การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าทางเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 16 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630086
นักวิจัย ผศ.ดร. บุญฤทธิ์ สินค้างาม
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 1 กันยายน 2020
วันที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย น่าน, พะเยา

ชื่อโครงการ

การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าทางเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2

คำสำคัญ

การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทาน,กลไกทางการตลาดของสินค้าทางเกษตร,ภาคเหนือตอนบน สอง,การจับคู่สินค้าระหว่างจังหวัด

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยพะเยาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน ได้มีแนวคิดในการบริหารจัดการด้านการตลาดเพื่อสร้างกลไกในการตลาด ปรับสมดุลและช่วยเกษตรกรให้ สามารถขายสินค้าทางเกษตรข้ามจังหวัดผ่านกลไกการทำงานของมหาวิทยาลัยที่มีเครือข่ายการเกษตรและประชาคมมหาวิทยาลัย ถึงแม้โดยปกติการขายสินค้าทางเกษตรมีการขายข้ามจังหวัดอยู่แล้วโดยผ่านการดำเนินการเองของภาคเอกชนรายย่อย แต่ก็เป็นการซื้อสินค้าการเกษตรผ่านพ่อค้าคนกลางรายย่อยมารับซื้อแล้วนำไปเร่ขายเอง พอสินค้าหมดก็มารับซื้อใหม่ ประเด็นสำคัญสินค้าเกษตรมีอายุซื้อขายไม่ทันก็ทำให้ราคาตกได้ ยกเว้นข้าวหอมมะลิ หรือสินค้าเกษตรที่แปรรูปที่สามารถเก็บไว้ได้ ในส่วนของมหาวิทยาลัยพะเยาเองมีประสบการณ์ในการพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิ โดยให้มหาวิทยาลัยเป็นตลาดในการต่อยอดธุรกิจในโครงการ “มหาวิทยาลัยพะเยา: กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น” University of Phayao: Machanism for Local Economic Driving with Local Wisdom สัญญาเลขที่ RDG62A0008 ทำให้มหาวิทยาลัยพะเยาสามารถนำองค์ความรู้ในการดำเนินการวิจัยมาช่วยการขับเคลื่อนได้ กระบวนการทำงานของสองสถาบันจะทำการตลาดและสร้างเครือข่ายผู้บริโภคไขว้และร่วม กล่าวคือในแต่ละพื้นที่จะนำสินค้าทางเกษตรที่มีศักยภาพและมีชื่อเสียงของพื้นที่ นำมาส่งให้อีกพื้นที่ทำการตลาดสินค้าเกษตรให้ เช่น มหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการศึกษาเรื่องการทำตลาดข้าวหอมมะลิเกรดพรีเมี่ยมของจังหวัดพะเยา ก็นำข้อมูลให้ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน ทำการตลาดข้าวในจังหวัดน่าน เป็นต้น โดยการศึกษาเบื้องต้นคนในจังหวัดน่านส่วนมากรับประทานข้าวเหนียวและข้าวหอมมะลิ และการปลูกข้าวเน้นการปลูกข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่ และการซื้อข้าวสารหอมมะลิส่วนใหญ่จะซื้อในห้างค้าปลีก ดังนั้น ย่อมมีช่องว่างทางการตลาดในการนำข้าวสารหอมมะลิของจังหวัดพะเยาไปจำหน่าย ทำนองเดียวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน มีงานวิจัยที่ส่งเสริมการปลูก การผลิตส้มปลอดภัยอยู่แล้วสามารถนำส้มนำมาขายในจังหวัดพะเยา โดยผ่านประชาคมของมหาวิทยาลัยพะเยามีบุคลากรรวมกับนิสิตมากกว่า 2 หมื่นคน และการศึกษาเบื้องต้นการซื้อผลไม้รับประทานของคนในจังหวัดพะเยาจะซื้อในตลาดสด และห้างค้าปลีก ซึ่งผลไม้เหล่านี้จะเป็นผลไม้ตามฤดูกาลถูกส่งมากจากตลาดกลางกรุงเทพฯ ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีราคาสูงอันเนื่องจากค่าขนส่ง (คิดจากจังหวัดน่าน ไป กรุงเทพ และกรุงเทพ มาจังหวัดพะเยา) หรือหากถ้าราคาไม่สูงก็เป็นไปได้ว่าราคาหน้าสวนถูกมาก เหล่านี้หามีการทำตลาดไขว้แล้วสินค้าเกษตรจากน่านจะมาส่งที่พะเยาจะได้ราคาที่ดีกว่า ราคาที่จำหน่ายอาจจะไม่สูงเนื่องจากค่าขนส่ง เป็นประเด็นแรก อีกประเด็น คือ การทำสร้างตลาดร่วมโดยการนำผลผลิตที่เหลือจากการผลิตนำมาให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีมะไฟจีนทีเป็นสินค้า GI มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูงอีกประการที่จะช่วยให้ผู้รับประทานมีสุขภาพดีขึ้นได้ ดังนั้นหากทำตลาดนี้ย่อมจะช่วยให้มะไฟจีนเป็นที่ต้องการของตลาดได้ อย่างไรก็ตามนอกจากแนวคิดการทำตลาดแบบนี้แล้ว ยังมีแนวคิดของ Supply Chain ในสินค้าเกษตร เช่น โคขุน อย่างที่ทราบดีว่าจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยามีจำนวนโคขุน จำนวนหนึ่งและมีโรงเชือด โรงอนุบาลอยู่อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา หากมีการทำการเชื่อมต่อ โคขุนอาจจะทำให้มีการส่งต่อตลาดต่างประเทศได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีปลานิลที่ทั้งสองจังหวัดนิยมรับประทานอยู่แล้วซึ่งโดยปกติการซื้อขายทั้งสองจังหวัดนิยมการซื้อมาจากอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการซื้อปลาที่พร้อมจำหน่ายมาขายตามตลาดเลย หากมีการพัฒนาการผลิตด้วยทั้งสองสถาบันน่าจะช่วยให้เกษตรที่เลี้ยงปลาทั้งสองจังหวัดมีรายได้เพิ่มขึ้นซึ่งการผลิตนี้อาจจะเป็นเพียงร้อยละห้าของยอดซื้อทั้งสองจังหวัด อย่างน้อยจะช่วยให้เกษตรทั้งสองจังหวัดมีรายได้ขึ้น โดยมีแนวคิดมหาวิทยาลัยพะเยาจะทำการเพาะพันธุ์ปลานิล สร้างเครือข่ายของกลุ่มบ่อเพาะเลี้ยงในจังหวัดพะเยา และส่งให้ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน ทำการอนุบาลและ สร้างเครือข่ายบ่อเลี้ยงปลาให้เกษตรในจังหวัดน่านต่อไป ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. การทำตลาดข้าวหอมมะลิ มหาวิทยาลัยพะเยาได้ทำการตลาด online โดยผ่านในรายวิชาการตลาดดิจิทัล และได้เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรในการดำเนินการขายข้าวบน Platform Shopee เพื่อให้เกษตรกสามารถขายข้าวได้ตนเองเป็นเพิ่มยอดขาย นอกจากนี้ยังทำการศึกษาการรับรู้ของกลุ่มผู้บริโภค เพื่อนำมาสร้างแนวทางการสร้างการรับรู้เพิ่มให้กับผู้บริโภคจังหวัดพะเยา กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 40,000 กิโลกรัม มียอดขาย 3,364,460 บาท เพิ่มขึ้น 230% โดยผ่านกิจกรรมทางการตลาดดังต่อไปนี้
1) กิจกรรมทางการตลาดที่มหาวิทยาลัยเข้าช่วย
2) ด้านการขายผ่านระบบ online
3) การพัฒนาตราสินค้า
4) การขายในงานอีเว้นท์
5) การจัดให้กิจกรรม ชมรมนิสิตผู้ประกอบการ
6) การทำตราสินค้าเพื่อเพิ่มยอดขายโดยมีการสร้างเรื่องราว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พื้นที่จังหวัดน่าน ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมความการซื้อข้าวหอมมะลิในจังหวัดน่าน รวมทั้งการศึกษาช่องทางการจำหน่ายข้าวหอมมะลิในจังหวัดน่าน

2. การทำตลาดโคขุน มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พื้นที่จังหวัดน่าน ได้ทำการตลาดการค้าขายโค มียอดในการสั่งซื้อจำนวน 45 ตัว มีรายได้รวม 2,253,500 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 948.84 โดยผ่านกิจกรรมทางการตลาด
1) กิจกรรมทางการตลาดที่มหาวิทยาลัยเข้าช่วย
2) การพัฒนาระบบการคัดเลือกสินค้า
3) การสร้างกลุ่มเกษตรกร
4) การจับคู่ธุรกิจ
5) การควบคุมคุณภาพ

3. การทำตลาดส้มสีทอง เนื่องด้วยส้มสีทองปลอดภัย จังหวัดน่าน มีฤดูผลผลิต ประมาณต้นเดือนธันวาคม ดังนั้น มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมความต้องการของผู้ซื้อในจังหวัดพะเยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พื้นที่จังหวัดน่าน ได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตส้มสีทองปลอดภัย และทำการเครือข่ายเกษตรเพื่อการหาส้มสีทองมาจำหน่ายในจังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน มียอดขายรวม 292,500 บาท เพิ่มขึ้น 128.6 % โดยผ่านกิจกรรมทางการตลาดดังต่อไปนี้ 1) กิจกรรมทางการตลาดที่มหาวิทยาลัยเข้าช่วย
2) การพัฒนาระบบการคัดเลือกสินค้า
3) การสร้างกลุ่มเกษตรกร
4) การพัฒนาตราสินค้า
5) การขายในงานอีเว้นท์
6)การพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร เนื่องจากส้มเสียง่าย (ส้มอินทรีย์ ไม่เคลือบแว๊ก)

4. การทำตลาด มะไฟจีนแปรรูป มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมความต้องการของผู้ซื้อในจังหวัดพะเยา และได้ทำการทดลองการจำหน่ายให้กับผู้บริโภคผ่านตลาดกิจกรรมของเทศบาลและการขายผ่าน online โดยผ่านในรายวิชาการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พื้นที่จังหวัดน่าน ได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตและการพัฒนาฉลากบรรจุภัณฑ์ ซองบรรจุภัณฑ์และการตรวจสอบคุณภาพทางโภชนาการ มียอดขายรวม 264,285 บาท โดยผ่านกิจกรรมการแปรรูปสินค้าทางเกษตร โดยผ่านกิจกรรมทางการตลาดดังต่อไปนี้
1) ร้านค้าส่ง
2) ด้านการขายผ่านระบบ online
3) การขายในงานอีเว้นท์ และ
4)กิจกรรมทางการตลาดที่มหาวิทยาลัยเข้าช่วย

5. การทำตลาดปลานิล มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำการเพาะเลี้ยงลูกปลานิล และหาพื้นที่ต้นแบบในการเลี้ยงปลานิล (ต้นน้ำ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พื้นที่จังหวัดน่าน ได้ทำการศึกษาอนุบาล การสร้างกลุ่มเกษตร การให้ความรู้การเพาะเลี้ยง รวมทั้งช่วยพัฒนาการอาหารปลา ซึ่งปลานิล ต้นทางพะเยา และการเลี้ยงที่น่าน มียอดการส่งลูกปลานิล 140,000 ตัว และมีการจองเพื่อส่งในอนาคต อีก 90,000 ตัว ทำให้มีรายได้เฉพาะส่วนการผลิตประมาณ 35,000 บาท เนื่องจากปลานิลจะต้องใช้ระยะเวลา 6 เดือนเป็นอย่างน้อยในการเติบโตพร้อมขายดังนั้น คาดการณ์ว่าหลังเสร็จโครงการเกษตรจะมีรายได้ จากการจับปลาขาย ราว 3,360,000 บาท (การคำนวณ ลูกปลา 140,000 ตัว อัตราการรอดร้อยละ 80 ขนาดปลาขายประมาณ ตัวละ 600 กรัม และขายได้กิโลกรัมละ 50 บาท)

6. การศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ของโครงการวิจัย การประเมินผลผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากงานวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทาน และกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 เป็นการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ในแต่ละกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพืช 5 ชนิดที่งานวิจัยได้นำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาฯ ซึ่งประกอบด้วย ข้าว โคขุน ส้มสีทอง มะไฟจีน และปลานิล ผลการประเมิน พบข้อมูลดังนี้ ในงานวิจัยเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า
1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 16,292,797.59 บาท
2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผล          ตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 1,075.71
3) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 2.57
4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 1.94 ปี หรือ 1 ปี 11 เดือน 9 วัน

จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของข้าว มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 7,361,885.01 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ในงานวิจัยเกี่ยวกับโคขุน ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า
1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 55,543,519.15 บาท
2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 1,969.92
3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefits Cost Ratio: B/C ratio) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 1.34 และ
4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 3.72 ปี หรือ 3 ปี 8 เดือน 20 วัน

จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของโคขุน มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 21,082,543.28 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ในงานวิจัยเกี่ยวกับส้มสีทอง ผลการเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า
1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 12,744,912.42 บาท
2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 1,048.04
3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefits Cost Ratio: B/C ratio) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 1.45 และ
4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 3.44 ปี หรือ 3 ปี 5 เดือน 10 วัน

จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของส้มสีทอง มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 5,882,171.52 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ในงานวิจัยเกี่ยวกับมะไฟจีน ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า
1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 5,857,300.68 บาท
2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 378.67
3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefits Cost Ratio: B/C ratio) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 1.30 และ
4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 3.85 ปี หรือ 3 ปี 10 เดือน 6 วัน

จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของมะไฟจีนมีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 1,871,284.52 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ในงานวิจัยเกี่ยวกับปลานิล ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ พบว่า
1) มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ (Net Present Value: NPV) พบว่า มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเท่ากับ 4,469,907.18 บาท บาท
2) อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) พบว่า อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 162.47
3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefits Cost Ratio: B/C ratio) พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่าเท่ากับ 1.29 และ
4) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) พบว่า ระยะเวลาคืนทุน (PB) มีค่าเท่ากับ 3.84 ปี หรือ 3 ปี 10 เดือน 3 วัน

จากตัวเลขการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ แสดงให้เห็นว่า โครงการวิจัยการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทานและกลไกทางการตลาดของสินค้าเกษตรในภาคเหนือตอนบน 2 ในส่วนของมะไฟจีน มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้สุทธิสูงกว่าการไม่ได้ดำเนินโครงการ กว่า 1,948,837.27 บาท ในระยะเวลา 5 ปี

Title

The development of supply chain driving mechanisms and marketing mechanisms for agricultural products in the upper northern region 2

Keywords

The development of supply chain driving mechanisms,Marketing mechanism of agricultural products,Upper Northern 2,Product matching between provinces

Abstract

สำหรับสมาชิกเท่านั้น