ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
ชื่อโครงการ
โครงการวิจัยการสื่อสารความรู้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่คำสำคัญ
การสื่อสารสาธารณะ,บพท.,มหาวิทยาลัย,งานวิจัยเชิงพื้นที่,เติมพลัง,เสริมสร้างเครือข่ายบทคัดย่อ
เอกสารนี้แสดงถึงผลงานการดำเนินโครงการวิจัย การสื่อสารความรู้ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ที่ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ เผยแพร่แนวคิด กระบวนการ และผลการดำเนินงานชองงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ภายใต้ภารกิจของ บพท. ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มคือ กลุ่มนโยบาย กลุ่มพื้นที่ (จังหวัดและอปท.) กลุ่มวิจัย และกลุ่มประชาชนทั่วไป กิจกรรมตลอดระยะเวลา 8 เดือน ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลักคือ กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะ กิจกรรมการพัฒนาเครือข่ายวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ และกิจกรรมการผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ และกิจกรรมเพิ่มเติม โดยมีข้อสรุปในแต่ละส่วนดังนี้
- กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะ มีการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์รวมถึงการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ของหน่วยงาน ได้แก่ เพจเฟซบุ๊ก ของ บพท. (งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่ บพท.)
- กิจกรรมการพัฒนาเครือข่ายวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ มีการเข้าร่วมกิจกรรม การประชุมรายงานความก้าวหน้าของกรอบวิจัย และชุดโครงการวิจัยต่างๆ ทั้งที่ บพท. หรือหน่วยวิจัยที่รับทุนจัดขึ้น การเปิดช่อง Youtube Chainnel เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารเสริมกับเพจเฟซบุ๊ก
- กิจกรรมการผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ จะมีทั้งการจัดทำ VDO คลิป สัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักวิจัย ได้เห็นภาพใหญ่และการทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยของ กระทรวง อว. และบพท.
- กิจกรรมเพิ่มเติม เนื่องจาก บพท. เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งใหม่ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายจำนวนหนึ่งยังไม่เข้าใจในบทบาท หน้าที่ และภารกิจของ บพท. ได้ดีเท่าที่ควร รวมถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อ COVID-19 ทำให้กิจกรรมบางอย่างที่กำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการได้หรืออาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกับที่ตั้งไว้ โครงการวิจัยจึงมีการการปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่มีอยู่เดิมมาสนับสนุนภารกิจและกิจกรรมของ บพท. ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับหน่วยงานมากขึ้น ทั้งการจัดประชุมเพื่อชี้แจงกรอบวิจัย ปีงบประมาณ 2564 การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ที่เป็นประโยชนย์กับผู้บริหารและนักวิจัยในสถาบันและมหาวิทยาลัยในพื้นที่โดยตรง และการเอกสารประกอบ (Booklet) การลงพื้นที่ของผู้บริหารกระทรวง อว. การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในช่วง 8 เดือนนี้ สามารถทำให้กลุ่มนักวิจัย มีความเข้าใจในการทำวิจัยเชิงพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ของ บพท. มากยิ่งขึ้น ขณะที่กลุ่มประชาชนทั่วไป รวมถึงกลุ่มนโยบาย ก็เริ่มรู้จักหน่วย บพท.มากขึ้น มีเพียงกลุ่มในพื้นที่ ที่กิจกรรมภายใต้โครงการวิจัยนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงการรับรู้ของคนในกลุ่มนี้ได้เท่าที่ควร ?
Title
Researching for Public Communication of Program Management Unit on Area Based Development and Developing Communication Network of University Network for Area Based DevelopmentKeywords
Social Communication,PMUA,University,Area-Base Collaborative,Empowerment,StrengthenAbstract
–