคล้องกับยุคสมัย ย่อมจะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการค้นคว้า การสืบค้นสารสนเทศ และตัดสินใจด้วยตนเอง และเกิดการยอมรับนวัตกรรม (Innovation acceptance) ใน

2.2.5 การใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและการจัดการความรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และทักษะเชิงวิชาชีพของผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า แนวทางพัฒนา ขับเคลื่อนการนำรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและการจัดการความรู้ฯ ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพคือ การใช้กระบวนการของชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพอย่างจริงจัง สร้างความร่วมมือในระดับโรงเรียนระหว่างผู้บริหาร ครู นักเรียน ชุมชน และความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพอื่นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ และควรมีการติดตามผลระหว่างการปฏิบัติกิจกรรม มีการวางแผนการพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน การมีระบบพี่เลี้ยง และการถอดบทเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อนำไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งต่อไป

2.2.6 ผลการถอดบทเรียนจากการพัฒนานวัตกรรมนักเล่าเรื่อง สื่อความหมาย และ นันทนการชุมชน พบว่า กาญจนบุรีเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นมีเรื่องราวที่สามารถนำมาสร้างเรื่อเล่าได้เป็นอย่างดี ชุมชนเปรียบเสมือนห้องทดลองการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถใช้เวลาว่างในกิจกรรมนักเล่าเรื่อง สื่อความหมาย และนันทนาการชุมชนที่สามารถฝึกฝนทักษะอาชีพได้ด้วยตนเอง สามารถสร้างงาน สร้างรายได้และยึดเป็นอาชีพได้ในอนาคต รวมถึงส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ ผลจากการพัฒนา นักเล่าเรื่อง สื่อความหมาย และนันทนาการชุมชนชี้ให้เห็นว่าการให้อำนาจอิสระในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ด้วยรูปแบบ หลักสูตร คู่มือและการสร้างกลไกความร่วมมือของโรงเรียนในทุกระดับจะเอื้อให้เกิดการออกแบบความคิด สร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ และสร้างนิสัยใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียนที่จะส่งผลต่อสัมฤทธิผลทางการศึกษาของผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้ สรุปผลการถอดบทเรียนจากชุดโครงการวิจัยในประเด็นบทเรียนที่ได้รับ ปัจจัยความสำเร็จ ประโยชน์ที่ได้รับ แนวทางพัฒนาในอนาคต จุดเด่นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังแผนภาพ ค แผนภาพ ค ผลการถอดบทเรียนของชุดโครงการวิจัย

3. ผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ ผลจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ของชุดโครงการวิจัย ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม 2563-กรกฎาคม 2564 พอจะสรุปองค์ความรู้และภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ผ่านนวัตกรรมการศึกษาซึ่งโรงเรียนและนักวิจัยได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ซึ่งนับเป็นปีแรกของการดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีอย่างเป็นรูปธรรม นับจากกการประกาศใช้พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในปี 2562 โดยในระยะแรกของการวิจัยซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลบริบทและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนได้ศึกษาครอบคลุมโรงเรียนนำร่องทั้ง 41 โรงเรียน และโรงเรียนนอกรายชื่อโรงเรียนนำร่องอีก 13 โรงเรียน รวม ทั้งสิ้น 54 โรงเรียน ในขั้นพัฒนาและทดลองใช้นวัตกรรม ศึกษาจากโรงเรียนนำร่อง 25 โรงเรียน นอกรายชื่อโรงเรียนนำร่อง 2 โรงเรียน รวม 27 โรงเรียน การพัฒนาและทดลองใช้นวัตกรรมในการวิจัยนี้เกิดจากความต้องการและความพร้อมของโรงเรียนเป็นพื้นฐาน ดังนั้น แต่ละโรงเรียนจึงได้รับการพัฒนาด้วยนวัตกรรมในจำนวนที่แตกต่างกันออกไป บางโรงเรียนได้รับการพัฒนาเพียง 1 นวัตกรรม บางโรงเรียนได้รับการพัฒนา 2-3 นวัตกรรม หรือ 4 นวัตกรรม นวัตกรรมที่ได้จากการวิจัยจึงเปรียบเสมือน Multi Approach ที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันคือ การยกระดับการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีผ่านกระบวนการพัฒนาผู้เรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และเชื่อมร้อยการพัฒนากับการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานระดับจังหวัดในที่สุด โดยหากโรงเรียนมีความพร้อมที่จะใช้นวัตกรรมทั้ง 6 นวัตกรรมอย่างครบถ้วนในปีต่อ ๆ ไป ก็สามารถนำนวัตกรรมที่ได้จากชุดโครงการวิจัยไปใช้ เป็นการขยายผลได้ต่อไป สรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้หารสนถานศึกษา ครู และผู้เรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีจากการใช้นวัตกรรมทางการศึกษาในโรงเรียนที่สำคัญ ๆ ไว้ 6 ประการสำคัญดังนี้

1. การเปลี่ยนแปลงระบบกลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษา ผ่านการบริหารแบบมี ส่วนร่วม (Participatory Management) และการสร้างเครือข่ายกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก (Networking Partners) เป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารการจัดการศึกษา ด้วยระบบ กลไกและเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็นองค์ความรู้การบริหารงานในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับชุมชนและหน่วยงานภายนอก ระดับสถานศึกษา เกิดองค์ความรู้ในเรื่องระบบกลไกการบริหารงาน รวมทั้งการมีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาการศึกษา โดยทางปฏิบัติ ผู้บริหารโรงเรียนได้ให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนพัฒนาการจัดการศึกษาทุกขั้นตอน เป็นการบริหารงานแนวราบ เน้นการมีส่วนร่วม ตั้งแต่การเสนอความคิดเห็น ร่วมดำเนินการ ซึ่งช่วยให้ครูกิดความเข้าใจและเต็มใจปฏิบัติงานมากขึ้น เห็นถึงคุณค่าของผลที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนและโรงเรียน ผู้บริหารสร้างแรงบันดาลใจให้กับครู (Inspiration Motivation) กระตุ้นจิตวิญญาณของครู เพื่อปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนให้มีความหลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นไปตามศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ครูได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาครูตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ในระดับโรงเรียนหรือสถานศึกษา การพัฒนาระบบกลไก เครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมมีการดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้

1. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ และสอดรับกับพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 โดยเปิดโอกาสให้ครู ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียน รวมทั้งกำหนดคุณลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
2. ปรับ mind set ของผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสร้างนวัตกรรรมหรือค้นหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) เป็นฐานสร้างความเข้มแข็งในชุมชมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ขยายความร่วมมือสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมโดยใช้ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ และเป็นทางการในการขอความร่วมมือเพื่อเป็นเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. จัดโครงสร้างเครือข่ายหรือทีมในระดับบโรงเรียน โดยให้มีผู้ประสานงานในเครือ เช่น การทำหลักสูตรและแผนการเรียนการสอนร่วมกันโดยมีครูแกนนำหรือครูพี่เลี้ยง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีร่วมกับเครือข่าย ดำเนินกิจกรรมกับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินผล สะท้อนผล และรายงานผลการดำเนินงานให้กับเครือข่าย
5. ใช้กระบวนการบริหารจัดการในการดำเนินงานตามรูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ยึดหลักการบริหารคุณภาพโดยอาจใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle) ที่ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การปฏิบัติงานตามแผน (Do) การตรวจสอบ ติดตาม (Check) และการปรับปรุงแก้ไข (Act) เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) ของครู ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา (Networking Partners) ระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นองค์ความรู้ของระบบ กลไก เครือข่ายการทำงานที่เปลี่ยนแปลงขึ้นในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาดังนี้

1. สร้างกลุ่มทำงานที่ประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ Core Team ที่มีใจมุ่งมั่น ทุ่มเท มีจิตเป็นธุระ จิตสาธารณะ เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และพร้อมนำการเปลี่ยนแปลง มีความต้องการยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรีให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562
2. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
3. สร้างพันธะสัญญาในเครือข่ายโดยใช้ความร่วมมือร่วมใจอย่างไม่เป็นทางการ กำหนดเป้าหมายภารกิจ และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
4. ระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี เช่น การแบ่งปันทรัพยากร การใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมทั้งการแสวงหาทรัพยากรทางการศึกษาโดยคำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนภาพรวมของจังหวัด ไม่คำนึงถึงขอบเขตหรือสังกัดที่แตกต่าง
5. มีตัวแทนเชื่อมประสานระดับจังหวัดเพื่อผลักดันการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อกำหนดเป้าหมายคุณภาพการศึกษา กำหนดคุณลักษณะหรือสมรรถนะของผู้เรียนร่วมกัน เพื่อให้ระดับเขตพื้นที่และระดับสถานศึกษาได้วางแผนการดำเนินการมุ่งสู่เป้าหมายนั้นอย่างมีทิศทาง
6. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษาชื่นชมผลงาน นวัตกรรมการที่เกิดขึ้นจากผู้บริหาร ครู และนักเรียน ระดับชุมชนและหน่วยงานภายนอก เป็นองค์ความรู้ของการสร้างเครือข่ายกับชุมชนและหน่วยงานภายนอก (Networking Partners) ที่ผู้บริหารสถานศึกษาได้สร้างเครือข่ายกับชุมชนโดยการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นตามโอกาสต่าง ๆ เช่น การเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นวิทยากรในการจัดการเรียนการสอน เป็นการตระหนักถึงความสำคัญของผู้รู้หรือปราชญ์ชาวบ้านและองค์ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและสั่งสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ โดยนำมาถ่ายทอดให้แก่เยาวชน หรือในการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมโดยให้วัดเข้ามามีส่วนร่วมในการอบรมสั่งสอน การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอก เช่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษามีส่วนสำคัญในการสร้างและขับเคลื่อนเครือข่ายที่จะนำความเชี่ยวชาญจากหน่วยงาน องค์กร มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสถานศึกษา ครู และนักเรียน สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในการสร้างเครือข่ายคือ โรงเรียนได้จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรกับหน่วยงานภายนอก รวมทั้งวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทา

Title

Improving Education Potential though Local Innovation for Quality of Education of Children, Youth and People in Kanchanaburi Area

Keywords

Improving Education,Local Innovation,Quality of Education

Abstract

สำหรับสมาชิกเท่านั้น