การพัฒนาและยกระดับมูลค่าสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (OTOP) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนฐานทุนทรัพยากร วัฒนธรรมในพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 13 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630003
นักวิจัย นายประกอบ ชาติภุกต์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 May 2020
วันที่สิ้นสุด 14 May 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, เพชรบุรี

ชื่อโครงการ

การพัฒนาและยกระดับมูลค่าสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (OTOP) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนฐานทุนทรัพยากร วัฒนธรรมในพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ

ยกระดับในการแข่งขัน,สินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล,จังหวัดเพชรบุรี

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาและยกระดับมูลค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนฐานทุนทรัพยากร วัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี” ประกอบด้วย 9 โครงการย่อย คือ

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมหวานไทย จังหวัดเพชรบุรี เพื่อสุขภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
  2. การพัฒนาและสร้างนวัตกรรมกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรสำหรับการผลิตขนมหวานไทยแบบใหม่ของจังหวัดเพชรบุรี ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  3. การพัฒนานวัตกรรมปลายน้ำเพื่อสร้างช่องทางการตลาดและขยายสเกลธุรกิจโอทอปสำหรับขนมหวานไทยเพื่อสุขภาพจังหวัดเพชรบุรี ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  4. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ขนมหวานไทยเพื่อสุขภาพ รองรับการขยายสเกลกับกลุ่มโรงงาน บนอัตลักษณ์ประจำถิ่นและทุนวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบุรี
  5. การพัฒนาการปลูกมัลเบอร์รี่แบบเกษตรอินทรีย์คุณภาพสูงสำหรับสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล (OTOP) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจกลุ่มต้นน้ำ
  6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์มัลเบอร์รี่เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จ.เพชรบุรี
  7. การพัฒนาและสร้างนวัตกรรมกระบวนการผลิตด้วยเครื่องจักรสำหรับการแปรรูปมัลเบอร์รี่ ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  8. การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับมัลเบอร์รี่แปรรูปเพื่อสุขภาพ บนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน
  9. การเพิ่มมูลค่าและการพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์มัลเบอร์รี่แปรรูปเพื่อสุขภาพ จ.เพชรบุรี ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และตอบสนองต่อ OKR ของ Platform และ Program ตามกรอบของผู้ประกอบการพื้นถิ่น (Local Enterprises)

เพื่อให้เกิดโครงสร้างการกระจายรายได้สู่เกษตรกรผู้ผลิต/ผู้ผลิตต้นน้ำ ประกอบด้วย

  1.  การยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจชุมชน/OTOP กระจายในต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ จำนวน 50 วิสาหกิจ/OTOP
  2. มีการสร้างและการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Value Chain) จำนวน 2 ห่วงโซ่
  3. สร้างกลไกดูดซับเศรษฐกิจ จำนวน 1 กลไก
  4. รายได้ของคนจน 40% ล่างสุดกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 อย่างทั่วถึง ด้วยอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก และมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 และนอกเหนือจากผลผลิตและผลกระทบที่กล่าวมา ยังมีผลผลิตอย่างอื่นที่จะเกิดขึ้นมากกว่าที่กำหนดไว้ตาม OKR ประกอบด้วย
    4.1 System and mechanism ในการสร้างการเรียนรู้ ยกระดับคุณภาพ และควบคุมขนมหวานเมืองเพชรบุรีและมัลเบอร์รี่ทั้งตลาดภายในและตลาดภายนอก
    4.2 สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ จำนวน 5 คน
    4.3 สร้างบัณฑิตนักปฏิบัติอย่างน้อย 27 คน
    4.4 มีนวัตกรรมพร้อมใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

แผนงานวิจัยนี้เล็งเห็นถึงการแก้ปัญหาให้เห็นผลสัมฤทธิ์ที่สามารถกระทำได้ตามประเด็นหลักคือ คือ

  1. ยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจชุมชน/OTOP ที่มีการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Value Chain) ประเภทขนมหวานพื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากมัลเบอร์รี่
  2. เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ขนมหวานด้วยการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันและสร้างความเข้มแข็งของแบรนด์พริบพรี ด้วยการต่อยอดจากชุดโครงการวิจัย “การสร้างนวัตกรรมและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทขนมหวานพื้นเมืองเพื่อสุขภาพ จังหวัดเพชรบุรี”
  3. สร้างกลไกดูดซับเศรษฐกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ขนมหวานพื้นเมืองเพื่อสุขภาพ 4) พัฒนากลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพสูง

Title

Developing and increasing the value of OTOP products to enhance competitiveness based on cultural resources in the area of Phetchaburi Province

Keywords

OTOP,Enhance Competitiveness,Phetchaburi Province

Abstract

The research project series “Developing and upgrading the value of one product, one tambon (OTOP) are established to increase capability in competitiveness based on the resource and cultural capital in Phetchaburi Province.
They consist of 9 sub-projects:

  1.  Thai dessert product development in Phetchaburi Province for health and promoting the community economy
  2. Development and creation of innovations in the production process with machinery for the production of new Thai desserts in Phetchaburi province with appropriate technology
  3. Developing downstream innovations to create marketing channels and expand the OTOP business for Thai desserts for health, Phetchaburi Province, using digital technology
  4. Packaging development for Thai dessert products for health, supporting the scaled-up factory groups based on local identity and cultural capitals in Phetchaburi Province
  5. Development of high quality organic mulberry cultivation for One Tambon Product (OTOP) to raise upstream economy
  6. Development of mulberry products to enhance the economy and quality of life of community enterprises, Phetchaburi Province
  7. Development and creation of innovations of production processes with machines for processing mulberries with appropriate technology
  8. Packaging design for processed mulberries for health based on community lifestyle identity
  9. Value addition and marketing strategy development for processed mulberry products for health, Phetchaburi Province, using digital technology. All these works were engaged to respond to OKR of Platform and Program according to the framework of Local Enterprises to create a structure to distribute income to farmers, producers/ upstream producers. They were consisting of
    1) upgrading and adding value to community products of enterprises community/OTOP distributed in the upstream-mid-stream-downstream in the amount of 50 enterprises/OTOP
    2) Two new value chains were created and managed.
    3) One economic absorbing mechanism was created.
    4) income of the poor about 40% of the bottom of the target group was increased by 15 percentages thoroughly with the growth rate of the economy capital and the value of community products are increased to 10 percentages.

In addition, not only was the above-mentioned productivities and previous impacts, but other outputs were also shown more than those specified in the OKR which were consisting of

1) System and mechanism for creating learning, enhancing quality and control of Phetchaburi sweets and mulberry both inside and outside markets.
2) Creation of 5 new researchers.
3) Creation of at least 27 graduate practitioners.
4) Ready to use innovations to solve problems or develop concrete and sustainable communities.

This research plan aim at finding the solution for the problems to achieve results that can be managed according to the main issues, which are:
1) Upgrading and adding value of community products of community enterprises/OTOP with new value chain management of local sweets and mulberry products.
2) Increase the variety of confectionery products by increasing the competitiveness and strengthening the “Prippre brand” by extending a series of research projects “Creating innovation and adding value to products in one district One product (OTOP) for a type of healthy local sweets of Phetchaburi Province”
3) Creation of an economic absorbing mechanism for local dessert products for health.
4) Development of a research management mechanism of Rajamangala University of Technology Phra Nakhon to be strong and highly effective.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น