วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) จัดการประชุมหารือการบูรณาการความร่วมมือในการสร้างเป้าหมายร่วมและหารือแนวทางการทำงานเพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ณ ห้องประชุมหว้ากอ 1 อาคารจัตุรัสจามจุรี สอวช.
นำโดยคณะผู้บริหารและคณะทำงาน ได้แก่ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการ พอช. ดร.กิตติ
สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วย บพท. นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสว. นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการ สสว. และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกว่า 40 ท่าน
ในโอกาสนี้ทั้ง 4 หน่วยงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนบทบาทและภารกิจของหน่วยงาน และหารือแนวทางการสร้าง
เป้าหมายร่วมและแนวทางการทำงานร่วมกัน ดังนี้
1) หารือเป้าหมายร่วมในการทำงานในสองกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ (1) คนจนและครัวเรือนยากจนในพื้นที่ ตามระบบข้อมูล TPMAP ทั่วประเทศกว่า 6 ล้านคน (ตามดัชนีใหม่เรื่องเกณฑ์รายได้และชีวิตความเป็นอยู่) รวมถึงระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน PPPCONNEXT จากงานวิจัยของ อว. ใน 20 จังหวัดยากจนกว่า 9 แสนคน และ (2) การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากผ่าน ผู้ประกอบชุมชน (Local Business) รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน OTOP และ Local SME ที่มีลักษณะร่วม ได้แก่ เป็นธุรกิจชุมชนที่มีการจ้างงานในพื้นที่ มีการใช้ Local resources และมีโครงสร้างกระจายรายได้ รวมตัวเลขผู้ประกอบการชุมชนทั้งประเทศกว่า 2 ล้านราย
2) แนวทางการทำงานในพื้นที่
(1) สร้างและประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมของกระทรวง อว. เพื่อเสริมพลังแกนนำชาวบ้านที่ พอช. พัฒนาขึ้น ในการพัฒนาชุมชนโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจอาชีพ
(2) สร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชนพื้นที่ รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการในชุมชน โดยเฉพาะการขยายผลการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน (CBT) จาก อพท. เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ และสร้างให้คนรุ่นใหม่เกิดสำนึกรักษ์ท้องถิ่นและพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้เข้มแข็ง
(3) สร้างผู้ประกอบการชุมชน/ธุรกิจชุมชน ให้มีศักยภาพการประกอบการ และสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่สามารถดึงคนจนให้สามารถเป็นแรงงานที่มีรายได้สม่ำเสมอได้ โดยขยายผลจากงานวิจัยของ อว. รวมถึงการขับเคลื่อนและการสนับสนุนเชิงนโยบายของ สสว.
3) จากงานนี้ได้มีกลไกการทำงานร่วมกัน ได้แก่
(1) กลไกเชิงนโยบาย ซึ่งจะมีการหารือแนวทางนโยบายและทิศทางการทำงาน อย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง
(2) กลไกเชิงคณะทำงานร่วม ซึ่งจะได้มีการ Mapping เรื่องการบริหารของฐานทุนเดิม ในการเลือกพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) พื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของครัวเรือนยากจน (2) พื้นที่ที่มี Area Manager โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ (3) เป็นพื้นที่ที่มีระบบข้อมูลยอมรับได้ เพื่อนำองคาพยพจากทุกหน่วยงานมาร่วมกันสร้างพื้นที่ต้นแบบระดับจังหวัด (Case Study) ต่อไป