ยุทธศาสตร์

“การพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้”

การพัฒนาเชิงโครงสร้างและการจัดการระดับเมือง เพื่อให้เกิดกลไกการพัฒนาพื้นที่ในหน่วยงานระดับท้องถิ่น (Local Government) นำไปสู่กลไกของการลงทุน (Investment) ซึ่งจะเป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อกระจายความเจริญของประเทศ ภายใต้โปรแกรมพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในปี 2565 หน่วย บพท. สนับสนุนการดำเนินวิจัย ประกอบด้วยแผนงาน ดังนี้

แผนงาน “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่”

แผนงานนี้มีหมุดหมายสำคัญคือการพัฒนาพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย และเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุนเกิดการขยายตัวมากขึ้น เกิดการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยงานวิจัยในกลุ่มนี้เน้นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบต่างๆ ประกอบด้วย

  1. กลไกการพัฒนาความร่วมมือทางสังคมของเมือง (Urb an Collaboration and Institution) เช่น กิจการพัฒนาเมือง กฎบัตรของเมือง
  2. พัฒนาระบบข้อมูลเปิด (Da ta Preparing & Open Da ta) ระดับเมืองที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้
  3. สร้างระบบการเงินที่ทำให้เกิดการลงทุนรูปแบบใหม่ในการพัฒนาระดับพื้นที่ รวมถึงการสร้าง Fin Tech หรือเทคโนโลยีทางการเงิน และการสร้าง Crowd Funding System เกิด National Platform for Urban Funding System
  4. สร้างชุดความรู้ด้านการพัฒนาเมือง เพื่อขยายผลเชิงพื้นที่และนำเสนอนโยบายเชิงพื้นที่

กรอบโจทย์และเป้าหมายแผนงานวิจัย

  1. กลไกการพัฒนาเมือง โดยการสร้างกติการ่วมและแผนการลงทุนในการพัฒนาเมือง
  2. โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลในแต่ละเมือง การเตรียมข้อมูลเพื่อการขับเคลื่อนเมือง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการใช้แผนภาพ การใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนากลไกตรวจสอบเชิงพื้นที่
  3. เครื่องมือการระดมทุนรูปแบบใหม่ เกิดการพัฒนากองทุนและแผ่นการลงทุน การระดมทุนสาธารณะ (Public Fund)
  4. องค์ความรู้ใหม่เชิงเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์จังหวัดไปขยายผลเกิดตันแบบเชิงพื้นที่และปรับปรุงกฎหมายในการพัฒนาเชิงพื้นที่
  1. กลไกการพัฒนาเมือง โดยการสร้างกติการ่วมและแผนการลงทุนในการพัฒนาเมือง (10 ต้นแบบ)
  2. ข้อมูลเปิดของเมือง (10 เมือง)
  3. เครื่องมือการระดมทุนรูปแบบใหม่ เกิดการพัฒนากองทุนและแผนการลงทุน การระดมทุน Public Fund แนวทางการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (10 เครื่องมือ)
  4. แผนเชิงเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ ในพื้นที่ต้นแบบ2 ต้นแบบ

จากฐานทุนเดิมตั้งแต่ปี 2561 ถึงปีงบประมาณ 2565 ในโปรแกรมวิจัยการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ ภายใต้แผนงาน”การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่”เกิดผลผลิตของโครงการวิจัยทำให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ในจังหวัดเป้าหมาย ได้ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

กลไกด้านการพัฒนาความร่วมมือทางสังคมของเมือง (Urban Collaboration and Institution Arrangement)

เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการกฏบัตรแห่งชาติ หรือ Charter  เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันของสังคม (Social Collaboration) ขับเคลื่อนจากความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่จำกัด

เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการกฎบัตรแห่งชาติ หรือ Charter เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันของสังคม (Social Collaboration) ขับเคลื่อนจากความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่การจัดตั้งกิจการพัฒนาเมือง ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เกิดบริษัทพัฒนาเมืองจำนวน 20 แห่ง ดังนี้ (1) บริษัท เชียงใหม่นครพิงค์ พัฒนาเมือง จำกัด  (2) บริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคมจำกัด (3) บริษัท แม่ฮ่องสอนพัฒนาเมือง จำกัด (4) บริษัท พิษณุโลกพัฒนาเมือง จำกัด (5) บริษัท สุโขทัยพัฒนาเมือง จำกัด (6) บริษัท ขนอม-สิชลพัฒนาเมือง จำกัด (7) บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (8) บริษัท สงขลาพัฒนาเมือง จำกัด (9) บริษัท กรุงเทพพัฒนาเมือง จำกัด (10) บริษัท สมุทรสาครพัฒนาเมือง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด (11) บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด (12) บริษัท ชลบุรีพัฒนาเมือง จำกัด (13) บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด (14) บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด (15) บริษัท โคราชพัฒนาเมือง จำกัด (16) บริษัท อุดรธานีพัฒนาเมือง จำกัด (17) บริษัท อุบลราชธานีพัฒนาเมือง จำกัด (18) บริษัท ลำปางพัฒนาเมือง จำกัด (19) บริษัท เลยพัฒนาเมือง จำกัด และ (20) บริษัท อันดามันพัฒนาเมือง

เกิดเครื่อข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายมหาวิทยาลัย UHDA : Urban Housing Development Alliance

กลไกด้านการพัฒนาข้อมูลและองค์ความรู้ของเมือง (Urban Open Data and Knowledge Management)

เกิดแพลตฟอร์ม City Open Data รวบรวมข้อมูลจากโครงการวิจัย ข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อ Open Data อาทิเช่น ฐานข้อมูลจำนวนผู้มีรายได้น้อย ฐานข้อมูลจำนวนคนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในมิติต่างๆ เป็นต้น

เกิดการยกระดับระบบ Digital Transformation ของเทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเซียงใหม่ โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล เป็นฐานรวบรวมข้อมูลครอบคลุม 92 กลุ่ม มาพัฒนาระบบบริหารและระบบการให้บริการประชาชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และถูกต่อยอดขยายผลของงานวิจัยออกไปในวงกว้างให้กับองค์กรปกครองสวนท้องถิ่นที่เข้มแข็งใน 5 เมือง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดระยอง จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดภูเก็ต เพื่อพัฒนาเป็น Block Chain City

พัฒนาชุดความรู้และข้อมูลเปิดด้านการพัฒนาเมือง (Data Catalogue) ที่จะเป็นข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเมือง จำนวน 48 ฐานข้อมูล

กลไกด้านนโยบายและแผนพัฒนาของเมือง (Urban Policy and Planning)

เกิดกลไก/แผนงาน/แนวทางในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ จำนวน 62 กลไก เช่น แผนการพัฒนาจราจรอัจฉริยะ, แผนงานการออกแบบผังพัฒนาพื้นที่กิจกรรมชุมชนวัดหัวป้อม, แผนพัฒนาเมืองด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์, แผนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสามารถตอบตัวชี้วัดตามกรอบแนวคิดและเงื่อนไขของสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีโครงการนำร่อง 2 ด้าน ได้แก่ 1) Smart Environment และ 2) Smart Mobility, แผนงานการปรับตัวเชิงธุรกิจและแนวทางการร่วมทุน,แผนการปรับตัวของธุรกิจท้องถิ่นต่อแหล่งทุนภายนอก, แนวทางการวางแผนพัฒนาพื้นที่เมืองและกิจกรรมพาณิชยกรรมโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า, แผนการออกแบบโครงข่ายทางเดินเท้าตามความเต็มใจที่จะเดิน, กลไกเชิงพื้นที่ร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน,กลไกเชิงพื้นที่ร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีและกลไกเชิงพื้นที่ร่วมขับเคลื้อนและพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวอัจฉริยะของย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

เกิดพื้นที่ต้นแบบบนฐานเศรษฐกิจสีเขียวและห่วงโซ่อุปทาน จำนวน 9 พื้นที่ อาทิ การพัฒนาการประกอบการเกษตรอินทรีย์ในเมืองบนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน จนสามารถสร้างผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อย (Urban Farming for Collective Micro Social Entrepreneurial Business Network) เกิดพื้นที่ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ จำนวน 9 พื้นที่ พร้อมทั้งเกิดพื้นที่การเรียนรู้ระดับเมือง จำนวน 26 พื้นที่ ซึ่งเกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน คือพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก้ (UNESCO Global Networks of Learning Cities) และเป็นแรงผลักดันให้เมืองอื่นๆ เกิดการตื่นตัว แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ตามบริบทของประเทศไทย

เกิดนวัตกรรมในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ จำนวน 36 เครื่องมือ เช่น ห้องปฏิบัติการออกแบบลำปางเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์ Lampang Creative & Livable City Lab, สถาปัตยกรรมด้านสารสนเทศ (UDP), ระบu Zero Waste Spatial & Logistic Platform, ระบu Dashboard & Cloud Plat form, ระบบการพัฒนาเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุและโปรแกรมการพัฒนา IQ และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาในผู้สูงอายุ เป็นตัน

กลไกการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินและการจัดการทุนของเมือง (Urban Financial Institution and Instrument)

โดยเกิดแผนการลงทุนระดับพื้นที่ จำนวน 5 พื้นที่ ได้แก่ ภูเก็ต ระยอง เชียงใหม่ ขอนแก่น และนครสวรรค์ ที่สามารถเป็นแนวทางการระดมทุนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองอีกทั้งยังมีดัชนีชี้วัดความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาระดับเมือง เพื่อสนับสนุนการลงทุนและยกระดับพื้นที่ให้มีศักยภาพทางการแข่งขันที่สูงขึ้นจากผลการดำเนินงานที่ฝานมา เพื่อนำไปสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (Livable & Smart City กลไกดังกล่าวข้างตันมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนและบรรลุตามเป้าประสงค์ ดังนั้นในปี 2566 – 2570 แผนงานนี้ตั้งหมุดหมายสำคัญให้เกิด Urban Solution เพื่อนำไปสู่การลงทุน (Investment) ของเมืองในที่สุด โดยมีศักยภาพและความพร้อมตามเกณฑ์ชี้วัดการเติบโตของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด โดยการวิจัยและยกระดับความรู้เชิงพื้นที่และการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีด้านการพัฒนาเมือง (City Development Technology) ต่าง ๆ ต่อไป

มีเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีและคลัสเตอร์เศรษฐกิจบนฐานเศรษฐกิจสีเขียว โดยการสร้างกลไกความร่วมมือคลังสมองของพื้นที่และเครื่องมือยุทธศาสตร์แผนผังภูมินิเวศ พัฒนาพื้นที่เชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานและเสนอแนวทางพัฒนาระบบนิเวศสนับสนุนชุมชนบนฐานเศรษฐกิจสีเขียวที่สอดคล้องกับความต้องการ ศักยภาพ และภูมินิเวศของชุมชน ซึ่งจากการดำเนินการ ได้เกิดผลการขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนี้

การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่กลางเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน มีผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่ต้นแบบเพื่อการจัดการห่วงโซอุปทานในรูปแบบต่างๆ ในระดับชุมชน 4 ชุมชน โดยสินค้าและบริการหลักของเศรษฐกิจสีเขียวชุมชนริมคลองฝั่งธนฯ ประกอบด้วย สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป บริการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งแบ่งเป็นการท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีคลองและพหวัฒนธรรมชุมชนเก่า และการท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง

แนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาการตลาดและขนส่งของสินค้าและบริการชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรี ได้ดำเนินการพัฒนาการตลาดในรูปแบบต่างๆ อาทิ การแบ่งปันในชุมชนและการสร้าง Food Bank ของชุมชน การจำหน่ายในตลาดริมน้ำชุมชนและตลาดใกล้เคียง การทำตลาดโดยสร้างระบบสมาชิกตะกร้าผักรายเดือน การสร้างแบรนด์กลางของชุมชน รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายฐานการตลาดและผู้บริโภค

การผนึกกำลังเครื่อข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนพัฒนาพื้นที่สีเขียวริมคลองฝั่งธนบุรี

เกิดขึ้นจากการประสานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา และมหาวิทยาลัยพะเยา โดยผ่านการทำความเข้าใจภาคีเครือข่าย กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง และการสร้างการรับรู้ผลการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้บนฐาน BCG โมเดลการเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านองค์ความรู้ ทักษะในศตวรรษที่ 21 ลดอัตราการปล่อยคาร์บอนของผลิตภัณฑ์ เกิดแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานที่สร้างรายได้ และการเรียนรู้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา คือการจัดตั้งกองการศึกษา การยกระดับเมืองแห่งการเรียนรู้สามารถทำได้หลากหลายแนวทาง เช่น การตั้งกองทุน การตั้งสถาบันพัฒนาเมืองการตั้งบริษัทพัฒนาเมือง หรือการตั้งภูมิภาคการเรียนรู้ (Silk Road Learning Route) หรือการยกระดับเป็น Creative City พะเยา โดยผลจากการดำเนินโครงการมีผลลัพธ์ที่สำคัญ ดังนี้

แหล่งเรียนรู้ Phayao Learning City บนเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Route)

เกิดหลักสูตร “UP to Reskill/Upskill!” ที่สอดคล้องกับแนวคิดฟื้นฐานของ BCG โมเดล คือ หลักสูตรสินค้าท้องถิ่นสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม (Local Products to Social Innovation) และหลักสูตรการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ด้วยผลิตภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม (Creative Activities for the Green World) โดยสามารถแบ่งการเรียนรู้ตามหลักสูตรย่อยได้ 15 ชั่วโมง ซื่อ Social Enterprises โครงการนี้ดำเนินการจัดกิจกรรมในหลักสูตร์ร่วมกับกองการศึกษา กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองพะเยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาและชุมชนเมืองพะเยา

แหล่งเรียนรู้ Phayao Learning City บนเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Route)

เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 ผลิตภัณฑ์จากการเรียนรู้บนเส้นทางการเรียนรู้ Phayao Learning City โดยผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานและสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างน้อยร้อยละ 10

กลุ่มเป้าหมายของโครงการเป็นแรงงานนอกระบบ กลุ่มสูงวัย และแม่เลี้ยงเดี่ยว เด็กพิการ หรือแม้แต่ผู้ต้องขัง ซึ่งมีจำนวนรวมกันมากกว่าร้อยละ 12 ของประชากรจังหวัดพะเยา และรายได้ของแรงงานนอกระบบหลังการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-3

เกิดพื้นที่การเรียนรู้ 15 แห่ง รวม 1 เส้นทางการเรียนรู้ที่พร้อมสร้างรายได้ (Phayao Learning Route) ฝั่งกว๊านตะวันออก และผลการประเมินรายได้หลังการเรียนรู้ ในรอบ 1 ปี มีรายได้เข้าสู่ชุมชนหลังการเรียนรู้ 448,419 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ 1 ถึง 22.42 เท่า

แพลตฟอร์มการเรียนรู้ หรือ Learning Platforms จำนวน 3 แพลตฟอร์ม (Platforms) คือ ออนไลน์ (Online) และเฟซบุ๊ก (Facebook & On-demand) กับออนดีมานด์ (On-demand)

เกิดการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสูงวัย สังกัด ศพอส. เทศบาลเมืองพะเยา ชื่อ วิสาหกิจชุมชนสานใจฮัก

แบบโลโก้และผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชน 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) น้ำผึ้งหยดทอง 2) สบู่นนดา 3) ตะกร้เดคูพาจสานสุข 4) กระเป๋าสุนทรียา 5) บ้านรักขนม 6) ข้าวผ่อโต้ง 7) แหนมทัพพีเงิน 8) ชาสมุนไพรเชียงดา

การวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณาแห่งการสื่อสาร ทฤษฎีวัจนกรรม และกลวิธีการใช้ภาษาทำให้วิเคราะห์พฤติกรรมภาคีเครือข่ายจนนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่พะเยา

แผนงาน “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา”

เป้าหมายของแผนงานนี้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเด็นที่ 12 การพัฒนาการเรียนรู้ ที่ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่เน้นทั้งการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และการเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งกรศึกษาในระบบ-นอกระบบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถกำกับการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่องแม้จะออกจากระบบการศึกษาแล้ว การมี Sandbox หรือพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จึงเป็นโอกาสให้ประเทศไทยสามารถทดลองการขยายผลโรงเรียนดีในบริบทแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นความสำคัญของงานพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาของหน่วย บพท. จึงอยู่ที่ความพยายามในการสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหาการศึกษาที่สำคัญของประทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคุณภาพครู ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก ไปจนถึงปัญหาระบบบริหารจัดการการเงิน งบประมาณและระบบบุคลากรโดยรวม เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมุ่งสร้างเสริมให้เกิดกลไกใหม่ในการบริหารจัดการกาศึกษาที่มีประสิทธิภาพบนฐานการมีส่วนร่วมของภาคีสำคัญทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน ท้องถิ่น ประชาสังคม สถานศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวง อว. ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นหลักทางวิชาการและการประสานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาของพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ต่อเนื่องในระยะยาว

กรอบโจทย์และเป้าหมายแผนงานวิจัย

  1. สร้างบริบททางกฎหมายและโครงสร้างใหม่ที่เกื้อหนุนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพและทดลองการกระจายอำนาจทางการศึกษาแก่โรงเรียนและกลไกพื้นที่รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติทดแทนเพื่อเตรียมไว้สำหรับการปลดล็อกในปีต่อไป
  2. สร้างความมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในการจัดการศึกษาเชิงฟื้นที่สร้างกระบวนการทำงานใหม่ร่วมกันเพื่อบูรณาการการทำงานที่แยกส่วนและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่กลไกพื้นที่ในการจัดการศึกษา
  3. เพิ่มขีดความสามารถให้แก่โรงเรียน ทั้งในด้านวิชาการและบริหารจัดการ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและเพื่อให้สามารถใช้อิสระที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างมีความรับผิดชอบ
  1. ชุดข้อเสนอเพื่อปลดล็อกในปี 2568 เกิดการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบตามข้อเสนอที่เกิดขึ้น, ผลวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้านอิสระในพื้นที่นวัตกรรม ประจำปี 2566
  2. กลไกในจังหวัดมีเครื่องมือในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การศึกษาภายในจังหวัด, พื้นที่การเรียนรู้ที่ประชาชนเข้าใช้บริการไม่ต่ำกว่า 10,000 คน และประชาชนมีการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ก่อให้เกิดมูลค่าของเศรษฐกิจท้องถิ่นและคนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
  3. ครูและผู้อำนวยการได้รับการอบรมพัฒนาทักษะในด้านที่จำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาโรงเรียนตามบทวิเคราะห์ที่เกิดขึ้น, เกิดการขยายผลความสำเร็จสู่โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ

กรอบวิจัย พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

ผลการขับเคลื่อนแผนงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เกิดการยกระดับกลไกการบูรณาการเชิงนโยบายขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในหลายจังหวัด อาทิ

โดยมูลนิธิคลองโต๊ะเหล็มอะคาเดมี ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับศึกษาธิการจังหวัดสตูลและมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล จัดงาน “สมัชชาการศึกษาสตูล ครั้งที่ 3 ฐานสมรรถนะ = ฐานชีวิต” เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน และเพื่อร่วมรับประกัน “การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม” ทั้งสนับสนุน “การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน” ด้วยความยุติธรรม เสมอภาค เปิดกว้าง และครอบคลุมทางสังคม โด้ยใช้ “นวัตกรรมครูสามเส้า” มาเชื่อมโยงชุมชนรอบตัว ผู้เรียนให้มีความเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาและบุคลากรครู ร่วมออกแบบโครงงานฐานวิจัยและรูปแบบการศึกษาทักษะตามรายวิชาสามัญ ที่มุ่งใช้ผู้เรียนเป็นฐานออกแบบพื้นที่เรียนรู้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยให้ห้วงเวลา 8.760 ชั่วโมงของชีวิตเป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับสภาพร่างกายและสมรรถนะพึงมีสมวัยและเป็นพลวัต

การจัดสมัซซาการศึกษาจังหวัดสตูล ครั้งที่ 3 วันที่ 22-23กันยายน 2565
โดยโครงกร “ระบบบริหรจัดการตนเองเพื่อพัฒนคุณภาพการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล”

โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 14 หน่วยงาน อาทิ สำนักงานจังหวัดยะลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา เทศบาลนครยะลา สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดยะลา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาควิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ภายใต้การดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา เพื่อการพัฒนาและเชื่อมโยงข้อมูลทั้งระบบ การจัดการข้อมูลทางการศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การพัฒนาจัดการและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนทั้งในระบบและนอกระบบในพื้นที่จังหวัดยะลา เชื่อมโยงและบูรณาการแผนด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรู้หนังสือของผู้เรียน พัฒนากลไกเครือข่ายและดำเนินกิจกรรมเครือข่ายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ พร้อมบูรณาการทำงานในการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนวิเคราะห์ สังเคราะห์และถอดบทเรียนจากข้อมูลด้านการศึกษาจังหวัดยะลา และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมความรู้หนังสือและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน

ตัวอย่างหน้าหลักของระบบการสารสนเทศทางการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดยะลา

โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดำเนินการสร้างนวัตกรรมอาสาสมัครการศึกษาหมู่บ้าน (อศม.) เพื่อช่วยสอน สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ การติดตามเด็กและเยาวชนในชุมชนที่มีปัญหาเพื่อเข้าช่วยเหลือ และแก้ปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา (Zero Dropout)ที่ได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ผ่านโครงการเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยดำเนินการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรูปแบบของพันธบัตรการศึกษา (Education Bond) ทำการขายพันธบัตรและระดมทุนจำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุน บริษัท แสนสิริ มอบให้กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)ในโครงการ Zero Dropout ซึ่งมีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

แนวคิดการดำเนินการสร้างนวัตกรรมอาสาสมัครการศึกษาหมู่บ้าน (อศม.)

โครงการ ZERO DROPOUT

ผลจากการขับเคลื่อนและผลักตันในพื้นที่จาก 2 ชุดโครงการวิจัย ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยสมาคมสถาบันปัญญาวิถี ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา “หสักสูตรฐานสมรรถนะ” และ การพัฒนาปัญญาภายนอก ด้วย Active learning “การเรียนรู้ฝานประสบกรณ์ตรง” ควบคู่กับนวัตกรรม “จิตศึกษา” ที่เป็นการพัฒนาปัญญาภายในให้แก่ผู้เรียน ดำเนินการพัฒนาทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษา อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานเขดพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม ) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และศูนย์ศึกษาพิเศษ เป็นตัน และโครงการการพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยการสร้างกลไกการบูรณาการทางนโยบายการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้บนฐานชุมชนให้กับเด็กด้อยโอกาสและผู้ยากจนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ โดยมี “หลักสูตรฐานสมรรถนะชุมชน” เป็นหลักสูตรสมรรถนะให้กับผู้เรียนทุกช่วงวัย เพื่อสั่งสมประสบการณ์ด้นทักษะอาชีพ และเป็นหลักประกันของการเชื่อมต่อการศึกษาทั้งในและนอกระบบ และการพัฒนานวัดกรรมเชิงระบบโดยมีโครงข่ายคุ้มครองทางสังคมด้านการศึกษา เพื่อให้เกิดหลักประกันคุณภาพชีวิตและมีความพร้อมต่อการเรียนรู้เท่าเทียมกับผู้อื่น