นวัตกรรมการพัฒนาและยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์มังคุดโอทอปครบวงจร ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคตะวันออก

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 24 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630065
นักวิจัย Anan Pongtornkulpanich
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, ชลบุรี

ชื่อโครงการ

นวัตกรรมการพัฒนาและยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์มังคุดโอทอปครบวงจร ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภาคตะวันออก

คำสำคัญ

มังคุด,นวัตกรรม,มูลค่าผลิตภัณฑ์,เกษตรกร

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัยเรื่องนวัตกรรมการพัฒนาและยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์มังคุดโอทอปครบวงจรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภาคตะวันออก พัฒนาตาม platform การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมลํ้า โปรแกรมนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม โครงการมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเองบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญหลักคือเกิดนวัตกรรมชุมชน และยกระดับรายได้ให้กับชุมชน จากการศึกษาความต้องการของ 5 วิสาหกิจชุมชน การวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็งภายในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และห่วงโซ่คุณค่าของผลผลิตของมังคุด ด้วยกระบวนการ mixed method สามารถสังเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าใหม่สำหรับเปลือกมังคุดที่มีการเหลือใช้ในกลุ่มเกษตรกรและผู้แปรรูปมังคุด ห่วงโซ่คุณค่าของเปลือกมังคุดใช้กระบวนการแปรรูปด้วยองค์ความรู้ สิ่งประดิษฐ์ ที่ปรับประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ ผลผลิตคือนวัตกรรมแผ่นที่เตรียมจากเปลือกมังคุด ซึ่งสามารถแปลงสภาพเป็นเครื่องใช้ในอาคารได้เป็นอย่างดี นวัตกรรมนี้ทำให้เกิดมูลค่าจากของเหลือทางการเกษตรและ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้ประโยชน์ เนื่องจากภายในเปลือกมังคุดมีสารต้านแบคทีเรียและเชื้อรา จึงขยายผลความต้องการได้หลายหลายกลุ่มผู้บริโภค ในขณะเดียวกันเทคโนโลยี และองค์ความรู้ ได้ถูกประยุกต์ใช้ในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่ามังคุดแปรรูปให้มีความหลากหลายเพื่อขยายตลาดผู้บริโภค ในขั้นตอนการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่านี้ มีการนำประเด็นที่ชุมชนต้องการมาปรับปรุงได้แก่ รูป รส กลิ่น สี มาตรฐานกระบวนการผลิต และบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย พร้อมใช้ น่าสนใจ สะท้อนความเป็นมังคุดและสะอาด ผลผลิตภัณ์ใหม่และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาในงานวิจัยนี้ได้แก่ น้ำมังคุด ถ่านเปลือกมังคุด มังคุดกวน มังคุดแช่อิ่มอบน้ำผึ้ง ขนมชีสมังคุด น้ำพริกมังคุด และซอสมังคุด เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการนี้ได้พัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเดิมและมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดรายได้ของวิสาหกิจชุมชนสูงขึ้น สำหรับการสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่จากของเหลือของกระบวนการผลิตและบริโภคมังคุด โดยใช้หลัก zero waste และ BCG economy สามารถสร้างอาชีพใหม่ เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และเกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากการประเมินกลไกการดูดซับทางเศรษฐกิจด้วยการวิเคราะห์ผลตอบแทนของการลงทุน (Return on Investment: ROI) และการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) พบว่าผลผลิตและผลลัพธ์จากการวิจัยส่วนมากสามารถตอบแทนการลงทุนและการตอบแทนทางสังคมได้อย่างคุ้มค่า จากขบวนการวิจัยครั้งนี้เกิดการรวมตัวของวิสาหกิจชุมชนเพื่อช่วยเหลือและต่อรองการดำเนินการต่างๆ อย่างเข้มแข็งมากขึ้น เมื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้มายัง 5 วิสาหกิจชุมชน และจากการสร้างแบบจำลองการถดถอยแบบพหุของกลไกดูดซับเศรษฐกิจหมุนเวียนจากห่วงโซ่คุณค่าและวิเคราะห์ความมีอิทธิพลของตัวแปรกลไกดูดซับเศรษฐกิจหมุนเวียนจากห่วงโซ่คุณค่าต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน พบว่ามี 2 ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value =0.01)

(1) รายได้ของสมาชิกและเกษตรกรขึ้นอยู่กับโอกาสเกิดวิสาหกิจรายใหม่
(2) การลดขยะของเสียรวมถึงต้นทุน

นอกจากนี้มีการถอดบทเรียนเพื่อพัฒนานักวิจัย ผู้ประกอบการและการบริหารจัดการส่วนกลางของมหาวิทยาลัย เพื่อปรับพื้นฐานในการเชื่อมต่อสำหรับการทำงานร่วมกันภายใต้เครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนในการพัฒนาเชิงพื้นที่ platform การเรียนรู้นี้สามารถเป็นต้นแบบให้ผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แม้สถานการการแพร่ระบาดขอ COVID-19 อาจจะส่งผลให้เป้าหมายของโครงการวิจัยชุดนี้ในส่วนของการเพิ่มรายได้มิอาจลุล่วงไปได้ แต่สิ่งที่วิสาหกิจในพื้นที่ได้รับและประสบความสำเร็จเด่นชัดในการชะลอการไหลของเงินออกจากพื้นที่ และด้านความคุ้มค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนต่อไปจึงมีแผนการเปลี่ยนนักวิจัยเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนทั้ง 10 แห่ง เพื่อสร้างนวัตกรชุมชน

Title

Innovative Development and Elevation of Entire Mangosteen OTOP Products of Community Enterprise in the East

Keywords

Mangosteen,Innovation,Product Value,Agriculture

Abstract

A series of research projects on Innovative Development and Elevation of Entire Mangosteen OTOP Products of Community Enterprise in the East is developed as following a research and innovation development platform for local development and inequality reduction, Innovation for local economy and innovative local program. It aims to increase the capacity of local communities to develop self-reliance and self-management based on sufficiency economy philosophy. The main achievement is to initiate innovative community and raise income for the community. From the study of the requirements of five local enterprises, analysis of weaknesses-strengths within Chanthaburi Province and the value chain of mangosteen products using mixed method, it is able to synthesize a new value chain for mangosteen peels that are wastes from the mangosteen agriculture and procesing. The value chain of mangosteen peel is applied by using knowledge and inventions that are applied by each area receiving innovative sheet prepared by mangosteen peel (mangosteen peel plywood), which can be converted into appliances in the building as well. This innovation leads to build the values from agricultural wastes and friendly environment and users. Due to mangosteen peel containing antibacterial and antifungal substances, it expands the requirements of many groups of consumers. In the same time, the technology and knowledge have been applied to develop the present mangosteen value chain. This increases the varieties of consumers. In the process of the value chain development, issues that the community require to improve, which are texture, tasting, smelling, color and standards of production process and modern packaging that is ready to use, attractive, reflecting the mangosteen and clean, are developed. The new products and developed products from this research are mangosteen juice, mangosteen peel charcoal, stirred mangosteen, honey-baked mangosteen, cheese mangosteen cracker, mangosteen chili and mangosteen sauce. The new technologies and innovation are created from this research that have developed the original value chain and promoted the higher incomes of local enterprises. For the creation of a new value chain from the residues of mangosteen production and consumption by using the zero waste principle and the BCG economy can create new careers, increase income for farmers and environmental conservation. From the evaluation of the economic absorption mechanism through the Return on Investment (ROI) and the analysis of the Social Return on Investment (SROI), it was found that almost all the outputs and outcomes from this research can valuably return on investment and societies. According to the research process, there is an agglomeration among the local enterprises to strongly support and negotiate processes. When technology and knowledge are transferred to 5 local enterprises and by constructing a multiple regression model of the circular economy adsorption mechanism from the value chain and analysis with the influence of the circular economy adsorption mechanism from the value chain on the sustainable development of local enterprises, it was found that the incomes of the members and farmers depend on 2 main statistically significant factors (P value = 0.01):

(1) the opportunity for new emerging enterprises
(2) the reduction of waste and investment costs.

In addition, there are lessons learned to develop researchers, entrepreneurship and central administration of the university to work together for area based development with the co-sponsored network. These learning platforms can be models for other agencies, who are interested to apply for maximum benefit. Although the epidemic situation of COVID-19 may result in the unachieved goal in term of increasing, but local enterprises have gained and achieved markedly to be slow the money flow out of the area, including social and environmental values. For further sustainability, there is a plan to change researchers to be mentors in the development of 10 local enterprises to create innovators.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น