การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 78 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F630005
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. ผณินทรา ธีรานนท์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship FS 22: Education Sandbox (พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
วันที่เริ่มต้น 15 May 2020
วันที่สิ้นสุด 14 May 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย พะเยา

ชื่อโครงการ

การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คำสำคัญ

เมืองแห่งการเรียนรู้,การเรียนรู้ตลอดชีวิต,เมืองพะเยา

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบและกลไกบริหารจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยา หรือ พะเยา Learning City ใช้กลไกสร้างการรับรู้และประสานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการขับเคลื่อนให้พื้นที่เมืองพะเยาเข้าสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์ของ UNESCO และผลักดันให้คนในพื้นที่มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านกิจกรรมบนพื้นที่การเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยใช้ทฤษฎีคู่ตรงข้าม ทฤษฎีการมีส่วนร่วม และหลักการทำงานแบบวงจรเดมมิ่ง หรือ PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในการพัฒนากิจกรรมภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยาและเทศบาลเมืองพะเยา มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงขยายเครือข่ายการทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น โดยชุมชนในเขตเทศบาลเมืองพะเยาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และประเมินการเรียนรู้ รวมถึงร่วมสอน เกิดเป็น Semi-formal education ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา มีการจัดทำหลักสูตรร่วมกัน 3 หลักสูตร ที่สามารถถ่ายโอนหน่วยกิตเข้ามหาวิทยาลัยพะเยาได้ ซึ่งระบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมนี้ ทำให้บุคลากรทุกฝ่ายได้เรียนรู้การทำงานในหลากหลายรูปแบบทั้งรูปแบบที่ดีและรูปแบบที่ควรปรับปรุง นอกจากนั้น ยังมีการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน การจัดกิจกรรมบ้านดินเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้บริเวณริมกว๊านพะเยา และกิจกรรมสร้างการรับรู้เรื่อง พะเยา Learning City ผ่านการประชุม Learning city forum และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้วิจัยติดตามและประเมินความสำเร็จในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยาด้วยวิธีการสังเกต การวิเคราะห์ความพึงพอใจของชุมชนที่เคยเข้าร่วมโครงการพะเยา Learning City การวิเคราะห์ลักษณะของความสนใจและอำนาจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยเครื่องมือ Stakeholder Analysis Matrix และการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis)

Title

A development of Phayao learning city for lifelong learning

Keywords

learning city,life-long learning,Phayao

Abstract

The Learning City management system and mechanism development for Phayao Municipality or Phayao Learning City have used UNESCO criteria to encourage lifelong learning opportunities for localsbinary opposition theory, the theory of participation, and Deming’s cycle or PDCA (Plan-Do-Check-Act) in the activities developed through cooperation between the University of Phayao and the Phayao Municipality. This has resulted in a semi-formal education that can reduce disparities in education. Three joint courses have been provided, and they can transfer credits to the University of Phayao course. The participatory work system helps the community learn in various works, although some aspects require improvement. In addition, there is learning resource co-management, such as earthen house activities, which is a learning center around Kwan Phayao Lake and instructive activities about Phayao Learning City through the Learning City forum and public relations through various media. The researcher monitored and assessed the running of Learning City in Phayao Municipality areas using an observational method, assessing the satisfaction of the participating communities, the interests and power of the stakeholders, and the system’s strengths, weaknesses, opportunities, and obstacles.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น