การยกระดับผู้ประกอบการและกระบวนการผลิตพริกไทยตรังโดยใช้อัตลักษณ์ภูมิปัญญาสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าระดับพรีเมียม

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 10 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F650185
นักวิจัย รศ. ดร. ชุตินุช สุจริต
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ทุนวิจัย การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่
ปีงบประมาณ 2565
แผนงานหลัก การพัฒนาพื้นที่ด้วยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 พัฒนานวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรมโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 สิงหาคม 2022
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2023
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ตรัง

ชื่อโครงการ

การยกระดับผู้ประกอบการและกระบวนการผลิตพริกไทยตรังโดยใช้อัตลักษณ์ภูมิปัญญาสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าระดับพรีเมียม

คำสำคัญ

พริกไทยตรัง,อัตลักษณ์,ภูมิปัญญา,ผลิตภัณฑ์พรีเมียม

บทคัดย่อ

โครงการการยกระดับผู้ประกอบการและกระบวนการผลิตพริกไทยตรังโดยใช้อัตลักษณ์ภูมิปัญญาสู่มาตรฐานการผลิตสินค้าระดับพีเมียม เป็นโครงการแผนงานขนาดใหญ่ที่ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 เดือน มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อการยกระดับกระบวนการผลิตพริกไทยตรังพรีเมียมให้ได้มาตรฐานด้วยอัตลักษณ์และภูมิปัญญา 2) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการพริกไทยตรังในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดพรีเมียม และ3) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการด้วยกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดพริกไทยตรังสู่ตลาดพรีเมียม ภายใต้ชุดโครงการ มีโครงการย่อยทั้งหมด 4 โครงการ โดยโครงการย่อยที่ 1 ถึงโครงการย่อยที่ 3 เป็นโครงการที่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีโครงการย่อยที่ 4 เป็นโครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของชุดโครงการวิจัย ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อนำมาสังเคราะห์และได้สร้างการเปลี่ยนแปลงธุรกิจพริกไทยตรังทางด้านคน ของ และตลาด พบว่า เมื่อพัฒนาด้านคน สร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการแปลงเกษตรอินทรีย์สากล จนได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล EU, IFOAM จำนวน 5 แปลง ส่วนสถานที่ผลิตพริกไทยตรังได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล EU, IFOAM และได้รับการอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร และเลขสารบบอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง นอกจากนั้นในจัดการแปลงพริกไทยตรังเกษตรกรมีการใช้ระบบเซ็นเซอร์ในการติดตามข้อมูลสภาพแวดล้อมในการปลูกพริกไทย การอบรมให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตพริกไทยที่มีคุณภาพตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญา โดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ให้เห็นถึงความเหมาะสมในวิธีการทำพริกไทยที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี ด้านของ ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ด้านการผลิตพริกไทยแดง ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของประเทศไทย พริกไทยดำ และพริกไทยขาว โดยเน้นกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน GI ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล และได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI จำนวน 41 ราย ส่วนด้านการตลาด พบว่า พริกไทยตรัง เป็นที่รู้จักมากขึ้นและมีตลาดเป้าหมายมากขึ้นในระดับเชฟมิชลิน 5 ดาว และเชฟระดับเวิลด์คลาสของประเทศไทย รับรู้ ใช้ ซื้อซ้ำ ส่งผลให้เกลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 2.9 ล้านบาท และมียอดขายมากขึ้นเมื่อพริกไทยเป็นพริกไทยอินทรีย์เกษตรสากล ทั้งนี้การดำเนินงานมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ จำนวน 10 ราย มีอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมายและมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 และชุมชน/กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 ลดหนี้สิ้นลงได้ ร้อยละ 10 ผลการดำเนินการวิจัย พบว่า สามารถพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกลุ่มวิสาหกิจและผู้ประกอบการ โดยรวมเท่ากับ 11 ราย มูลค่าของพริกไทยตรังเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างร้อยละ 20-33.33 สามารถขับเคลื่อนรายได้ของกลุ่มเป้าหมายโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.60 ลดภาระหนี้สิ้นลงร้อยละ 14.37 มีอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมายร้อยละ 11.31 เกิดการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น จำนวน 7 ราย สร้างอาชีพใหม่ 1 อาชีพ (คัดเมล็ดพริกไทย 7 คน) และลงทุนกิจการใหม่พริกไทยตรัง 1 กิจการ (แบรนด์ Lada)

Title

Upgrading Local Enterprise and Production of Trang Pepper by Using a Wisdom Identity to a Premium Production Standard

Keywords

Trang Pepper,Identity,Wisdom,Premium Production

Abstract

The project involving the upscaling of entrepreneurs and production process on Trang pepper to meet Geographical Identity (GI) standard and premium-grade product was an extensive initiative spanning twelve months. The project aimed to achieve the following objectives: 1) elevate Trang pepper to GI standard, 2) enhance the entrepreneur’s performance in inventory management for premium markets, and 3) develop a marketing strategy for the distribution of Trang pepper entrepreneur’s product as premium goods. The grand project was divided into four sub-projects with a focus on addressing the participants challenges that the researchers were grouped the project as subproject 1, 2, and 3. The rest part was concentrated on evaluation and impact of the grand project. In terms of marketing, Trang pepper was positioned for better perception in premium market as a seasoning used by five-star Michelin chefs. The market segment for Trang pepper was tailored for use by world-class chefs in fine-dining restaurants. The concept of the customer’s journey, involving steps such as perception, use, purchase, and repurchase, thus, leading to value added, resulting in the project’s target achieving a higher income of 2.9 million Baht. In addition, when Trang pepper obtained international organic, its selling point increased significantly. In dimension of entrepreneurs’ development processes, the impact was more pronounced on 10 entrepreneurs with a percentage growth in community business value, value-added product in community, higher income, and a decrease in household debt (at 10%, at least 15%, and 10% respectively). The project showed that 11 entrepreneurs, including Trang pepper farmers and a group of community enterprises were developed. The evaluation revealed the percentage of value added in Trang pepper product, totally driving entrepreneurs’ income, debt reduction, and the ratio of economic growth values were at 20-33.33%, 43.60%, 14.37%, and 11.31% respectively. The project also led to the creation of 7 new job hiring in the community for 7 positions, including a new profession called pepper screening controller and introduced a new investment brand for Trang pepper called “Lada”

สำหรับสมาชิกเท่านั้น