การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำพื้นที่จังหวัดลำปาง

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 14 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640087
นักวิจัย นางดวงใจ พุทธวงศ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ลำปาง

ชื่อโครงการ

การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำพื้นที่จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ

การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำพื้นที่จังหวัดลำปาง

บทคัดย่อ

โครงการวิจัย การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นย้ำ พื้นที่จังหวัดลำปาง นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) ค้นหา สอบทาน และสำรวจทุนคนจน และครัวเรือนระดับพื้นที่
2) การนำเข้า การสังเคราะห์ ประมวลผล แสดงผล และการส่งต่อข้อมูล
3) สร้างระบบ กลไกการส่งต่อความช่วยเหลือในพื้นที่
4) ออกแบบโครงการช่วยเหลือคนจน

ผลดำเนินงานมีดังนี้

1) ด้านค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน ในพื้นที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอเถิน อำเภอห้างฉัตร อำเภองาว อำเภอ เมืองปาน และอำเภอแม่เมาะ ดำเนินการป้อนข้อมูลครัวเรือนในระบบ TPMAP จำนวน 9,210 ครัวเรือน ครัวเรือนที่ Add-on จำนวน 2,551 ครัวเรือน
2) การส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน ได้ดำเนินการนำเสนอผลการดำเนินงานในเวทีการประชุม ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยังยื่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดลำปาง (ศจพ.จ) และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการวิจัย เป็นกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือ
3) ระบบส่งต่อความช่วยเหลือและติดตาม สามระดับคือ ระดับจังหวัดผ่าน คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ หรือ ศจพ.จ กลไกระดับอำเภอ ผ่านเวทีระดับอำเภอหรือ ศจพ.อ. และกลไกระดับพื้นที่ ผ่านเวทีสอบทานระดับตำบล
4) การออกแบบโมเดล/นวัตกรรมแก้จน ดำเนินการใน 3 อำเภอ(4 ตำบล) ประกอบด้วยพื้นที่ตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองปานมีการส่งเสริมการปลูกดอกดาวเรือง และเลี้ยงจิ้งหรีดพันธุ์ดำ ตำบลบ้านเสร็จ อำเภอเมืองลำปาง ด้วยการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองและการปลูกหญ้าเลี้ยงโค และตำบลเมืองยาว ตำบลแม่สัน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปางด้วยการปลูกผักปลอดสาร และการเลี้ยงไส้เดือน

เกิดโมเดลแก้จน 3 รูปแบบดังนี้

รูปแบบที่ 1 โมเดลแก้จน ด้วยการ สร้างกลไกพี่เลี้ยงในพื้นที่ เพื่อให้คำปรึกษา กำกับดูแล “คนจนเป้าหมาย”และขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม ดังกรณีของ พื้นที่ตำบลบ้านเสด็จและตำบลหัวเมือง
รูปแบบที่ 2 การเชื่อมกับกิจกรรม/โครงการตามแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อระดมศักยภาพงบ คน ในการแก้ไขปัญหาความยากจน ต่อยอดและขยายผลให้เกิดความอย่างยั่งยืน ดังกรณีของ พื้นที่ตำบลบ้านเสด็จ และ
รูปแบบที่ 3 การเชื่อมประสานต้นทุนเดิมในพื้นที่ เช่น กลุ่มอาชีพ ผู้รู้ปราชญ์ในชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน กรณีของ พื้นที่ตำบลหัวเมือง และตำบลเมืองยาว ตำบลแม่สัน

Title

The Development of the area based approach supportive system to solve poverty completely and accurately in Lampang Province

Keywords

The Development of the area based approach supportive system to solve poverty completely and accurately in Lampang Province

Abstract

Research project: The Development of the area based approach supportive system to solve poverty completely and accurately in Lampang Province has the objectives of

1) Reaching, reviewing and exploring the capital of the poor.
2) Import, synthesis, processing, display and transmission of information
3) Establishing a system, mechanism for referring assistance in the area
4) Designing projects to help the poor.

The performance results are as follows:

1) Finding and reviewing information about the poor in the areas of Mueang Lampang District, Thoen District, Hang Chat District, Ngao District, Mueang Pan District and Mae Mo District Implemented 9,210 households in the TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) system, 2,551 add-on households.
2) Forwarding the poor household data from the database system to the cooperation mechanism for poverty alleviation has presented the performance in the forum of the meeting Center for Eradication of Poverty and Development of People of All Ages in accordance with the Sufficiency Economy Philosophy, Lampang Province, and the Research Project Steering Committee
3) Help referral and follow-up system at three levels:
(1) provincial level through the committee to drive the project : The Development of the area based approach supportive system to solve poverty completely and accurately in Lampang and
(2) The district level through in the forum of the meeting Center for Eradication of Poverty and Development of People of All Ages in accordance with the Sufficiency Economy Philosophy, Amphoe
(3) Area-level through in the forum of return meeting.
4) Model design/innovation to solve problems implemented in 3 districts (4 sub-districts).

Model 3: Coordination of existing costs in the area, such as professional groups, scholars in the community. And agencies in the area to drive poverty alleviation in the case of the Hua Mueang sub-district area and Mueang Yao, Mae San Sub-district.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น