โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษาระดับจังหวัด ด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ: กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ระยะที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 37 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F630002
นักวิจัย นางประภาภัทร นิยม
หน่วยงาน สถาบันอาศรมศิลป์
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship FS 22: Education Sandbox (พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 2 ปี
สถานที่ทำวิจัย ระยอง

ชื่อโครงการ

โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษาระดับจังหวัด ด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ: กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ระยะที่ 2

คำสำคัญ

พื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษา,กระบวนการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ,ระดับจังหวัด

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษาระดับจังหวัดด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ระยะที่ 2 เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องที่มีขึ้น ให้เป็นต้นแบบของการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมในระดับจังหวัด สามารถนำไปขยายผลในระดับประเทศได้ สถาบันอาศรมศิลป์ ได้ดำเนินงานในปีที่ 2 ระหว่าง พฤษภาคม 2563-สิงหาคม 2564 โดยต่อยอดจากทุนเดิมที่ได้สร้างไว้ในปีที่แล้ว ได้แก่ วางแนวความคิดเรื่องกระบวนการเปลี่ยนโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Transforming) ให้สถานศึกษานำร่องรุ่นที่ 1 จำนวน 25 แห่ง ได้เห็นทิศทางและมีเป้าหมายมีแกนเกาะในการเริ่มพัฒนาสถานศึกษาของตนตาม 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เป้าหมายเดียวกัน เป็นแนวคิดหลักของโรงเรียน ที่เน้นการพัฒนาบนฐานทุนของโรงเรียนเพื่อบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 2)ผู้อำนวยการโรงเรียน ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และนำการบริหารวิชาการ 3)ครูที่เป็นผู้เชี่ยวชาญการจัดกระบวนการเรียนรู้ 4)พื้นที่การเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ 5)การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ 6)หลักสูตรสถานศึกษาที่จัดระบบการเรียนให้ตอบโจทย์/สอดคล้องกับแนวคิดหลักของโรงเรียน และ 7)ระบบการวัดและประเมินผล กระบวนสร้างการเปลี่ยนแปลง เริ่มจากการปรับ mindset ของผู้บริหารและทีมครู ให้ชุดความรู้ทักษะ และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม มีระบบโค้ชพี่เลี้ยงในพื้นที่คอยให้การช่วยเหลือตามบริบทความพร้อมของแต่ละโรงเรียนภายในกรอบการออกแบบการทบทวนเติมเต็มที่ได้มาจากการอบรมปฏิบัติการ ผลของงานวิจัยทำให้สามารถประเมินระดับความสามารถและจัดกลุ่มผู้อำนวยการและครูที่มีศักยภาพให้เป็นโค้ชแกนนำในพื้นที่ ซึ่งทีมวิจัยมองเป้าหมายการสร้างโค้ชแกนนำในพื้นที่ในระยะนี้ จากนั้นดำเนินเปิดรับสมัครโรงเรียนนำร่องรุ่นที่ 2 จำนวน 26 แห่ง เข้าสู่กระบวนการปฏิบัติการวิจัย ภายใต้หลักการของการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Transforming) ตามทฤษฎีของ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) และการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Learning) ซึ่งมีจุดเน้นที่ การบรรลุผลการเรียนของผู้เรียนครบทั้ง 3 ด้าน คือ ทัศนคติเชิงคุณค่า ทักษะการเรียนรู้ และความรู้ เพื่อนำไปสู่สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คณะผู้วิจัยได้ออกแบบชุดเครื่องมือ/กระบวนการวิจัย เพื่อสร้างผู้บริหารการศึกษา ครู และศึกษานิเทศยุคใหม่ ที่มีวิสัยทัศน์ในการมองกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่กว้างขวาง ในความหมายใหม่ที่การเรียนรู้ไม่ได้อยู่เพียงแค่ในห้องเรียน เพื่อเข้าถึงการเรียนรู้และเห็นคุณค่าในการ “เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศการศึกษา” สู่การพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 และเปลี่ยนหลักสูตรสถานศึกษาสู่หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ โดยชุดเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศการศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 7 ชุดการเรียนรู้ ได้ใช้ชุดเครื่องมือที่ 1 ถึงชุดเครื่องมือที่ 3 เพื่อสร้างพื้นฐานสำคัญในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ เพื่อให้โรงเรียนสามารถนำไปจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ผลจากปฏิบัติการวิจัยพบว่า 22 โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษารุ่นที่ 2 (เดิมรุ่นแรกเสนอแล้ว 19 โรงเรียน) สามารถนำเสนอหลักสูตรสถานศึกษาต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับความเห็นชอบและให้นำไปใช้ ผลจากการประเมินยังพบว่าผู้อำนวยการโรงเรียนยังคงเป็นกุญแจสำคัญเป็นผู้นำและผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง มีนวัตกรรมการอบรมแบบจัดเป็นฐานเพื่อกระจายและกำหนดโค้ชแกนนำประจำกลุ่ม ดำเนินการแบบผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้เข้าถึงและเกิดการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด การวิจัยดำเนินการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ระลอกที่ 1 จนถึงระลอกที่ 4 เป็นการระบาดที่รุนแรง จึงขาดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้ จนกระทั่งช่วงท้ายโครงการได้ปรับการทำงานเป็นการติดตั้งกลไกระบบโค้ชในพื้นที่ (Node & Network) สร้างเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนฐานเครือข่ายโดยมีทีมพี่เลี้ยงทางวิชาการคอยสนับสนุนให้คำแนะนำในทุกอาทิตย์ ผ่านกิจกรรม PLC Cluster Coaching Online ซึ่งนับว่าเป็นการขับเคลื่อนที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเกินความคาดหมาย ผลจากการวิจัยครั้งนี้ได้สะท้อนถึงบทเรียนที่สำคัญ ต่อกระบวนการปฏิรูปการศึกษา กล่าวคือ ประการที่ 1 การปฏิรูปผ่านระบบโรงเรียน มีความเป็นไปได้สูง ผู้บริหารโรงเรียนมีอิทธิพลสูงต่อการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ประการที่ 2 สถานศึกษานำร่องเป็นพื้นที่ทดลองการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีหลักฐานร่องรอยการทำงานที่เป็นประโยชน์สามารถสะท้อนผลสู่ระดับนโยบายได้ ประการที่ 3 กลไกระบบโค้ชในพื้นที่และพี่เลี้ยงทางวิชาการจากโรงเรียนรุ่งอรุณ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนโรงเรียนในเครือข่ายมีความสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปรากฏเป็นแบบแผนใหม่ของระบบการติดตามช่วยเหลือ เป็นระบบที่ยั่งยืน ที่จะช่วยสะท้อนการเปลี่ยนแปลง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ตั้งแต่ระดับโรงเรียนขึ้นมาจนถึงระดับจังหวัดและระดับนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศได้ต่อไป

Title

Development of Innovative Education Management Prototype in Provincial Area by using Whole School Transforming Process : A Case Study Rayong Province (Phase 2)

Keywords

Innovative Education Management,Whole School Transforming,Provincial Area

Abstract

The action research project for the Development of Innovative Education Management Prototype in Provincial Area by using Whole School Transforming Process : A Case Study Rayong Province (Phase 2) is an ongoing research project that is intended to bring about educational reform at the provincial level. The prototype of educational management reform will be a model of systematic and concrete education reform at the provincial level can be applied or extended to the national level. Arsom Silp Institute of the Arts started the 2nd year action research from May 2020-to August 2021 on top of promoting the concept of a Whole School Transforming (7 Changes) process model for 25 pilot schools in the first generation to see the direction and aimed to have a stepping stone to develop their school according to 7 Changes which are (1) school concept focusing on student learning outcomes, (2) school director as the leader for change as well as the academic leader, (3) teacher as a learning expert, (4) learning space and learning vision, (5) learning management focusing on students’ self-directed learning (each school has the right to choose any learning innovations relevant to the school concept, (6) school competency based curriculum for learning management to appropriately agree to the school concept and (7) evaluation system focusing on authentic student development. The transformative learning and change process starts with changing mindset of school director and team teachers. Then, providing a set of knowledge, skills and create a learning and teamwork experience. Besides, there is an area-based coach/mentor to help and facilitate change based on each schools context and readiness. The coaching and mentoring activity was designed to reinforce knowledge and skills sets from the given practical training. The results of the research could assess the level of competence and define a group of potential directors and teachers to be a head coach of their node. Then proceed to recruit 2nd generation of pilot schools. The selection for 26 pilot schools participating in this project was conducted under the concept of “Whole School Transforming” according to the learning theories of “Transformative Learning” and “Holistic Learning” emphasizing students’ learning achievement in 3 major aspects as follows: 1) valued attitude, 2) learning skills and 3) knowledge. All the three ones will lead to the development of students’ competencies in the 21st century. The research team has designed a set of research instruments and research procedures to improve knowledge and skills of school director, team teacher and new generation of educational supervisor to have a clear vision towards the learning management process in which learning is not just in the classroom and see the value of “Change Ecosystem of Education” towards the 21st Century Learning Development. Then, the pilot schools go to in the developmental process of school competency-based curriculum. In this research, there were a total of 7 modules. Module 1 to 3 was trained first to create an important basis for the preparation of competency-based curriculum. So that teachers can practice and apply to their teaching class to create learning competencies for learners. The research results revealed that there were 22 schools’ curriculum have been approved by Educational Innovation Area Motivating Committee. The research findings reflect that key success factor still be school director who is a change agent as well as a change maker. In addition, the research team has designed training station to be a hybrid online/offline session to boost participants’ learning and to set node & network for future coaching stage. The research was conducted under the epidemic situation of the coronavirus 2019 (COVID-19) from wave 1 to wave 4, a severe outbreak. Therefore, there is a lack of continuity in the planned activities. However, the activity has been adjusted to emphasis on installing a coaching mechanism in the area (Node & Network), creating a network-based learning platform with a team of academic mentors to support and give advice every week through PLC Cluster Coaching Online activities, which has progressed faster than expected. The research findings significantly reflect the important lessons-learned impact on the education reform processes in the following aspects: 1) the education reform through school development system is more feasible, the school director is a key influencer. 2) The pilot school is an experimental area for developing competency-based curriculum. There is evidence that traces of useful work can be reflected to the policy level. 3) The local coaching and mentoring mechanism supporting by academic mentors from Roong Aroon School is very important for continuous improvement. The PLC Cluster Coaching Online appears to be a new innovative of supervisory systems, a sustainable system. which helps reflect the changes Competency-Based Curriculum Development Process from the school level up to the provincial level and the countrys educational management policy level.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น