บพท.สานพลังพัฒนาเมืองสร้าง “ภาคีเครือข่ายเมืองอัจฉริยะประเทศไทย” ปล่อยชุดความรู้พัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อความอยู่ดีมีสุขครอบคลุม 7 มิติ

บพท.ประสานพลังภาคีเครือข่ายทุกระดับสถาปนาภาคีเครือข่ายเมืองอัจฉริยะประเทศไทย” พร้อมเปิดกล่องความรู้ชุดใหญ่ในงาน Thailand Smart City Expo 2022 ผลักดันการพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบภายใต้บริบทแบบไทย และตอบโจทย์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่า บพท.มีส่วนร่วมในการจัดงาน “Thailand Smart City Expo 2022” ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-2 ธ.ค. 2565 โดยนำเสนอชุดข้อมูลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) บนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม สำหรับใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ และเมืองอัจฉริยะที่สอดคล้องกับบริบทประเทศไทย

“กระบวนการพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองอัจฉริยะภายใต้บริบทแบบไทย จะมุ่งเน้นประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกระดับที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ทั้งระดับนโยบาย เช่น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ETDA) ธนาคารโลก (World bank) และระดับภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ อาทิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตลอดจนภาคีเครือข่ายภาคเอกชน อาทิ บริษัทพัฒนาเมือง บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด รวมทั้งภาคีเครือข่ายท้องถิ่น อาทิ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย”

ดร.กิตติ กล่าวด้วยว่า เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่จากนโยบายสู่การปฏิบัติ (Policy in Action) อย่างเป็นรูปธรรม ภาคีเครือข่ายทุกระดับได้บรรลุความร่วมมือร่วมกันสถาปนา “ภาคีเครือข่ายเมืองอัจฉริยะประเทศไทย” (Smart City Alliance Thailand) เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ โดยกำหนดบทบาทให้ บพท. มีหน้าที่สนับสนุนกระบวนการด้านวิชาการเพื่อการขับเคลื่อนแผนงานวิจัยด้านการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ

สนับสนุนชุดความรู้ เครื่องมือในการบริหารจัดการเมืองทั้งระบบ ได้แก่ นักวิชาการ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิจัยด้านการพัฒนาเมืองและท้องถิ่นเพื่อให้งานในโครงการต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายสนับสนุนการพัฒนาระบบพื้นที่กลางในการเผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ และเรียนรู้กระบวนการวิจัยด้านการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสถาบันวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคชุมชน ภาคเอกชน และกลไกภาคีที่เกี่ยวข้อง

ร่วมจัดทำและผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายระดับหน่วยงาน กรม กระทรวง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนดำเนินงานหรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่พิจารณาเห็นสมควรและเห็นชอบร่วมกัน

“สำหรับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ภายใต้ภาคีเครือข่ายเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จะมีบทบาทหน้าที่สนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนเพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) สนับสนุนข้อมูลในพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งทรัพยากรอื่น ๆ เช่น ข้อมูล สารสนเทศ เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่
ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิจัยด้านการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้งานในโครงการต่าง ๆ บรรลุเป้าหมาย ขยายผลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสนับสนุนการพัฒนาระบบพื้นที่กลางในการเผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ และเรียนรู้กระบวนการวิจัยด้านการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสถาบันวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคชุมชน ภาคเอกชน และกลไกภาคีที่เกี่ยวข้อง

ร่วมจัดทำและผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านการพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable & Smart City) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายระดับหน่วยงาน กรม กระทรวง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนดำเนินงานหรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่พิจารณาเห็นสมควรและเห็นชอบร่วมกัน”

ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร บพท. ชี้แจงเพิ่มเติมว่าชุดข้อมูลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ (Livable&Smart City) บนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม จะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ครอบคลุมทั้ง 7 มิติ คือ มิติด้านการจัดการพลังงานที่ดี (Smart Energy) มิติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี (Smart Environment) มิติด้านการจัดการระบบการขนส่งคมนาคมที่ดี (Smart Mobility) มิติด้านการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ (Smart Economic) มิติด้านการพัฒนาทักษะความรู้ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Smart People) มิติด้านความสะดวกสบายและปลอดภัย (Smart Living) และมิติด้านการบริหารจัดการที่โปร่งใสมีธรรมาภิบาล (Smart Governance) ซึ่งจะส่งผลให้พลเมืองในเมืองอัจฉริยะ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570)

สถิติการเข้าชม