ชื่อโครงการ
การยกระดับเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่เมืองเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อสร้างเป็นต้นแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้/นวัตกรรมด้วยการจัดการชุมชนสร้างการเรียนรู้บนฐานทรัพยากรคำสำคัญ
เศรษฐกิจหมุนเวียน เมืองเกษตรอุตสาหกรรม ชุมชนนวัตกรรมต้นแบบ การจัดการชุนชน ทรัพยากรพื้นถิ่นบทคัดย่อ
บทคัดย่อ สัญญาเลขที่ A13F640056 ชื่อโครงการ โครงการการยกระดับเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่เมืองเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อสร้างเป็นต้นแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ / นวัตกรรมด้วยการจัดการชุมชนสร้างการเรียนรู้บนฐานทรัพยากร หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ หน่วยงานต้นสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2564 – 15 พฤษภาคม 2565) งบประมาณดำเนินการ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในบริบทของการทำงานร่วมกับจังหวัดปทุมธานี และ จังหวัดปราจีนบุรี ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้งบประมาณจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ตั้งแต่ปี 2559 – ปัจจุบัน รวมระยะเวลา 3 ปี โดยมีคณะผู้วิจัยที่ให้ความสนใจการยกระดับเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area Based Development) โดยเป้าหมายเพื่อการพัฒนาพื้นที่ กระจายความเจริญไปสู่ชุมชน พร้อมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนคนในพื้นที่ในการบริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่ของตนเองที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและ ฐานทุนเดิม พร้อมสร้างกลไกการการพัฒนาพื้นที่ระดับตำบล สู่จังหวัด และประเทศ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและ นำข้อมูลด้านฐานทุนเดิม การพัฒนา ปัญหา มาวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน การบริหารจัดการ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่เหมาะสม กับชุมชนในพื้นที่ ภายใต้กรอบวิจัยของแพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ โปรแกรมที่ 13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม ซึ่งกรอบการวิจัยการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์ 2 ประเด็นที่สำคัญคือ (1) การใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ/เสริมและยกระดับศักยภาพที่สำคัญในพื้นที่ผ่านการสร้าง Learning and Innovation platform และ (2) ถ่ายทอดความรู้สู่การปฏิบัติจริงโดยการสร้างนวัตกรชาวบ้านที่มีทักษะการรับและปรับใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบท ถ่ายทอดความรู้ ไปสู่ผู้อื่นได้ รวมทั้งการจัดการความรู้เพื่อไปแก้ไขปัญหาสำคัญ (Pain point) ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน การดำเนินงานจะเชื่อมโยงกับแผนของมหาวิทยาลัยฯ โดยการดำเนินยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในด้านการเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงการท่องเที่ยวเน้นคุณค่าและความยั่งยืนและ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและบริการดิจิทัลบนพื้นฐานเศรษกิจ BCG ผลการดำเนินโครงการพบว่า สร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการของเสียในตำบลด้วยนวัตกรรมจำนวน 2 กระบวนการ คือ 1) การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรม: ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาดุก อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และ 2) การยกระดับโครงสร้างการกระจายรายได้ของกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน พื้นที่วัดไก่เตี้ย เพื่อสร้างเป็นชุมชนนวัตกรรมเชิงท่องเที่ยว ซึ่งมีการสร้างนักวิจัยชาวบ้านหรือนวัตกรชาวบ้านโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน เรื่องการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนวัตกรนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการแพร่กระจายองค์ความรู้และนวัตกรรมในชุมชน จำนวนนวัตกรชุมชน 27 คน สามารถถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 2 จังหวัด คือ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 6 อำเภอ 15 ตำบล 27 ชุมชน และจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 1 อำเภอ 3 ตำบล5 ชุมชน โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ / นวัตกรรมทั้งสิ้น 37 นวัตกรรมที่สำคัญซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 : เครื่องจักรเพื่อส่งเสริมการผลิต จำนวน 4 นวัตกรรม กลุ่มที่ 2 : นวัตกรรมการบริการ จำนวน 4 นวัตกรรม กลุ่มที่ 3 : นวัตกรรมการจัดการ จำนวน 10 นวัตกรรม กลุ่มที่ 4 : นวัตกรรมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 19 นวัตกรรม ได้นวัตกรรมเข้าสู่การทำแผนพัฒนาในระดับจังหวัดทั้งหมด 3 แผน คือ 1) แผนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ในปีงบประมาณ 2566 คือ แผนการพัฒนาอาคารศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรม ณ วัดไก่เตี้ย ภายใต้การดำเนินโครงการของชุดโครงการที่ 2 เรื่อง การยกระดับโครงสร้างการกระจายรายได้ของกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน พื้นที่วัดไก่เตี้ย เพื่อสร้างเป็นชุมชนนวัตกรรมเชิงท่องเที่ยว 2) แผนพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2566-2570 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพ และผลิตภัณฑ์ให้เข็มแข็ง องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ภายใต้การดำเนินโครงการของชุดโครงการที่ 4 เรื่อง การยกระดับเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี ผ่านกลไกศูนย์ต้นแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ และนวัตกรรม และ 3) แผนการพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2566-2570 ในยุทธศาสตร์ที่ 6 การสร้างพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชน ภายใต้โครงการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ให้ประชาชน และโครงการอบรมพัฒนาคุณภาพสินค้า และการต่อยอดการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ ของเทศบาลเมืองท่าโขลง และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่ 2 การยกระดับการผลิตอาหาร สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานสู่ตลาดโลก ของจังหวัดปทุมธานี ภายใต้การดำเนินโครงการของโครงการเดี่ยวที่ 1 โครงการการสร้างชุมชนต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี โดยนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก และมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 จำนวนทั้งสิ้น 10 นวัตกรรม ได้แก่ ผ้ามัดหมี่ลายหางไก่เตี้ย กระเป๋า พระยอดธง เครื่องแต่งกายผ้าใยบัวหลวงด้วยเทคนิคการพิมพ์ผ้าแบบธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์กระเป๋า 3 รูปแบบจากสีย้อมผ้าใบตะไคร้ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เครื่องรีดปลาดุก ผ้ามัดย้อมและเสื้อผ้ามัดย้อม ดินสำเร็จรูปผสมปุ๋ยชีวภาพเคลือบสารชีวภาพจุลินทรีย์ และสารปรุงอินทรีย์นาโน คำสำคัญ นวัตกรรม, นักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน, องค์ความรู้ และ มูลค่าเศรษฐกิจฐานราก
Title
Economic upgrading and strengthening of communities in agro-industrial areas to create a model of learning / innovation community through natural resource-based managementKeywords
BCG Model Agro-industrial areas Learning and innovation community Model Community based learning Natural resourcesAbstract
Abstract Rajamangala University of Technology Thanyaburi has ongoing collaborations with Pathumthani province and Prajinburi province through projects funded by the Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council. For three years, researchers have explored area-based development projects that aimed to strengthen and improve economic output of local communities by disseminating knowledge and technology that is relevant and effectively assist self-management of resources within the communities. Mechanisms of developing tumbons, provinces and the country were installed through participatory action research that utilized local community data and reported problems in analyzing for real needs of communities, effective management systems, suitable technologies and innovations that would be impactful. The conceptual framework of Program 13: Innovations for Grassroots and Innovation Communities aims to answer 2 objectives: 1) Utilizing appropriate technology and innovation to solve problems and improve key strength of communities through a Learning and Innovation Platform, and 2) transferring knowledge to practical skills by community innovators that have skills in adopting and adapting technologies to sustainably solve the community’s pain point issues. The research tasks were in accordance with the university’s strategic plan that support’s Thailand’s 13th National Economic and Social Development Plan for agriculture, sustainable tourism, smart electronics and digital services on the basis of BCG economy. The results from this study demonstrated that local waste management with 2 processes: 1) elevating the quality and standard of local products with innovations from catfish, Aumpur Lumlukka Pathumthani Province, 2) elevation of salary distribution by Mae Baan Sang Tawan group in Wat Kai Tia community through local tourism. Researchers trained community innovators by cultivating knowledge and skills pertaining to waste management and value enhancement. These community innovators are important facilitators of knowledge and technology dissemination to local groups. Twenty-seven community innovators were able to train and adapt innovations such that these technologies are relevant to the context of target communities in two provinces: Pathumthani province (27 communities in 15 Tumbons of 6 Aumpurs) and Prajinburi (5 communities in 3 Tumbons). Thirty-seven innovations that were transferred are divided into 4 groups: 1) machines that support manufacturing, total of 4 innovations, 2) service innovations, total of innovations, 3) management innovations, 10 innovations, and 4) product development innovations, total of 19 innovations. Nineteen innovations were incorporated into three province development strategies: 1) Subdistrict Administrative Organization plan for 2023 for developing cultural tourism in Wat Kai Tia community, 2) Second strategy of the Subdistrict Development plan 2023-2037 that supports occupational groups and products in aumpur Prajuntakarm, Prajinburi province, and 3) Sixth strategy of the Subdistrict Development plan 2023-2037 that develops occupation in Ta Khlong District, Pathumthani. Ten innovations were able to increase local salary by 10% from baseline. These innovations include Kai-Tia patterned mudmee cloth and bags, outfits fabricated from Bua-Luang lotus fiber, three types of bags dyed with lemongrass color, souvenirs, catfish ironing machine, tie dye cloth, ready-to-use fertilizers with bioactives from microbes and nano-organic soil conditioner. Key words Innovation, Innovator, Knowledge, Grassroot Economic