การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 16 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14F640068
นักวิจัย นางพิสมัย ประชานันท์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 May 2021
วันที่สิ้นสุด 14 May 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย บุรีรัมย์

ชื่อโครงการ

การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ

ระบบฐานข้อมูล,ความยากจน,ความเหลื่อมล้ำทางสังคม

บทคัดย่อ

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้

1) เพื่อค้นหาคนจนกลุ่มเป้าหมายที่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์อย่างแม่นยำ
2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุความยากจนของคนจนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
3) เพื่อพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของพื้นที่คนจนกลุ่มเป้าหมายจังหวัดบุรีรัมย์
4) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด

ประชากรเป้าหมายคือครัวเรือนยากจนพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 5,372 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจนในครั้งนี้คือ แบบสอบถามระบบข้อมูลครัวเรือนยากจน วิเคราะห์ข้อมูลตามแบบวิเคราะห์ข้อมูล Evidence-base ผลการวิจัยพบว่า อำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีจำนวนครัวเรือนยากจนเป้าหมายจาก TPMAP จำนวน 4,217 ครัวเรือน คนจนเป้าหมาย จำนวน 7,596 คน ภายหลังจากการค้นหาสอบทานเสร็จสิ้นปรากฎข้อมูลจำนวนครัวเรือนยากจนทั้งสิ้น 5,372 ครัวเรือน จำนวนสมาชิกทุกครัวเรือน จำนวน 26,378 คน ภายหลังจากการลงพื้นที่ค้นหาสอบทาน ทีมปฏิบัติการได้รับการชี้เป้าจากอาสาสมัครในชุมชนเพิ่มเติมจากจำนวนที่มีอยู่ในระบบของหน่วยงานที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นจำนวน 1,815 ครัวเรือน ซึ่งเป็นคนจนที่ควรได้รับความช่วยเหลือแต่กลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ (Exclusion error) จำนวน 1,485 ครัวเรือน และคนจนที่ไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือแต่กลับได้รับความช่วยเหลือ (Inclusion error) จำนวน 330 ครัวเรือน เมื่อพิจารณาศักยภาพทุน 5 มิติโดยเฉลี่ยทั้งพื้นที่พบว่าพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์มีศักยภาพมิติทุนกายภาพสูงที่สุด (2.89) รองลงมาคือมิติทุนธรรมชาติ (2.70) มิติทุนเศรษฐกิจ (2.40) มิติทุนมนุษย์ (1.87) และมิติทางสังคม (1.75) ตามลำดับ เกิดโมเดลแก้จนที่เหมาะสมกับบริบทเชิงพื้นที่จำนวน 2 โมเดล คือ โมเดลพุ่มพวงแก้จน และโมเดลเกษตรสร้างสุข

สำหรับระบบการส่งต่อความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนในพื้นที่เป้าหมาย มี 2 ระบบ ดังนี้

ระบบที่ 1 ระบบสังคมเกื้อกูล : เกิดจากการรวมกลุ่มผู้มีจิตสาธารณะ บริจาคปัจจัยและสิ่งของที่จำเป็นเฉพาะราย อาทิ กรณีที่ครัวเรือนยากจนที่พบมีความยากลำบากในการดำรงชีพ จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือในด้านเครื่องอุปโภค บริโภคหรือปัจจัยในทันทีที่พบ
ระบบที่ 2 กรณีครัวเรือนยากจนที่อยู่ใน “กลุ่มเปราะบาง” และกลุ่ม”อยู่ลำบาก” เช่น ผู้พิการ พิการซ้ำซ้อน ผู้ป่วยติดเตียง ฯลฯ ทั้ง 2 ลักษณะนี้จำเป็นต้องออกแบบระบบการส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่มีโครงการและงบประมาณพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที

Title

Precision Poverty Alleviation Project for Reducing the Social Disparity in Buriram Province

Keywords

Database System,Poverty,Social Disparity

Abstract

Precision Poverty Alleviation Project for Reducing the Social Disparity in Buriram Province had four objectives as follows:

1) to precisely search for the target group of poor people in Buriram Province;
2) to analyze the causes of poverty of the target group of poor people in Buriram Province,
3) to develop a comprehensive and accurate poverty alleviation model of the poor target group in Buriram Province; and
4) to make a comprehensive and accurate poverty alleviation policy proposal linked to the provincial strategic development plan.

The target population included 5,372 poor households in Muang Buriram district. The research instrument was the questionnaire asking for poor household information system. The data were analyzed according to the evidence-base data analysis model. The results showed that: There were 4,217 targeted poor households from TPMAP with 7,596 targeted poor people in Mueang Buriram District. After completing the verification search and review, the total number of poor households appeared 5,372 households, a number of all household members were 26,378 people. After visiting the areas for verification search and review, the action team targeted from the community volunteers found more 1,815 poor households excluding from the system of responsible agencies who take care of poor people; 1,485 households should be helped but they were not helped (Exclusion error) while 330 households should not be helped but they were helped (Inclusion error). When considering the 5 dimensions of capital potential by averaging the entire area, it was found that the area of Mueang Buriram District had the highest potential of physical capital (2.89), followed by natural capital (2.70), economic capital (2.40), human capital (1.87), and social (1.75), respectively. There were two suitable models for the area-based context, namely “The Phum Puang Kae Jon Model” and “The Happy Agriculture Model.”

For referral systems to help poor households in the target areas, there are two systems as follows.

System 1: Supportive social system – arising from the gathering of people with public mind, and donating necessities and items for individual necessities, for example, in cases of poor households encounter difficulties in their livelihoods, they need help with consumables consumption or factors as soon as they are found.
System 2: In case of poor households living in vulnerable and difficult groups, such as disabilities, multiple disabilities, bedridden patients, etc., both of these characteristics need to design a system for referring assistance to agencies that have ready projects and budgets for help them immediately.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น