การศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการแก้ไขความยากจนจากกรมเกษตรและกิจการชนบทกว่างซี และบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP)

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 67 หน่วย บพท. นำโดยคุณฉัตรชัย พรหมเลิศ ประธานกรรมการบริหารหน่วย บพท. พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหาร ผู้บริหาร หน่วย บพท. ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิจัย 7 มหาวิทยาลัย พร้อมทั้ง คุณพสุภา ชินวรโสภาค อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม) ประจําการ ณ สถานเอกอัครราชทูต ได้นำคณะศึกษาดูงานเข้าชมนิทรรศการกว่างซี การแก้ไขปัญหาความยากจน เขตปกครองตนเองพิเศษกว่างซี โดยมีคุณเติ้ง เมียวหง สมาชิกกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ของกรมเกษตรและกิจการชนบทกว่างซี และผอ.ศูนย์พัฒนาโครงการลงทุนต่างประเทศเพื่อฟื้นฟูชนบทในเขตปกครองกว่างซีจ้วง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับและพาชมนิทรรศการกว่างซี ได้จัดแสดงถึง สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ตั้งเป้าหมาย “การขจัดความยากจน” โดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ให้ความสำคัญกับนโยบายการกำหนดนโยบายให้ความสำคัญแก้ปัญหาความยากจนอันดับ 1 ของประเทศ สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้มากกว่า 100 ล้านคนทั่วทั้งประเทศ ในพื้นที่เขตปกครองตนเองพิเศษกว่างซี-จ้วง สามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนไปกว่า 6,340,000 คน 5,397 หมู่บ้าน 54 อำเภอ อยู่ในลำดับที่ 4 ของจีน ซึ่งใช้ระยะเวลา 8 ปี

.ต่อมา คณะศึกษาดูงานได้เข้ารับฟังแนวทางการขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหาความยากจนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่เขตปกครองตนเองกว่างซี-จ้วง โดยกรมการเกษตรและกิจการชนบท เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยตั้งเป้าหมายต้องดูแลประชากรยากจนกว่า 5 แสนคน เพื่อให้หลุดพ้นความยากจน และติดตามไม่ให้กลับมาจนซ้ำกว่า 102,000 ครัวเรือน โดยได้พัฒนาแบบสำรวจเพื่อพัฒนาเกณฑ์นิยามความยากจน และการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนได้รับนโยบายจากรัฐส่วนการให้ทำงานในพื้นที่ชนบทของจีน ซึ่งมีแนวทางการการแก้ไขปัญหาความยากจน 2 ช่วง ดังนี้

.1) ช่วงแรกการใช้ข้อมูลชี้เป้าและให้คำแนะนำอย่างแม่นยำ การค้นหาคนยากจนให้เจอ จากนั้นเข้าไปดูแลคนจนในพื้นที่กว่า 3,340,000 คน โดยมีเลขาธิการพรรคระดับต่างๆ และหน่วยงานและจัดให้มีการทำระบบเมืองคู่พี่น้องช่วยเหลือกัน

.

2) ช่วงหลังได้ชัยชนะแล้วมีการกำหนดระยะเวลาเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปจนอีก 5 ปี (2021-2025) มีกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังกว่า 509,000 คน โดยเน้นทำงานกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงแบบซับซ้อนซึ่งจะต้องใช้นโยบายและเน้นการสร้างงานให้มีงานทำ สร้างอุตสาหกรรม รัฐบาลจะหางานที่เหมาะสม

.ดังนั้น ปัจจัยความสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนจากการบริหารงานท้องถิ่นระดับหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ การได้รับสนับสนุนทั้งนโยบาย บุคลากรและงบประมาณจากรัฐ นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดรูปแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบสหกรณ์ เพื่อเพิ่มความสามารถของเกษตรกร สร้างรายได้เพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยจะช่วยให้คำแนะนำทั้งผ่านงานวิจัยเชิงนโยบายและวิจัยสนาม ลงไปทำงานร่วมกับท้องถิ่นในการแก้ปัญหาความยากจน มีสำนักงานฟื้นฟูชนบท ซึ่งทำหน้าที่แก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ อีกทั้งมีการบูรณาการเพื่อช่วยเหลือคนยากจนตามความต้องการ

.ต่อมาคณะศึกษาดูงานได้เดินทางไปยัง หมู่บ้านซื่อยู้ ตำบลเซียนหู เขตอู่หมิง เพื่อศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยมี คุณไล่ ผิงเซิง ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ประจำเขตกว่างซี คุณหลัว เจียจวิ้น ผู้จัดการทั่วไปฯ และคณะ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ผู้แทนเครือเจริญโภคภัณฑ์ประจำเขตปกครองตนเองกว่างซี โดยมีหลักแนวคิด 3 ประโยชน์ ได้แก่ 1) ประเทศชาติได้ประโยชน์ 2) ประชาชนได้ประโยชน์ 3) บริษัทได้ประโยชน์ ซึ่งบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้ามาลงทุนที่ตั้งแต่ปี 1991 และเข้าร่วมกับรัฐบาลจีนในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยได้ลงทุนที่เขตปกครองตนเองพิเศษกว่างซี มีบริษัทในมณฑลกว่างซี 18 แห่ง มูลค่าการลงทุน 1,700 ล้านหยวนมีพนักงาน 2,200 คน ซึ่งได้สร้างอาชีพในการเรียนรู้วิธีเลี้ยงสุกร

.บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีหลักการทำงานบริษัทและสหกรณ์ ความร่วมมือของครัวเรือนเกษตรกร โดยให้ลูกสุกร อาหารสัตว์ และคำแนะนำทางเทคนิคตลอดกระบวนการ สร้างระบบป้องกันและควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพที่สมบูรณ์ ใช้การผลิตและการขายแบบครบวงจร บริการและขับเคลื่อนเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการดำเนินการมีเกษตรกรมากกว่า 30 % เข้าร่วมการพัฒนา จนเป็นอุตสาหกรรมการปลูกและเพาะพันธุ์ที่ครบวงจร มีการเลี้ยงสุกรกว่า 8,000 ตัว และจากองค์ความรู้สภาพดินที่เหมาะสมในการปลูกได้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น แก้วมังกร สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ชุมชนกว่า 800,000 บาท/ปี

.นอกจากนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความร่วมมือระหว่างชาวบ้านในหมู่บ้าน ภาครัฐ และภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งภาครัฐจัดสรรที่ดินให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ ระยะต่อมาชาวบ้านในพื้นที่ จึงรวบรวมที่ดินเพื่อให้ภาคเอกชน โดยบริษัท CP มาเช่าที่ต่อจากชาวบ้าน เป็นการสนับสนุนให้ชาวบ้านมาเป็นแรงงานเลี้ยงสุกร และสนับสนุนให้ชาวบ้านมีการลงทุนเพื่อให้ได้ปันผล ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกบริเวณรอบข้าง ได้นำเอาของเสียจากสุกรมาทำปุ๋ยในการเพาะปลูกแก้วมังกร พร้อมกับมีหมู่บ้านแหล่งปลูกส้มว่อกานที่เกิดจากผลผลิตชุมชน เป็นอุตสาหกรรมส่งออกด้วยแบรนด์และผู้ส่งออกท้องถิ่น โดยมีภาคเอกชนมาร่วมขับเคลื่อน จนเป็นการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่ต่อไป

สถิติการเข้าชม