ยุทธศาสตร์

“การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคน
และกลไกจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนทางวัฒนธรรม”

ยุทธศาสตร์ “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคนและกลไกจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนทางวัฒนธรรม” ประกอบด้วย 2 แผนงาน ภายใต้โปรแกรมการ พัฒนานวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และภายใต้แพลตฟอร์ม 4 ของแผ่นด้าน ววน. ซึ่งได้วางแผนเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยทุนทางทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและทุนทางศิลปวัฒนธรรมของพื้นที่มุ่งเป้าที่กลุ่มชุมชนและกลุ่มอาชีพ ได้แก่ แผนงานที่ 1 ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นพัฒนาผู้นำชุมชนที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดการยอมรับปรับใช้นวัตกรรม สามารถพึ่งพาตนเองและถ่ายทอดความรู้ต่อไปได้ และแผนงานที่ 2 การพัฒนาพื้นที่ด้วยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่อันเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ผ่านการจ้างงาน การใช้ทุนทรัพยากรพื้นที่ถิ่น/ทุนทางวัฒนธรรม
นอกจากนี้ยังมีแผนงาน “ตัวแบบเชิงธุรกิจเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจ” ภายใต้โปรแกรมที่ 17 แก้ปัญหาวิกฤตเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายในการยกระดับรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในการปรับตัวด้านอาชีพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจ และกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการแพรระบาดของไวรัสโควิด 19

แผนงาน “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การลดและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ให้สัมฤทธิ์ผล จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาระดับโครงสร้างด้วยการกระจายศูนย์กลางความเจริญพร้อมกันไป ซึ่งภายใต้โปรแกรมการพัฒนานวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแผนงานที่ 1 ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้วางเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนระดับตำบลแบบมีส่วนร่วม โดยกลไกการพัฒนาพื้นที่ระดับตำบล โดยใช้ Learning and Innovation Platform (LIP) ของชุมชนผ่านการสร้างนวัตกรชุมชนเพื่อขับเคลื่อนชุมชนเป้าหมาย ด้วยกระบวนการ เครื่องมือและความรู้ (องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม) นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชากรกลุ่มเป้าหมาย พร้อมประสานพลังจากการทำงานของหน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำงานกันเป็นเครือข่ายร่วมกับภาคประชาสังคมภาคเอกชน และหน่วยส่งเสริมชุมชนของกระทรวงอื่นอย่างใกล้ชิด ช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563 – 2564 หน่วย บพท. สนับสนุนให้กับสถาบัน/มหาวิทยาลัย/หน่วยงาน จำนวน 24 สถาบัน ผลการดำเนินงานวิจัยทำให้เกิดชุมชนนวัตกรรม 546 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ 33 จังหวัด 276 อำเภอ เกิดการสร้างนวัตกรชุมชนจำนวน 2,755 คน และเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ 763 นวัตกรรม ที่ใชัยกระดับอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากและมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 – 20 อีกทั้งยังเกิดการนำนวัตกรรมเข้าสู่การทำแผนพัฒนาตำบล/ท้องถิ่น โดยผ่าน Learning and Innovation Platform (LIP) และเกิดการสร้างระบบข้อมูลTechnology and Innovation Library ของประเทศ

ดังนั้น เพื่อขยายผลการทำงานอย่างยั่งยืน ในปีงบประมาณ 2565 หน่วย บพท. ได้วางเป้าหมายการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยกลไกการพัฒนาพื้นที่ระดับตำบลและสร้าง Learning and Innovation Platform (LIP) ของชุมชนผ่านการสร้างนวัตกรรมชุมชนให้มีทักษะการจัดการความรู้ เรียนรู้และรับปรับใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Techno logy) ในการจัดการปัญหาสำคัญในชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน รวมถึงรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในสภาวะปกติและสภาวะวิกฤตให้พื้นตัวได้เร็วเมื่อเกิดปัญหา ตามกรอบการวิจัย

กรอบวิจัย ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินแผนงานที่เกิดขึ้นจริง

เกิดชุมชนนวัตกรรม
755 ชุมชน (ตำบล)
ครอบคลุมพื้นที่ 35 จังหวัด
ชุมชนที่มีขีดความสามารถในการเรียนรู้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาในชุมชน
พึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านการสร้าง Learningand Innovation Platform
เกิดโมเดลต้นแบบอาชีพ
นวัตกรชุมชนจำนวน 3,463 คน
กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ จากกระบวน Learning and Innovation Plat form สามารถรับและปรับใชั
นวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบท ถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้
เทคโนโลยีและนวัตกรรม
พร้อมใช้
รวมทั้งนวัตกรรม
กระบวนการเพื่อแก้ไขปัญหา
ที่สำคัญของชุมชนทั้งสิ้น
999 นวัตกรรม
รวมถึงยกระดับอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากและมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับ
การสนับสนุนยังตอบตามเป้าหมาย
ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(SDG Goals)
ข้อที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน
ข้อที่ 10 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และ
ข้อที่ 2 ความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และสงเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

การพัฒนานวัตกรชุมชนทั่วประเทศ

เกิดนวัตกรชุมชนที่ใช้ความรู้มาสร้าง พัฒนา หรือแก้ปัญหาการเลี้ยงโคเนื้อได้ จำนวน 36 คน เกิดการจัดตั้งกองทุนการผสมเทียม และมีการสร้างเครื่อข่ายนักผสมเทียมโคเนื้อและระบบผสมเทียมโคเนื้อที่ดำเนินการและบริหารงานโดยผู้แทนเกษตรกรที่สามารถให้บริการการผสมเทียมโคเนื้อได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เกิดฐานข้อมูลเพื่อการจัดการโคเนื้อระดับจังหวัดแบบ Real Time ฝาน Web/Mobile App เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของหน่วยงานระดับจังหวัดอีกทั้งทางจังหวัดน่านได้บรรจุโครงการส่งเสริมเกษตรกรในการเลี้ยงโคเนื้อ ในแผนงานปีงบประมาณ 2566 วงเงินงบประมาณ 1.5 ล้านบาท โดยความร่วมมือของสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่าน เพื่อการขยายผลและยกระดับการเลี้ยงโคเนื้อของจังหวัดน่าน

การดำเนินกิจกรรมของโครงการวิจัย ขับเคลื่อนโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากการที่ชุมชนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแยกเส้นใยผักตบชวาจากเครื่องแบบกึ่งอัตโนมัติ ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าเศษหนังและผ้าผักตบชวา จำหน่ายเป็นสินค้า OTOP โดยวางแผนการตลาดในต่างประเทศ ผลจากการใช้นวัตกรรมร่วมกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ทำให้เพิ่มยอดขาย 15% จากยอดขายเดิม

มีการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปช่วยแก้ไขปัญหาการผลิตการแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าและการจัดการผลผลิตล้นตลาดในบางฤดูกาล รวมถึงยกระดับห่วงโซ่คุณค่าด้านการตลาดโดยมีการบูรณาการทำงานในรูปแบบจตุภาคี เกิดการพัฒนานวัตกรชุมชน 61 คน เกษตรกรมีการรวมกลุ่มในรูปวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น และร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา รวมถึงมีพื้นที่แปลงอินทรีย์และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเข้ารับการตรวจแปลงและนำผลผลิตที่ได้รับการรับรองไปจำหน่ายได้ในราคาที่พึงพอใจมากขึ้น ก่อเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจของชุมชนนวัตกรรมทั้ง 17 ชุมชน ผลการวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนนวัตกรรมเพิ่มขึ้น 26.6% และผลการวิเคราะห์มูลค่าทางสังคม (ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ) ของโครงการชุด มีค่าเท่ากับ 1.55 ในขณะนี้มีกลุ่มสมาชิกสมาพันธ์ที่มีการผลิตต่อเนื่อง ได้แก่ บ้านสวนซะป๊ะพะเยา สวนขวัญออร์แกนิค ฟาร์มเห็ดภูกามยาว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหอมดอกคำใต้ เป็นต้น และมีแนวโน้มสู่การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ตลาดต่างประเทศ โดยนวัตกรชุมชนสามารถเป็นต้นแบบของการพัฒนาองค์ความรู้ และถ่ายทอดให้กับผู้สนใจอื่นต่อไปได้

การดำเนินกิจกรรมของโครงการวิจัย ขับเคลื่อนโดย มหาวิทยาลัยพะเยา

แผนงาน การพัฒนาพื้นที่ด้วยองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย

แผนงานนี้เล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นโครงสร้างความรู้และที่พึ่งทางวิชาการที่สำคัญในการพัฒนาพื้นที่และประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ เกิดการสร้างอาชีพและกระจายรายได้อย่างทั่วถึง มีการไหลเวียนของระบบเศรษฐกิจระหว่างกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยยกระดับประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขัน แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้วางกรอบการวิจัยไว้ 2 กรอบการวิจัย

กรอบการวิจัย

กรอบการวิจัยที่ 1 : การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises)
บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่

พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจชุมชน ระยะยาว ผ่านการยกระดับสมรรถนะ/พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการยกระดับรายได้และกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม (Fair Trade) สู่กลุ่มผู้ผลิต/กลุ่มเกษตรกรต้นน้ำและคนในชุมชน มุ่งหวังผลกระทบที่ได้จากการดำเนินการของธุรกิจจะต้องมีส่วนเข้าไปช่วยเหลือ สร้างประโยชน์ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำพากลุ่มคนจน กลุ่มเปราะบางหรือขาดโอกาส แรงงานคืนถิ่น รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 เข้ามาอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าใหม่ที่มีการกระจายแบบ Fair Trade ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่

  1. การเพิ่มสมรรถนะ/พัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ ได้แก่ การบริหารจัดการการเงิน (Financial Management) การบริหารจัดการการผลิตและการตลาด(Production and Marketing Management) การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ฯลฯ
  2. สร้างกระบวนการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าเดิมและ/หรือสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Value Chain) เพื่อยกระดับการจัดการธุรกิจให้สามารถแชงขันได้ในตลาดที่แท้จริงอย่างยั่งยืน
  1. จำนวนวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กในพื้นที่เป้าหมายประสบความสำเร็จในการยกระดับรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 โดยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยหรือนวัตกรรม อย่างน้อย 200 ราย
  2. มูลค่าเศรษฐกิจฐานราก/เศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมายบนฐานทุนทรัพยากร/วัฒนธรรมในพื้นที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปีจากฐานปี 2563
  3. จำนวนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เพิ่มสมรรถนะ/พัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย 200 นวัตกรรม
ตามกรอบการวิจัย การพัฒนาขีดความสามารถของ Local Enterprises(วิสาหกิจชุมชน/หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์/Local SMEs/S.E. ในระดับพื้นที่) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ด้วยการยกระดับรายได้และกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม (Fair Trade) สู่กลุ่มผู้ผลิต/กลุ่มเกษตรกรต้นน้ำและคนในชุมชน ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 – 2566 ที่ผ่านมาได้สนับสนุนทุนวิจัยให้สถาบันอุดมศึกษา 20 มหาวิทยาลัย โดยสนับสนุนทุนวิจัย 44 โครงการ 29 หน่วยงาน ช่วยเพิ่มสมรรถนะผู้ประกอบการและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 จำนวน 1,378 กลุ่มผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เกิดผลผลิตเป็นรูปธรรม ดังนี้

ด้วยกลยุทธ์ทางการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงิน รวมถึงการรู้จักการวางแผนทางด้านการเงินทั้งส่วนของรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจผ่านหลักสูตรการจัดการการเงินที่มี Finance Application สามารถติดตามสภาพคล่อง/รายได้/กำไร-ขาดทุน/สินค้า รวมถึงการเงินระดับครัวเรือน ที่แยกกระเป๋าออกจากการเงินภาคธุรกิจ สามารถรับ-คืนกลับข้อมูลแบบ Real time ผ่านหลักสูตร “ประตูเศรษฐี” ผ่านไลน์แอปพลิเคชันชื่อ Local Enterprises PMUA และการสร้างการวิเคราะห์การเงินภาคครัวเรือนออกจากการเงินภาคธุรกิจ ผ่านหลักสูตร “เศรษฐีเรือนใน” ผลความสำเร็จผู้ประกอบการที่เข้าร่วมหลักสูตรภายใน 90 วัน มีรายได้สูงขึ้น 4% ต่อเดือน กำไรเพิ่มขึ้น 12% สภาพคล่องมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน 3.2 เท่าต่อเดือน รวมทั้งหนี้สินลดลงถึง 7%

นอกจากนี้ยังได้เตรียมขยายผลกับบุคลากรของหน่วยงานภาคเอกชนธนาคาร (Bank Agent) ผ่านการอบรมและถ่ายทอดชุดความรู้ “ประตูเศรษฐี” และ “เศรษฐีเรือนใน” ไปยังเกษตรกร/ผู้ประกอบการ ที่เป็นลูกค้าหรือลูกหนี้ของธนาคารทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้สามารถวางกลยุทธ์การบริหารเงินทุนหมุนเวียนและสภาพคล่องของธุรกิจตน เช่น สมุดพกการเงินครัวเรือน สมุดพกการเงินธุรกิจ สมุดพกการลงทุนปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาความร่วมมือกับธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารกรุงไทย โดยคาดหวังผลักดันแพลตฟอร์มทั้งสองในการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่กว่า 100,000 กลุ่ม/ราย ทั่วประเทศ ภายในปี 2570 เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ State of Development for Thai Local Enterprises จาก Deep LE-Data

เป็นระบบรวบรวมฐานข้อมูลของผู้ประ กอบการ (LE) และฉลากดิจิทัลนำเสนอข้อมูลในห่วงโซ่คุณค่าแบบองค์รวม หรือ Value Chain (Digital) Label ที่เชื่อมโยงสายธารแห่งคุณค่าจากผู้ผลิตในระดับพื้นที่ไปยังผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบความถูกต้องได้ สื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และเป็นข้อมูลที่สนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ถึงความโปร่งใส(Transparency) ความรับผิดชอบ (Responsibility) ผลกระทบเชิงบวกต่อพื้นที่ (Area-based Impact) และความเกื้อกูลของคน-ทรัพยากรธรรมชาติ-นวัตกรรม ตลอดทั้งห่วงโซการผลิตในท้องถิ่น เช่น ROI (Return on Investment) SROI (Social Return on Investment) BLI (Better Life Index) และ HAI (Human Achievement Index)

กรอบแนวทางการพัฒนาข้อมูลในฉลากห่วงโซ่คุณค่าดิจิทัล

กลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนา “คน ของ ตลาด” ภายใต้โครงการความร่วมมือ “นวัตกรรมเพื่อสร้างรอยยิ้ม”

เป็นการจัดการธุรกิจให้เหมาะสมกับห่วงโซ่คุณค่าในพื้นที่ ผ่าน Value Chain Analysis เครื่องมือการวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ (จัดสรรโครงสร้างการกระจายรายได้ และสัดส่วนแบ่งรายได้) โดยมุ่งเน้นให้เกิดโครงสร้างการกระจายรายได้สู่กลุ่มต้นน้ำอย่างเป็นรูปธรรมด้วยวัฒนธรรมการค้าที่มีธรรมาภิบาลตามกติกาที่ได้จากการตกลงร่วมกัน ก่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ โดยขับเคลื่อนผ่านมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ 20 มหาวิทยาลัย ครอบคลุมกลุ่มวิสาหกิจเป้าหมาย 610 กลุ่มวิสาหกิจ ประกอบด้วย กลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์กว่า 6,000 -10,000 ราย

กระบวนการดำเนินงานวิจัยผ่านเครื่องมือ Network Value Management

ตัวอย่างการขับเคลื่อนงานวิจัย

“การลดโอกาสการสูญเสียรายได้ของชุมชน โดยการสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่สำหรับปลากเลาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก”
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของกลุ่มประมงพื้นบ้านและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปลากุเลา 9 กลุ่ม ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากร ผ่านการทวนสอบโจทย์วิจัยจากการวิเคราะห์และคลี่ภาพ Network Value Chain ทั้งห่วงซ่ เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ ทำให้ชาวประมงได้รับราคาขายที่ดีขึ้น ทั้งการจำหน่ายในพื้นที่และนอกพื้นที่ ผลลัพธ์มูลค่าปลากุเลาเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการมากกว่าร้อยละ 10 สามารถจำหน่ายปลากุเลาเค็มแบบตัวที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมกิโลกรัมละ 700 บาท เป็น 1,400 บาท อีกทั้งยังสร้างรายได้จากการจำหน่ายปลากุเลาเค็มแบบปลีกเพิ่มขึ้น

“ยกระดับห่วงโซ่อุปทานโกโก้ในพื้นที่จังหวัดน่าน บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน”
โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกิดการจัดการห่วงโซคุณค่าใหม่ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ ผลการดำเนินงาน พบว่าปริมาณโกโก้ผลสดที่เกษตรกรนำมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นจาก 120 เป็น 180 กิโลกรัมต่อรอบการจำหน่าย ได้โกโก้ผลสดที่มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานรับซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.34 ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 518 บาทต่อรอบการจำหน่าย หลังจากพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถให้กับเกษตรกรแล้ว รายได้ของธุรกิจวัตถุดิบโกโก้เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.86 นอกจากนี้ได้จัดทำชุดองค์ความรู้การแปรรูปเมล็ดโกโก้สำหรับถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแปรรูปขั้นต้นเมล็ดโกโก้ให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาดได้และสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้านี้ให้มากขึ้นได้ โดยผลการจัดอบรมมีผู้ประกอบการสนใจยกระดับเข้าสู่ธุรกิจแปรรูปขั้นต้นจำนวน 11 แห่ง และธุรกิจวัตถุดิบ จำนวน 9 แห่งซึ่งขั้นต้นสร้างรายได้ให้กับธุรกิจแปรรูปเมล็ดโกโก้เฉลี่ย 45,600 บาทต่อเดือน

การดำเนินกิจกรรมของโครงการวิจัย “การยกระดับห่วงโซ่อุปทานโกโก้ในพื้นที่จังหวัดน่าน”

กรอบการวิจัยที่ 2 : การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
และสำนึกท้องถิ่น

การสืบค้นทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่แล้วนำมาสร้างคุณค่าร่วม ต่อยอดการเพิ่มมูลค่าผ่านการยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งการพัฒนาย่านวัฒนธรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งจะย้อนกลับไปสู่การสร้างจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นเกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีในพื้นที่ไม่ให้สูญหาย โดยอาศัยการทำงานของหน่วยงานเครื่อข่ายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งประกอบด้วยมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย ทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ทำงานกันเป็นเครือข่ายร่วมกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และหน่วยส่งเสริมชุมชนของกระทรวงอื่นอย่างใกล้ชิดโดยสถาบันอุดมศึกษามีบทบาทประสาน ติดตั้งองค์ความรู้ และอำนวย (Facilitate)ให้กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ คนคืนถิ่นหรือคนรุ่นใหม่ ช่างฝีมือท้องถิ่นหรือศิลปินพื้นบ้าน และผู้ประกอบการวัฒนธรรม

การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมผ่านกลไกการทำงานของสถาบันอุดมศึกษา

จากผลการดำเนินงานปีงบประมาณที่ผ่านมา การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมผ่านกลไกการทำงานของสถาบันอุดมศึกษา มีการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมใน 21 พื้นที่ ครอบคลุม 17 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ภาคกลาง 5 จังหวัด และภาคใต้ 3 จังหวัด เกิดพื้นที่วัฒนธรรม193 แห่ง เกิดผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมจำนวน 111 กลุ่ม/464 ราย สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บริการเชิงวัฒนธรรมได้ 386 รายการ ตัวอย่างการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมผ่านสถาบันอุดมศึกษา อาทิ

โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีร่วมกับภาคีเครือข่าย ศิลปิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และภาคธุรกิจเอกชน ในการนำเอาฐานทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกของพื้นที่มาร่วมกันพัฒนาในมิติต่างๆ ได้แก่ จัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมทุ่งหลวงรังสิต จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เก้าอี้โบราณ ผ้าคลุมไหล่และผ้าคลุมศีรษะ ผ้ากันเปื้อนและกระเป๋าสะพาย โดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมดังกล่าวได้รังสรรค์ลวดลายอันเป็นอัตลักษณ์ลงบนผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัญลักษณ์ของทุ่งหลวงรังสิตที่ประกอบด้วย ข้าว สายน้ำ ดอกบัว และเรือ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการวัฒนธรรมในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดำเนินงานขับเคลื่อนผ่านกลไกความร่วมมือเมืองแม่แจ่ม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายศิลปิน/ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชน ประชาชน ภาคประชาสังคม และสถาบันอุดมศึกษา /นักวิชาการ จัดเก็บหลักฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมของเมืองแม่แจ่มในรูปแบบของแผนที่ทางวัฒนธรรม ซึ่งนำมาใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยว เกิดการจัดตั้งกลุ่มการท่องเที่ยววิถีชีวิตบ้านกองกานเกิดการพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมด้านผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Yong Proud (บ้านพร้าวหนุ่ม) กลุ่มเส้นฝ้าย ลายปัก (บ้านห้วยไห และกลุ่มฝ้ายทอมือแจ่มแจ่ม (บ้านกลางทุ่ง/บ้านสองธาร) ให้สามารถสร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดยุคใหม่ อีกทั้ง ยังเกิดการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมกลุ่มเครือข่ายวัฒนธรรม (Social Enterprises) เมืองแม่แจ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสั่งคมกลุ่มเครือข่ายวัฒนธรรมอำเภอแม่แจ่มให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น

การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมผ่านภาคประชาสังคม

กลไกผ่านประชาคมวัฒนธรรมในพื้นที่ด้วยการกำหนดกติกาและความร่วมมือในการสร้างพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ 60 พื้นที่/ย่าน กระจายทั่วกลุ่ม 18 จังหวัดของประเทศไทย รวม 50 จังหวัด อาทิ “ตลาดแคมของ” ถนนหน้าวัดหายโศก – เขื่อนป้องกันตลิ่ง (ตลาดท่าเสด็จ) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย “ตลาดไทยตลาดธรรม” ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี “หลาดชุมทางทุ่งสง” ถนนชนปรีดา ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ “กาดไทลื้อ” อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยมีการจัดกิจกรรมตลาดมากกว่า 2,800 ครั้ง ซึ่งภายในตลาดมีการจำหน่ายสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นหลากหลาย สร้างรายได้มากกว่า 417, 869,211 บาท เกิดการสร้างผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมไม่น้อยกว่า 6,000 ราย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น 1,000 รายการ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในพื้นที่มีรายได้จากการขายสินค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10,859 บาทต่อราย สามารถสร้างรายได้รวมกว่า 135 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment: ROI) กว่า 8.57 เท่า หมายความว่าเมื่อมีการลงทุนจากภาครัฐทุก ๆ 1 บาท จะได้รับผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจชุมชน 8.57 บาท ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

เกิดการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองทุ่งสง เกิดการเปิดพื้นที่ศิลปวัฒนธรรมชุมชน ด้วยวิถีชุมชน เป็นตลาดที่จำหนายผลิตภัณฑ์สินค้าทางวัฒนธรรมของภาคใต้ ผู้ค้าโดยคนทุ่งสง 100% โดยมีกติกาประชาคมร่วมกัน ปัจจุบันมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จำนวน 200 ครั้ง มีผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรม มากกว่า 236 ราย เกิดการสร้างรายได้มากกว่า 86,938,199 บาท

เกิดการจัดกิจกรรมเปิดพื้นที่วัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ในทุกวันเสาร์จำนวน 117 ครั้ง จำนวนผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมประมาณ 65 ราย ก่อให้เกิดรายได้รวมประมาณ 12,726,727 บาท ค่าผลตอบแทนทุนภาครัฐ (ROI) ที่ 4.68 ทำให้จังหวัดลำพูนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวในพื้นที่และนอกพื้นที่มากขึ้น สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนและคนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน เกิดสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ โคม ซึ่งผู้ประกอบการวัฒนธรรมในพื้นที่สามารถผลิตและจำหน่ายโคม ได้ทั้งหมด 55,160 ดวง เป็นเงิน 2,206,400 บาท

ระบบสารสนเทศด้านวัฒนธรรมและแผนที่วัฒนธรรม

หน่วย บพท. ได้พัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลทุนทางวัฒนธรรมที่สืบค้นจากงานวิจัยทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันเป็นระบบฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและ แผนที่วัฒนธรรมของประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น รวมถึงใช้สำหรับการพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรม พัฒนาเมืองปัจจุบันได้มีการรวบรวมข้อมูลทุนวัฒนธรรม ได้แก่ โบราณวัตถุ 75 ชิ้น โบราณสถาน 230 ที่ พื้นที่วัฒนธรรม 63 พื้นที่ วรรณกรรมพื้นบ้าน 64 วรรณกรรม เป็นต้น

แผนงานตัวแบบเชิงธุรกิจเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจ

บริบทใหม่ของโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน (Disruptive) ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความขัดแย้งทางการค้าและการเมืองระหว่างประเทศรวมทั้งการแพรระบาดของโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2562 จนถึงปัจจุบันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในหลายภาคส่วน เพื่อเป็นการเรงให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของไทย หน่วย บพท. จึงได้จัดทำแผนงานย่อย “ตัวแบบเชิงธุรกิจเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากรองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจภายใต้โปรแกรมที่ 17  แก้ปัญหาวิกฤตเรงด่วนของประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจ (Business Model) เพื่อใช้ในการยกระดับ รายได้ของประชาชนในพื้นที่ภาคการเกษตรและภาคบริการของประเทศไทยในพื้นที่นำรอง พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถในการปรับตัวและรองรับการเปลี่ยนแปลงของประเทศและของโลก ซึ่งตัวแบบการพัฒนาธุรกิจนี้เป็นตัวแบบในการรวบรวมกลไกทุกภาคส่วนเพื่อมาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ แล้วถอดมาเป็นโมเดลการพัฒนาอาชีพของพื้นที่นั้นเพื่อนำไปต่อยอด ขยายผลและสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ต่อไป โดยมีนวัตกรในพื้นที่เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนในพื้นที่ 6 ภูมิภาค และคาดหวังการมีร่ายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 30หรือเพิ่มขึ้นสุทธิ 10,000 บาทต่อเดือน ต่อครัวเรือน ดังกรอบแนวคิดแผนงาน

การสนับสนุนทุนวิจัยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 – 2565 ครอบคลุมพื้นที่ 34 จังหวัด ประกอบด้วยปีงบประมาณ 2563 จำนวน 3 จังหวัด ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 14 จังหวัด และปีงบประมาณ 2565 จำนวน 17 ชุดโครงการวิจัย ครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน สุโขทัย สกลนคร ชัยภูมิ ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร กระบี่ สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม ได้ดังนี้

01

องค์ความรู้เรื่องตัวแบบเชิงธุรกิจ (Business Model) หรือตัวแบบการพัฒนา (Develop ment Model) ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ จริงในพื้นที่จำนวน 16 องค์ความรู้

02

สร้าง “นวัตกร” หรือ Knowledge Worker ที่สามารถ Up Skill หรือ Re Skil ที่สอดคล้องกับอาชีพของภาคเกษตรและภาคบริการ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ จำนวน 1,026 คน

03

ยกระดับรายได้เกษตรกร และแรงงานภาคบริการ เฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 30 ต่อเดือนต่อครอบครัว ได้จำนวน 4,971 ครัวเรือน

04

ผลักดันเข้าสู่นโยบายระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หรือแผนพัฒนาจังหวัด

จากชุดโครงการวิจัย “การเพิ่มศักยภาพตัวแบบเชิงธุรกิจและโครงข่ายการตลาดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจากทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรีอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า” (ภาพที่ 36) ได้แก่ ธุรกิจจำหน่ายลำไผ่ธุรกิจจำหน่ายหน่อไม้ดอง ธุรกิจจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไผ่ ธุรกิจสปาจากสวนไผ่ โดยมีผลกำไรสุทธิที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก การใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจแปรรูปหน่อไม้ดอง จากเดิมจำหน่ายได้ 43,200 บาท/ปี เพิ่มเป็น 72,000 บาท/ปี กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 33.3 และเกิดการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่ (กลุ่มคหกรรมบ้านไทรงาม)

แพลตฟอร์มการสร้าง Business Model พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี

จากชุดโครงการวิจัย “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อรักษาคุณค่าสู่การยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจของเซรามิกจังหวัดลำปาง” เกิดระบบและกลไกการทำงานรูปแบบเครือชายในการพัฒนาเมือง ในหลายด้าน อาทิ เกิดกลุ่ม “กลุ่มหัตถศิลป์ ชุมชนเซรามิกศาลาหม้อ” พร้อมทั้งได้หนังสือพัฒนาการและประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผาลำปาง หนังสือมรดกวัฒนธรรม 8 วิถีจังหวัดลำปาง และสามารถสร้างกลไก การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในชุมชน ภายใต้แนวคิด “ระฆังอธิษฐาน” ทดสอบรูปแบบวิธีการทำการตลาดแบบรวดเร็ว (Fast-track Marketing) ณ วัดดอยพระฌาณ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ระยะเวลา 5 เดือน ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้คือมากกว่าร้อยละ 30 ของรายได้เดิม รวมถึงก่อให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่เชื่อมโยงกับระฆังอธิษฐานรวมถึงการจ้างงานเพิ่มเป็นมูลค่ากว่า 925,000 บาท

แพลตฟอร์มการสร้าง Business Model พื้นที่จังหวัดลำปาง

จากชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาตัวแบบเชิงธุรกิจการผลิตปูทะเลตลอดห่วงโซ่อุปทานโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างเป็นสินค้าเศรษฐกิจชนิดใหม่รองรับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตด้านเศรษฐกิจในจังหวัดปัตตานี” หน่วยงานที่นำผลงานไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคมภาคชุมชน ภาคเอกชน และกลไกภาคีที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ หน่วยงานประมงจังหวัดและส่วนกลาง หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ศอ.บต.และมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ นำไปสู่การยกระดับด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสังคม เกิดการขยายผลและมีการเลี้ยงปูทะเลเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างเศรษฐกิจ หมุนเวียนในพื้นที่ พร้อมสร้างอาชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ทำฟาร์มเลี้ยงปู (ปอดิน) 24 ครัวเรือนและเกษตรกรขุนปูทะเลในระบบคอนโดน้ำหมุนเวียนจำนวน 23 ครัวเรือน ด้านวิชาการ สามารถสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการในการพัฒนาเทคนิคและกระบวนการในการผลิตแม่ปูให้ออกไปนอกกระดองได้เป็นครั้งแรกของประเทศที่สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลจากการวิจัยสามารถพัฒนาศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูทะเลครบวงจรเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่มีห่วงโซ่การผลิตครบตลอดกระบวนการ ด้านเศรษฐกิจสามารถสร้างได้เมื่อสิ้นสุดโครงการวิจัย จำนวน 3,292,257 บาท ไปถึงด้านนโยบาย สามารถผลักดันนโยบาย “เมืองปูทะเลโลก”

จากชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาต้นแบบเชิงธุรกิจการเกษตรน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมพรีเมียม จังหวัดสระบุรี” ที่สามารถเป็นต้นแบบธุรกิจฟาร์มโคนมที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์นมคุณภาพสูง เช่น นมสดพาสเจอไรซ์ นมเปรี้ยว กรีกโยเกิร์ต โดยเกษตรกรที่ผลิตน้ำนมคุณภาพพรีเมียม จะมีร่ายได้ส่วนเพิ่มร้อยละ 33 จากราคาฐานเดิมเมื่อขายวัตถุดิบอย่างเดียว อีกทั้งยังเกิดนวัตกร จำนวน 36 คน ที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ติดตั้งมาใช้ในการยกระดับฟาร์มโคนม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และเป็นผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังเกษตรกรรายอื่น ๆ ได้ รวมถึงยังเกิดเครือข่ายฟาร์มโคนม จำนวน 3 เครือข่าย.