ชื่อโครงการ
การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดอุบลราชธานีคำสำคัญ
ความยากจน, การขจัดความยากจนแบบแม่นยำ, การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่, จังหวัดอุบลราชธานีบทคัดย่อ
โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานวิจัยคือ
(1) เพื่อค้นหา สอบทาน และสำรวจข้อมูลทุน 5 มิติของคนจนและครัวเรือนคนจนจังหวัดอุบลราชธานี
(2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความยากจน สถานการณ์ความยากจน ปัญหาและต้นทุนชีวิตของคนยากจนในจังหวัดอุบลราชธานี และส่งต่อความช่วยเหลือคนจนไปยังภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างแม่นยำ
(3) เพื่อพัฒนาและออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จแม่นยำที่ สอดคล้องกับบริบทและคนจนอย่างตรงเป้าหมายในพื้นที่ปฏิบัติการนำร่อง (operating model) และ
(4) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด หรือแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โครงการวิจัยมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2564-14 พฤษภาคม 2565 ในส่วนขอบข่ายเชิงพื้นที่ โครงการวิจัยได้ดำเนินงานใน 6 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง อำเภอม่วงสามสิบ และอำเภอน้ำยืน โดยอาศัยเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ที่มีคนจนกระจุกตัว และเป็นพื้นที่มีมีลักษณะเฉพาะของจังหวัด การดำเนินงานวิจัยในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมามีข้อสรุปและข้อค้นพบ ดังนี้
(1) ในการค้นหา สอบทาน และสำรวจข้อมูลครัวเรือนคนจน จะต้องดำเนินการลงพื้นที่อย่างเข้มข้นเพื่อนำไปสู่การค้นหา สอบทาน และสำรวจคนจนได้อย่างตรงเป้าหมาย รวมทั้งต้องอาศัยความร่วมมือในการหน่วยงานทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น ระดับท้องที่ และภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนงานร่วมกัน
(2) ในส่วนของปัจจัยที่ทำให้เกิดความยากจน สำหรับครัวเรือนคนจนในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า เกิดจากปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการปัจจัยประการแรก คือ การที่ครัวเรือนคนจนเผชิญกับการมีต้นทุนมนุษย์ที่เปราะบางทั้งประเด็นสุขภาพและการศึกษา ปัจจัยประการที่สอง คือ การมีรายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และประการที่สาม คือ การขาดการรวมตัวเพื่อช่วยเหลือกันในชุมชน
(3) การส่งต่อข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือ จากการสำรวจข้อมูลในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โครงการวิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจบันทึกลงระบบ livingonnewpace และประมวลวิเคราะห์เพื่อนำข้อมูลส่งต่อความช่วยเหลือให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานพัฒนาชมุชน จังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเมือง และโรงพยาบาลวารินชำราบ
(4) ในส่วนของนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ได้มีการดำเนินโครงการนำร่อง 3 โครงการ โดยเป็นการพัฒนาและออกแบบโครงการนำร่องด้วยการใช้ข้อมูลทุน 5 มิติและกระบวนการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนำไปสู่การที่กลุ่มคนจนเป้าหมายมีพื้นที่และสามารถสร้างการรวมกลุ่มในชุมชนที่ผ่านการทำกิจกรรมในโครงการนำร่องร่วมกัน ผลที่ตามมาคือเกิดความสัมพันธ์ในชุมชนที่เหนียวแน่นขึ้น และยังมีความคิดในการขยายความร่วมมือกันระหว่างพื้นที่โครงการนำร่องทั้ง 3 พื้นที่ไปพร้อมกันด้วย คำสำคัญ: การแก้ไขปัญหาความยากจน, ทุนการดำรงชีพ, โครงการนำร่อง, อุบลราชธานี
Title
Research for Area Development and Precision Poverty Alleviation in UbonRatchathani ProvinceKeywords
Poverty,Precision Poverty Alleviation,Research for Area Development,Ubon Ratchathani ProvinceAbstract
The Research for Area Development and Precision Poverty Alleviation in Ubon Ratchathani Province has 4 main objectives. Firstly, the research aims to explore, verify, and survey for 5 dimensions of people and household poverty in Ubon Ratchathani Province. Secondly, the factors of poverty, the situation of poverty, and problem and cost of living of the poor in Ubon Ratchathani Province is analyzed, also passing the information of the poor to related government sectors accurately is conducted. Thirdly, the research intends to design and develop innovation for poverty resolution entirely and accurately, in harmony to the poverty context in the operating areas. Finally, the policy recommendations for poverty resolution entirely and accurately, attaching to the provincial strategic plan or the government action plan, is considered. This research had started on 15 May 2021 to 14 May 2022, conducing in 6 districts: Mueang Ubon Ratchathani District, Warin Chamrap District, Det Udom District, Don Mot Daeng District, Muang Sam Sip District, and Nam Yuen District. These areas were selected by considering to the bunch of the poor and area’s specific characteristic. Significant findings were found after conducting the research project for 1 year. The first finding indicated that in the part of exploring, verifying, and surveying poverty household, the research should seriously engage in the targeted areas to find the accurate target groups in each area, in addition, the cooperation of agencies, in the level of province, district, sub-district, locality, and civil society, is needed to participate in the project. The second finding demonstrated 3 factors leading to poverty in Ubon Ratchathani Province: low human capital in both health and education, not adequate income, and lacking of community assist. The third finding illustrated that the research project had imported poverty household data in livingonnewpace system and had analyzed the data for delivering to various related agencies in Ubon Ratchathani Province: Office of Social Development and Human Security, Provincial Community development Office, Thamaung Subdistrict Administrative Organization, and Warinchamrab Hospital. The last finding explained the result of the 3 innovation pilot projects, applying in 3 areas. Applying the innovations, which were developed from examining the 5 dimensions of capital of living and the target group participation, enhanced the stronger community relation, and built the cooperation among 3 pilot areas. Keywords: poverty alleviation, livelihood capitals, pilot project, Ubon Ratchathani