บพท. แถลงเปิดตัวความร่วมมือ “ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย” ยกระดับพื้นที่ชายแดนด้วยงานวิจัย คน และวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) หน่วยบพท. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวและมหาวิทยาลัยหัวจงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานแถลงเปิดตัว (Kick off) “โครงการการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยมี นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์

งานนี้เกิดขึ้นจากแผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศ หรือเรียกว่า “พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor)” ซึ่งเชื่อมเมืองต่าง ๆ บริเวณชายแดนเข้าหากัน โดยพื้นที่ชายแดนเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของการพัฒนาของประเทศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่ชายแดนจึงจำเป็นต้องยกระดับความมั่นคงและคุณภาพชีวิตเมืองชายแดน บนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม โดยใช้ข้อมูลและความรู้ไปพัฒนาทั้งระดับมหภาค (Macro Level) (ระดับระเบียงเศรษฐกิจ) และระดับจุลภาค (Micro Level) (ระดับเมืองชายแดน) เพื่อให้เกิดกลไกที่เชื่อมประสานและยึดโยงระหว่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในระดับต่าง ๆ รวมทั้งเกิดการเชื่อมต่อทางผู้คน การค้า และการลงทุน ซึ่งหากการพัฒนาของพื้นที่ระเบียงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมตะเข็บชายแดนระหว่างประเทศเข้าหากันได้ ความเจริญที่เกิดขึ้นนอกจากจะทำให้เกิดความมั่งคั่งของประเทศแล้วยังสามารถเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและกระจายความเจริญสู่เมืองและพื้นที่ชายแดนต่าง ๆ ได้ จึงเป็นที่มาของจึงได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น“โครงการการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนในการพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยเครือข่าย ภาคีเครือข่ายอื่น ๆ และผู้เกี่ยวข้อง เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ ความต้องการ ปัจจัยการสนับสนุน ข้อจำกัด และผลกระทบเกี่ยวกับการค้าการลงทุนในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาและการยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดนและระเบียงเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย-ลาว–จีน

ภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ บรรยายพิเศษในหัวข้อ “นโยบายและแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่และการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทิศทางความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสต์ ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจ รวมถึงการบรรยายในหัวข้อ “นโยบายและแผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทยและอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน” โดย Professor Li Wei, Ph.D. ASEAN Research Center, Huazhong University of Science and Technology ที่ได้กล่าวถึงนโยบายสาธารณะ และแผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทยและอาเซียน สาธารณรัฐประชาชนจีน และสิ่งสำคัญคือเรื่องของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และจบกิจกรรมในช่วงเช้าด้วยการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ การพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือ โอกาส ความท้าทาย ความร่วมมือการค้าการลงทุนบนระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Director of research and academic service office and Director of Chinese Studies Center Laos Vientiane Saysettha Operation Management Co., Ltd Chaiman of tourism council nongkhai บริษัท พัฒนาเมืองขอนแก่น (เคเคทีที) จำกัด และมูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้าเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้เห็นถึงทิศทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนกิจกรรมในช่วงบ่ายจะเป็นช่วงเวลาในการเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นกัน ร่วมกับผู้ประกอบการ นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบนระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย:ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวทั้ง 2 ช่วงได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมการประชุมที่มาจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกว่า 70 คน

โดยการจัดงานในครั้งนี้นอกจากจะช่วยผลักดันให้เกิดระเบียงเศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านอย่างเป็นรูปธรรมแล้วนั้น ยังช่วยส่งเสริมการวิจัยในมิติเศรษฐกิจชายแดน อาทิ การเชื่อมโยงชายแดนด้วยคนและวัฒนธรรม การเชื่อมโยงด้วยโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมโยงด้วยการลงทุน และการเชื่อมโยงทางนโยบาย ซึ่งเกิดจากการสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อสร้างเป้าหมายร่วมและแผนระดับพื้นที่ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนนำไปสู่การลงทุนที่เหมาะสม ยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของคนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจชายแดน

สถิติการเข้าชม