ชื่อโครงการ
การยกระดับการผลิต แปรรูป และตลาดปลากะพงขาวจังหวัดนราธิวาสเพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเศรษฐกิจฐานรากสู่มูลค่าเชิงพาณิชย์คำสำคัญ
การผลิต,แปรรูป,ตลาด,ปลากะพงขาว,ห่วงโซ่คุณค่าบทคัดย่อ
โครงการวิจัยการยกระดับการผลิต แปรรูป และตลาดปลากะพงขาวจังหวัดนราธิวาส เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเศรษฐกิจฐานรากสู่มูลค่าเชิงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่คุณค่าเก่า และใหม่ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง และผู้ด้อยโอกาสทางอาชีพ ด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผ่านการดำเนินการวิจัยผ่านกระบวนการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ และ3 เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ด้วยกระบวนการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ด้วยทรัพยากรพื้นถิ่น ด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ให้เป็นกระบวนการในการส่งเสริมรายได้ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างเป็นธรรม กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา จำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 19 LE ได้แก่ กลุ่มนักเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง จำนวน 14 กลุ่ม กลุ่มนักรวบรวมปลากะพงขาวสด จำนวน 1 กลุ่ม กลุ่มนักแปรรูปปลากะพงขาว (ปลากะพงแดดเดียว ปลาร้า (บูดู) ปลากะพงแผ่นอบกรอบ และลูกชิ้นปลากะพงขาว) จำนวน 1 กลุ่ม กลุ่มนักขายปลากะพงขาวแปรรูป จำนวน 1 กลุ่ม กลุ่มรวบรวมและผลิตอาหารปลากะพงขาวในกระชัง จำนวน 1 กลุ่ม และกลุ่มนักขายอาหารปลากะพงขาวในกระชัง จำนวน 1 กลุ่ม พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มบ้านอ่าวมะนาว มีผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) สูงสุด เท่ากับ 44.93 ประกอบด้วยต้นทุนรวม เท่ากับ 1,873,353 บาทต่อปี รายได้ เท่ากับ 2,715,005 บาทต่อปี และกำไร เท่ากับ 841,652 บาทต่อปี ขณะที่กลุ่มนักรวบรวมปลาสด มีผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ต่ำสุด เท่ากับ 6.67 ประกอบด้วยต้นทุนรวม เท่ากับ 2,744,400 บาทต่อปี รายได้ เท่ากับ 2,927,360 บาทต่อปี และกำไร เท่ากับ 182,960 บาทต่อปี ขณะที่การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เท่ากับ 3.87
Title
Upgrading the production processing and marketing of silver seaperch in Narathiwat to create a new value chain for community products. From foundation economy to commercial valueKeywords
production,processing,marketing,silver seaperch,value chainAbstract
Research project on upgrading the production processing and marketing of sea bass in Narathiwat Province. To create a new value chain for community products from the grassroots economy to commercial value and have a purpose. 1. To survey and analyze the potential of entrepreneurs throughout the old and new value chains. 2. To develop the potential of entrepreneurs raising sea bass in cages. Professionally dvantage by promoting the quality of life through conducting research through the process of driving a new value chain. 3. To create a model for area development through the process of driving a new value chain with local resources, with a new value chain to be process for promoting income that fairly meets the needs of the community. The target groups studied were 6 groups, consistently of 19 LE, including 14 groups of sea bass fish farmers in cages, 1 group of fresh sea bass collectors and a group of sea bass fish processors. (Sun-dried sea bass, Pla R (Budu), crispy baked sea bass sheets and sea bass balls). 1 group of processed sea bass fish sellers, 1 group of sea bass fish collection and production group in cages, and 1 group of sea bass fish food sellers in cages. It was found that the Ban Ao Manao community enterprise group it has the highest return on investment (ROI) equal to 44.93, consisting of total costs equal to 1,873,353 baht per year, income equal to 2,715,005 baht per year and profit equal to 841,652 baht per year, while the group of sun-dried sea bass processors it has the lowest return on investment (ROI) equal to 6.67, consisting of total costs equal to 2,744,400 baht per year, revenue equal to 2,927,360 baht per year, profit equal to 182,960 baht per year, while the social return assessment (SROI) is equal to 3.87.