ทุ่งหลวงรังสิต: พลวัตทางวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 20 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640063
นักวิจัย รศ.ดร. สมหมาย ผิวสอาด
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

ทุ่งหลวงรังสิต: พลวัตทางวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ

พลวัตทางวัฒนธรรม,ทุ่งหลวงรังสิต,ยกระดับเศรษฐกิจ,สำนึกท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพลวัตความเปลี่ยนแปลงและต่อเนื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของชุมชนและมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่สืบทอดมาถึงปัจจุบันส่งผลถึงความเป็นอยู่ของคนในทุ่งหลวงรังสิตหรือรังสิตฝั่งตะวันออก 2) เพื่อสร้างและพัฒนากลไกความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้องในชุมชนในมุมมองด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่สะท้อนภาพของวิถีชีวิตคนในชุมชนเพื่อนำไปสู่แนวทางในการก่อเกิดแผนที่และความร่วมมือทางวัฒนธรรม ในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิต โดยผ่านกลไกการสร้างความร่วมมือ 5 ภาคีหลัก เครือข่ายศิลปิน องค์กรปกครองท้องถิ่น ชุนชน ภาคธุรกิจและนักวิชาการ จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการวัฒนธรรม ด้วยการยกระดับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนอัตลักษณ์ตามประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นในการเสริมสร้างอาชีพของชุมชนพื้นที่ฝั่งตะวันออกจังหวัดปทุมธานี สร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการจัดการทุนทางวัฒนธรรรมในยุคดิจิทัล และสำนึกท้องถิ่น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ ผลการวิจัยและศึกษาพลวัตทางวัฒนธรรมของประวัติศาสตร์การพัฒนาทุ่งหลวงรังสิตเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสำนึกท้องถิ่นชุมชน จังหวัดปทุมธานี จะเป็นการศึกษาจากรากฐานวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมที่สอดผสานและส่งผ่านสู่วัฒนธรรมสมัยใหม่ผ่านการบอกเล่าหรือฐานข้อมูลจากวิทยาการความรู้จากปราชญ์ชุมชน ผู้นำชุมชนที่จะบอกเล่าผ่านกระบวนการการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมนำไปสู่การสร้างแนวทางยกระดับผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างอาชีพของชุมชน พบว่าการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน พื้นที่ และภาคีเครือข่าย ได้แผน Cultural mapping และ/หรือ แผนที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมทุ่งหลวงรังสิตจังหวัดปทุมธานีจะประกอบไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่น ทั้งด้านศิลปกรรม ผลิตภัณฑ์ อาหาร สำหรับด้านสถาปัตยกรรมประเภทวัดมีความเชื่อมโยงกับด้านประวัติศาสตร์ สะท้อนถึงวัฒนธรรม ความเชื่อ และสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เกิดเครือข่ายศิลปินสร้างสรรค์ผลงานการสร้างคุณค่าทุนวัฒนธรรมผ่านจินตภาพทุ่งหลวงรังสิตที่มีแนวคิดเดิมผสมผสานแนวคิดใหม่ร่วมสมัย และเกิดผลงานต้นแบบที่เกิดจากการจินตภาพผลงานและการเผยแพร่ผลงานที่มีอัตลักษณ์ของทุ่งหลวงรังสิต นำมาซึ่งจิตสำนึกรักท้องถิ่นในคุณค่าทางวัฒนธรรม มีผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการทางวัฒนธรรม ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงวัฒนธรรมที่เป็นอาหาร คือ ก๋วยเตี๋ยวเรือ และ 2) ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงวัฒนธรรมที่ไม่ใช่อาหาร โดยนำวัฒนธรรมของทุ่งหลวงรังสิต ได้แก่ วิถีวัฒนธรรมสายน้ำ ข้าว บัวหลวง เรือขายก๋วยเตี๋ยว นำมาประกอบเป็นลวดลายผลิตภัณฑ์ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรมของทุ่งหลวงรังสิต ได้ข้อมูลปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มคุณค่าตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมการสร้างคุณค่าตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของผู้ประกอบการวัฒนธรรมในจังหวัดปทุมธานี พบว่า มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในการวิจัยในครั้งนี้ เท่ากับ 841,711 บาท (จากมูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุนในการจัดกิจกรรม 357,217 บาท) ได้ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เท่ากับ 2.36 และมีสื่อภาพยนตร์สารคดีทุ่งหลวงรังสิตและผลิตสื่อจุลสารอิเล็กทรอนิกส์ประชาสัมพันธ์ทุ่งหลวงรังสิต ซึ่งจากผลการดำเนินการทั้งหมดนี้นำไปสู่โอกาสในการเพิ่มมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน และเพิ่มอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในพื้นที่เป้าหมายต่อไป คำสำคัญ : ทุ่งหลวงรังสิต พลวัตทางวัฒนธรรม แผนที่มรดกทางวัฒนธรรม

Title

Thung Luang Rangsit: Dynamic of Cultural at Pathum Thani Province

Keywords

Cultural Dynamics,Thung Luang Rangsit,Economic Enhancement,Local Community Realization

Abstract

The research objectives are 1) to examine the dynamism of history and culture on community settlement and preserved cultural heritage which influences the livelihood of local residents in Rangsit march or the Eastern area of Rangsit 2) to establish and develop the collaboration mechanisms for stakeholders and local communities in terms of cultural history reflecting local lifestyles in the communities. The mechanisms would organize guidelines for the cultural cooperation and the formation of cultural mapping within Rangsit march area. Acted as agencies for such mechanism, the 5 primary associates consist of Artist network, local administrative organizations, communities, business and academic sectors in Pathun Thani province respectively. 3) to improve cultural enterprises by elevating local cultural products, which have been expressing local history and culture, and also encouraging local professions related to these products within the Eastern area of Pathum Thani. The cultural capital management befitting the current digital environment and local awareness were organized in order to support professions in local communities. This aims to elevate local economy through universities responsible for community development. The results of the research as well as the study on Rangsit march historical and cultural dynamics to enhance local economy and awareness in Pathun Thani province were conducted by using the existing database and interviews community scholars and local community leaders regarding the local culture which has been passed down for generations and its present-day adaptations. The knowledge is gained through constructed cultural learning and developed into guidelines to enhance local products as the representation of communities. Upon conducting the cooperative learning between communities, areas and network of associates, cultural mapping and/or cultural tourism maps had been organized. The Rangsit marsh cultural heritage atlas of Pathun Thani province offers distinguished tourist attractions related to fine arts, local products and food. It also illustrates impressive temples in terms of the architectural magnets, enriched with history, culture, local belief and the lifestyle of local residents. Furthermore, the network of artists was organized. Their artworks focus on the value creation of cultural capital through their imagination of Rangsit marsh by interweaving old concepts with contemporary ones. The model paintings expressing the identity of imaginative Rangsit marsh have created the bond with local communities in terms of cultural values. Moreover, the model of cultural products and/or services have been arranged following the research objectives which are 1) food products e.g. boat noodle and 2) non-food products. Inspired by the culture in Rangsit marsh area such as lifestyles from settlements near the rivers, rice, lotus and boat noodle, creators had designed patterns unique to Rangsit marsh culture as products. The research also collected data regarding marketing factors which are influential for the elevation of cultural product branding. According to the assessment, the social return on the value of cultural product branding by Pathum Thani’s cultural enterprises indicates that present value of interests cultivated from activities during the research is 841,711 Baht (while present value on investment was 357,217 Baht). The social return on investment (SROI) is 2.36 and also the documentary film and digital PR pamphlets on Rangsit marsh were produced. Thus, the overall operation has expanded and enhanced the promising opportunities in value adding for local products and encouraged the growth of the bio economic value of communities within selected areas. Keywords: Rangsit marsh, cultural dynamics, cultural heritage atlas

สำหรับสมาชิกเท่านั้น