การวิจัยการสนับสนุนการจัดการเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 21 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640126
นักวิจัย นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์
หน่วยงาน -
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2021
ระยะเวลา 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย กาฬสินธุ์, นครราชสีมา, พัทลุง, สุรินทร์, อำนาจเจริญ

ชื่อโครงการ

การวิจัยการสนับสนุนการจัดการเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

คำสำคัญ

การจัดการเชิงพื้นที่, ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

บทคัดย่อ

โครงการการวิจัยการสนับสนุนการจัดการเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ

1) วิเคราะห์สภาพปัญหา ผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 ในชุมชน และคนเปราะบางในมิติทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม
2) หนุนเสริมและสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายองค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบวิกฤตโควิด-19 ในระยะเร่งด่วนและระยะฟื้นฟูในมิติทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
3) ศึกษาระบบและกลไกการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบวิกฤตโควิด-19 ของชุมชนที่เป็นโมเดลต้นแบบและขยายผลไปยังชุมชนอื่น
4) เสริมพลังกลไกเครือข่ายชุมชนให้เป็นระบบเครือข่ายความปลอดภัย (Social Safety Net) ในการป้องกันความเสี่ยงของชุมชนเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต และ
5) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อรองรับสภาวะวิกฤต ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เป็นการศึกษาโดยใช้หลักการวิจัยและการพัฒนา มีระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 256 – 31 ธันวาคม 2564 ผลการดำเนินโครงการวิจัยฯ ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติการขับเคลื่อนกระบวนการแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ใน 35 พื้นที่ จาก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง กาฬสินธุ์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ และจังหวัดนครราชสีมา ผลการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย พบว่า มีผู้ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 4,022 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนคนจน กลุ่มเปราะบาง (เด็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ/ติดเตียง) ครัวเรือนผู้ตกงาน ผู้ติดเชื้อ/กลุ่มเสี่ยง และเป็นครัวเรือนทั่วไป ได้รับผลกระทบทั้งด้านสุขภาพและด้านสาธารณสุข

ด้านเศรษฐกิจและรายได้ และผลกระทบด้านสังคมและการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีการสนับสนุนกลไกองค์กรชุมชนและเครือข่ายร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงาน/ภาคีในพื้นที่ ดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบกิจกรรมโครงการ ทั้งในระยะระยะเร่งด่วน/เฉพาะหน้า และระยะฟื้นฟู/พัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบวิกฤตโควิด-19 ให้กับกลุ่มเป้าหมายตามบริบทของพื้นที่ ผลการวิจัย พบว่า มีครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น 35 พื้นที่ จาก 5 จังหวัด จำนวน 3,229 ครัวเรือน มีกลไกหลักที่ใช้ขับเคลื่อนโครงการหลากหลาย เช่น ทั้งกลไกขบวนองค์กรชุมชน กลุ่มวิสาหกิจ กลไกเครือข่ายบ้านมั่นคงเมือง กลไกสภาผู้นำชุมชน กลไกกองทุนสวัสดิการ เป็นต้น ส่งผลให้มีครัวเรือนเข้าถึงแหล่งอาหารถึง 717 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่ได้รับความรู้ทางสุขภาพและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพ จำนวน 1,034 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 471 ครัวเรือน และมีครัวเรือนที่มีรายจ่ายลดลง จำนวน 566 ครัวเรือน และผลลัพธ์ด้านอื่น ๆ เช่น เกิดกองทุนชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่วนรวม มีการจัดทำแผนรับมือของชุมชนในการจัดการภายใต้สถานการณ์โควิด-19 รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณ และความรู้จากหน่วยงานในพื้นที่ เป็นต้น และสามารถถอดบทเรียนองค์ความรู้และกลไกการทำงานของชุมชนออกเป็น 5 เรื่อง ได้แก่

1) การรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ในระยะเร่งด่วน/เหตุเฉพาะหน้า
2) การจัดการระบบสาธารณสุขภายในชุมชนเพื่อการรับมือและป้องกันโรคระบาด
3) การสร้างความยั่งยืน-ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้กับสมาชิกในชุมชน
4) การพัฒนา “ทุน” ในพื้นที่เพื่อการรับมือในสภาวะวิกฤต และ
5) การสร้างกลไกของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ นอกจากนี้ ทำให้เห็นถึงโครงสร้างกลไกการทำงานในพื้นที่ที่เชื่อมโยงสู่การเกิดระบบเครือข่ายความปลอดภัย (Social Safety Net) เป็นการหนุนเสริมกลไกเครือข่ายชุมชนให้เป็นระบบป้องกันความเสี่ยงของชุมชนเมื่อเกิดสภาวะวิกฤตในอนาคตอีกด้วย

Title

Encouragement Area-based Management Research of Problems and Mitigate the Impact of the Coronavirus 19 Outbreak

Keywords

Area-based Management Research,Impact of the Coronavirus 19 Outbreak

Abstract

Encouragement Area-based Management Research of Problems and Mitigate the Impact of the Coronavirus 19 Outbreak Project was funded by Program Management Unit on Area Based Development (PMUA) under The Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council. This research aimed to

1) Study problem and impact of coronavirus pandemic (COVID -19) to community and vulnerable person in term of health economic and social.
2) The empowerment of support and community networks strengthening for problem solving and reduce impact of COVID -19 in urgent and recovery period in term of health economic and social accord with area context
3) Study system and community – based mechanism for resolving problem and mitigation impact of COVID -19 and extent result to other community.
4) Support the power of community networking mechanism to be the social safety net community to protect community risk and crisis condition.
5) Policy recommendation making for proactive management and preparation in crisis situation to stakeholders.

The study was carried out by collecting data and lesson learn activities with the group of people in 35 communities of 5 province that is Pattalung, Kalasin, Surin, Amnatchareon and Nakhonratchasima. The project during 1st July – 31 st December 2021. The results of the study were as follow

1) The number of families receive benefit incidence from the project in 35 arears, 3,229 families.
2) Found the mechanism of management of the community organization procession , community enterprise ,the mechanisms of Ban Mankong networking , the mechanism of council of community leaders, the mechanism of community welfare fund.
3) The number of 717 families have food access, 1, 034 received health knowledge and change self care behavior regarding, 417 income increase ,566 decrease in expense is and other outcomes such as community fund for activities movement ,preparing plan of community for covid-19 management ,budget and knowledge supporting .
4) Lesson learn from mechanism community work is
     4.1 The process of preparation for Covid-19 pandemic in crisis
4.2 A management model for public health system in community for cope with and epidemic prevention.
4.3 Creating sustainable-rehabilitation on the quality of life to community members. 4.4 The development of community                capital for cope with crisis situation’
4.5 Creating mechanism of community network connect with social safety Net .

สำหรับสมาชิกเท่านั้น