บพท. หนุนการจัด งาน“SUPER เกื้อกูลLEs Exposition 2024” เพิ่มคุณค่าในการทำธุรกิจเกื้อกูลชุมชน

เมื่อวันที่ 6-7 กันยายน 2567 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน จัดงาน “SUPER เกื้อกูลLEs Exposition 2024” อัพเกรดความรู้ “เกื้อกูลLEs คน ของ ตลาด โมเดล” เพิ่มคุณค่าในการทำธุรกิจเกื้อกูลชุมชน พร้อมหลากหลายกิจกรรมให้ความรู้จากผู้มีประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติจริง จากการใช้เครื่องมือ ทำกิจกรรม และสร้างกลยุทธ์ในการปั้นธุรกิจชุมชนที่จะเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แบบเน้นคุณค่า แบ่งปัน เกื้อกูล และเติบโตไปด้วยกันทั้งชุมชนและเครือข่ายรอบข้าง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วย บพท. เป็นประธานเปิดงาน ณ MCC Hall ชั้น 3 เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า ปัจจุบัน การพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคของประเทศมุ่งเน้นการพัฒนาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก หรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจขาเดียว ถึงแม้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบนี้จะสามารถ Build-up กลุ่มอุตสาหกรรม แรงงานที่มีทักษะสูงได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีนั้น ส่งผลให้เกิดการจ้างงานที่ลดลง ผลิตภาพแรงงานต่ำ และกระจายรายได้ในพื้นที่ลดลง

หน่วย บพท. ภายใต้กระทรวง อว. ในฐานะกระทรวงแห่งปัญญา มุ่งเน้นเรื่องการสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย และพัฒนากลุ่มนักวิจัยในพื้นที่ (Local Knowledge Manager) จึงมุ่งเน้นการเพิ่มพลังกลไกให้ผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่ ด้วยการสร้าง “เศรษฐกิจที่เติบโตและกระจาย” ที่มุ่งเน้นไปที่การกระจายรายได้ การสร้างโอกาส และเกิดผลประโยชน์ร่วม โดยการใช้ฐาน Social Capital อาทิ ฐานทุนครัวเรือน ทุนวัฒนธรรม และทุนทรัพยากรพื้นที่ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ (Local Economy) และหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ คือ “ธุรกิจชุมชน”

จากการดำเนินงานของหน่วย บพท. ผ่านการสนับสนุนทุนให้กับมูลนิธิสถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชนได้สร้างและพัฒนากลไกยกระดับธุรกิจชุมชน รวมทั้งสิ้นกว่า 3,650 ธุรกิจชุมชน ผ่านการจัดการธุรกิจ โดยใช้เครื่องมือ Network Value Chain และเครื่องมือหลักสูตรการจัดการการเงินที่มี Finance Application ด้วยกระบวนการ Innovative Business Learning Platform เน้นการพัฒนาคน สามารถยกระดับการทำงานของผู้ประกอบการ ก่อให้เกิดรายได้รวมของธุรกิจชุมชนที่ผ่านกระบวนการสร้างการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในพื้นที่ 224.2 ล้านบาทต่อเดือน ผ่านการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ 1,377 ตันต่อเดือน หรือมีรายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบในพื้นที่ 212.5 ล้านบาทต่อเดือน และมีการจ้างงานคนในพื้นที่เพิ่มขึ้น 10,315 คนต่อเดือน หรือ 11.7 ล้านบาทต่อเดือน”

ด้าน ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises กล่าวว่า “เกื้อกูลLEs คน ของ ตลาด โมเดล คือ โมเดลกลยุทธ์ธุรกิจ ที่ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนประสบความสำเร็จในการสร้างธุรกิจแบบโตไปด้วยกัน ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก อันเป็นกลไกสำคัญ ประกอบด้วย เสาหลักที่ 1 เกื้อกูล SUPER COACH ซูเปอร์ผู้ใหญ่บ้านปันกัน กับบทบาทในการเชื่อม ช่วย เชียร์ ปรับเปลี่ยน mindset ให้กับผู้ประกอบการ และเพิ่มพูนความสามารถในการทำธุรกิจ การเก็บข้อมูล การทำการตลาด ผ่านการทำกิจกรรมหลากหลาย และ การให้เวลากับผู้ประกอบการชุมชนอย่างเต็มที่ anywhere anytime ฯลฯ เสาหลักที่ 2 เกื้อกูล SUPER BOARD GAME ซูเปอร์บอร์ดเกมกลยุทธ์ธุรกิจ ที่จะปลูก skillset ให้กับผู้ประกอบการทุกระดับตามความเหมาะสม ตั้งแต่ผู้ผลิต(producer) ผู้ประกอบการ (entrepreneur) ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน (local enterprise) และนักวิจัย (local knowledge manager – LKM) ผ่านการฝึกฝนกับ 5 สุดยอดซูเปอร์บอร์ดเกม ได้แก่

  1. ‘บอร์ดเกม กระเป๋าตังค์ครัวเรือน – กระเป๋าตังค์ธุรกิจ’ ให้ความรู้และติดตามการจัดการกระเป๋าตังค์ของผู้ประกอบการทุกระดับในธุรกิจชุมชน ให้สามารถวางแผนการเงินและวางแผนธุรกิจได้เอง
  2. ‘บอร์ดเกม การตลาด ฟาดมโน’ เทคนิคและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะกับธุรกิจ และ สามารถสร้างจุดขาย และ หาจุดยืนของธุรกิจตนเองได้ จนออกแบบกลยุทธ์ “รู้เรา รู้เขา รู้ใจ” ได้จริง
  3. ‘บอร์ดเกม การบริหารจัดการธุรกิจ’ บนฐานคิด “คน ของ ตลาด” ฝึกทักษะในการบริหารสต๊อกและหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจ เข้าใจคำว่าขาดทุน-กำไร จริงๆ
  4. ‘บอร์ดเกม อยากผิด…ชีวิตบรรลัย’ รู้ลึกถึงอุปสงค์ อุปทานการผลิต การวางแผนการผลิตของธุรกิจที่ตอบโจทย์ตลาดและตรงใจผู้บริโภค พอดีๆ  
  5. ‘บอร์ดเกม ทำ(มั้ย)…ธรรม’ กับการจัดการ Value Ecosystem ทั้งระบบธุรกิจอย่างมีสติ มีภูมิคุ้มกัน

เสาหลักที่ 3 เกื้อกูล SUPER APP สุดยอดซูเปอร์ DATA ANALYTICS ที่สร้าง Toolset ที่ทำให้เกิดการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนอย่างเป็นระบบ อาทิ กระเป๋าตังค์ครัวเรือน กระเป๋าตังค์ธุรกิจ สมุดบันทึกการผลิต การจัดการห่วงโซ่คุณค่า เพื่อทำการวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจทุกเหลี่ยม ทุกองศา ด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Data-driven Business Strategy)” สำหรับ งานมหกรรม LE Expo นี้ได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่งในปีนี้มุ่งเน้นการนำเสนอหลักคิด “คน-ของ-ตลาด โมเดล” และนำเสนอเครื่องมือการทำงานของหน่วย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพจากเกื้อกูล LEs Market มาออกบูธจำนวน 130 ร้านค้า ซึ่งทั้ง 130 ร้านค้านี้ ทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ถึง 2,752 คน ประมาณการมูลค่าถึง 6,101,100 บาท

สถิติการเข้าชม