บพท. ร่วมกับ พช. ชู “OTOP แก้จน” ลดความเหลื่อมล้ำ

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2566 หน่วย บพท. โดย รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร พร้อมด้วย ดร.อโศก พลบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ และกรมการพัฒนาชุมชน นำโดย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายชูชีพ พงษ์ไชย รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ตรวจราชการ ผู้อำนวยกลุ่มงานยุทธศาสตร์ และพัฒนาการจังหวัด 76 จังหวัด และผู้เชี่ยวชาญ กว่า 250 คน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการมอบหมายนโยบายและแนวทางการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ห้องจูปิเตอร์ 12-13 ชั้น 1 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี

ในการประชุมครั้งนี้ รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วย บพท. ได้กล่าวถึงบทบาทและยุทธศาสตร์การทำงานของ บพท. ซึ่งเป็นหน่วยจัดสรรทุนเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ พัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น ให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ที่มีการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมใน 2 มิติ ได้แก่ (1) มิติ Micro level พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและยกระดับโอกาสทางสังคม และ (2) มิติ Macro level กระจายศูนย์กลางความเจริญและเมืองน่าอยู่ ซึ่งจาก 2 มิติหลักได้ดำเนินการใน 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ เศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาเมื่องน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้ และการยกรับศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งแสดงรูปธรรมความสำเร็จการพัฒนาเชิงพื้นที่ของหน่วย บพท.

และ ดร.อโศก พลบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ หน่วย บพท. ได้นำเสนอการขยายผลแพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (Provincial Poverty Alleviation Platform : PPAP) จากการดำเนินการทำงานในพื้นที่ 20 จังหวัดนำร่อง ตั้งแต่ปี 2563- 2566 ที่เกิดกลไกความร่วมมือเพื่อขจัดปัญหาความยากจน เกิดระบบข้อมูลชี้เป้าระดับจังหวัดจากการค้นหาสอบทาน จัดทำระบบส่งต่อความช่วยเหลือ สร้างโมเดลแก้จนระดับพื้นที่ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตคนจนกลุ่มเป้าหมายให้มีทักษะอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้จากการประชุม บพท. และ พช. ได้หารือความร่วมมือขับเคลื่อนงาน เพื่อขยายผลรูปธรรมความสำเร็จด้วย Training of Trainers (ToT) Model สำหรับผู้บริหาร พช. และผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่ 20 จังหวัดนำร่อง เพื่อสร้างระบบข้อมูลคนจนแบบชี้เป้าร่วม และนำคนจนเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าการผลิต (Pro-poor Value Chain) “OTOP แก้จน” โดยมีมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่เป็น “พี่เลี้ยง” สร้างงาน สร้างรายได้ และพัฒนาคนในพื้นที่สู่การแก้ไขปัญหาความยากจนเบ็ดเสร็จและยั่งยืน

สถิติการเข้าชม