นวัตกรรมชุมชนเพื่อการผลิตและการใช้ประโยชน์ข้าวบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิสังคมในภาคเหนือตอนบน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 33 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640052
นักวิจัย นายสุทธกานต์ ใจกาวิล
หน่วยงาน กรมการข้าว
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 May 2021
วันที่สิ้นสุด 15 May 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย เชียงใหม่, น่าน, แม่ฮ่องสอน

ชื่อโครงการ

นวัตกรรมชุมชนเพื่อการผลิตและการใช้ประโยชน์ข้าวบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิสังคมในภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ

แหล่งอาหารของชุมชน,ความมั่นคงทางอาหาร,ระบบการผลิตข้าว

บทคัดย่อ

งานวิจัย “นวัตกรรมชุมชนเพื่อการผลิตและการใช้ประโยชน์ข้าวบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิสังคม ในภาคเหนือตอนบน” ได้น้อมนำแนวการพัฒนาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 การพัฒนาที่ สอดคล้องกับภูมิสังคม โดยเน้นการยึดถือสภาพตามความเป็นจริงของภูมิประเทศ ชุดโครงการ ดำเนินการใน พื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อำเภอเวียงแหงและแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอ ปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้แนวทางบริหารจัดการชุมชนบนพื้นที่สูงให้มีความมั่นคง ทางอาหาร และสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภค เทคโนโลยีที่นำไปสนับสนุนให้มีการผลิต การแปรรูป และการเพิ่มรายได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จากการดำเนินงานกิจกรรมในแต่ละ โครงการย่อย เป็นการหนุนเสริมการทำงานเดิมของกรมการข้าว เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกับเกษตรกรและ ชุมชน โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้ผลดังนี้ การจัดเวทีชุมชนและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าว ได้ดำเนินการในพื้นที่ 4 อำเภอ 12 ตำบล โดย ให้เกษตรกรเรียนรู้และปรับใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาในการผลิตข้าวบนพื้นที่สูงผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตข้าวระหว่างฤดูการปลูกข้าว โดยนักวิชาการจากหน่วยงานและมหาวิทยาลัยในพื้นที่จัดอบรมให้ ความรู้ ศึกษาดูงาน และการปฏิบัติจริงในแปลงของตนเอง จากนั้นได้คัดเลือกและอบรมให้นวัตกรชุมชนผ่าน การวิเคราะห์ และประเมินคุณสมบัติ จำนวน 45 คน สามารถเป็นตัวแทนของชุมชนในแต่ละพื้นที่ได้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวบนพื้นที่สูง เป็นการสร้างกลุ่มเกษตรกรในการจัดทำแปลงต้นแบบ ในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย 13 ชุมชน จำนวน 54 แปลงต้นแบบ ชุมชนเข้าร่วมดำเนินการแบบเกษตรกรมีส่วน ร่วม โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวไร่อย่างยั่งยืน เช่น การใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ และการเพิ่มความ อุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นต้น และเทคโนโลยีการทำนาขั้นบันไดบนพื้นที่สูง เช่น การปลูกข้าวนาโยนแบบ เกษตรแม่นยำ การใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการป้องกันโรคข้าวโดย ใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ การพัฒนาระบบการสำรองข้าวภายในชุมชนโดยใช้รูปแบบธนาคารข้าว ได้จัดทำกระบวนการเรียนรู้ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ผ่านระบบธนาคารข้าวชุมชน จำนวน 8 ธนาคาร โดยแต่ละธนาคารมีคณะกรรมการกำกับดูแล มีกฎเกณฑ์ของกลุ่ม และมีการดำเนินงานได้เองจากการให้องค์ ความรู้การผลิตและจัดการเมล็ดพันธุ์ของกรมการข้าว สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวรวมประมาณ 4 ตัน ซึ่งเป็น พันธุ์รับรองและพันธุ์พื้นเมืองที่นิยมปลูกในพื้นที่ เกษตรกรสามารถกู้ยืมหรือซื้อเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดู ต่อไป จากการดำเนินงานได้มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลด การใช้สารเคมีและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งในโครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้ ประโยชน์จากข้าวบนพื้นที่สูงในอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยได้จัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการ พัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างสมดุลของแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติ และการส่งเสริมปลูกพืชร่วมระบบ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวและพืชร่วมระบบในชุมชน พบว่าสามารถสร้างระบบนิเวศในนาข้าวให้ เหมาะสมต่อการเพิ่มปริมาณและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืช และสนับสนุนการรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชน สำหรับการส่งเสริมปลูกพืชร่วมระบบและการแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากข้าวและพืชร่วมระบบในชุมชน เป็นการใช้ประโยชน์จากข้าวและพืชร่วมระบบในชุมชนที่มีการ ปลูกอยู่แล้ว ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลี และบักวีต ซึ่งเหลือจากการบริโภคแล้วนำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า สร้าง รายได้ให้เกษตรกรและชุมชนอีกทางหนึ่ง โดยผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรสามารถผลิตได้เอง ได้แก่ ซีเรียลบาร์ข้าว ทองม้วนบักวีต โปรตีนแท่งอบกรอบ เส้นบักวีตแห้ง และชาบักวีต

Title

Community Innovation for Highland Rice Production and Utilization Corresponding to the Social Geography in Upper North Region

Keywords

food security,community food bank,rice production system

Abstract

This research has led the development guidelines of His Majesty King Rama IX that corresponds to the social geography by emphasizing the adherence to the reality of the terrain. The project series is carried out in 4 districts: Bo Kluea, Wiang Haeng, Mae Chaem and Pang Mapha. The objectives are to obtain guidelines for managing communities in the highlands for food security and can increase rice production to be sufficient for consumption, technology to support systematic and efficient production, processing, and income generated from operating activities in each sub-project. This is to support the main work of the rice department to enhance working with farmers and communities by creating a learning process through various activities. The results are as follows: Organizing a community forum and transferring rice production technology were carried out in 4 districts and 12 sub-districts by allowing farmers to learn and apply the process of solving problems in rice production in the highlands. The transfer of rice production technology during the rice-growing season by academics from departments and universities in the area to organize the training for providing knowledge, study visits and real practice in their plots. Then, the community innovators were selected by training through analysis and assessing the qualifications of 45 people who can be representatives of the community in each area. Increasing the efficiency of rice production in the highlands was the creation of a group of farmers creating model plots in 13 target communities, totaling 54 field plots. The fields were using sustainable rice production technologies such as using rice varieties suitable for the area and increasing the fertility of the soil. The technology of rice terraces on the highlands such as the cultivation of paddy rice with the precision agriculture, the using of rice varieties suitable for the area, the using of the fertilizer according to soil analysis, and the preventing rice disease by using antagonistic bacteria. Development of a rice reserve system within the community using the rice bank model. The learning process of producing good quality rice seeds has been established for farmers in the area. The community rice banking system was conducted with 8 banks. Each bank has a supervisory committee that can operate independently from providing knowledge on the production and management of seeds of the Rice Department. They can produce about 4 tons of rice seeds, which are certified and native varieties that are commonly planted in the area. Farmers can borrow or buy them to use as seeds for the next season. From the operation, there are activities to make the most of the resources in the area to reduce the use of chemicals and increase income for farmers. Another way of the project is to increase the production efficiency and utilization of rice in the highlands in Bo Kluea District, Nan Province. The learning process was organized through model community development activities to create a balance between rice insect pests and natural enemies and promoting the cultivation of integrated crops and the processing of rice products and iv integrated crops in the community. It was found that ecosystems in rice fields can be created to be suitable for increasing the number and diversity of beneficial organisms, reducing the use of pesticides, and supporting the preservation of the environment in the community of rice products. It is the utilization of rice and community crops that are already cultivated which are rice, wheat and buckwheat. They are the leftover items for consumption to process of adding value that can be the option for farmers and communities to make more income. The products that farmers can produce by themselves, such as cereal bars, buckwheat rolls, crispy protein bars, noodles and tea.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น