กระทรวง อว. หนุน บพท. ชู 10 ผลงานเด่นมุ่งสู่ “งานวิจัยแก้จนสู้วิกฤตเศรษฐกิจฐานราก”

วันที่ 11 มกราคม 2567 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ร่วมจัดเวทียกย่อง เชิดชู มอบโล่เกียรติยศผลงานวิจัยดีเด่น หน่วย บพท. ประจำปี พ.ศ. 2565 กับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในงาน “Future Thailand”ณ สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ 1 ชั้น 5 ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดและปาฐกถาพิเศษ “อว. กับการขับเคลื่อนอนาคตของประเทศ” แถลงผลงาน 3 เดือน พร้อมทั้งแสดงแนวทางอนาคตของ อว. ในการขับเคลื่อนอนาคตของประเทศไทยที่จะมุ่งเน้น “เรียนดี มีความสุข มีรายได้” และ “วิจัย นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” พร้อมทั้งให้เกียรติมอบโล่เกียรติยศแสดงความยินดีแก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นหน่วย บพท. ประจำปี 2565 จำนวน 10 ผลงาน จำแนกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย

งานวิจัยดีเด่นด้านการพัฒนาเชิงระบบ/นโยบายระดับชาติหรือจังหวัดหรือท้องถิ่น มี 3 ผลงานได้แก่

1) งานวิจัยสร้างเมืองปูทะเล กลางวิกฤตที่ปัตตานี โดย รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

2) งานวิจัยธุรกิจปันกัน “ตอน เสริมสภาพคล่องด้วย…วัคซีนการเงิน” โดย รศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

3) งานวิจัยระบบบริหารครัวเรือนยากจนแบบร่วมมือระดับพื้นที่ โดย รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

งานวิจัยดีเด่นด้านการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและอาชีพ มี 4 ผลงาน ได้แก่

1) งานวิจัยการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์ ด้วยนวัตกรรมสำหรับชุมชน โดย ดร.ภรณี หลาวทอง และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

2) งานวิจัยกระจูดแก้จนแบบมีส่วนร่วมจังหวัดพัทลุง โดย รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ

3) งานวิจัยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากมะม่วงเบาใต้-ยางพารา และพริก โดย ผศ.ดร.อนุวัตร วอลี และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

4) งานวิจัยการพัฒนาโคเนื้อจังหวัดน่าน ด้วยกลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่ โดย ผศ.น.สพ.ดร.วินัย แก้วละมุล และคณะนักวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานวิจัยดีเด่นด้านการอนุรักษ์พัฒนาและจัดการภูมิปัญญา ทรัพยากร และทุนของชุมชน มี 3 ผลงาน ได้แก่

1) งานวิจัยการจัดการทรัพยากรป่าประ นบพิตำ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดย ผศ.ดร.สมรักษ์ รอดเจริญ และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

2) งานวิจัย Learning City LAMPANG Model โดย ดร.ขวัญนภา สุขศร และคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง จ.ลำปาง

3) งานวิจัย Phayao Learning : พะเยาเมืองแห่งเรียนรู้ของยูเนสโกของทุกคน โดย รศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา

เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่นักวิจัยที่อุทิศแรงกาย แรงใจ และพลังสติปัญญา ในการทำวิจัยและพัฒนาพื้นที่ ให้มีความเข้มแข็ง และมีคุณภาพชีีวิตที่ดีขึ้น กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการสร้างสรรค์งานวิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ และประเทศรวมถึง เพื่อเป็นการเผยแพร่ ผลงานวิจัยดีเด่นสู่การรับรู้ของสาธารณะ โดยมีผู้บริหารในระบบ ววน. และเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และนักวิจัย เข้าร่วมงานกว่า 800 คน

สถิติการเข้าชม