การส่งเสริมและพัฒนานักประวัติศาสตร์ภาคประชาชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 10 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640158
นักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร ไทยจงรักษ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 September 2021
วันที่สิ้นสุด 14 May 2021
ระยะเวลา 8 เดือน
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, เชียงราย, เชียงใหม่, พิษณุโลก, ลำปาง, สงขลา, สระบุรี, อุตรดิตถ์

ชื่อโครงการ

การส่งเสริมและพัฒนานักประวัติศาสตร์ภาคประชาชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

คำสำคัญ

นักประวัติศาสตร์สมัครเล่น,ท้องถิ่น,การพัฒนา

บทคัดย่อ

โครงการวิจัย “การส่งเสริมและพัฒนานักประวัติศาสตร์ภาคประชาชน” วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลหรือบัญชีรายชื่อนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (สมัครเล่น) ในภูมิภาคต่าง ๆ ส่งเสริม คุณค่า ความหมายสร้างเกียรติภูมิของประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนท้องถิ่นให้มีสถานะทัดเทียมกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก รวมทั้งสร้างและพัฒนานักเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลนำมาสกัดในการอบรม ผลการวิจัยพบว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนานักประวัติศาสตร์สมัครเล่นมีอยู่ 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ การพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์และการพัฒนาทักษะการเล่าเรื่อง นำไปสู่การออกแบบการอบรมที่เน้นไปยังทักษะทั้งสอง ประกอบกับการเปลี่ยนกรอบแนวคิดที่มีต่อวิชาประวัติศาสตร์เพื่อให้สามารถนำประวัติศาสตร์ไปใช้ต่อยอดได้ จึงทำให้เนื้อหาในการอบรมเน้นไปที่ 3 เรื่องหลักคือ การเปลี่ยนกรอบแนวคิด (mindset) ทางประวัติศาสตร์ การเรียนรู้วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ใหม่และการเล่าเรื่องที่ทันยุคทันสมัย นำไปสู่การทำให้ประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่ากลายเป็นมูลค่า

Title

The promotion and development of Civic Historians to enhance locality

Keywords

Amateur Historian,Local,Development

Abstract

This research aims to provide a database or the name list of civic historians in each region to promote, gain value and meaning and take pride in local community history which set an equal status to mainstream history and builds up and develops the storytellers of local history. The research method is qualitative research, documentary research, and in-depth interview to analyze the critical information and use it for the training program to be civic historians. The result of this research finds that the keys to developing storytelling are two main points which are the development of historical research and the development of story-telling skills leading to the design of the training program focusing on the main points and changing the framework of history subjects to develop history further. The contents of the training program emphasize three main points which are the change of mindset in history, the learning of the new historical methods, and the updated storytelling. The contents lead to making valuable history have more value creation.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น