บพท. ร่วมกับ สกสว. และภาคีเครือข่าย ววน.   
นำทีมจัดแสดง“พลังจากองค์ความรู้วิจัยและพัฒนา”  
ณ อาคารรัฐสภา

เมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม 2566 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้เข้าร่วมงานแถลงผลการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) 4 ปีของการลงทุน ประเทศไทยได้อะไรและจะไปต่ออย่างไร และร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย “เศรษฐกิจฐานราก” ของหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และ Policy Forum เพื่อสนับสนุนการทำงานในกระบวนการนิติบัญญัติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และภาคีเครือข่าย ที่อาคารรัฐสภา โดยมี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธี ภายในงานมีการจัดเวทีเสวนาห้องย่อย นำเสนอภาพรวมผลงาน ววน. โดยแบ่งออกเป็น 6 theme ได้แก่ 1) “ปาก ท้อง ดี” ขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างเศรษฐกิจฐานราก 2) เกษตรและอาหาร พลังเพื่ออนาคตไทย   3) สิ่งแวดล้อมดี “ดังและร้อน: ลด และ รับ กับภาวะโลกรวน” 4) สุขภาพดี “ก้าวที่มั่นคงของสุขภาพคนไทยด้วย ววน.” 5) สูงวัยดี มีพฤฒิพลัง และ 6) สร้างกำลังคนดี ประเทศมีอนาคต “การพัฒนากำลังคนด้าน ววน. และการสร้างกำลังคนทักษะสูง”

หน่วย บพท. นำโดย ดร.อโศก พลบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ได้ร่วมบรรยายห้องย่อย “ปาก ท้อง ดี” ขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างเศรษฐกิจฐานราก” ภายใต้ ววน. กับการแก้ไขปัญหาความยากจนและเศรษฐกิจฐานราก ในหัวข้อ “ชนะความจน บนฐานพลังความรู้ ได้กล่าวถึงการยกระดับพื้นที่ด้วยองค์ความรู้ ศักยภาพของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ทำให้เข้าใจบริบทของพื้นที่ได้ดี จึงทำให้เกิดแพลตฟอร์มขจัดวามยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (PPAP) ขึ้น ซึ่งสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนจน ให้ได้รับโอกาสทางสังคม

ทั้งนี้ ได้นำเสนอรูปธรรมความสำเร็จ (Case study) “ปาก ท้อง ดี” (Case study) ด้วยโมเดลความสำเร็จการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ : กรณีศึกษากระจูดแก้จน และรถพุ่มพวงแก้จน” โดย รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ และ ดร.พิสมัย ประชานันท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการบูรณาการความร่วมมือภาคีเครือข่ายและการนำองค์ความรู้ด้าน ววน. ไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนขยายผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และแนวทางในการกำหนดทิศทางก้าวต่อไปของประเทศสู่การขับเคลื่อนไทยด้วย ววน. ได้อย่างมั่งคงและยั่งยืนต่อไป

นอกจากนั้นได้นำเสนอนิทรรศการในหัวข้อ “เศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งประกอบไปด้วยการพัฒนาขีดความสามารถของ Local Enterprises บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ด้วยกลยุทธ์การใช้ข้อมูลเป็นตัวนำความสำเร็จ ด้วยการวิเคราะห์สภาพบริบทผ่านเครื่องมือ “เกื้อกูลLEs Super APP” ที่จะออกแบบและสนับสนุนด้วยองค์ความรู้ พร้อมการ coaching ที่จะช่วยให้หนี้สินลดลง รายได้สูงขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และตัวอย่างรูปธรรมความสำเร็จอย่าง “โมเดลกระจูดแก้จน” และ “โมเดลรถพุ่มพวงแก้จน” ซึ่งเป็นต้นแบบโมเดลแก้จนระดับพื้นที่ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในมิติอาชีพและเศรษฐกิจโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่และสร้าง Pro-poor value chain ที่ขับเคลื่อนระบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ อันจะช่วยหนุนเสริมภาคีในพื้นที่ ยกระดับรายได้ครัวเรือนให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน

สถิติการเข้าชม