การพัฒนาศักยภาพและยกระดับห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากข้าวของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 29 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630015
นักวิจัย รศ.ดร. สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์
หน่วยงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ฉะเชิงเทรา

ชื่อโครงการ

การพัฒนาศักยภาพและยกระดับห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากข้าวของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ

ห่วงโซ่คุณค่าข้าว,มูลค่าเพิ่มข้าว,ห่วงโซ่อุปทานข้าว,วิสาหกิจชุมชนข้าว,โรงสีข้าววิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยชุด เรื่อง การพัฒนาศักยภาพและยกระดับห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากข้าว ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิของวิสาหกิจชุมชน
2) วิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน มูลค่าเพิ่ม และการกระจายรายได้ในห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิของวิสาหกิจชุมชน
3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าข้าว ของวิสาหกิจชุมชน
4) ติดตามและประเมินผลกระทบจากการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานในรูปแบบใหม่ที่มี ต่อวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกรสมาชิก

โดยดำเนินการร่วมกับวิสาหกิจชุมชน 5 แห่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านหนองแสง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบึงตะเข้ วิสาหกิจชุมชนโรงสีชุมชนบ้านนางาม วิสาหกิจชุมชนเกษตรพึ่งตนฅนอินทรีย์บ้านหินแร่ และวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต มีจำนวนเกษตรกรสมาชิก 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลและทวนสอบผลให้กับผู้นำวิสาหกิจชุมชนเพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกัน สรุปเป็นองค์ความรู้และค้นหาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และมาจากความต้องการของวิสาหกิจชุมชน (Demand pull) และพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปใหม่ตามความต้องการ ของตลาด (Market pull) เป็นหลัก ผลการวิเคราะห์ภาคีในห่วงโซ่อุปทานข้าวสารบรรจุถุงสุญญากาศของวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วยเกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกข้าวและวิสาหกิจชุมชนที่ทำหน้าที่ทั้งผู้รวบรวม ผู้แปรรูปและผู้จัดจำหน่าย โดยพบว่า วิสาหกิจชุมชนแต่ละแห่งยังไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวที่หลากหลายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม บรรจุภัณฑ์ ยังไม่สวยงาม ไม่มีช่องทางการจำหน่ายเป็นของตนเอง ขาดข้อมูลลูกค้าเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาสินค้า ให้ตรงกับความต้องการของตลาด การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตข้าวสารบรรจุถุงสุญญากาศของวิสาหกิจชุมชนทั้ง 5 แห่ง พบว่า ข้าวสารเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 82.46 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมาคือต้นทุนค่าถุงสุญญากาศ และต้นทุนค่าสติ๊กเกอร์ คิดเป็นร้อยละ 6.35 ร้อยละ 4.06 ของต้นทุนทั้งหมด ด้านผลตอบแทนจากการขายข้าวสารบรรจุถุงสุญญากาศเมื่อหักต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารแล้ว พบว่า วิสาหกิจชุมชนที่มีกำไรจากการดำเนินงานแต่ยังขาดสภาพคล่อง โดยมีวิสาหกิจชุมชนฯ 3 แห่ง ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนฯ บ้านหนองแสง บ้านบึงตะเข้ และ บ้านนางาม มีกำไรสุทธิจากธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 25 ร้อยละ 12.61 และร้อยละ 6.9 ของยอดขาย ตามลำดับ ขณะที่วิสาหกิจชุมชนอีก 2 แห่ง ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนฯ บ้านหินแร่ และสนามชัยเขต พบว่า ไม่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจข้าวสารบรรจุถุง และเมื่อพิจารณาสัดส่วนรายได้ของแต่ละภาคี พบว่าผู้ที่มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นได้แก่ ผู้แปรรูป ผู้กระจายสินค้าและ ผู้จำหน่าย ซึ่งผู้ที่มีสัดส่วนรายได้มากที่สุด คือ ผู้จำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภค โดยข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่บรรจุถุงสุญญากาศเป็นผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนที่มีสัดส่วนรายได้ของภาคีในห่วงโซ่คุณค่าสูงที่สุด อย่างไรก็ดี สัดส่วนรายได้ที่สูงสุดในผู้จัดจำหน่ายซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ปลายน้ำของโซ่อุปทานจะถูกกระจายไปที่กิจกรรมกลางน้ำเพื่อใช้เงินทุนหมุนเวียนในการแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งการหาตลาดรองรับสินค้าของวิสาหกิจชุมชน แนวทางการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจข้าวบรรจุถุงสุญญากาศของวิสาหกิจชุมชนที่สำคัญแบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่

1) ด้านการผลิต โดยการพัฒนาเดิมให้พร้อมเข้าสู่ตลาดเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ สร้างแบรนด์ และสร้างระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
2) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาจากภูมิปัญญาและพัฒนาจากความต้องการของตลาด ได้แก่ ขนมจีนอบแห้ง และซีเรียลข้าว ที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ่านการทดสอบการชิมจากผู้บริโภคแต่ยังไม่สามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้เนื่องจากจะต้องลงทุนในเทคโนโลยีและการรับรองมาตรฐานการผลิต ขณะที่ผลิตภัณฑ์แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่สามารถนำออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้
3) ด้านการตลาด โดยการขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ในรูปแบบ Market Place และการสร้างเครือข่ายการตลาดร่วมกับฟาร์มเจ้าคุณ by KMITL การพัฒนาต่อยอดร้านค้าชุมชนและการจัดตั้งตลาดเขียวชุมชนเพื่อให้เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าของชุมชนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในชุมชน
4) ด้านการพัฒนาสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจวางแผนการผลิต ได้แก่ ฐานข้อมูลการผลิตข้าวผ่าน Mobile Application สถานภาพทางการเงินของวิสาหกิจชุมชน และการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน
5) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ ไวนิล และสื่อดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสินค้าของวิสาหกิจชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
6) ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้กับวิสาหกิจชุมชน

ผลการดำเนินงานในการยกระดับมูลค่าเพิ่มข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปของวิสาหกิจชุมชน พบว่า

1) มีภาคีเข้ามาเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่าข้าวของวิสาหกิจชุมชนเพิ่มขึ้น ได้แก่ Market Place พื้นที่การตลาด online ที่ดำเนินการในรูปแบบกิจการเพื่อสังคมและฟาร์มเจ้าคุณ by KMITL ซึ่งเป็นเครือข่ายการตลาด และการสร้างแบรนด์สินค้าของวิสาหกิจชุมชน
2) พัฒนาผลิตภัณฑ์เดิม (ข้าวบรรจุถุงสุญญากาศ) ด้านพัฒนาบรรจุภัณฑ์และรูปทรงการบรรจุที่สามารถวางขายในเชิงพาณิชย์และเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ
3) ขยายช่องทางการตลาด ทั้งร้านค้าชุมชน ตลาดเขียวชุมชนและช่องทางการตลาดออนไลน์
4) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่-ผลิตภัณฑ์แปรรูปแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่สามารถจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์
5) การมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น เช่น ทำขนมไทย การปลูกผัก และการจักสานชลอมเพื่อใส่ข้าวสารบรรจุถุงเป็นของฝากของขวัญในเทศกาลต่าง ๆ

ผลจากจากการยกระดับห่วงโซ่คุณข้างต้นส่งผลต่อรายได้ทางตรงที่เพิ่มขึ้นได้แก่ รายได้ จากปริมาณการขายข้าวสารบรจุถุงสุญญากาศที่เพิ่มขึ้น จำนวน 954 กิโลกรัม รวมมูลค่าการจำหน่าย 58,110 บาท และการผลิตภัณฑ์แปรรูปแป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์ ซึ่งจากการขายในตลาดในช่วงระยะเวลา 2 เดือน (กรกฎาคม – สิงหาคม 2564) พบว่า มียอดจำหน่ายถึง 50 กิโลกรัมๆ ละ 120 บาท รวมมูลค่า 6,000 บาท และส่งผลทางตรงต่อต้นทุนทางตรงที่ลดลงได้แก่ ต้นทุนค่าถุงบรรจุที่ลดลงระหว่าง 0.5-1.5 บาทต่อกิโลกรัม รูปแบบการกระจายรายได้สู่เกษตรกรสมาชิก คือ การที่วิสาหกิจชุมชนสามารถซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิกได้ปริมาณมากขึ้น เพื่อนำมาแปรรูปและจัดจำหน่ายในช่องทางการตลาดใหม่ๆ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของโครงการสำหรับวิสาหกิจชุมชนทั้ง 5 แห่ง พบว่า ค่า ROI อยู่ระหว่าง 11.04 % ถึง 37.41 % โดยวิสาหกิจชุมชนฯ สนามชัยเขต มีผลตอบแทนการจากการลงทุนสูงที่สุดเนื่องจากไม่มีการลงทุนในโรงสีข้าว สินค้ามีมาตรฐานการผลิต และมีร้านค้าที่ผู้บริโภครู้จักและเข้าถึงได้สะดวก ขณะที่กลุ่มที่มีค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) มากที่สุด คือ วิสาหกิจชุมชนฯ บ้านหนองแสง 31.13 เท่า กล่าวคือ เงินลงทุน 1 บาท ที่ลงทุนในโครงการฯ สามารถสร้างประโยชน์ทางสังคมด้วยมูลค่า 31.13 บาท เนื่องจากผลผลิตของสมาชิกผลิตข้าวภายใต้มาตรฐาน Organic Thailand และเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีสมาชิกมากที่สุดจำนวน 46 ราย ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับการดำเนินธุรกิจข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปของวิสาหกิจชุมชนที่สำคัญคือ

1) วิสาหกิจชุมชนควรนำข้อมูลเชิงประจักษ์และความรู้ไปปรับใช้ โดยการวางแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
2) พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปต่อยอดจากกิจกรรมโครงการนี้ ได้แก่ แป้งข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมจีนอบแห้งและซีเรียลข้าวให้เข้าสู่ตลาดได้และมีมาตรฐานรองรับ
3) การเพิ่มทักษะการทำธุรกิจของผู้นำเพื่อนำไปสู่การเพิ่มสภาพคล่องทางธุรกิจ
4) ควรขยายรูปแบบแพลตฟอร์มการยกระดับวิสาหกิจชุมชนภายใต้กิจกรรมโครงการนี้ขยายผลไปยังผลผลิตทางการเกษตรและวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ต่อไป

คำสำคัญ : ห่วงโซ่คุณค่า ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าข้าว ข้าวสารบรรจุถุงสุญญากาศ วิสาหกิจชุมชน ต้นทุนผลตอบแทน การกระจายรายได้

Title

The Potential Development and Value Chain Enhancement of High Value Products from Rice of Community Enterprises in Chachoengsao Province

Keywords

rice value chain,rice value added,rice supply chain,rice community enterprise,commnuniy enterprise rice mill

Abstract

The series of research projects entitled: the potential development and value chain enhancement of high-value products from rice of community enterprises in Chachoengsao province aimed to

1) analyze the efficiency of community enterprises rice supply chain management.
2) analyze the cost, return, added value, and distribution of income in the jasmine rice supply chain of community enterprises.
3) provide guidelines on rice value chain development of community enterprises.
4) monitor and assess the impact on the new supply chain development on community enterprises and member farmers.

This research was conducted in five community enterprises (CE) in Chachoengsao Province, namely; Ban Nong Saeng Community Rice Mill, Ban Bueng Takhe Farmers Housewives Group, Ban Na Ngam Community Mill, Ban Hin Rae’s Self-Reliant Organic Agriculture, and Sanamchaikhet Organic Agriculture Group, The data were collected from interviews, group discussions, and brainstorming sessions, analyzed and feedback the result to the CE’s leaders, to discuss, summary of knowledge and discover methods to add value to rice of the community enterprises in accordance with area contexts derived from the requirement of community enterprises (Demand-Pull) and developing new processed products mainly from market demand (Market-Pull), The results of the analysis of partners in the vacuum bagged rice supply chain of community enterprises consisting of farmers, rice growers and community enterprises acting as both collectors. processors and distributors. It was found that each community enterprise has not developed a variety of rice products to create added value, the packaging is not yet beautiful. Lack of their own distribution channel, and lack of customer information to improve and develop products to meet market demand. From collecting and analyzing the cost data of vacuum-packed rice production of the five community enterprises, it was found that, in general, the cost of rice was the highest proportion accounting for 82.46% of the total cost. This was followed by the cost of vacuum bags at 6.35% and the cost of stickers at 4.06% of the total cost. In terms of the return from sales of vacuum bagged rice of community enterprises after deducting cost of sales and selling and administrative expenses, the community enterprises Community enterprises with operating profits but they had low liquidity. Three community enterprises, namely Ban Nong Saeng Community Enterprise, Ban Bueng Ta Khe and Ban Na Ngam, had net profits of 25 percent, 12.61 percent and 6.9 percent of sales, respectively, while the other two community enterprises were enterprises. The community at Ban Hin Rae and Sanam Chaikhet found that there was no net profit from the packaged rice business. When considering the income proportions of each party, the value chain, processors, distributors, and distributors gained the value-added. Product sellers to the consumers was actors who acquired the most income proportion. At the same time, vacuum-packed brown rice berries were products of community enterprises with the highest percentage of partners income in the value chain. However, the highest proportion of revenue in distributors downstream of the supply chain was distributed to midstream activities to be used as working capital in privatization, packaging, and finding markets to support the products of community enterprises. Guidelines for upgrading the vacuum bagged rice business value chain of important community enterprises are divided into 6 aspects as follows.

1) production aspects, by developing the original to be ready to enter the commercial market more by developing packaging, building a brand, and building a traceability system.
2) new product development aspects, to create added value. The new processed products were developed based on wisdom and market demand, such as Thai noodled dried, and rice cereal, which can be developed into prototypes through consumer tasting tests, but still cannot be commercially, since faced the limitation of investment in technology and certification of production standards. While the rice berry flour products can be commercially.
3) Marketing aspects, by expanding online marketing channels in the form of Market place and building a marketing network with Chao Khun Farm by KMITL, developing community shops and establishing a community green market to become a place to sell products of the community and exchanging knowledge between producers and consumers in the community.
4) information development aspects, to be used in decision making in production planning, including rice production database via Mobile Application, financial status of community enterprises and household accounting records.
5) Public relations media aspects, both in print media, brochures, vinyl and digital media. to disseminate product information of community enterprises to become more known.
6) knowledge transfer and workshops to build capacity of community enterprises.

The results of raising the value added of rice and processed products of community enterprises found that

1) There are more partners involved in the rice value chain of community enterprises, such as market place, an online marketing space operated in the form of social enterprises, and Farm Chao Khun by KMITL, which is a marketing network and product branding of community enterprises.
2) Develop original products (Vacuum bagged rice) by developing packaging and packing shapes that are commercially available and entering new markets.
3) Expand marketing channels; community stores, community green market and online marketing channel, 4) Develop new products-Processing Rice berry Flour that can be sold commercially.
5) having additional income such as making Thai desserts, growing vegetables, and basketry for packing bags of rice as souvenirs.

As a result of the above upgrading of your chain, the increase in direct income is as follows: Revenue from sales of vacuum bagged rice increased in the amount of 954 kilograms with a total sales value of 58,110 baht and organic rice berry flour processing products. From selling in the market during a period of 2 months (July – August 2021), it was found that sales of 50 kilograms were 120 baht each, with a total value of 6,000 baht. And directly affecting the reduction of direct costs, namely the cost of packing bags is reduced between 0.5-1.5 baht per kilogram. The model of income distribution to member farmers is that community enterprises can purchase more paddy from member farmers. to be processed and distributed in new marketing channels. In addition, the results of the analysis of the return on investment (ROI) of the projects for the 5 community enterprises found that the ROI ranged from 19.53% to 70.49%. The community enterprise at Chaikhet Sanam has the highest return on investment due to no investment in rice mills, the product has production standards, and there are stores that consumers know and can easily access. While the group with the highest social return on investment (SROI) was Ban Nong Saeng Community Enterprise, 31.13 times, that is, 1 baht of investment invested in the project. Can create social benefits with a value of 31.13 baht because the products of the members produce rice under the Organic Thailand standard and is a community enterprise with the most 46 members. As a result of the above upgrading of your chain, the increase in direct income is as follows: Revenue from sales of vacuum bagged rice increased in the amount of 954 kilograms with a total sales value of 58,110 baht and organic rice berry flour processing products. From selling in the market during a period of 2 months (July – August 2021), it was found that sales of 50 kilograms were 120 baht each, with a total value of 6,000 baht. And directly affecting the reduction of direct costs, namely the cost of packing bags is reduced between 0.5-1.5 baht per kilogram. The model of income distribution to member farmers is that community enterprises can purchase more paddy from member farmers. to be processed and distributed in new marketing channels. In addition, the results of the analysis of the return on investment (ROI) of the projects for the 5 community enterprises found that the ROI ranged from 11.04% to 37.41%. The community enterprise at Chaikhet Sanam has the highest return on investment due to no investment in rice mills, the product has production standards, and there are stores that consumers know and can easily access. While the group with the highest social return on investment (SROI) was Ban Nong Saeng Community Enterprise, 31.13 times, that is, 1 baht of investment invested in the project can create social benefits with a value of 31.13 baht because the products of the members produce rice under the Organic Thailand standard and is a community enterprise with the most 46 members. The main point to recommend improving rice and processed business operations of important community enterprises are;

1. community enterprises should apply empirical data and knowledge by planning the production to produce products in line with the market demand.
2. Develop processed products from this project activity, including rice berry flour, dried Thai noodles, and rice cereals can enter the market and have standards to support.
3. Enhance business skills to a leader to increased business liquidity.
4. The platform to enhance the community enterprise rice business should be expanded to other agricultural activities, and neighbor community enterprise.

Keyword : value chain, rice value added products, rice packed in vacuum bags, community enterprise, return cost, income distribution

สำหรับสมาชิกเท่านั้น